Review

Search

NAD T778

NAD T778 เป็น A/V Receiver รุ่นใหม่ล่าสุดที่ในขณะเขียนต้นฉบับนี้ตัวเครื่องยังไม่ได้วางจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยทางบริษัทConice Electronicได้ส่งมาให้ทดสอบก่อนว่าเครื่องA/V Receiver(บางคนอาจจะเรียกสั้นๆว่าAVR) รุ่นนี้มีว่ามีประสิทธิภาพสูง มีคุณสมบัติอะไรโดดเด่นบ้าง ใครที่เป็นFanclub NADมาอย่างยาวนาน(เช่นผม) หรือมีความสนใจในAVRตัวนี้ มาดูในรายละเอียดกันครับ

รูปร่างหน้าตาของกล่องที่ส่งมาให้มีขนาดไม่ได้ใหญ่โตเหมือนAVRทั่วไปที่คุ้นเคยกัน

แกะกล่องออกมาข้างในก็จะประมาณนี้

ด้านในกล่องอุปกรณ์ต่างๆก็แยกออกมาใส่กล่องต่างหาก ทำให้ดูเรียบร้อยเป็นระเบียบ และไม่ต้องกลัวอุปกรณ์เล็กๆที่อาจจะตกหายไปโดยไม่ได้ตั้งใจ

ภายในกล่องAccessories มีการจัดวางอุปกรณ์ของเครื่องไว้ในช่องอย่างเป็นระเบียบดูหรูหราไฮโซดีทีเดียว

เห็นหน้าตาเครื่องครั้งแรกต้องบอกว่าNAD ทำDesign ต่างออกจากรุ่นเดิมที่เคยทำมาเยอะเลย ตั้งแต่ขนาดของเครื่องที่ไม่ได้ใหญ่โตมโหฬารเหมือนเครื่องAVRทั่วไป ขนาดเครื่องที่แจ้งไว้คือ 435x140x430mm น้ำหนักตัวก็แค่12.1กิโลกรัม เห็นรูปร่างกับน้ำหนักตอนแรกก็ยังแอบคิดเหมือนกันว่าเครื่องเล็กแบบนี้จะขับลำโพงไหวเหรอ แต่ด้วยความที่เชื่อมั่นในNADเองว่าไม่เคยทำให้ผิดหวังในเรื่องของเสียงเลยคิดว่าครั้งนี้ก็น่าจะไม่ผิดหวังอีกเช่นกัน

พูดมาถึงตรงนี้ต้องขอเล่าเรื่องราวของเครื่องเสียงยี่ห้อNADก่อนว่าทำไมผมถึงชอบและยังเป็นFCของเครื่องเสียงยี่ห้อนี้อยู่ ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่ากว่ายี่สิบปีที่เริ่มซื้อ เริ่มเล่นเครื่องเสียงแบบจริงจัง ยี่ห้อแรกที่ซื้อก็คือชุดเครื่องเสียงแยกชิ้นของ NADและลำโพงของ NHT เพราะได้ไปยินเสียงจากร้านค้าร้านหนึ่งและชื่นชอบในน้ำเสียง บุคลิกลักษณะDesignของตัวเครื่องเอง ทำให้เมื่อมีโอกาสได้หามาใช้เองจึงเลือกใช้ยี่ห้อนี้ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจนถึงปัจจุบันผมก็ยังได้ใช้สินค้าจากของทางNADและNHTที่ซื้อตั้งแต่ครั้งแรกอยู่อย่างไม่มีปัญหา อุปกรณ์บางตัวก็ยังใช้เปิดฟังทุกวัน อาจจะมีบางอย่างที่เสียบ้างตามกาลเวลาแต่ก็ได้รับการดูแลซ่อมแซมจากทางร้านConice Electronicsด้วยดีเสมอมา เรื่องนี้ต้องขอชมเชยและอยากให้ร้านเครื่องเสียงต่างๆดูแลลูกค้าให้ดีเหมือนกับทางConiceแค่นี้ผมว่าผู้บริโภคก็จะมีความมั่นใจในตัวสินค้าว่าสามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นได้อย่างสบายใจอีกยาวนาน

