NAD T778 เป็น A/V Receiver รุ่นใหม่ล่าสุดที่ในขณะเขียนต้นฉบับนี้ตัวเครื่องยังไม่ได้วางจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยทางบริษัทConice Electronicได้ส่งมาให้ทดสอบก่อนว่าเครื่องA/V Receiver(บางคนอาจจะเรียกสั้นๆว่าAVR) รุ่นนี้มีว่ามีประสิทธิภาพสูง มีคุณสมบัติอะไรโดดเด่นบ้าง ใครที่เป็นFanclub NADมาอย่างยาวนาน(เช่นผม) หรือมีความสนใจในAVRตัวนี้ มาดูในรายละเอียดกันครับ
รูปร่างหน้าตาของกล่องที่ส่งมาให้มีขนาดไม่ได้ใหญ่โตเหมือนAVRทั่วไปที่คุ้นเคยกัน
แกะกล่องออกมาข้างในก็จะประมาณนี้
ด้านในกล่องอุปกรณ์ต่างๆก็แยกออกมาใส่กล่องต่างหาก ทำให้ดูเรียบร้อยเป็นระเบียบ และไม่ต้องกลัวอุปกรณ์เล็กๆที่อาจจะตกหายไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
ภายในกล่องAccessories มีการจัดวางอุปกรณ์ของเครื่องไว้ในช่องอย่างเป็นระเบียบดูหรูหราไฮโซดีทีเดียว
เห็นหน้าตาเครื่องครั้งแรกต้องบอกว่าNAD ทำDesign ต่างออกจากรุ่นเดิมที่เคยทำมาเยอะเลย ตั้งแต่ขนาดของเครื่องที่ไม่ได้ใหญ่โตมโหฬารเหมือนเครื่องAVRทั่วไป ขนาดเครื่องที่แจ้งไว้คือ 435x140x430mm น้ำหนักตัวก็แค่12.1กิโลกรัม เห็นรูปร่างกับน้ำหนักตอนแรกก็ยังแอบคิดเหมือนกันว่าเครื่องเล็กแบบนี้จะขับลำโพงไหวเหรอ แต่ด้วยความที่เชื่อมั่นในNADเองว่าไม่เคยทำให้ผิดหวังในเรื่องของเสียงเลยคิดว่าครั้งนี้ก็น่าจะไม่ผิดหวังอีกเช่นกัน
พูดมาถึงตรงนี้ต้องขอเล่าเรื่องราวของเครื่องเสียงยี่ห้อNADก่อนว่าทำไมผมถึงชอบและยังเป็นFCของเครื่องเสียงยี่ห้อนี้อยู่ ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่ากว่ายี่สิบปีที่เริ่มซื้อ เริ่มเล่นเครื่องเสียงแบบจริงจัง ยี่ห้อแรกที่ซื้อก็คือชุดเครื่องเสียงแยกชิ้นของ NADและลำโพงของ NHT เพราะได้ไปยินเสียงจากร้านค้าร้านหนึ่งและชื่นชอบในน้ำเสียง บุคลิกลักษณะDesignของตัวเครื่องเอง ทำให้เมื่อมีโอกาสได้หามาใช้เองจึงเลือกใช้ยี่ห้อนี้ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจนถึงปัจจุบันผมก็ยังได้ใช้สินค้าจากของทางNADและNHTที่ซื้อตั้งแต่ครั้งแรกอยู่อย่างไม่มีปัญหา อุปกรณ์บางตัวก็ยังใช้เปิดฟังทุกวัน อาจจะมีบางอย่างที่เสียบ้างตามกาลเวลาแต่ก็ได้รับการดูแลซ่อมแซมจากทางร้านConice Electronicsด้วยดีเสมอมา เรื่องนี้ต้องขอชมเชยและอยากให้ร้านเครื่องเสียงต่างๆดูแลลูกค้าให้ดีเหมือนกับทางConiceแค่นี้ผมว่าผู้บริโภคก็จะมีความมั่นใจในตัวสินค้าว่าสามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นได้อย่างสบายใจอีกยาวนาน
พูดถึงลักษณะเด่นของT778 A/V Surround Amplifierที่ทางNADบอกว่าเป็นAVRระดับอ้างอิงของNADนั้นมีดังนี้
