Article

Search

Center Channel Speakers

ผมยังจำได้ว่าตอนที่เรียนClass THX กับอาจารย์ John Dahlที่ตอนนั้นเป็นDirctor of Education THX (ตอนนี้เกษียณไปแล้ว) จะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่อาจารย์ให้นักเรียนเข้าไปฟังตามห้องโชว์เครื่องเสียงของงานChina Audio&Video Integration Technology Expo(CIT) ที่มีอยู่หลายสิบห้องแล้วกลับมาDiscussกันว่ามีประเด็นน่าสนใจอะไรบ้างในแต่ละห้อง ซึ่งประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือJohn Dahl ได้ถามนักเรียนว่าห้องแสดงHome theaterห้องไหนที่ถือว่ามีข้อบกพร่องจุดใหญ่ที่สุด นักเรียนก็ทำการเดาต่างๆนาๆ บ้างก็บอกติดตั้งผิดบ้าง ตำแหน่งนั่ง ตำแหน่งลำโพงผิดบ้าง เซตค่าconfigurationผิดบ้างฯลฯ

ในที่สุดJohn Dahlก็บอกว่าห้องที่ผิดหลักconceptของhome theaterในมุมมองTHXมากที่สุดคือห้องที่ไม่มีลำโพงCenter เพราะสำหรับTHXนั้น ลำโพงที่THXให้ความสำคัญมากที่สุดในระบบhome theaterก็คือลำโพงCenter เนื่องจากว่ากว่า 85% ของเสียงพูดและเสียงspecial effects ต่างๆออกจากลำโพงCenterนี้ ซึ่งในแผนภาพที่เป็นPatternห้องmixเสียงมาตรฐานTHX เห็นได้ว่าเสียงCenterไม่ได้มีเฉพาะเสียงพูด แต่จะมีทั้งเสียง effects, เสียงดนตรี เสียงambience ต่างๆ โดยนอกจากจะเป็นหลักในเสียงพูดแล้วยังเป็นลำโพงตัวสำคัญทำหน้าที่เสริมเสียงจากลำโพงคู่หน้าให้ดีขึ้น และมีจุดsweet spotให้กว้างเพิ่มขึ้นด้วย

เพื่อให้เกิดการเข้ากัน(matching)ของลำโพง 3ตัวหน้าคือ left center และright (LCR) ที่ดีที่สุดหรือในอุดมคติลำโพงทั้งสามตัวต้องเหมือนกัน มีการเรียงตัวของกรวยลำโพงต่างๆเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงห้องhome theater ถ้าเราไม่ได้ใช้จอภาพที่เป็นแบบAcoustically transparent screens(AT) แล้ววางลำโพงหลังจอ เมื่อใช้ลำโพงตั้งพื้นวางไว้ตรงกลางทำเป็นลำโพงcenterปัญหาใหญ่ก็คือลำโพงตั้งพื้นสูงๆก็จะบังจอ ครั้นจะยกจอขึ้นก็สูงเกินต้องแหงนหน้ามากเวลาดูหนัง แถมเวทีเสียงLCRก็จะอยู่ใต้จอด้วย วิธีที่นิยมใช้แก้ปัญหานี้คือเอากรวยลำโพงของลำโพงcenterเรียงกันในแนวราบ แต่ปัญหาที่ต้องเจอในการวางกรวยลำโพงแบบนี้ก็คือเมื่อdriverหลายตัวเปล่งเสียงความถี่เดียวกันก็จะเกิดการเสริมและหักล้างของความถี่นั้นๆขึ้น โดยหูของคนเราจะไวต่อความผิดปกตินี้ที่เกิดขึ้นในแนวระนาบมากกว่าในแนวดิ่ง ซึ่งความบกพร่องของacousticsในการวางกรวยลำโพงแนวระนาบมันจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าhorizontal lobing errors ส่วนในแนวดิ่งหรือแนวตั้งจะเรียกว่าvertical lobing errors ที่มนุษย์ไวต่อแนวระนาบมากกว่าแนวดิ่งก็เพราะคนเรามีหูด้านซ้าย และด้านขวาที่สามารถจับความแตกต่างของเวลาที่มาถึงหูไม่พร้อมกันทั้งสองข้างเพื่อทำการแปลผลในสมอง ส่วนในแนวดิ่งนั้นคนเราไม่มีหูด้านบน ด้านล่างเพื่อจับความแตกต่างของเวลาที่มาถึงไม่พร้อมกันในแนวดิ่ง ความไวของหูต่อเสียงในแนวดิ่งเลยน้อยกว่าในแนวระนาบ