พูดถึงลักษณะเด่นของT778 A/V Surround Amplifierที่ทางNADบอกว่าเป็นAVRระดับอ้างอิงของNADนั้นมีดังนี้

– Efficient Distortion-free Amplification อย่างที่บอกไว้ครับว่าเรื่องพละกำลังเครื่องของNADนั้นไม่ธรรมดาอยู่แล้ว โดยทางNADใช้ระบบเทคโนโลยีHybrid Digital Amplifier ที่พัฒนามาล่าสุด ทำให้เครื่องเล็กๆเบาๆแบบนี้สามารถปล่อยพลังได้ถึง 140watts FTC(มาตรฐานFederal Trade Comission)ที่ 8 Ohms และ ถ้าเปิดเสียงทุกย่านความถี่(full bandwidth)แบบเต็มที่(Full Disclosure Power) 9แชลแนลพร้อมกัน พลังงานที่ออกมาก็ยังสูงถึง 85watts ซึ่งรู้ๆกันว่าwattsของแอมป์NADนั้นเป็นwattsเต็มๆที่ไม่ได้แต่งแต้มค่าให้specดูสูงเกินจริง เรื่องนี้ไว้ใจได้

– Fully Feature Surround สำหรับobject-base audio T778รองรับระบบเสียงทั้ง Dolby Atmos และ DTS:X โดยตัวpre processingสามารถถอดรหัสได้ 7.2.4 โดย9แชลแนลที่มีamplifier และอีก 2 channelเป็นpre-out ใช้ต่อแอมป์ภายนอกเพื่อให้รองรับDolby Atmos 7.2.4เต็มระบบ

– Complete and Compactเนื่องจากการพัฒนาของAmplifierทำให้ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ขนาดใหญ่ สามารถออกแบบT778ให้มีความกะทัดรัด ทันสมัยแบบminimalist ดูมีDesign ในขณะที่ยังให้ประสิทธิภาพของเครื่องได้เต็มที่ตามแบบฉบับของNAD เพื่อให้ผู้ฟังมีความสนุกสนานรื่นรมย์กับทั้งเสียงดนตรีและเสียงจากภาพยนตร์

– High-Res BluOS enabled Network Streaming มีระบบBluOSของNADเองที่ใช้Applicationบนsmart phoneเพื่อควมคุมการเล่นเพลงnetwork radio หลายพันช่อง สามารถFull decoding MQA High-Res Streaming ต่างๆไม่ว่าจะเป็น TIDAL, Spotify, KKBOX, LiveXLive, Napster, TuneIn ฯลฯ

– Dirac Live Room Correction ใช้ระบบปรับเสียงของ Dirac EQ system แต่ที่มากับเครื่องจะเป็นLE versionปรับได้แค่ความถี่ 500Hz ลงมาเท่านั้น ซึ่งทางNADคงประเมินดูแล้วว่าเป็นความถี่ที่น่าจะเป็นปัญหาของระบบส่วนใหญ่ แต่ถ้าใครต้องการปรับให้ได้ตั้งแต่ 20-20,000Hz ก็สามารถซื้อFULL version upgradeจากinternetได้เลย ราคาอยู่ที่ 99 USD

หลังของเครื่องด้านบนซ้ายจะเห็นได้ชัดเจนคือSlotว่างที่เขียนว่าMDC(Modular Design Construction) ช่องนี้NADได้เตรียมเผื่อไว้สำหรับการUpgradeในอนาคตที่จะเกิดขึ้นมาเนื่องจากว่าการพัฒนาระบบdigital formats, เทคโนโลยีแบบต่างๆได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งT887ได้เตรียมการเผื่อไว้ 2 slotsเพื่อให้เครื่องทันสมัยอยู่ตลอด เช่นถ้าต้องการUpgradeระบบภาพให้เครื่องรองรับระบบHDMI 2.1 ก็เพียงแต่ใส่บอร์ดเข้าไปในMDCนี้ก็เป็นการUpgradeเรียบร้อย ไม่ต้องซื้อหรือเปลี่ยนเครื่องใหม่ และไม่ต้องส่งเครื่องกลับไปกลับมาถึงศูนย์บริการเสี่ยงต่อการสะเทือนเสียหายจากการขนส่ง โดยสามารถทำได้เองไม่ยาก