– Efficient Distortion-free Amplification อย่างที่บอกไว้ครับว่าเรื่องพละกำลังเครื่องของNADนั้นไม่ธรรมดาอยู่แล้ว โดยทางNADใช้ระบบเทคโนโลยีHybrid Digital Amplifier ที่พัฒนามาล่าสุด ทำให้เครื่องเล็กๆเบาๆแบบนี้สามารถปล่อยพลังได้ถึง 140watts FTC(มาตรฐานFederal Trade Comission)ที่ 8 Ohms และ ถ้าเปิดเสียงทุกย่านความถี่(full bandwidth)แบบเต็มที่(Full Disclosure Power) 9แชลแนลพร้อมกัน พลังงานที่ออกมาก็ยังสูงถึง 85watts ซึ่งรู้ๆกันว่าwattsของแอมป์NADนั้นเป็นwattsเต็มๆที่ไม่ได้แต่งแต้มค่าให้specดูสูงเกินจริง เรื่องนี้ไว้ใจได้
– Fully Feature Surround สำหรับobject-base audio T778รองรับระบบเสียงทั้ง Dolby Atmos และ DTS:X โดยตัวpre processingสามารถถอดรหัสได้ 7.2.4 โดย9แชลแนลที่มีamplifier และอีก 2 channelเป็นpre-out ใช้ต่อแอมป์ภายนอกเพื่อให้รองรับDolby Atmos 7.2.4เต็มระบบ
– Complete and Compactเนื่องจากการพัฒนาของAmplifierทำให้ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ขนาดใหญ่ สามารถออกแบบT778ให้มีความกะทัดรัด ทันสมัยแบบminimalist ดูมีDesign ในขณะที่ยังให้ประสิทธิภาพของเครื่องได้เต็มที่ตามแบบฉบับของNAD เพื่อให้ผู้ฟังมีความสนุกสนานรื่นรมย์กับทั้งเสียงดนตรีและเสียงจากภาพยนตร์
– High-Res BluOS enabled Network Streaming มีระบบBluOSของNADเองที่ใช้Applicationบนsmart phoneเพื่อควมคุมการเล่นเพลงnetwork radio หลายพันช่อง สามารถFull decoding MQA High-Res Streaming ต่างๆไม่ว่าจะเป็น TIDAL, Spotify, KKBOX, LiveXLive, Napster, TuneIn ฯลฯ
– Dirac Live Room Correction ใช้ระบบปรับเสียงของ Dirac EQ system แต่ที่มากับเครื่องจะเป็นLE versionปรับได้แค่ความถี่ 500Hz ลงมาเท่านั้น ซึ่งทางNADคงประเมินดูแล้วว่าเป็นความถี่ที่น่าจะเป็นปัญหาของระบบส่วนใหญ่ แต่ถ้าใครต้องการปรับให้ได้ตั้งแต่ 20-20,000Hz ก็สามารถซื้อFULL version upgradeจากinternetได้เลย ราคาอยู่ที่ 99 USD
หลังของเครื่องด้านบนซ้ายจะเห็นได้ชัดเจนคือSlotว่างที่เขียนว่าMDC(Modular Design Construction) ช่องนี้NADได้เตรียมเผื่อไว้สำหรับการUpgradeในอนาคตที่จะเกิดขึ้นมาเนื่องจากว่าการพัฒนาระบบdigital formats, เทคโนโลยีแบบต่างๆได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งT887ได้เตรียมการเผื่อไว้ 2 slotsเพื่อให้เครื่องทันสมัยอยู่ตลอด เช่นถ้าต้องการUpgradeระบบภาพให้เครื่องรองรับระบบHDMI 2.1 ก็เพียงแต่ใส่บอร์ดเข้าไปในMDCนี้ก็เป็นการUpgradeเรียบร้อย ไม่ต้องซื้อหรือเปลี่ยนเครื่องใหม่ และไม่ต้องส่งเครื่องกลับไปกลับมาถึงศูนย์บริการเสี่ยงต่อการสะเทือนเสียหายจากการขนส่ง โดยสามารถทำได้เองไม่ยาก