การออกแบบลำโพงcenterหลายๆแบบที่เราเห็นต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปแต่แบบไหนบ้างที่จะเหมาะสมกับห้องhome theaterบ้างลองมาดูกัน

เริ่มจากแบบแรกตามรูป Figure 1.a หรือจะพูดให้เห็นภาพก็อาจจะเรียกว่าเป็นแบบMTM เนื่องจากมีการวางdriver midrange(M) เรียงไปเป็นtweeter(T)อยู่ตรงกลางส่วนอีกข้างก็เป็นลำโพงmidrangeอีกตัวเรียงกันไปเป็นMidrange–Tweeter- Midrangeหรือย่อว่าMTM รูปแบบการวางลำโพงแบบนี้นับว่าเป็นแบบclassicมากสำหรับลำโพแนวตั้งซึ่งให้เสียงที่ดี ลดการเกิดhorizontal lobingระหว่างtweeterและmidrangeทำให้การตอบสนองต่อความถี่ต่างๆมีความราบเรียบ สำหรับพลังหรือdynamicของเสียงที่ออกมาก็นับว่าดีกว่าลำโพง2ทางโดยทั่วไปที่มีลำโพงmidrangeแค่ตัวเดียวเพราะแบบนี้ใช้ลำโพงmid bassสองตัว หรือบางทีถ้าต้องการให้ได้พลังออกมามากกว่านี้อีกก็อาจจะเพิ่มลำโพงmidrangeเข้าไปอีกเป็นMMTMM

เมื่อระบบsurroundได้มีการคิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในห้องhome theater คนก็เริ่มมองหาลำโพงcenterที่วางในแนวนอนเพิ่มมากขึ้นเพราะมันเป็นการหลบไม่ให้ลำโพงบังจอ หลังจากนั้นเป็นต้นมาลำโพงแบบMTMที่วางในแนวนอนก็ได้รับความนิยมมากกว่าการใช้ลำโพงเป็นทรงเดียวกันวางเหมือนกันทั้งLCR ซึ่งให้ผลดีไม่บังจอ แต่มันก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของเสียงบริเวณoff-axisที่ไม่สม่ำเสมอเนื่องจากlobing errors

เมื่อต้องการให้เสียงมีคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าแบบทั่วไปและลดปัญหาในเรื่องlobing errors บริษัทต่างๆก็ได้พยายามพัฒนาการออกแบบลำโพงcenterจากรูปแบบดั้งเดิมMTM มาเป็นNested MTM Configuration วัตถุประสงค์ก็เพื่อลดระยะห่างระหว่างลำโพงwooferทั้งสองตัวทำให้lobing errorsลดลง และการตอบสนองของความถี่เสียงต่างๆoff axisจะดีขึ้นกว่าแบบMTMเดิม แต่แน่นอนว่าการออกแบบตู้ลำโพงแบบนี้ต้องมีการทำตู้ลำโพงขึ้นมาใหม่ ไม่สามารถใช้ตู้cabinetของลำโพงFront Left, Front right มาเจาะรูdriverแล้ววางลำโพงแนวนอนได้เลย ต้องมีการทำตู้สำหรับลำโพงcenterโดยเฉพาะที่มีความสูงมากกว่าเดิม ค่าใช้จ่ายในการทำตู้ก็จะสูงขึ้นแต่ก็แลกมากับการตอบสนองของoff-axisที่ดีขึ้นเล็กน้อย

ส่วนถ้าต้องการออกแบบให้เสียงมีความครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นร่วมกับมีพลังงานเสียงที่ออกมามากขึ้นก็อาจจะมีการใส่ลำโพงmidrangeเข้าไปอีกคู่หนึ่ง กลายเป็นM(MTM)M หรือบางบริษัทก็ทำเป็นลำโพงสามทางเป็น W(MTM)Wโดยเพิ่มลำโพงbass woofersเข้าไปอีกสองตัวทั้งสองข้างของnested MTM ก็จะทำให้เสียงความถี่ต่ำขยายกว้างมากขึ้น พลังงานที่ออกจากลำโพงCenterก็จะมากขึ้นตาม