ถัดจากช่องMDCลงมาจะมีช่อง input HDMI 2.0b 5ช่อง ส่วนoutput มี2ช่อง โดยจะมีแค่ช่องHDMI Out1เท่านั้นที่เป็น 4K UHD video pass-through ต่อมาก็เป็นช่องต่อมาตรฐานอื่นๆได้แก่ช่องLAN, USB, ช่องpre out ที่เครื่องสามารถทำหน้าที่เป็นSurround Preprocessorได้โดยสามารถถอดรหัสได้สูงสุดเป็นAtmos7.2.4, มีช่อง 2-RCA audio inputs, 1-RCA Phono stageร่วมกับช่องground, Zone2 RCA out, 2-Coaxial, 2-Optical digital input, RS232C, triggers IR slots และช่องต่อสายลำโพง 9ช่องที่สามารถต่อได้ทั้งแบบสายเปล่า spades และbanana ส่วนด้านขวามือสุดก็จะเป็นช่องต่อสายไฟเข้าและswitchเปิดปิด

remoteที่ให้มามีสองตัว ตัวหลักสามารถควบคุมเครื่องได้ทั้งหมด ตัวเล็กใช้สำหรับควบคุมZone2 โดยremoteตัวใหญ่จะมีไฟที่ปุ่มขึ้นสีฟ้าเมื่อมีการขยับremoteหรือมีการกดปุ่ม ทำให้สะดวกเมื่อใช้งานในห้องที่มืด แต่การออกแบบปุ่มของremoteจะแปลกหน่อยตรงที่ปุ่มOKตรงกลางcursorจะไม่ได้เป็นการเลือกในเมนูนั้นๆ ถ้าจะเลือกให้กดปุ่มลูกศรขวามือจะเป็นการเลือกเมนู ซึ่งต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยซักพัก ทำให้ผมกดผิดประจำในตอนแรก

Microphoneที่มากับเครื่องเพื่อใช้ในการปรับเสียงของ Dirac Live สามารถต่อเข้าเครื่องAVRโดยตรงโดยแปลงหัวเป็นUSB หรือสามารถต่อเข้าคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรแกรมDirac Liveเลยก็ได้

ระบบBluOS ต้องใช้อุปกรณ์ตัวนี้ต่อเข้ากับช่องUSBของเครื่องที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของเครื่อง แล้วค่อยติดตั้งแอป BluOSลงในมือถือเพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องAVR

คู่มือการใช้งานให้มาแค่นี้ แต่ถ้าใครต้องการแบบตัวเต็มก็สามารถเข้าไปโหลดไฟล์ pdfจากwebsiteของทางNADได้

ได้เวลาเชื่อมต่อสายต่างๆ เพื่อทดสอบแล้วครับ (reviewer สู้ชีวิตทำเองทุกอย่าง555)

สิ่งที่ชอบอีกอย่างหนึ่งคือหน้าจอของเครื่องด้านหน้าเป็นแบบ full-color TFT touch screen สามารถแตะสัมผัสตั้งค่าต่างๆได้จากหน้าเครื่อง ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อทีวีเพื่อตั้งค่าเพราะเมนูการตั้งค่าบนหน้าจอทีวีหรือโปรเจคเตอร์ก็จะเป็นเมนูเดียวกันที่โชว์อยู่หน้าเครื่องนี้

หน้าจอtouch screen แบบสี ตอนเปิดเครื่องครั้งแรกดูสวยงามแหวกแนวจากNADรุ่นเดิมๆที่คุ้นเคยกัน

การตั้งค่าต่างๆสามารถใช้touch screen เปลี่ยนที่หน้าเครื่องได้เลย

เมื่อเวลาเล่นเพลงผ่านระบบBluOSจากsmart phone หน้าจอนี้ก็แสดงข้อมูลเพลงที่กำลังเล่นต่างๆสวยงาม ทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนหน้าจอเป็นรูปแบบได้หลากหลายตามต้องการ หรือถ้าใครไม่ต้องการให้จอนี้แสดงข้อมูลใดๆเนื่องจากอาจเป็นการรบกวนสายตาในขณะชมภาพยนตร์ก็สามารถลดความสว่างหน้าจอหรือปิดเลยก็ได้

