Article

Search

6 เคล็ดลับที่ทำให้ลำโพงCenterเสียงดีขึ้นโดยไม่เสียเงิน

ผมมักจะพูดว่าลำโพงCenterในระบบHome Theaterเป็นลำโพงที่สำคัญ และควรให้ความสนใจกับลำโพงตัวนี้ให้มากขึ้น เพราะเห็นหลายคนใช้ลำโพงหน้าซ้าย ลำโพงหน้าขวา อย่างใหญ่โต หรูหราราคาแพงสำหรับฟัง 2channel หรือใช้ลำโพงSurroundรุ่นTopตัวใหญ่หลายตัววางกันเป็นตับอยู่ด้านหลังและด้านบนเพดานในระบบimmersive soundสิบยี่สิบแชนแนลเสียงเฟี้ยวฟ้าวรอบตัว แต่ลำโพงcenterในระบบกลับไม่ให้ความสำคัญแถมบางทีไปหลบหน้าหลบตาอยู่ในซอกหลืบของตู้ หรือถูกอุปกรณ์อย่างอื่นขวาง ถูกชั้นวางบังเกือบมิดอย่างน่าน้อยใจทั้งที่เป็นลำโพงที่สำคัญมากในระบบHome theater วันนี้ผมจึงจะมาพูดถึงเคล็ดลับหกอย่างที่ทำให้ลำโพงCenterในระบบhome theaterมีเสียงที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องเสียเงิน ใครสนใจตามมาดูกันครับ

คราวนี้ลองมาดูกราฟนี้กัน กราฟนี้เป็นกราฟที่ได้นำเอาภาพยนตร์ทั่วไปหลายๆเรื่อง มาวัดดูพลังงานที่ใช้ในแต่ละchannel ตลอดกว่าสองชั่วโมงของหนังเรื่องนั้น จากกราฟจะเห็นได้ว่า โดยเฉลี่ยลำโพงCenterมีพลังงาน มีLevel และใช้Powerมากกว่าลำโพงแชนแนลอื่นอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น”Main Channel”ที่เรามักจะเรียกว่าเป็นลำโพงหน้าซ้ายและหน้าขวา ก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียวเพราะลำโพงที่สำคัญเป็นMainจริงๆสำหรับระบบhome theaterก็คือลำโพงCenterนั่นเอง ลำโพงอื่นก็จะเป็นลำโพงเสริมให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น สมจริงกับเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ แต่ความสำคัญนั้นก็ไม่เท่ากับลำโพงCenterที่มีเสียงพูดออกมาอยู่เกือบตลอด รวมถึงมีเสียงActionต่างๆ เนื้อหาเรื่องราวของเรื่องก็เกิดจากลำโพงแชนแนลนี้ คราวนี้มาดูกันว่ามีเคล็ดลับอะไรบ้างที่จะทำให้ลำโพงcenterมีเสียงออกมาดี มีความเพี้ยนของเสียงน้อย สามารถถ่ายทอดเสียงได้ใกล้เคียงกับเสียงที่ถูกบันทึกมาได้มากที่สุด

เคล็ดลับแรกก็คือวางลำโพงcenterให้อยู่ชิดขอบของชั้นวาง อย่าให้มีขอบของชั้นวางเกินด้านหน้าของลำโพงออกมาเพราะตรงนี้จะทำให้เสียงที่ออกมาจากดอกtweeter ดอกwooferเกิดการสะท้อนจากขอบเหล่านี้ไปยังส่วนต่างๆของห้องทำให้เสียงมีความก้องมากขึ้น clarity ความชัดเจน ความสดใสของเสียงหายไป ดังนั้นเมื่อวางลำโพงcenterก็ต้องพยายามขยับลำโพงออกมาจนสุดขอบเพื่อไม่ให้มีขอบบัง ทั้งยังช่วยทำให้ดูเรียบร้อยสวยงามมากขึ้น

เคล็ดลับที่สองก็คือ พยายามวางให้ดอกลำโพงtweeterมีแนวพุ่งตรงไปยังหู เช่นถ้าวางลำโพงcenterไว้ด้านบนหรือด้านล่างของจอภาพก็ต้องเอียงให้ลำโพงยิงตรงเข้ามาหายังตำแหน่งหูของผู้ฟัง เนื่องจากว่าความถี่กลางถึงความถี่สูงมีทิศทางมากกว่าความถี่ต่ำ ถ้าวางตัวลำโพงtweeterหรือmidrange off axisไม่ว่าจะด้านบนด้านล่างด้านซ้ายด้านขวามากเท่าไหร่ก็จะทำให้characteristicของเสียง เนื้อเสียง detailบางอย่างของเสียงจะเปลี่ยนแปลงไป