แบบต่อมาก็จะเป็นการวางdriver W(T/M)W configuration ตามรูป Figure 1.c ซึ่งรูปแบบลำโพงcenterลักษณะนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นจากบริษัทต่างๆและนักเล่นในปัจจุบัน โดยจะเป็นลักษณะลำโพง 3ทาง ลำโพงwooferมีขนาดใหญ่ขึ้นและจุดcross overจะลดลงในความถี่ที่ต่ำเพื่อให้อาการlobingอยู่ในความถี่ที่ต่ำและมีความยาวคลื่นมากกว่าเดิมมันเลยไม่มีผลกับเสียงมากนัก ในW(T/M)WตัวmidrangeอาจจะมีตัวหรือสองตัวแบบW(M/T/M)Wโดยmidrangeวางอยู่ใต้tweeterเพื่อผลในเรื่องoff axisดีขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มบริเวณนั่งฟังที่มีเสียงสม่ำเสมอให้กว้างขึ้น พลังdynamicก็จะเพิ่มขึ้นถ้ามีmidrange2ตัว แต่ข้อเสียสำหรับลำโพงแบบนี้ก็คือราคาที่สูงขึ้นเนื่องจากมีจำนวนdriverเพิ่มมากขึ้นทั้งขนาดความสูงของลำโพงที่ต้องสูงมากขึ้นเนื่องจากมีลำโพงtweeterวางไว้บนลำโพงmidrange ทำให้การจัดวางใต้จอภาพในบางสถานการณ์ทำได้ยาก นักเล่นบางคนอาจจะเลี่ยงไปใช้เป็นลำโพงbookshelfหน้าทั้งสามตัวLCR แทนเลยเพราะความสูงก็อาจจะใกล้เคียงกับW(T/M)W แถมทั้งสามตัวหน้ายังเป็นลำโพงเหมือนกันให้ความต่อเนื่องของเสียงได้ดีกว่าลำโพงที่ต่างกัน

ลำโพงcenterที่ไม่ค่อยเห็นก็จะเป็นแบบ WTMMTW หรือ TMMT ดังรูปFigure 1.d ตัวW(TMMT)Wจะเป็นลำโพงสามทางที่wooferตัวนอกสุดจะทำหน้าที่ในส่วนเสียงเบส ส่วนตรงกลางด้านในอาจจะเป็นเสียงแหลมทั้งสองตัวหรือสามตัวทำหน้าที่เฉพาะเสียงที่มีความถี่ประมาณเสียงการพูด การออกแบบลำโพงยาวๆแบบนี้อาจติดปัญหาเรื่องต้นทุนที่ต้องสูงขึ้นตามจำนวนdriverและความยาวของลำโพงที่ยาวเกินไป บริษัทก็อาจจะเปลี่ยนทำเป็นลำโพงแค่สองทางแบบ TMMT หรือ TMMMTแทน เมื่อดูจากภาพการออกแบบลำโพงยาวๆแบบนี้ข้อดีก็คือทำให้ตัวลำโพงไม่สูงมากนัก รวมถึงจำนวนdriverมากขึ้นพลังงานdynamicของเสียงที่ออกจากลำโพงก็มากขึ้น เล่นเสียงได้ดังขึ้น แต่อย่างไรก็ตามปัญหาใหญ่ของการออกแบบลำโพงแบบนี้คือการที่มีdriverเสียงสูงหรือtweeterแยกกันหลายตัว และแต่ละตัวอยู่ห่างกันมากกว่าความยาวคลื่นของเสียงที่สร้างขึ้นเพราะความยาวคลื่นของเสียงสูงๆมันสั้นมาก ทำให้การกวนกันของtweeterเป็นปัญหาใหญ่(acoustical interference) โดยเฉพาะถ้านั่งoff-axis ระยะทางระหว่างtweeterถึงหูของtweeterแต่ละตัวไม่เท่ากัน แต่ถ้านั่งอยู่บริเวณsweet spot ระยะทางของแต่ละtweeterมาถึงหูเท่ากันปัญหาเรื่องการกวนกันนี้ก็จะน้อยลง ดังนั้นเวลากำหนดตำแหน่งฟังก็ต้องดูว่าตำแหน่งนั่งฟังตำแหน่งอื่นๆนอกจากตำแหน่งmoney seatอยู่off axisมากน้อยขนาดไหนโดยเฉพาะลำโพงแบบ TMMT,TMMMT

