Cinematic Look

สืบเนื่องจากผมได้เปลี่ยนStandalone Video Processorมาเป็น madVR Envy MK2เมื่อไม่นานมานี้ สิ่งที่ผมตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือmadVR Labsเขาชูในเรื่องMotionAI ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ภาพมีความลื่นไหล ไม่สะดุดเป็นอย่างมาก ที่แปลกใจก็เพราะfeatureลักษณะคล้ายๆกันนี้ปัจจุบันจะมีในจอภาพเกือบทุกเครื่องอยู่แล้ว และเท่าที่ผมเคยลองในจอภาพหลายตัว ปรับแค่คลิกเดียว หรือปรับไปที่ระดับLowภาพก็ลื่นไหลมาก จนบางทีต้องปิดไปเลยเพราะภาพลื่นมากจนเหมือนกับภาพจากวิดีโอมากกว่าภาพจากภาพยนตร์ แล้วทำไมmadVR Labsได้พูดถึงเรื่องนี้มากมาย ไม่ว่าจะงานเปิดตัวmadVR Envy MK2 ห้องโชว์ในงานแสดงเครื่องเสียง หรือให้สัมภาษณ์กับสื่อในช่วงนี้ ก็จะต้องชูเรื่องนี้เป็นสำคัญ ทำให้ผมได้ลองไปศึกษาค้นคว้ามากขึ้น และได้รู้ว่าเอ่อมันมีอะไรที่น่าสนใจจริงๆ วันนี้ผมจึงมาเล่าให้ฟังว่าเรื่องนี้มันมีอะไรซ่อนอยู่ที่เราไม่รู้ หรือเคยรู้แต่มองข้ามไปในเรื่องMotionของจอภาพในปัจจุบัน ติดตามกันครับ “Cinematic look” เริ่มจากการถ่ายทำภาพยนตร์ที่ใช้ฟิล์มถ่ายในระบบ 24 fps(frame per second) เมื่อประมาณปี ค.ศ.1930s ในตอนแรกที่ใช้frame rateเท่านี้ก็เนื่องมาจากความเหมาะสมของเรื่องราคาฟิล์มและยังให้ภาพที่ต่อเนื่อง แต่ต่อมาพบว่าการถ่ายทำแบบนี้ยังให้เสน่ห์ของภาพที่ผู้ชม ผู้สร้างหนัง ผู้กำกับหลายคนหลงใหล ที่นอกจากในเรื่องสีสัน ความคมชัดของภาพที่ไม่แข็งเหมือนภาพจากdigital ก็รวมไปถึงการดูภาพยนตร์บนฟิล์ม24fps จะมีการเบลอของภาพเล็กน้อยเมื่อภาพเคลื่อนไหว แต่ยังคงไว้ที่ความต่อเนื่องของภาพอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ได้ลื่นจนเหมือนภาพจากวิดีโอหรือภาพจากการถ่ายทอดสดทางทีวี ภาพจากฟิล์ม24fpsจะให้senseของความเป็นดราม่า ภาพจะออกมาโดดเด่น ไม่เหมือนภาพในโลกความจริง ทำให้ผู้ชมเหมือนหลุดเข้าไปในโลกของภาพยนตร์มากขึ้น จึงทำให้หลายคนหลงเสน่ห์ในภาพCinematic lookแบบนี้ Cinematic […]