เคล็ดลับที่สาม เคลียร์เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆที่วางไว้หน้าลำโพงcenterออกให้หมด เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้เกิดearly reflectionที่รุนแรงมากขึ้น ยิ่งถ้ามีลักษณะแข็งเรียบสะท้อนเสียงได้ดี ก็จะทำให้เสียงสะท้อนมาเข้าหูได้มากขึ้น เมื่อหูได้รับทั้งเสียงตรงจากลำโพงและเสียงสะท้อนจากอุปกรณ์ด้านหน้าลำโพงเหล่านี้สมองก็จะแปลผลออกมาให้เสียงไม่ชัดเจน ไม่เคลียร์ แต่ถ้าไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ก็แนะนำให้หาผ้าหนาๆมาคลุมเพื่อลดearly reflectionเหล่านี้ลง

เคล็ดลับที่สี่ เช็คความดังของลำโพงcenterว่ามีlevelเท่ากันกับลำโพงตัวอื่นๆหรือไม่ อย่างการใช้auto calibrationโปรแกรมก็จะพยายามtrimให้เสียงดังเฉลี่ยเท่ากันในทุกตำแหน่งนั่งฟัง ซึ่งบางทีก็อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนในตำแหน่งที่เรานั่งดูเป็นประจำขึ้นได้ หรือการที่เราเห็นว่าลำโพงหน้าทั้งสามเป็นรุ่นเดียวกันระยะห่างจากจุดนั่งฟังใกล้เคียงกันเลยใส่ค่าlevelในAVRเท่ากัน ซึ่งความจริงแล้วความดังที่ได้ยินนอกจากจะขึ้นกับsensitivityของลำโพงแต่ละตัวแล้ว ก็ยังมีเรื่องของacousticsที่แตกต่างกันของแต่ละตำแหน่งในห้อง ทำให้ได้ยินความดังของลำโพงcenterเบาหรือดังกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงควรหาSPL Meterมาเช็คอีกทีเพื่อmake sureว่าลำโพงทุกตัวในห้องมีระดับเสียงที่ดังเท่ากัน

เคล็ดลับที่ห้า ควรตั้งค่าspeaker configurationในAVRหรือPre-proของลำโพงCenterเป็นsmall เพื่อที่จะให้ความถี่ต่ำทั้งหมดไปลงที่Subwoofer Subwooferก็จะได้สร้างความถี่ต่ำตามที่ตัวลำโพงถูกออกแบบมาเพื่องานนี้ ซึ่งถึงแม้ลำโพงcenterที่เราใช้จะสามารถทำความถี่ต่ำเหล่านี้ได้แต่การตัดความถี่ที่ต่ำกว่าcrossover pointไม่ว่าจะ 80Hz 70Hz หรือแม้แต่60Hz(ขึ้นกับลำโพงcenter) ไปให้ลำโพงsubwooferทำงาน ก็จะทำให้ลำโพงcenterสามารถfocusการทำงานที่ความถี่ระดับmidrangถึงhighได้ดีกว่า สามารถเปิดลำโพงcenterได้ดังมากขึ้นโดยมีความเพี้ยนน้อยกว่า เพราะไม่ต้องแบ่งพลังงานจำนวนมากไปทำความถี่ต่ำ

เคล็ดลับที่หกและเป็นเคล็ดลับสุดท้ายสำหรับคนที่ไม่ได้วางลำโพงcenterอยู่หลังจอภาพ แต่วางลำโพงอยู่ด้านล่างของจอแล้วต้องการให้เสียงของลำโพงcenterมีความรู้สึกเหมือนออกมาจากจอ