ถัดจากช่องMDCลงมาจะมีช่อง input HDMI 2.0b 5ช่อง ส่วนoutput มี2ช่อง โดยจะมีแค่ช่องHDMI Out1เท่านั้นที่เป็น 4K UHD video pass-through ต่อมาก็เป็นช่องต่อมาตรฐานอื่นๆได้แก่ช่องLAN, USB, ช่องpre out ที่เครื่องสามารถทำหน้าที่เป็นSurround Preprocessorได้โดยสามารถถอดรหัสได้สูงสุดเป็นAtmos7.2.4, มีช่อง 2-RCA audio inputs, 1-RCA Phono stageร่วมกับช่องground, Zone2 RCA out, 2-Coaxial, 2-Optical digital input, RS232C, triggers IR slots และช่องต่อสายลำโพง 9ช่องที่สามารถต่อได้ทั้งแบบสายเปล่า spades และbanana ส่วนด้านขวามือสุดก็จะเป็นช่องต่อสายไฟเข้าและswitchเปิดปิด
remoteที่ให้มามีสองตัว ตัวหลักสามารถควบคุมเครื่องได้ทั้งหมด ตัวเล็กใช้สำหรับควบคุมZone2 โดยremoteตัวใหญ่จะมีไฟที่ปุ่มขึ้นสีฟ้าเมื่อมีการขยับremoteหรือมีการกดปุ่ม ทำให้สะดวกเมื่อใช้งานในห้องที่มืด แต่การออกแบบปุ่มของremoteจะแปลกหน่อยตรงที่ปุ่มOKตรงกลางcursorจะไม่ได้เป็นการเลือกในเมนูนั้นๆ ถ้าจะเลือกให้กดปุ่มลูกศรขวามือจะเป็นการเลือกเมนู ซึ่งต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยซักพัก ทำให้ผมกดผิดประจำในตอนแรก
Microphoneที่มากับเครื่องเพื่อใช้ในการปรับเสียงของ Dirac Live สามารถต่อเข้าเครื่องAVRโดยตรงโดยแปลงหัวเป็นUSB หรือสามารถต่อเข้าคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรแกรมDirac Liveเลยก็ได้
ระบบBluOS ต้องใช้อุปกรณ์ตัวนี้ต่อเข้ากับช่องUSBของเครื่องที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของเครื่อง แล้วค่อยติดตั้งแอป BluOSลงในมือถือเพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องAVR
คู่มือการใช้งานให้มาแค่นี้ แต่ถ้าใครต้องการแบบตัวเต็มก็สามารถเข้าไปโหลดไฟล์ pdfจากwebsiteของทางNADได้
ได้เวลาเชื่อมต่อสายต่างๆ เพื่อทดสอบแล้วครับ (reviewer สู้ชีวิตทำเองทุกอย่าง555)
สิ่งที่ชอบอีกอย่างหนึ่งคือหน้าจอของเครื่องด้านหน้าเป็นแบบ full-color TFT touch screen สามารถแตะสัมผัสตั้งค่าต่างๆได้จากหน้าเครื่อง ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อทีวีเพื่อตั้งค่าเพราะเมนูการตั้งค่าบนหน้าจอทีวีหรือโปรเจคเตอร์ก็จะเป็นเมนูเดียวกันที่โชว์อยู่หน้าเครื่องนี้
หน้าจอtouch screen แบบสี ตอนเปิดเครื่องครั้งแรกดูสวยงามแหวกแนวจากNADรุ่นเดิมๆที่คุ้นเคยกัน
การตั้งค่าต่างๆสามารถใช้touch screen เปลี่ยนที่หน้าเครื่องได้เลย
เมื่อเวลาเล่นเพลงผ่านระบบBluOSจากsmart phone หน้าจอนี้ก็แสดงข้อมูลเพลงที่กำลังเล่นต่างๆสวยงาม ทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนหน้าจอเป็นรูปแบบได้หลากหลายตามต้องการ หรือถ้าใครไม่ต้องการให้จอนี้แสดงข้อมูลใดๆเนื่องจากอาจเป็นการรบกวนสายตาในขณะชมภาพยนตร์ก็สามารถลดความสว่างหน้าจอหรือปิดเลยก็ได้