6 เคล็ดลับที่ทำให้ลำโพงCenterเสียงดีขึ้นโดยไม่เสียเงิน

ผมมักจะพูดว่าลำโพงCenterในระบบHome Theaterเป็นลำโพงที่สำคัญ และควรให้ความสนใจกับลำโพงตัวนี้ให้มากขึ้น เพราะเห็นหลายคนใช้ลำโพงหน้าซ้าย ลำโพงหน้าขวา อย่างใหญ่โต หรูหราราคาแพงสำหรับฟัง 2channel หรือใช้ลำโพงSurroundรุ่นTopตัวใหญ่หลายตัววางกันเป็นตับอยู่ด้านหลังและด้านบนเพดานในระบบimmersive soundสิบยี่สิบแชนแนลเสียงเฟี้ยวฟ้าวรอบตัว แต่ลำโพงcenterในระบบกลับไม่ให้ความสำคัญแถมบางทีไปหลบหน้าหลบตาอยู่ในซอกหลืบของตู้ หรือถูกอุปกรณ์อย่างอื่นขวาง ถูกชั้นวางบังเกือบมิดอย่างน่าน้อยใจทั้งที่เป็นลำโพงที่สำคัญมากในระบบHome theater วันนี้ผมจึงจะมาพูดถึงเคล็ดลับหกอย่างที่ทำให้ลำโพงCenterในระบบhome theaterมีเสียงที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องเสียเงิน ใครสนใจตามมาดูกันครับ คราวนี้ลองมาดูกราฟนี้กัน กราฟนี้เป็นกราฟที่ได้นำเอาภาพยนตร์ทั่วไปหลายๆเรื่อง มาวัดดูพลังงานที่ใช้ในแต่ละchannel ตลอดกว่าสองชั่วโมงของหนังเรื่องนั้น จากกราฟจะเห็นได้ว่า โดยเฉลี่ยลำโพงCenterมีพลังงาน มีLevel และใช้Powerมากกว่าลำโพงแชนแนลอื่นอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น”Main Channel”ที่เรามักจะเรียกว่าเป็นลำโพงหน้าซ้ายและหน้าขวา ก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียวเพราะลำโพงที่สำคัญเป็นMainจริงๆสำหรับระบบhome theaterก็คือลำโพงCenterนั่นเอง ลำโพงอื่นก็จะเป็นลำโพงเสริมให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น สมจริงกับเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ แต่ความสำคัญนั้นก็ไม่เท่ากับลำโพงCenterที่มีเสียงพูดออกมาอยู่เกือบตลอด รวมถึงมีเสียงActionต่างๆ เนื้อหาเรื่องราวของเรื่องก็เกิดจากลำโพงแชนแนลนี้ คราวนี้มาดูกันว่ามีเคล็ดลับอะไรบ้างที่จะทำให้ลำโพงcenterมีเสียงออกมาดี มีความเพี้ยนของเสียงน้อย สามารถถ่ายทอดเสียงได้ใกล้เคียงกับเสียงที่ถูกบันทึกมาได้มากที่สุด เคล็ดลับแรกก็คือวางลำโพงcenterให้อยู่ชิดขอบของชั้นวาง อย่าให้มีขอบของชั้นวางเกินด้านหน้าของลำโพงออกมาเพราะตรงนี้จะทำให้เสียงที่ออกมาจากดอกtweeter ดอกwooferเกิดการสะท้อนจากขอบเหล่านี้ไปยังส่วนต่างๆของห้องทำให้เสียงมีความก้องมากขึ้น clarity ความชัดเจน ความสดใสของเสียงหายไป ดังนั้นเมื่อวางลำโพงcenterก็ต้องพยายามขยับลำโพงออกมาจนสุดขอบเพื่อไม่ให้มีขอบบัง ทั้งยังช่วยทำให้ดูเรียบร้อยสวยงามมากขึ้น เคล็ดลับที่สองก็คือ พยายามวางให้ดอกลำโพงtweeterมีแนวพุ่งตรงไปยังหู เช่นถ้าวางลำโพงcenterไว้ด้านบนหรือด้านล่างของจอภาพก็ต้องเอียงให้ลำโพงยิงตรงเข้ามาหายังตำแหน่งหูของผู้ฟัง เนื่องจากว่าความถี่กลางถึงความถี่สูงมีทิศทางมากกว่าความถี่ต่ำ ถ้าวางตัวลำโพงtweeterหรือmidrange off axisไม่ว่าจะด้านบนด้านล่างด้านซ้ายด้านขวามากเท่าไหร่ก็จะทำให้characteristicของเสียง เนื้อเสียง detailบางอย่างของเสียงจะเปลี่ยนแปลงไป […]

Home Theater Subwoofer ต้องอะไรบ้าง?