หรือแม้กระทั่งการเอาลำโพงbookshelf2ตัวมาวางขวางต่อกัน ซึ่งทำให้ลำโพงมีtweeterอยู่ห่างกันมากกว่าความยาวคลื่นของความถี่ที่ออกมาจากลำโพงtweeterที่มีความยาวคลื่นสั้นมากทำให้ตำแหน่งนั่งฟังด้านข้างหรือsweet spotแคบลง บางทีแค่ขยับเอียงตัว บิดตัวเสียงก็เปลี่ยนไปแล้ว ดังนั้นถ้าเนื้อที่ความสูงจำกัดการทำtweeterแค่ตัวเดียวแบบMTMหรือMMTMMจึงเป็นทางเลือกที่ดีและให้เสียงสม่ำเสมอกว่า หรือถ้าต้องใช้tweeterหลายตัวและเนื้อที่ความสูงไม่มีปัญหาการวางtweeterให้เรียงเป็นแนวยาวแถวเดียวกันก็จะลดการเกิดปัญหาlobing errorได้ดีเพราะความไวของหูมนุษย์ต่อlobing errorในแนวดิ่งไม่ดีเท่าแนวระนาบดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น หรือลองสังเกตจากลำโพงที่ออกแบบมาในตลาดถ้ามีtweeterหลายตัวเขามักจะนิยมวางtweeterในแนวดิ่งมากกว่าเอามาเรียงในแนวระนาบก็เพราะเหตุผลนี้

ในที่นี้คงไม่สามารถพูดถึงรูปแบบการออกแบบลำโพงcenterทั้งหมดที่มีในตลาดได้ แต่ถ้าสังเกตจะพบว่าส่วนมากในปัจจุบันการออกแบบก็จะไม่หนีไปจากสามแบบนี้คือ MMTMM, W(MTM)W และW(M/T/M)W ส่วนบางบริษัทก็อาจจะมีรูปแบบต่างออกไปอีกเช่นมีหลายwooferและหลายtweeter เช่น WTWTWTW ที่คงต้องยอมว่าจะมีปัญหาในเรื่องlobing errors แต่ข้อดีของแบบนี้ก็มีคือเนื่องจากมันยาวมุมการกระจายเสียงก็จะครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น พลังเสียงdynamicมากขึ้น แต่เนื่องจากมีdriverมากขึ้นต้นทุนการทำก็สูงขึ้น ขนาดก็ใหญ่บางทีวางยาก หรืออีกแบบหนึ่งที่เคยนิยมในอดีตเมื่อสิบกว่าปีก่อนคือแบบลำโพงสองทางครึ่ง MTM ที่Midrangeตัวหนึ่งจะถูกจำกัดความถี่เอาไว้บางช่วงเพื่อลดปัญหาlobing errors แต่ปัญหาใหญ่คือคุณภาพเสียงที่ออกมาไม่ดีเนื่องจากการกระจายเสียงออกมาเอียง(asymmetrical) ในปัจจุบันเลยไม่ค่อยได้ครับความนิยม

สรุปได้ว่าacoustical interferenceที่เกิดขึ้นจากการใช้driverหลายตัวเล่นความถี่เดียวกัน จะลดลงถ้ามีการตัดความถี่ที่ต่ำพอ เมื่อความถี่ต่ำพอความยาวคลื่นของความถี่นั้นๆก็จะกว้างมากขึ้น driverเมื่อวางห่างกันไม่เกินความยาวคลื่นนี้ก็เสมือนว่าคลื่นเสียงเกิดมาจากแหล่งใกล้ๆกันไม่มีการขัดขวางกัน(transition band หรือ crossover band) แต่สำหรับtweeterความถี่ที่เปล่งออกมาล้วนมีความยาวคลื่นที่สั้นกว่าโอกาสที่เสียงออกมาinterfereกันจึงมากกว่า ดังนั้นการวางwooferหรือmidrangeเรียงกันในแนวระนาบและระยะห่างระหว่างdriverไม่ได้ห่างไปกว่าความยาวคลื่นสูงสุด จึงสามารถยอมรับได้มากกว่าการวางtweeterที่เรียงกันในแนวระนาบ

แต่ถ้าต้องการใช้ลำโพงtowerเป็นลำโพงหน้าทั้งสามให้เหมือนกันเพื่อความเข้ากันของเสียงด้านหน้าให้มากที่สุด การใช้จอแบบAcoustically transparentจึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งที่ลำโพงจะได้ไม่บังจอ หรือถ้าห้องhome theaterของเรามีขนาดเล็ก ลำโพงก็ไม่จำเป็นต้องตัวใหญ่หรือมีพลังมากๆ การใช้ลำโพงbookshelfสองทางที่มีdriverเรียงกันในแนวดิ่งตัวเล็กสามารถวางไว้ใต้จอได้โดยไม่บังจอก็เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในเรื่องการdesignของลำโพงcenterถ้าสนใจก็สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ในinternet เนื่องจากเป็นหัวข้อที่มีความสำคัญเรื่องหนึ่งของhome theaterเลย