ส่วนใครที่ถนัดปรับจากหน้าจอdisplayเนื่องจากเห็นชัดเจนและคุ้นเคยมากกว่า ก็สามารถทำได้ตามปกติ

ต่อสาย ลองfunctionต่างๆเรียบร้อยก็ได้เวลาfully calibrationแล้ว โดยการทดสอบในตอนแรกนี้ผมใช้NAD T778ต่อเข้ากับลำโพง NHTที่ผมมีอยู่ในระบบ 5.1ก่อนเพื่อทดสอบพละกำลังของเครื่องเหมือนกับการใช้งานทั่วไปภายในบ้านที่มีลำโพง5ตัวกับsubตัวเดียวว่าการsetup แบบนี้Dirac Liveจะทำได้ดีขนาดไหน เสียงที่ออกมาจะเป็นอย่างไรบ้าง โดยลำโพงหน้าที่ใช้ทดสอบจะเป็น NHT Classic 3 ลำโพงSurroundเป็นSB2 ส่วนลำโพงSubwooferใช้ตัวเดียวคือParadigm Signature SUB25

ไมค์ที่ติดมากับเครื่องใช้ในการทำDirac Live และไมค์Earthworksใช้เพื่อmanual calibrationและทดสอบความถี่หลังทำDirac Live

ก่อนการทำDirac Liveก็ทำการmanual calibrationก่อนเพื่อหาตำแหน่งลำโพงต่างๆให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงsound distortion หลักๆให้ได้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของRoom Mode(Standing Waves), SBIR, Comb filtering ฯลฯ อย่างเช่นในเรื่องของroom mode จากรูปในตอนแรกผมได้วางลำโพงSubwooferไว้ที่ระหว่างลำโพงcenterและ front right ซึ่งมักเป็นตำแหน่งที่คนชอบวางมากที่สุดเนื่องจากง่ายและเคยมีคำแนะนำไว้อย่างหนักแน่นว่าลำโพงSubwooferต้องวางไว้ด้านหน้าข้างลำโพงหลักเท่านั้น แต่ถ้าใครได้เคยอ่านบทความหรือติดตามที่ผมเคยพูดจะรู้ว่าการแก้ไขปัญหาroom modeนั้น ลำโพงSubwooferต้องวางในตำแหน่งที่เป็นnull ของmode ดังนั้นในแต่ละห้องตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับลำโพงsubwooferจึงไม่ได้อยู่ตำแหน่งเดียวที่เดียวเหมือนกันทุกห้อง ขึ้นอยู่กับขนาดของห้อง ผนังต่างๆและ acousticsที่มีอยู่ในห้อง การวางลำโพงfixแค่เพียงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเหมือนกันทุกห้องจึงไม่สามารถแก้ไขหรือลดความรุนแรงของroom mode ทำให้เสียงที่ออกมาก็ต้องcompromiseลงไป ถ้าใครสนใจในรายละเอียดของเรื่องนี้สามารถเข้าไปอ่านบทความที่ผมเคยเขียนไว้ได้ที่ https://moraekhometheater.com/home/archive/2014/solutions-to-standing-waves/ หรือถ้าใครชอบแนวฟังก็ตามไปฟังได้ที่นี่ครับ https://www.youtube.com/watch?v=yKFoPcIp6n0&t=821s

ทำการวัดค่าFFT 1/24Octaveที่ตำแหน่งนั่งฟังหลักโดยsubwooferวางตำแหน่งยอดนิยมอยู่ระหว่างลำโพงcenterและfront right ผลออกมาแน่นอนตามคาด มีภูเขาสองลูกอยู่ที่ตรงความถี่ยี่สิบกว่า กับประมาณแปดสิบHz ส่วนที่ความถี่สี่สิบก็มีdipลงไปมหาศาล ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการวางsubwooferของSystemที่กำลังทดสอบภายในห้องไม่ได้อยู่ตรงนี้ แต่จะอยู่ตรงไหนได้บ้างเพื่อจะได้ทำการย้ายอย่างรวดเร็วไม่ต้องมาลองผิดลองถูกกันมากก็กลับไปอ่านบทความเรื่องของRoom Modeเพิ่มเติมดูได้ครับ