ใครที่จะซื้อSubwooferเพื่อใช้ในห้องhome theater มีอะไรที่ต้องรู้ก่อน และข้อควรระวังมีอะไรบ้าง มาดูกัน อย่างแรกคือในเรื่องของBandwidthหรือช่วงการตอบสนองความถี่ของลำโพง เราต้องซื้อลำโพงsubwooferที่ตอบสนองช่วงความถี่เท่าไหร่ ความถี่ต้องลงได้ลึกเท่าไหร่ในขณะที่เปิดดังๆ ตรงนี้โดยปกติแล้วลำโพงsubwooferควรจะต้องเล่นความถี่ได้ลึกถึง 20Hzเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำเป็นต้องflatเป็นเส้นตรงจนถึง20Hz เนื่องจากsubwooferเมื่อนำไปใช้ในห้องhome theater ทางDolby Labsได้เคยแสดงให้เห็นว่าห้องจะทำให้เสียงความถี่ต่ำกว่า30Hz มีlevelสูงมากขึ้น12dB/Octave ดังนั้นเราจึงสามารถเลือกใช้subที่สามารถเล่นความถี่ที่ต่ำถึง30Hzแล้วค่อยๆroll offระดับ12dB/Octave จากนั้นค่อยตัดความถี่ที่ต่ำกว่า20Hzตามความสามารถของดอกลำโพง ตัวตู้ และpower ampของSubwooferตัวนั้นๆก็ได้ ซึ่งค่านี้จะมีอยู่ในข้อมูลspecของเครื่อง แต่ให้ดูนิดหนึ่งว่าบริษัทได้บอกไหมว่าที่ความดังสูงสุด เพราะถ้าความดังไม่มากsubทั่วไปก็สามารถทำความถี่ลึกได้ไม่ยากอยู่แล้ว อีกสิ่งที่ต้องพิจารณาในเรื่องของความถี่คือเรื่องของinfrasonic subwoofer พูดถึงinfrasonicในปัจจุบันก็จะได้ยินคนพูดถึงบ่อยขึ้นเนื่องจากพบว่าหนังบางเรื่องมีความถี่ระดับ15Hz หรือต่ำกว่านั้นอยู่ในหนัง ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นสิ่งที่คนสร้างหนังหรือคนทำหนังต้องการให้ผู้ฟังได้ยินจริง หรือว่าเป็นการหลุดเข้ามาโดยไม่ได้ตั้งใจจากขบวนการการผลิตในขั้นตอนmixหรือในpost production studio หนังที่มีเสียงinfrasonicยกตัวอย่างก็เช่นเสียงสัตว์ประหลาดในหนังเรื่องWar of The Worldsที่มีเสียงระดับ3Hzอยู่, หนังเรื่องStar TrekในChapter12มีความถี่ต่ำระดับ 4Hz, Lord of the Rings, Fellowship of the Ringก็มีบางฉากลงต่ำถึง 5Hz หรือหนังเก่าที่ชอบใช้ทดสอบsubwoofer อย่างU-571 ก็มีความถี่ต่ำระดับ 8Hz โดยถ้าเราต้องการสัมผัสเบสที่ลึกระดับinfrasonicนี้subwooferก็ต้องสามารถลงลึกถึงความถี่เหล่านี้และมีการตัดความถี่ด้านล่างหรือhigh pass […]

Audio over IP(AoIP) & Home Theater

ในปัจจุบันหลายคนคงเริ่มเห็นเครื่องเสียงภายในบ้านมีรุ่นที่สามารถใช้แค่สายLAN(RJ45)เพียงแค่เส้นเดียวเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งลำโพง, Power Amplifier, Pre-processor, AVRเข้าด้วยกัน การเชื่อมต่อแบบนี้คืออะไร ใช้หลักการแบบไหน การฟังเพลงการดูหนังภายในบ้านมีความจำเป็นต้องใช้การเชื่อมต่อแบบนี้หรือยัง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดเด่นและมีข้อจำกัดตรงไหนบ้าง และเสียงที่ออกมาจะดีกว่าหรือจะสู้เสียงจากการเชื่อมต่อแบบเดิมได้หรือไม่ ใครอยากรู้เรื่องนี้เพิ่มเติมติดตามอ่านกันได้เลยครับ หลังจากที่ได้เข้าร่วมฟังการสนทนาในเรื่อง”Deathmatch: Audio Networking/Audio-over-IP Technologies” กับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องAudio Network ที่งานCEDIA2022 ร่วมกับได้อ่านบทความต่างๆจากในinternet ผมขอนำข้อมูลเหล่านี้มาเล่าให้ฟังเพราะคิดว่าในอนาคตคนที่อยู่ในวงการภาพและเสียงในบ้านน่าจะได้ยินคำเหล่านี้เพิ่มขึ้น หลังจากเทคโนโลยีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานPAและงานprofessional audioมาพักหนึ่งแล้วในชื่อ Dante(ดานเต้), Ravenna(ราเวนนา), AVB(Audio Video Bridging), AES67 ฯลฯ แต่เดิมในงานPAการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆต้องใช้สายAnalogจำนวนมากเพื่อจะต่อchannelต่างๆของเสียง และยิ่งถ้าต้องใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่อยู่ห่างกันคิดดูว่าจะต้องใช้สายเยอะและยาวขนาดไหน ต่อมาจึงมีการพัฒนาAoIPที่เป็นการส่งสัญญาณเสียงคุณภาพสูงผ่านระบบIP networkให้สามารถใช้สายแลนแบบCat5e, Cat6 หรือสายเคเบิ้ลที่ส่งข้อมูลได้สูงๆอย่างเช่นสายfiber ในการส่งข้อมูลแทนสายanalogหลายสิบหลายร้อยchannelเหล่านี้ ทำให้มีความสะดวกรวดเร็วประหยัดกว่าการเชื่อมต่อแบบเดิมมาก โดยเริ่มมีการใช้งานAoIPสำหรับตลาดผู้บริโภคตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 90’s ในชื่อCobraNet หรือ EtherSound แต่ความจริงน่าจะเรียกว่าเป็นAudio over Ethernetมากกว่าเนื่องจากมีการเชื่อมต่อแบบpoint to point ผ่านทางระบบEthernetที่ไม่ต้องใช้router การส่งข้อมูลผ่านnetworkจะแบ่งเป็น 7ชั้นตามระบบOSI Model ระบบที่จะพูดถึงวันนี้เป็นlayer3ที่ส่วนมากจะมีการใช้routerหรือswitchesเป็นตัวกระจายสัญญาณ โดยอุปกรณ์เหล่านี้ต้องเป็นอุปกรณ์คุณภาพหน่อยเนื่องจากบางทีในnetworkมีการใช้ทั้งข้อมูลด้านเสียงร่วมกับข้อมูลด้านอื่นๆจำนวนมาก การเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลจึงมีความสำคัญ […]

อย่าปรับ Sharpness มากเกินไป

ผมเคยเห็นหลายคนเวลาปรับโปรเจคเตอร์จะปรับค่าSharpnessไว้สูงมาก บางทีปรับไปถึง 80-90%กันเลย บางคนก็อาจจะมีคำถามว่า…อ้าวเวลาดูภาพก็อยากให้ภาพออกมาชัดๆ ยิ่งเป็นโปรเจคเตอร์ที่ดูไม่คมชัดเหมือนจอFlat panelอยู่แล้วการปรับค่าSharpnessไว้มากๆก็น่าจะเหมาะสมนะ ยังไงเดี๋ยววันนี้ลองมาดูกันว่าเวลาปรับsharpnessในโปรเจคเตอร์มีวิธีปรับยังไง แล้วควรปรับไว้ที่เท่าไหร่ ติดตามอ่านได้เลยครับ การปรับSharpness และEdge Enhancement บางคนเห็นค่าในเมนูแล้วปรับให้สูงๆไว้เลย เพราะคิดว่าการปรับมากๆยิ่งทำให้ภาพชัดขึ้นสวยขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้วการปรับการปรับค่าความชัดต่างๆไม่ว่าจะเป็น Sharpness, edge enhancement, detail enhancementหลักการก็คือการไปเปลี่ยนแปลงภาพในบริเวณที่เป็นจุดเปลี่ยนระหว่างส่วนมืดไปเป็นส่วนสว่าง ให้มีการเพิ่มขอบหรือเพิ่มhighlightเพื่อทำให้ภาพโดยรวมดูชัดขึ้นหรือบางทีก็เรียกว่าขึ้นขอบ แน่นอนการการปรับทางelectronicเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดผลเสียต่อภาพตามมาถ้าปรับมากเกินไปคือการเพิ่มnoiseขึ้นในภาพ ซึ่งภาพต้นฉบับจริงๆจะไม่มีnoiseตัวนี้อยู่ในภาพและถ้ามีมากเกินไปก็ทำให้ไปบัง บิดเบือนรายละเอียดของภาพบางส่วน และnoiseตัวนี้มักจะทำให้เห็นเป็นเงาขาวๆรอบเส้นสีดำหรือที่มักเรียกว่า”Halos”ดูแล้วขัดตา ดังนั้นการปรับค่าพวกนี้ก็ควรจะปรับเพียงเล็กน้อยทำให้เรารู้สึกได้ว่าภาพชัดขึ้นโดยไม่ส่งผลเสียหรือรบกวนต่อภาพต้นฉบับ หรือบางทีถ้าภาพต้นฉบับก็มีความคมชัดอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องปรับเลยก็ยังได้ วิธีการปรับค่าsharpnessก็เลือกหาpatternหรือภาพที่เป็นตัวอักษรบนพื้นสีเทาอย่างภาพในตัวอย่างนี้เป็นpatternที่สามารถใช้ปรับsharpnessในแผ่นปรับภาพโดยทั่วไป การปรับก็ดูตรงตัวหนังสือหรือเส้นในภาพ ปรับค่าsharpnessเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเมื่อเห็นเป็นขอบสีขาวรอบๆเส้นสีดำ(Halos)ก็หยุดแล้วค่อยๆลดจนมองไม่เห็นขอบสีขาวนี้ ซึ่งโดยปกติการปรับsharpnessตรงนี้ปรับแค่10-20%ของscaleที่มีก็เพียงพอ หรือตั้งไว้ที่0ถ้าภาพมีความชัดอยู่แล้ว อย่างที่ผมเคยพูดเสมอว่าวัตถุประสงค์ของการcalibrateภาพและเสียงในห้องhome theaterก็คือพยายามให้ภาพและเสียงออกมาใกล้เคียงกับที่ผู้กำกับหรือคนทำหนังเขาต้องการสื่อให้มากที่สุดหรือก็คือทำให้ได้ใกล้เคียงกับมาตรฐานที่ใช้อยู่ในห้องผลิตภาพยนตร์ เพื่อให้เราได้สัมผัสกับศิลปะที่คนทำหนังเขาบรรจงสร้างสรรค์มากที่สุด อย่างเช่นภาพยนตร์เรื่องDune(2021) หนังที่ได้เข้าชิงออสการ์ในปีนี้(2022)ถึง10สาขา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือสาขาด้านภาพBest Achievement in Cinematography โดยGreig Fraser(เกรก เฟรเชอร์) หนังเรื่องนี้ได้ทดลองถ่ายด้วยฟิล์มหลายรูปแบบทั้ง 65mm, IMAX, 35mmแต่พอดูภาพ ผู้กำกับDenis Villeneuve(เดนิส วิลเนิบ)รู้สึกว่าภาพที่ออกมาดูไม่ค่อยทันสมัยดูแล้วเหมือนกำลังมองภาพที่อยู่ในอดีตเกินไป ไม่ได้อารมณ์หนังSci-Fi อย่างไรก็ตามเมื่อลองถ่ายทำด้วยกล้องแบบdigitalก็พบว่าถึงแม้ภาพจะออกมาดูร่วมสมัยมากขึ้นแต่ก็ดูแข็งและคมชัดเกินไป ความต้องการของเขาคือต้องการถ่ายทอดออกมาเหมือนเป็นภาพที่ยังดูทันสมัยแบบdigitalแต่ก็ยังมีความนุ่มนวลของภาพอยู่ และแล้วเพื่อให้ภาพออกมาตามที่ผู้กำกับต้องการ […]