ส่วนใครที่ถนัดปรับจากหน้าจอdisplayเนื่องจากเห็นชัดเจนและคุ้นเคยมากกว่า ก็สามารถทำได้ตามปกติ
ต่อสาย ลองfunctionต่างๆเรียบร้อยก็ได้เวลาfully calibrationแล้ว โดยการทดสอบในตอนแรกนี้ผมใช้NAD T778ต่อเข้ากับลำโพง NHTที่ผมมีอยู่ในระบบ 5.1ก่อนเพื่อทดสอบพละกำลังของเครื่องเหมือนกับการใช้งานทั่วไปภายในบ้านที่มีลำโพง5ตัวกับsubตัวเดียวว่าการsetup แบบนี้Dirac Liveจะทำได้ดีขนาดไหน เสียงที่ออกมาจะเป็นอย่างไรบ้าง โดยลำโพงหน้าที่ใช้ทดสอบจะเป็น NHT Classic 3 ลำโพงSurroundเป็นSB2 ส่วนลำโพงSubwooferใช้ตัวเดียวคือParadigm Signature SUB25
ไมค์ที่ติดมากับเครื่องใช้ในการทำDirac Live และไมค์Earthworksใช้เพื่อmanual calibrationและทดสอบความถี่หลังทำDirac Live
ก่อนการทำDirac Liveก็ทำการmanual calibrationก่อนเพื่อหาตำแหน่งลำโพงต่างๆให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงsound distortion หลักๆให้ได้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของRoom Mode(Standing Waves), SBIR, Comb filtering ฯลฯ อย่างเช่นในเรื่องของroom mode จากรูปในตอนแรกผมได้วางลำโพงSubwooferไว้ที่ระหว่างลำโพงcenterและ front right ซึ่งมักเป็นตำแหน่งที่คนชอบวางมากที่สุดเนื่องจากง่ายและเคยมีคำแนะนำไว้อย่างหนักแน่นว่าลำโพงSubwooferต้องวางไว้ด้านหน้าข้างลำโพงหลักเท่านั้น แต่ถ้าใครได้เคยอ่านบทความหรือติดตามที่ผมเคยพูดจะรู้ว่าการแก้ไขปัญหาroom modeนั้น ลำโพงSubwooferต้องวางในตำแหน่งที่เป็นnull ของmode ดังนั้นในแต่ละห้องตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับลำโพงsubwooferจึงไม่ได้อยู่ตำแหน่งเดียวที่เดียวเหมือนกันทุกห้อง ขึ้นอยู่กับขนาดของห้อง ผนังต่างๆและ acousticsที่มีอยู่ในห้อง การวางลำโพงfixแค่เพียงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเหมือนกันทุกห้องจึงไม่สามารถแก้ไขหรือลดความรุนแรงของroom mode ทำให้เสียงที่ออกมาก็ต้องcompromiseลงไป ถ้าใครสนใจในรายละเอียดของเรื่องนี้สามารถเข้าไปอ่านบทความที่ผมเคยเขียนไว้ได้ที่ https://moraekhometheater.com/home/archive/2014/solutions-to-standing-waves/ หรือถ้าใครชอบแนวฟังก็ตามไปฟังได้ที่นี่ครับ https://www.youtube.com/watch?v=yKFoPcIp6n0&t=821s
ทำการวัดค่าFFT 1/24Octaveที่ตำแหน่งนั่งฟังหลักโดยsubwooferวางตำแหน่งยอดนิยมอยู่ระหว่างลำโพงcenterและfront right ผลออกมาแน่นอนตามคาด มีภูเขาสองลูกอยู่ที่ตรงความถี่ยี่สิบกว่า กับประมาณแปดสิบHz ส่วนที่ความถี่สี่สิบก็มีdipลงไปมหาศาล ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการวางsubwooferของSystemที่กำลังทดสอบภายในห้องไม่ได้อยู่ตรงนี้ แต่จะอยู่ตรงไหนได้บ้างเพื่อจะได้ทำการย้ายอย่างรวดเร็วไม่ต้องมาลองผิดลองถูกกันมากก็กลับไปอ่านบทความเรื่องของRoom Modeเพิ่มเติมดูได้ครับ