วิชาการหนักๆมาเยอะแล้วขอพาไปเยี่ยมชมห้องฟังกันต่อ มีหลายคนก็บอกผมมาว่าพาไปเที่ยวบ้างไรบ้างก็ดีเนื้อหาจะได้ไม่ดูเคร่งเครียดจนเกินไป พอดีกับในช่วงที่ผ่านมาผมมีโอกาสดีได้ไปเยี่ยมชมห้องพี่ยุทธนา ที่อยู่แถวๆหลักสี่ตามที่ผมได้เอารูปลงให้เพื่อนๆได้ดูในSocial mediaมาบ้างแล้ว ก็เลยจะมาเล่ารายละเอียดของห้องฟังพี่ยุทธนาและประเด็นที่น่าสนใจให้ชาวนิตยสารหนังสือAudiophile/Videophile ได้ฟังว่ามีอะไรบ้าง ใครที่กำลังคิดจะทำห้อง หรือทำไปแล้วอยากปรับปรุงห้องตรงไหนก็สามารถใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งได้

วันที่ไปห้องฟังในวันนั้นกว่าจะฝ่าดงรถติดของเย็นวันศุกร์ต้นเดือนก็ถึงบ้านพี่ยุทธนาค่ำแล้ว ผมมาพร้อมกับคุณนัทCinemaniaและคุณชวิน ลักษณบ้านพี่ยุทธนาก็เป็นบ้านเดี่ยวมีพื้นที่โดยรอบ มีการตกแต่งรอบๆบ้านอย่างสวยงาม ทางเดินเข้าไปยังส่วนดูหนังฟังเพลงของบ้านก็มีสระเลี้ยงปลาคราฟอยู่ด้านหน้า ก่อนเข้าไปสัมผัสกับห้องจริงๆก็ได้พูดคุยกับพี่ยุทธนาเล็กน้อย ทำให้ทราบว่าพี่ยุทธนาสนใจในเรื่องเครื่องเสียงมาเป็นสิบๆปีแล้ว โดยเมื่อสิบกว่าปีก่อนสนใจมากขนาดข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนเรื่องการทำห้องฟังกับบริษัทAcoustic Designs ถึงอเมริกากันเลยทีเดียว และล่าสุดเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็พึ่งเข้าอบรมหลักสูตรHAA(Home Acoustics Alliance) และ THXแบบเข้มข้นที่ทางบริษัทDeco2000เป็นผู้จัด มีอาจารย์Gerry LeMayมาบรรยายและทำworkshopห้าวันรวด ได้ฟังแค่นี้ก็รู้ได้ว่าพี่ยุทธนามีทั้งความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์ในด้านเครื่องเสียงประเภทตัวจริงเสียงจริง

เดินเข้ามาถึงหน้าห้องฟังก็น่าจะเป็นส่วนที่ทำงานไปด้วยฟังเพลงไปด้วยแบบสบายๆ ชุดเครื่องเสียงที่ใช้จะเป็นแบบVintage 2-channel ประกอบไปด้วย Sources หลายตัวดังนี้ CD playerของ Sony XA5ES, Cassette playersเป็นของTeac V-1010, Turntableมีอยู่สองตัวคือ Denon DP-67Lและ Denon DP-59L ส่วนที่สะดุดตามากคือOpen Reel playerของ Akai GX-747 ลำโพงที่ใช้เป็น Technics E-100, Integrated Amplifier ของLuxman: L-510 และ Marantz Pm-5 โดยเมื่อผมเดินเข้ามาถึงบริเวณนี้ก็ต้องเคลิ้มกับเสียงเพลงที่พี่ยุทธนาเปิดเอาไว้เบาๆ เพราะเสียงเพลงที่ออกมาฟังดูมีเสน่ห์ ฟังสบาย ไม่เครียด ฟังไปพูดคุยกันไปสร้างบรรยากาศได้เป็นอย่างดี