THX DOMINUS มาตรฐานใหม่ล่าสุดจากTHX

ถ้าพูดถึงมาตรฐานTHXที่คุ้นเคยกันก็คงจะเป็น THX Select, THX Ultra และเมื่อต้นปี2021ทางTHXได้เพิ่มมาตรฐานใหม่ขึ้นมาอีกอันหนึ่งก็คือ THX Dominus(โดมินัส) THXได้แจ้งว่าTHX Dominus เป็นมาตรฐานใหม่ที่ใช้สำหรับห้องHome Theaterที่มีขนาดใหญ่, จำนวนแถวที่นั่งมากกว่า และมีขนาดจอที่ใหญ่กว่าTHX Ultra THX Dominusเหมาะสำหรับห้องHome Theaterที่เป็นระบบimmersive surround ขนาดของห้องใหญ่ถึง 184ตารางเมตร คิดคร่าวๆก็คงประมาณห้องขนาด7×9เมตรสูงซักสามเมตร มีแถวนั่งฟัง 2-3แถว ระยะห่างจากจอภาพมากกว่า6เมตร จอภาพมีขนาดใหญ่ระดับ 230นิ้ว โดยระบบเครื่องเสียงที่ผ่านมาตรฐานTHX Dominusต้องสามารถทำความดังได้มากกว่ามาตรฐานTHX Ultra อยู่6dB โดยมีความเพี้ยนระดับ120dB SPL ในระยะ 1เมตรน้อยที่สุด สำหรับSensitivityของลำโพงจะถูกกำหนดไว้อยู่ที่ 92dB เพื่อให้ลำโพงสามารถทำความดังในระดับ THX Reference Level(เฉลี่ย=85dB, Max=105dB, Subwoofer Max=115dB)เช่นเดียวกับในโรงภาพยนตร์หรือห้องpost productionได้ ในตอนนี้ก็จะมีลำโพงSubwooferใหม่ของ M&Kรุ่น X+ Series และลำโพงของ Perlisten Audioที่ได้ถูกรับรองมาตรฐานTHX Dominusแล้ว ก็รอดูต่อไปว่าจะมีลำโพงรุ่นไหน แบรนด์ไหนอีกบ้างที่จะได้THX […]

โรงภาพยนตร์ที่ฉายหนังจากฟิล์ม35mm มีความละเอียดกี่Pixels ?