Trickที่แนะนำในการหาตำแหน่งลำโพงSubwooferก็คือหาdollyมาใส่….แล้วชีวิตจะง่ายขึ้นอีกเยอะเลยครับ

หลังจากหาตำแหน่งตามวิธีที่เคยแนะนำ พบว่าSystemนี้ ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับSubwooferตัวเดียวคืออยู่ด้านข้างขวาตรงกลางห้อง

เมื่อวัดfrequency responseโดยใช้ FFT 1/24Octave กราฟความถี่ต่ำที่ได้ดีขึ้นเยอะ ไม่มีภูเขาสองลูกละ dipก็ดูดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ถึงกับเรียบเสียทีเดียว ซึ่งถ้าได้Subwooferสองตัวหรือสี่ตัวแน่นอนว่ากราฟก็น่าจะดูดีกว่านี้ แต่ก็พอจะมั่นใจว่าตำแหน่งที่Subwooferวางอยู่ตอนนี้ไม่ได้ส่งเสริมทำให้room modeของห้องมีความรุนแรงมากเกินไปการใช้Dirac Liveต่อก็จะได้ประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างที่เคยบอกไว้ครับว่าการใช้Auto-calibrationนั้นสิ่งที่สำคัญคือตำแหน่งลำโพง acousticsต่างๆภายในห้องต้องไม่มีความผิดปกติมากเกินไป ไม่อย่างงั้นการใช้โปรแกรมautoพวกนี้ก็จะทำให้เสียงออกมาเพี้ยน ไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น

สำหรับการใช้Dirac Liveนั้นก็ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อนเนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถทำได้เองอยู่แล้ว ขั้นตอนก็ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน ขั้นตอนแรกก็เลือกเครื่องAVRที่อยู่ในวงLANเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ปรับ ส่วนไมค์ที่ใช้ปรับก็สามารถต่อกับตัวเครื่องT778โดยใช้adapterแปลงจากหัว 3.5mm เป็นUSBหรือ สามารถต่อเข้าคอมพิวเตอร์โดยตรงเลยก็ได้ แล้วทำการSelect Recording Deviceตามรูปที่แสดง

ขั้นตอนต่อมาเป็นVolume Calibrationก็ทำการปรับความดังของลำโพงแต่ละแชลแนลให้มีความดังออกมาเท่ากัน เท่าที่ลองมาในชุดของผม LevelของSubwooferปรับให้ดังกว่าแชลแนลอื่นๆซัก 2-4dB แต่อยู่ในความดังปกติอยู่ในrangeของสีฟ้า ผมว่าให้เบสในปริมาณที่เหมาะสมไม่เบาเกินไป

ทำการเลือกรูปแบบการฟังของเราว่าเป็นแบบไหน นั่งดูกี่คน เป็นโซฟาหรือเก้าอี้ตัวเดียว ก็สามารถเลือกดูตามรูปได้

เครื่องก็จะทำการปล่อยสัญญาณsweepไปที่แต่ละลำโพงเพื่อวัดค่าต่างๆทั้งในส่วนของfrequency domain และtime domain เสร็จในแต่ละตำแหน่งก็เลื่อนไมค์ไปตามตำแหน่งในรูปที่แสดงไว้

ขั้นตอนต่อมาก็จะเป็นการกำหนดtarget curve ในลำโพงแต่ละตัว โดยDirac Live LEที่มากับเครื่องสามารถตั้งTarget curveได้ระหว่าง20-500Hz แต่ถ้าใครต้องการใช้เป็นversionเต็มก็สามารถupgradeเป็นDirac Live FULLได้ สำหรับในเรื่องของการกำหนดtarget curveว่าcurveแบบไหนถึงให้เสียงดีตามที่ต้องการก็สามารถเข้าไปอ่านบทความนี้เพิ่มเติมนี้ได้ https://moraekhometheater.com/home/archive/2020/target-curve/