Trickที่แนะนำในการหาตำแหน่งลำโพงSubwooferก็คือหาdollyมาใส่….แล้วชีวิตจะง่ายขึ้นอีกเยอะเลยครับ
หลังจากหาตำแหน่งตามวิธีที่เคยแนะนำ พบว่าSystemนี้ ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับSubwooferตัวเดียวคืออยู่ด้านข้างขวาตรงกลางห้อง
เมื่อวัดfrequency responseโดยใช้ FFT 1/24Octave กราฟความถี่ต่ำที่ได้ดีขึ้นเยอะ ไม่มีภูเขาสองลูกละ dipก็ดูดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ถึงกับเรียบเสียทีเดียว ซึ่งถ้าได้Subwooferสองตัวหรือสี่ตัวแน่นอนว่ากราฟก็น่าจะดูดีกว่านี้ แต่ก็พอจะมั่นใจว่าตำแหน่งที่Subwooferวางอยู่ตอนนี้ไม่ได้ส่งเสริมทำให้room modeของห้องมีความรุนแรงมากเกินไปการใช้Dirac Liveต่อก็จะได้ประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างที่เคยบอกไว้ครับว่าการใช้Auto-calibrationนั้นสิ่งที่สำคัญคือตำแหน่งลำโพง acousticsต่างๆภายในห้องต้องไม่มีความผิดปกติมากเกินไป ไม่อย่างงั้นการใช้โปรแกรมautoพวกนี้ก็จะทำให้เสียงออกมาเพี้ยน ไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น
สำหรับการใช้Dirac Liveนั้นก็ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อนเนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถทำได้เองอยู่แล้ว ขั้นตอนก็ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อน ขั้นตอนแรกก็เลือกเครื่องAVRที่อยู่ในวงLANเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ปรับ ส่วนไมค์ที่ใช้ปรับก็สามารถต่อกับตัวเครื่องT778โดยใช้adapterแปลงจากหัว 3.5mm เป็นUSBหรือ สามารถต่อเข้าคอมพิวเตอร์โดยตรงเลยก็ได้ แล้วทำการSelect Recording Deviceตามรูปที่แสดง
ขั้นตอนต่อมาเป็นVolume Calibrationก็ทำการปรับความดังของลำโพงแต่ละแชลแนลให้มีความดังออกมาเท่ากัน เท่าที่ลองมาในชุดของผม LevelของSubwooferปรับให้ดังกว่าแชลแนลอื่นๆซัก 2-4dB แต่อยู่ในความดังปกติอยู่ในrangeของสีฟ้า ผมว่าให้เบสในปริมาณที่เหมาะสมไม่เบาเกินไป
ทำการเลือกรูปแบบการฟังของเราว่าเป็นแบบไหน นั่งดูกี่คน เป็นโซฟาหรือเก้าอี้ตัวเดียว ก็สามารถเลือกดูตามรูปได้
เครื่องก็จะทำการปล่อยสัญญาณsweepไปที่แต่ละลำโพงเพื่อวัดค่าต่างๆทั้งในส่วนของfrequency domain และtime domain เสร็จในแต่ละตำแหน่งก็เลื่อนไมค์ไปตามตำแหน่งในรูปที่แสดงไว้
ขั้นตอนต่อมาก็จะเป็นการกำหนดtarget curve ในลำโพงแต่ละตัว โดยDirac Live LEที่มากับเครื่องสามารถตั้งTarget curveได้ระหว่าง20-500Hz แต่ถ้าใครต้องการใช้เป็นversionเต็มก็สามารถupgradeเป็นDirac Live FULLได้ สำหรับในเรื่องของการกำหนดtarget curveว่าcurveแบบไหนถึงให้เสียงดีตามที่ต้องการก็สามารถเข้าไปอ่านบทความนี้เพิ่มเติมนี้ได้ https://moraekhometheater.com/home/archive/2020/target-curve/