นับเป็นเวลากว่า125ปี ที่พี่น้องตระกูล Lumie’reจากฝรั่งเศสได้เริ่มทำการฉายภาพยนตร์จากฟิล์มให้ได้ชมกัน หลังจากนั้นการใช้ฟิล์มในการฉายหนังก็ได้รับความนิยมขึ้นมามากขึ้นเรื่อยๆจนมาถึงปัจจุบันที่กำลังจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องฉายระบบดิจิตอล ที่ผ่านมาฟิล์มมีหลายรูปแบบที่ถูกนำมาใช้ในการฉายหนัง แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดและแทบจะเรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานก็คือฟิล์มในระบบ35mm โดยทางKodakได้เคยให้ข้อมูลไว้ว่าฟิล์มหนังชนิดcolor negative 35mm สามารถบันทึกข้อมูลได้สูงถึง 12million pixelsกันเลยทีเดียว และถ้าเทียบเป็นด้านยาวของเฟรมก็คงมีรายละเอียดประมาณ 4,000pixel หรือคร่าวๆก็ประมาณ4K แต่เดี๋ยวครับอันนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่เป็นอุดมคติจากฟิล์มเท่านั้น เพราะจริงๆแล้วเวลาฉายหนังเราไม่ได้ฉายจากฟิล์มnegativeแต่ต้องมีกระบวนการเปลี่ยนจากฟิล์มnegativeเป็นสีแบบปกติซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้รายละเอียดของภาพลดลงอย่างน้อย 33% นอกจากนั้นขั้นตอนการcopyฟิล์มเพื่อนำไปฉายในโรงต่างๆทั่วโลกก็จะทำให้ลดรายละเอียดของภาพลงไปอีก ซึ่งรวมๆแล้วขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ก็จะลดรายละเอียดของภาพลงไปเหลืออยู่แค่ประมาณ 2K เท่านั้นยังไม่พอเมื่อมาถึงเครื่องฉายก็จะมีผลจากการที่ฟิล์มขยับได้ตามรูหนามเตยทั้งด้านข้าง(weave) ด้านบนล่าง(jitter) และการขยับไปในแนวหน้าหลัง(flutter)ที่ทำให้ระนาบฟิล์มไม่ได้พอดีกับfocus planeแบบ100% ซึ่งeffectเหล่านี้เป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นในเครื่องฉายแบบฟิล์มแม้ว่าจะพยายามลดให้เกิดน้อยที่สุดแต่ก็พบว่ายังมีอยู่ โดยทางITU(International Telecommunications Union)เคยศึกษาในโรงภาพยนตร์ที่ถือได้ว่ามีเครื่องฉายระดับดีที่สุดของโลก 6โรง พบว่าในโรงภาพยนตร์ที่ดีที่สุดรายละเอียดของภาพลดลง 12% ส่วนโรงที่แย่ที่สุดนั้นลดรายละเอียดของภาพลงถึง30% อันนี้คือโรงภาพยนตร์ที่มีเครื่องฉายดีที่สุดในโลกนะครับ โรงภาพยนตร์ทั่วไปที่เราดูกันก็คงจะลดลงมากว่านี้แน่นอน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ในยุคเริ่มมีหนังแบบDVD ความละเอียดภาพแค่ 720pixelsออกมา แล้วลองฉายกับเครื่องเล่นโปรเจคเตอร์แบบCRTในห้องhome theater หลายคน(รวมถึงผม)ต่างมีความรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับภาพที่ออกมาที่ดูเหมือนว่ามีความคมชัดกว่าหนังเรื่องเดียวกันที่ดูจากโรงภาพยนตร์บางแห่งที่ฉายด้วยฟิล์ม35mm อย่างไรก็ตามก็ยังมีฟิล์มformatsอื่นๆอีกเช่น 70mm ที่เริ่มใช้กันตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1950’s ก็จะมีรายละเอียดของภาพมากกว่าฟิล์ม35mm ประมาณสามเท่าเนื่องจากฟิล์มที่กว้างมากขึ้น สำหรับฟิล์มในระบบIMAXที่ใช้ฟิล์ม 70mmและวางframeในแนวนอนก็จะมีความละเอียดมากกว่าฟิล์ม 35mm แปดเท่าตามขนาดของฟิล์มที่ใหญ่ขึ้น ส่วนเครื่องโปรเจคเตอร์ของIMAXเองก็จะถูกออกแบบให้เกิดweave, jitter และ flutterน้อยที่สุดเพื่อให้ภาพที่ออกมาสามารถถ่ายทอดรายละเอียดที่สูงมากที่สุดตามที่ฟิล์มได้บันทึกมา […]