วิธีการนี้ก็คือการปรับค่าdistanceในAVR โดยใช้หลักการจากเรื่องPsychoacousticsที่เรียกว่า”precedence effect” หรือบางคนก็เรียกชื่อตามคนค้นพบว่า”Haas effect” โดยeffectนี้กล่าวว่าเมื่อเสียงเดียวกันอยู่ตำแหน่งต่างกัน สมองของมนุษย์จะรับรู้ตำแหน่งเฉพาะเสียงที่มาถึงก่อน แต่ว่าเสียงต้องมาถึงห่างกันไม่เกิน40ms ถ้าเกินนี้สมองจะบอกตำแหน่งทั้งสองได้และเกิดเป็นเสียงechoตามมา ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงค่าdelay timeหรือdistanceในAVRก็จะทำให้การรับรู้ตำแหน่งเสียงลำโพงเปลี่ยนไป

วิธีการก็ไม่ยากแค่เปิดเสียงpink noiseเฉพาะลำโพงหน้าสามตัวพร้อมกัน หลังจากนั้นก็ปิดเสียงลำโพงcenterให้เหลือแต่ลำโพงซ้ายและขวาที่อยู่ด้านข้างจอภาพ ก็จะเกิดเป็นเสียงphantom imageกลางจอภาพ แล้วจำตำแหน่งphantom imageตรงกลางไว้ หลังจากนั้นก็เปิดpink noiseพร้อมกันทั้งสามลำโพงสังเกตดูเมื่อเราปรับค่าdistanceในAVRตำแหน่งของphantom imageก็จะขยับขึ้นลงตามที่เราเปลี่ยน ก็พยายามปรับค่าdistanceของลำโพงcenterให้phantom imageอยู่ตำแหน่งเดียวกับphantom imageของลำโพงซ้ายและขวา เพียงเท่านี้เสียงของลำโพงcenterก็จะถูกจำลองให้อยู่สูงขึ้นตามที่ต้องการ

ความจริงวิธีการทำให้เสียงลำโพงcenterขึ้นมาอยู่กลางจอนั้นมีหลายวิธีหลายหลักการ แต่วิธีการอื่นอาจต้องมีค่าใช้จ่าย วิธีนี้ก็ถือได้ว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ใช้งานได้ดี เพราะแม้กระทั่งSonyเองก็ใช้หลักการนี้ในการcalibrateแบบ360 Spatial Sound Mappingเพื่อทำCenter Speaker Lift-Up หรือ Acoustic Center Syncเพื่อให้เสียงของลำโพงcenterที่อยู่ใต้ทีวี มีเสียงออกมาเหมือนอยู่ตรงกลางจอทีวี

ถ้าลองทำตามtipsทั้งหกอย่างที่ผ่านมาแล้วลำโพงcenterยังทำงานได้ไม่ดีอย่างที่คาดหวังไว้ ก็คงต้องไปดูในเรื่องของacoustics treatmentในห้องว่ามีการใส่เข้าไปอย่างถูกต้องเหมาะสมหรือเปล่า โดยเฉพาะในส่วนของearly reflectionทั้งในส่วนของผนังด้านข้าง เพดานด้านบนซึ่งถ้ามีการtreatที่ดีก็จะทำให้คุณภาพของเสียงที่ออกมาจากลำโพงทุกตัวสมบูรณ์แบบมากขึ้น แต่ถ้าลองทำทั้งหมดแล้วเสียงลำโพงcenterยังไม่ค่อยcleanและclear ก็อาจจะต้องupgradeลำโพงcenterไปยังรุ่นที่ใหญ่ขึ้น ดีขึ้น เพราะบางทีรุ่นที่ใช้อยู่อาจจะเป็นรุ่นประหยัด ก็อย่างที่บอกไว้ตอนแรกครับว่าไม่ควรมองข้างคุณภาพของลำโพงcenterเนื่องจากว่า80เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้นของinformationที่เราได้ยินมาจากภาพยนตร์ล้วนมาจากลำโพงcenterแชนแนล ดังนั้นจึงไม่ควรตัดbudgetเพียงไม่กี่บาทเพื่อลดคุณภาพของตัวลำโพงcenterลง

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเคล็ดลับที่จะทำให้ลำโพงcenterมีเสียงที่ดีขึ้น หวังว่าฟังจบแล้วคงได้ข้อมูลที่มีประโยชน์เพื่อนำไปปรับปรุงเสียงในระบบชุดhome theaterของทุกท่านได้

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ 6 เคล็ดลับที่ทำให้ลำโพงCenterเสียงดีขึ้นโดยไม่เสียเงิน (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้