หลังจากทำDirac Liveก็เอาโปรแกรมที่เป็น3rd partyมาวัดดูFFTอีกครั้งว่าดีขึ้นขนาดไหน ซึ่งจากกราฟก็พบว่าการทำDirac Liveให้ผลออกมาดี กราฟมีความsmoothมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากโปรแกรมไปทำการปรับทั้งในส่วนtime domain และfrequency domain ทำให้กราฟที่ออกมามีความเรียบตามtarget curveที่ตั้งไว้ แต่อย่าลืมว่าตำแหน่งลำโพงต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมก่อนนะ ถ้าจำได้กราฟรูปแรกวางSubwooferอยู่ข้างลำโพงFront rightแล้วมีภูเขาอยู่สองลูกใหญ่ๆตรงกลางเป็นdipลึก แบบนี้ถ้าเอาไปเข้าโปรแกรมDirac Liveเลยจะทำให้การจัดการตรงนี้โปรแกรมต้องใส่filterมากเกินไป ผลจะตามมาคือความเพี้ยนของเสียง ในขณะที่ความเรียบของกราฟอาจจะไม่ดีขึ้น หรือแค่เปลี่ยนนิดหน่อย ดังนั้นหลักการที่สำคัญในก่อนการทำAuto-calibrationก็คือตำแหน่งลำโพงต่างๆต้องอยู่ในที่ที่ถูกต้องเหมาะสมก่อน แล้วค่อยใช้โปรแกรมAuto-calibrationต่างๆตามมา
ทำการวัดFull band frequency response ความถี่มากกว่า 500Hz ที่ไม่ได้ถูกจัดการโดยDirac Liveก็คือได้ว่ามีความsmooth ไม่มีcurveที่tiltลงมาผิดปกติ ซึ่งผมว่าถ้าห้องไหนมีความผิดปกติตรงนี้ หรือมีการใช้ลำโพงmainหลายๆยี่ห้อร่วมกัน การทำDirac Liveตลอดทั้งFull bandก็มีความจำเป็น แต่ถ้าในสถานการณ์ที่ไม่ได้มีอะไรผิดปกติมาก ลำโพงเป็นยี่ห้อเดียวกันSeriesใกล้เคียงกันมีการsetupลำโพงที่ดี การใช้แค่ Dirac Live LEก็ถือว่าเพียงพอ
ทดสอบการDecode เสียงโดยต่อpre-out ไปยังชุดลำโพงระบบ Atmos7.1.4 ในsystemลำโพงMeyer Soundที่ผมใช้อยู่ เพื่อทดสอบImmersive Soundว่าทำได้ดี มีความโอบล้อม ความต่อเนื่องได้ดีขนาดไหน
และแล้วก็ถึงเวลาฟังเสียงที่ออกมาจริงๆกัน อย่างแรกที่อยากรู้เลยคือว่าเสียงความถี่ต่ำที่ทำการปรับโดยManual แล้วตามด้วยDiracจะดีขนาดไหน ลองเลยคอนเสิร์ตที่มีเสียงกลองเพื่อดูความแน่น ความใหญ่ impact ความเร็วของกลองว่าดีขนาดไหน ผลออกมาคือดีมากครับ เสียงมีimpactที่พอดี ไม่มากจนรำคาญหรือน้อยจนแทบไม่มีแต่อย่างใด เสียงมีความเร็ว ไม่เพี้ยน และไม่ฟ้องตำแหน่งSubwoofer บางทีต้องเอาหูไปแนบที่Subwooferเพื่อให้แน่ใจว่ามันทำงานอยู่เพราะเสียงความถี่ต่ำที่ออกมามันไม่ได้ให้ความรู้สึกว่าออกมาจากตู้Subwooferเลย ส่วนที่ทำให้surpriseอีกอย่างก็คือที่คิดไว้ว่าเครื่องตัวเล็กๆจะขับลำโพงไหวหรือเปล่า นี่เอามาขับลำโพงNHT Classic3ที่แอมป์ทั่วไปถ้าไม่แน่จริงมีหวังขับลำโพงไม่ออก แต่ลองดูแล้วต้องบอกว่าขับลำโพงได้สบาย หลุดตู้แบบเสียงยกออกมาขึ้นอยู่กลางจอเลย เรียกว่าT778 ยังคงความเป็นNADอยู่เหนียวแน่นที่ให้พละกำลังมาดีมากเกินตัว