เรื่องของ HDMI 2.1 ที่ต้องรู้

เรื่องของสายHDMI ผมเคยเขียนไว้อย่างละเอียดเมื่อสี่ปีที่แล้วใครสนใจสามารถอ่านได้จาก https://moraekhometheater.com/home/archive/2017/hdmi/ แต่เนื่องจากตอนนี้บางคนก็ยังสับสน บางคนก็เข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องของสายHDMI ผมเลยนำเอาเรื่องนี้มาอธิบายอีกทีเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจหลักการคร่าวๆของสายHDMIรุ่นใหม่หรือVersion 2.1 ว่าเป็นยังไงบ้าง สายHDMI รุ่นใหม่ล่าสุดตอนนี้จะเป็นรุ่น HDMI 2.1 บางทีก็จะเรียกชื่อว่า Ultra High Speed HDMI หรือ บางทีก็48G ซึ่งไม่ว่าจะเรียกอย่างไรจุดสำคัญของสายรุ่นใหม่นี้ต้องรองรับbandwidthที่ 48Gbps ดังนั้นเวลาซื้อสายมา กล่องอาจจะไม่ได้ระบุรุ่นไว้ หรือใช้ชื่อต่างออกไป แต่สำคัญให้ดูที่เขียนว่า 48Gbps สายรุ่นใหม่มีการพัฒนาให้มีbandwidthสูงขึ้นเนื่องจากสามารถรองรับการส่งข้อมูลที่มาก โดย48Gbpsทำให้สามารถส่งข้อมูลเฟรมเพิ่มขึ้นเป็น60หรือ120เฟรมในแต่ละวินาที ซึ่งจะมีประโยชน์มากสำหรับการเล่นเกมส์และการดูภาพcontentที่เป็นกีฬา ทั้งยังทำให้สามารถรองรับการแสดงผลที่มีความละเอียดสูงมากขึ้นทำให้เห็นรายละเอียดของภาพและแสดงภาพที่มีรอยหยักลดลงภาพจะดูคมชัดรายละเอียดสวยงามมากขึ้น และยังเพิ่มความสามารถทั้งทางด้านภาพและเสียงอีกหลายอย่าง แต่ในที่นี้จะพูดถึงเรื่องภาพเป็นสำคัญเนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้ข้อมูลสูงสุดในการการส่งผ่านข้อมูลสายHDMI โดยเฉพาะResolution, Frame Rate, Color Depth รวมถึงChroma Subsampling(รายละเอียดอยู่ใน https://moraekhometheater.com/home/archive/2018/chroma-subsampling/ )ที่จะใช้เนื้อที่ของข้อมูลสูงสุด ส่วนColor Space , Brightness และข้อมูลด้านอื่นถือได้ว่าใช้ข้อมูลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากตารางแสดงdata rateหรือbandwidthที่ใช้สำหรับการส่งข้อมูลภาพในรูปแบบต่างๆและรุ่นของสายHDMIที่รองรับ(Standard, High Speed, Premium High Speed, Ultra High […]

Advanced 3D LUT Calibration

การปรับจอภาพแบบ 3D LUT ผมเคยพูดถึงครั้งหนึ่งแล้วในเรื่อง Advance Display Calibration( https://moraekhometheater.com/home/archive/2018/advance-display-calibration/ ) มาถึงตอนนี้โปรแกรมที่เคยได้พูดถึงในวันนั้นLightSpace ได้ปรับปรุงรูปโฉมใหม่หมดให้ทันสมัยเหมาะสมกับจอภาพในปัจจุบันที่พัฒนาขึ้น และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ColourSpace( https://www.lightillusion.com/colourspace.html )ดังนั้นจึงจะนำเอาการทำ3D LUT ในโปรแกรมมาให้ดูกันแบบละเอียดทุกขั้นตอน ที่จะอธิบายละเอียดทุกขั้นตอนนี้ไม่ใช่อะไรผมจะเอาไว้เป็นเป็นnoteของตัวเองกันลืมด้วย และบางทีก็อาจจะมีประโยชน์บ้างถ้าใครคิดจะเล่นโปรแกรมตัวนี้ ส่วนใครไม่ได้สนใจในตัวโปรแกรมอะไรมากก็ข้ามรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ ดูไปแบบคร่าวๆได้เลยครับ #หมอเอก ก่อนอื่นต้องขอปูพื้นคร่าวๆก่อนว่าการปรับภาพแบบ 3D LUTคืออะไร? เริ่มจากคำว่าLUTก่อน LUT(ลัท) ย่อมาจากคำว่า Look Up Table เป็นการนำเอาข้อมูลสีของภาพแต่ละจุดมาแก้ไขให้ค่าสีที่ออกมาเปลี่ยนแปลงไปตามต้องการ โดยที่ข้อมูลรายละเอียดของสีภาพที่จุดต่างๆก็จะเก็บอยู่ในลักษณะเป็นแบบตารางหรือเป็นแบบเมตริกเพื่อความง่ายและรวดเร็วในการคำนวณของคอมพิวเตอร์ดังนั้นจึงเรียกวิธีนี้ว่าLook Up Table โดยLUTจะมีอยู่สองแบบคือ 1D LUT ที่จะเป็นการre-map ง่ายๆอยู่ในมิติเดียวเช่นค่าความสว่าง ความมืดของแม่สีแดง เขียว น้ำเงินแต่ละสี แต่3D LUTจะเป็นการre-mapในลักษณะสามมิติคือนอกจากจะมีการคำนวณของเฉพาะสีแต่ละสีเองแล้วก็จะมีการคำนวณความสัมพันธ์ของแม่สีแดง เขียว น้ำเงินที่มีต่อกันเป็นแบบแนวแกนสามแกน ลักษณะเป็นลูกบาศก์ทำให้บางทีก็เรียกว่าเป็น 3D cube ซึ่ง3D LUTแบบนี้ผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีความถูกต้องแม่นยำและละเอียดกว่าแบบ1D LUT ดังนั้นก็อาจเรียก 3D […]