หลังจากทำDirac Liveก็เอาโปรแกรมที่เป็น3rd partyมาวัดดูFFTอีกครั้งว่าดีขึ้นขนาดไหน ซึ่งจากกราฟก็พบว่าการทำDirac Liveให้ผลออกมาดี กราฟมีความsmoothมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากโปรแกรมไปทำการปรับทั้งในส่วนtime domain และfrequency domain ทำให้กราฟที่ออกมามีความเรียบตามtarget curveที่ตั้งไว้ แต่อย่าลืมว่าตำแหน่งลำโพงต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมก่อนนะ ถ้าจำได้กราฟรูปแรกวางSubwooferอยู่ข้างลำโพงFront rightแล้วมีภูเขาอยู่สองลูกใหญ่ๆตรงกลางเป็นdipลึก แบบนี้ถ้าเอาไปเข้าโปรแกรมDirac Liveเลยจะทำให้การจัดการตรงนี้โปรแกรมต้องใส่filterมากเกินไป ผลจะตามมาคือความเพี้ยนของเสียง ในขณะที่ความเรียบของกราฟอาจจะไม่ดีขึ้น หรือแค่เปลี่ยนนิดหน่อย ดังนั้นหลักการที่สำคัญในก่อนการทำAuto-calibrationก็คือตำแหน่งลำโพงต่างๆต้องอยู่ในที่ที่ถูกต้องเหมาะสมก่อน แล้วค่อยใช้โปรแกรมAuto-calibrationต่างๆตามมา

ทำการวัดFull band frequency response ความถี่มากกว่า 500Hz ที่ไม่ได้ถูกจัดการโดยDirac Liveก็คือได้ว่ามีความsmooth ไม่มีcurveที่tiltลงมาผิดปกติ ซึ่งผมว่าถ้าห้องไหนมีความผิดปกติตรงนี้ หรือมีการใช้ลำโพงmainหลายๆยี่ห้อร่วมกัน การทำDirac Liveตลอดทั้งFull bandก็มีความจำเป็น แต่ถ้าในสถานการณ์ที่ไม่ได้มีอะไรผิดปกติมาก ลำโพงเป็นยี่ห้อเดียวกันSeriesใกล้เคียงกันมีการsetupลำโพงที่ดี การใช้แค่ Dirac Live LEก็ถือว่าเพียงพอ

ทดสอบการDecode เสียงโดยต่อpre-out ไปยังชุดลำโพงระบบ Atmos7.1.4 ในsystemลำโพงMeyer Soundที่ผมใช้อยู่ เพื่อทดสอบImmersive Soundว่าทำได้ดี มีความโอบล้อม ความต่อเนื่องได้ดีขนาดไหน

และแล้วก็ถึงเวลาฟังเสียงที่ออกมาจริงๆกัน อย่างแรกที่อยากรู้เลยคือว่าเสียงความถี่ต่ำที่ทำการปรับโดยManual แล้วตามด้วยDiracจะดีขนาดไหน ลองเลยคอนเสิร์ตที่มีเสียงกลองเพื่อดูความแน่น ความใหญ่ impact ความเร็วของกลองว่าดีขนาดไหน ผลออกมาคือดีมากครับ เสียงมีimpactที่พอดี ไม่มากจนรำคาญหรือน้อยจนแทบไม่มีแต่อย่างใด เสียงมีความเร็ว ไม่เพี้ยน และไม่ฟ้องตำแหน่งSubwoofer บางทีต้องเอาหูไปแนบที่Subwooferเพื่อให้แน่ใจว่ามันทำงานอยู่เพราะเสียงความถี่ต่ำที่ออกมามันไม่ได้ให้ความรู้สึกว่าออกมาจากตู้Subwooferเลย ส่วนที่ทำให้surpriseอีกอย่างก็คือที่คิดไว้ว่าเครื่องตัวเล็กๆจะขับลำโพงไหวหรือเปล่า นี่เอามาขับลำโพงNHT Classic3ที่แอมป์ทั่วไปถ้าไม่แน่จริงมีหวังขับลำโพงไม่ออก แต่ลองดูแล้วต้องบอกว่าขับลำโพงได้สบาย หลุดตู้แบบเสียงยกออกมาขึ้นอยู่กลางจอเลย เรียกว่าT778 ยังคงความเป็นNADอยู่เหนียวแน่นที่ให้พละกำลังมาดีมากเกินตัว