ลองดูคอนเสิร์ตเล่นเพลงแบบทั่วไป เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่งของNADอยู่แล้วไปมีปัญหา เสียงดนตรีที่ออกมามีความเป็นธรรมชาติ ฟังได้สบาย เสียงแหลมไม่คมบาดหู ความถี่ต่ำมีความกลมกล่อม เข้ากับความถี่กลางที่ให้ความsmooth เรียกได้ว่าถ้าเป็นmusicalนี่เข้าทางเขาหล่ะไว้ใจได้
ลองกับคอนเสิร์ตHans Zimmer-Live in Pragueที่เป็นDolby Atmos พบว่าการโอบล้อมImmersiveทำได้ดีมีรายละเอียด สังเกตง่ายๆจากเวลามีเสียงคนปรบมืออยู่ด้านหลัง แทบจะบอกได้เลยว่าตำแหน่งอยู่ตรงไหน .ให้บรรยากาศล้อมรอบตัวเหมือนได้เข้าไปอยู่ในคอนเสิร์ตจริง เสียงดนตรีโดยรวมมีความน่าฟังไพเราะ ฟังได้แบบยาวไป
มาถึงบททดสอบที่หินอีกเรื่องJohn Wick3 โดยNAD T778ยังทำได้ดีอยู่ไม่มีเป๋ เสียงปืน เสียงระเบิดต่างๆมีรายละเอียด รวดเร็วและมีimpact แสดงถึงความแตกต่างของปืนแต่ละกระบอกได้อย่างชัดเจน เสียงbackground musicมีความน่าฟังทำให้รู้สึกsmoothเข้ากับหนัง นั่งดูนานๆแบบสนุก ไม่มีความรู้สึกเหนื่อย หรือล้าหูแต่อย่างใด
ที่ชอบอีกอย่างหนึ่งและได้ใช้งานอยู่ตลอดก็คือBluOS เนื่องจากว่าใช้งานได้ง่ายสะดวก เพียงแค่กดปุ่มเปิดเครื่องปุ่มเดียว แล้วเลือกเพลงในมือถือแค่นี้ก็ได้เพลิดเพลินกับเสียงเพลงหลายแนว หลายรูปแบบ ที่มีมากมายนับไม่ถ้วน ที่สำคัญเสียงออกมาได้คุณภาพแบบmusicalของNAD ทั้งbackground noiseต่ำมีความเงียบสงัด ส่งผลให้เนื้อดนตรีออกมามีความโดดเด่น ไพเราะน่าฟังตามสไตล์NADเลย นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังZone2และใช้remoteตัวเล็กแยกควมคุมได้ต่างหากอีกด้วย
สรุปแล้ว NAD T778 เป็น AVR ที่ให้ความคุ้มค่า มีศักยภาพของเครื่องสูง จุดเด่นอยู่ที่พละกำลังและคุณภาพของน้ำเสียงที่ออกมา มี App BluOS ทำให้การstreamingเพลงเพื่อให้ได้เสียงดีเป็นเรื่องสะดวกง่ายดาย รองรับระบบImmersive Sound ได้ทั้ง Dolby Atmos, DTS-X พร้อมมีเครื่องมือปรับจูนเสียงอัตโนมัติชื่อดังอย่างDirac Liveมาให้ด้วย เรียกได้ว่าฟังเพลง ดูหนัง ดูคอนเสิร์ต ตอบโจทก์ได้หมด ทั้งยังมีเทคโนโลยีที่รองรับการUpgradeเครื่องได้ในอนาคตทำให้เครื่องไม่ล้าสมัย ถ้าใครต้องการเครื่อง AVR ที่จบในเครื่องเดียวในราคาที่จับต้องได้ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยต่างๆครบครัน ต้องหาโอกาสลองฟังเสียงจาก AVR NAD T778เครื่องนี้ซักครั้งรับรองจะไม่ผิดหวังครับ ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณบริษัท Conice Electronicที่ได้ส่งเครื่อง AVR NAD T778เพื่อมาทำการทดสอบในครั้งนี้ด้วยครับ