การวางลำโพงหน้ากับจอทีวีขนาดใหญ่

ห้องmixเสียงของNetflixใช้ลำโพงMeyer Soundกับจอทีวี Sony Crystal LEDขนาด200กว่านิ้วทำให้ไม่สามารถวางลำโพงไว้หลังจอภาพเพื่อให้เสียงออกมาอยู่ตรงกลางจอเหมือนในห้องที่ใช้โปรเจคเตอร์โดยทั่วไปได้ โดยSound DesignของSystemนี้จะวางลำโพงด้านบนแล้วสะท้อนเสียงกับจอภาพเข้ามาสู่ผู้ฟัง ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นว่าทำไมMeyer Soundถึงไม่วางลำโพงไว้ด้านบนหนึ่งชุดล่างหนึ่งชุดให้เสียงphantom imageอยู่กลางจอ ลองมาดูเหตุผลในการทำSound Designกันว่า เขามีเหตุผลอะไรในการติดตั้งแบบนี้ หลายท่านคงผ่านตากันมาบ้างแล้วสำหรับห้องmixเสียงใหม่ของNetflixที่Los Angeles Campus ห้องนี้ใช้จอทีวีขนาดใหญ่ของ Sony Crystal LED ที่มีความสูงถึง 9ฟุต ยาว17ฟุต และใช้ระบบลำโพงUltraReflexของทางMeyer Sound บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับด้านmixเสียงระดับโลกหลายคนได้เข้าไปฟังแล้วต่างตะลึงกับคุณภาพ และการระบุตำแหน่งของเสียงที่ออกมา ซึ่งSound Designของระบบเสียงนี้ใช้การสะท้อนของเสียงจากจอภาพทีวีแทนที่จะใช้Direct Sound จากเดิมการดูหนังโดยทั่วไปถ้าต้องการให้เสียงออกมาจากจอก็ใช้ลำโพงวางไว้หลังจอภาพแบบAcoustic Transparent screen แล้วยิงเสียงผ่านจอภาพเข้าไปสู่ผู้ชม แต่Sound Designแบบใหม่นี้จะใช้การสะท้อนเสียงจากจอทีวี เนื่องจากว่าเสียงไม่สามารถผ่านตัวจอทีวีที่เป็นวัตถุแข็งได้ บางคนก็อาจจะสงสัยว่าทำไมเขาถึงไม่ออกแบบใช้ลำโพงชุดหนึ่งอยู่ด้านบนจอ ลำโพงอีกชุดอยู่ใต้จอให้เกิดphantom หรือ stereo imageเสียงอยู่กลางจอ เหมือนเราฟังเสียงจากลำโพงซ้ายขวาเกิดเป็นphantom imageอยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างลำโพงทั้งสองข้าง? เรื่องนี้ผมเคยพูดถึงเมื่อหลายปีก่อนยังไงต้องขอพูดถึงอีกครั้งหนึ่งว่าการรับรู้Stereo Perceptionตำแหน่งวัตถุของสมองมนุษย์ตามหลักของ Psychoacoustics การรับรู้ตำแหน่งในแนวระนาบหรือ Horizontal Localization เกิดจากสองสิ่งคือ เวลา(TimeหรือPhase) และระดับเสียงdB(Level) อธิบายง่ายๆสมมุติว่าถ้าเสียงจากลำโพงทั้งสองข้างมาถึงหูเราในเวลาพร้อมกัน หรือมีPhaseเท่ากัน […]