ลองดูคอนเสิร์ตเล่นเพลงแบบทั่วไป เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่งของNADอยู่แล้วไปมีปัญหา เสียงดนตรีที่ออกมามีความเป็นธรรมชาติ ฟังได้สบาย เสียงแหลมไม่คมบาดหู ความถี่ต่ำมีความกลมกล่อม เข้ากับความถี่กลางที่ให้ความsmooth เรียกได้ว่าถ้าเป็นmusicalนี่เข้าทางเขาหล่ะไว้ใจได้

ลองกับคอนเสิร์ตHans Zimmer-Live in Pragueที่เป็นDolby Atmos พบว่าการโอบล้อมImmersiveทำได้ดีมีรายละเอียด สังเกตง่ายๆจากเวลามีเสียงคนปรบมืออยู่ด้านหลัง แทบจะบอกได้เลยว่าตำแหน่งอยู่ตรงไหน .ให้บรรยากาศล้อมรอบตัวเหมือนได้เข้าไปอยู่ในคอนเสิร์ตจริง เสียงดนตรีโดยรวมมีความน่าฟังไพเราะ ฟังได้แบบยาวไป

มาถึงบททดสอบที่หินอีกเรื่องJohn Wick3 โดยNAD T778ยังทำได้ดีอยู่ไม่มีเป๋ เสียงปืน เสียงระเบิดต่างๆมีรายละเอียด รวดเร็วและมีimpact แสดงถึงความแตกต่างของปืนแต่ละกระบอกได้อย่างชัดเจน เสียงbackground musicมีความน่าฟังทำให้รู้สึกsmoothเข้ากับหนัง นั่งดูนานๆแบบสนุก ไม่มีความรู้สึกเหนื่อย หรือล้าหูแต่อย่างใด

ที่ชอบอีกอย่างหนึ่งและได้ใช้งานอยู่ตลอดก็คือBluOS เนื่องจากว่าใช้งานได้ง่ายสะดวก เพียงแค่กดปุ่มเปิดเครื่องปุ่มเดียว แล้วเลือกเพลงในมือถือแค่นี้ก็ได้เพลิดเพลินกับเสียงเพลงหลายแนว หลายรูปแบบ ที่มีมากมายนับไม่ถ้วน ที่สำคัญเสียงออกมาได้คุณภาพแบบmusicalของNAD ทั้งbackground noiseต่ำมีความเงียบสงัด ส่งผลให้เนื้อดนตรีออกมามีความโดดเด่น ไพเราะน่าฟังตามสไตล์NADเลย นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังZone2และใช้remoteตัวเล็กแยกควมคุมได้ต่างหากอีกด้วย

สรุปแล้ว NAD T778 เป็น AVR ที่ให้ความคุ้มค่า มีศักยภาพของเครื่องสูง จุดเด่นอยู่ที่พละกำลังและคุณภาพของน้ำเสียงที่ออกมา มี App BluOS ทำให้การstreamingเพลงเพื่อให้ได้เสียงดีเป็นเรื่องสะดวกง่ายดาย รองรับระบบImmersive Sound ได้ทั้ง Dolby Atmos, DTS-X พร้อมมีเครื่องมือปรับจูนเสียงอัตโนมัติชื่อดังอย่างDirac Liveมาให้ด้วย เรียกได้ว่าฟังเพลง ดูหนัง ดูคอนเสิร์ต ตอบโจทก์ได้หมด ทั้งยังมีเทคโนโลยีที่รองรับการUpgradeเครื่องได้ในอนาคตทำให้เครื่องไม่ล้าสมัย ถ้าใครต้องการเครื่อง AVR ที่จบในเครื่องเดียวในราคาที่จับต้องได้ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยต่างๆครบครัน ต้องหาโอกาสลองฟังเสียงจาก AVR NAD T778เครื่องนี้ซักครั้งรับรองจะไม่ผิดหวังครับ ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณบริษัท Conice Electronicที่ได้ส่งเครื่อง AVR NAD T778เพื่อมาทำการทดสอบในครั้งนี้ด้วยครับ

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ NAD T778 (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้