พูดคุยกันได้พอหอมปากหอมคอก็ได้เวลาเข้าไปห้องฟังหลักของพี่ยุทธนา เมื่อเดินเข้ามาถึงภายในห้องสิ่งแรกที่ผมรู้สึกได้คือห้องนี้ออกแบบได้ไม่ธรรมดา คนทำห้องนี้ต้องเป็นคนที่มีความรู้เรื่องการทำห้องฟังดีทีเดียว อย่างผนังทั้งเพดาน และผนังด้านข้างของห้องนั้นไม่ได้ขนานกันเป็นรูปกล่องเหมือนห้องฟังทั่วๆไป แต่จะเป็นผนังที่เอียงเข้าไปหาจอด้านหน้า ทำให้ส่วนหน้าห้องมีขนาดเล็กกว่าด้านหลังห้อง คล้ายๆกับห้องstudioมืออาชีพที่ผมเคยนำเสนอมาแล้วว่าห้องprofessional studioมักนิยมทำกันให้เพดานเอียงลง ส่วนผนังด้านข้างทั้งสองข้างของห้องเอียงเข้าหากัน ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าการออกแบบห้องแบบนี้ทำให้มีAcousticsที่ดีกว่า เสียงจากลำโพงด้านหน้าก็จะวิ่งผ่านตำแหน่งนั่งฟังแล้วไปเกิดการสะท้อนเป็นสนามเสียงทางด้านหลังต่อคนฟังได้ดี แต่ผนังที่เอียงนั้นควรจะเอียงอย่างน้อย 7องศามันถึงจะส่งผลต่อความถี่ที่น้อยกว่า 2KHz ซึ่งเป็นความถี่ที่ต้องการผลจากการเอียงของผนังนี้ แต่ข้อเสียหลักของการเอียงแบบนี้ก็คือไม่สามารถทำนายการเกิดroom modeได้เหมือนกับในห้องที่มีรูปร่างเป็นกล่องที่ผนังด้านตรงข้ามขนานกัน การจะหาmode distributionของห้องที่มีผนังเอียงเหล่านี้ต้องอาศัยการวัดอย่างเดียว เหตุผลนี้ในห้องhome theaterทั่วไปเลยแนะนำให้ทำห้องเป็นรูปกล่องเพื่อสามารถทำนายได้เลยว่าห้องสัดส่วนเท่านี้ มีความกว้างความยาวความสูงเท่านี้จะมีmodeของห้องออกมาเป็นรูปแบบไหนซึ่งถึงจะส่งผลถึงการหาตำแหน่งการวางลำโพงต่างๆ หรือการหาตำแหน่งนั่งฟังได้ง่ายขึ้น ส่วนในห้องProfessional Studioที่มีเครื่องไม้เครื่องมือวัดที่มีความละเอียดแม่นยำสูง บุคคลากรในการทำห้องมีความรู้มากอยู่แล้วจึงไม่ค่อยมีปัญหาถ้าจะเอียงผนังต่างๆเข้าหากัน

จากการสอบถามได้ความว่าขนาดเฉลี่ยของห้องนี้จะอยู่ที่ประมาณ 5x8x3 เมตร นับว่าเป็นขนาดที่กำลังพอดีสำหรับห้องฟังขนาดกลางๆค่อนไปทางใหญ่ ผนังด้านข้างในส่วนหน้าห้องใกล้ลำโพงหลักก็จะทำเป็นลักษณะabsorb เสียงส่วนด้านหลังของห้องจะเป็นแผงdiffuserแบบอลูมิเนี่ยมที่หนาแข็งแรง มีขนาดใหญ่อยู่เกือบๆเต็มผนัง ในขนาดความกว้างและความลึกของdiffuserนี้มีขนาดไม่เท่ากัน ที่ผมชอบมากๆคือความลึกที่บางจุดของdiffuserนี้ลึกเข้าไปเกือบๆ 2ฟุตเลย ซึ่งdiffuserที่ลึกแบบนี้ก็เป็นจุดเด่นอีกจุดหนึ่งของห้องที่มีลักษณะคล้ายกับห้องprofessional studio ที่ผมคิดแบบนี้ก็เพราะว่าผมเคยเข้าไปชมstudioของ The STAR Performing Arts Centre ตอนไปเรียนโปรแกรมSMAART8ที่สิงค์โปร์ ข้างในห้องสตูดิโอผมพบแผงdiffuserที่ล้วนแต่มีความลึกระดับหลายสิบเซนติเมตรทั้งนั้น เพราะอย่างที่เคยเขียนไว้ก่อนๆว่าแผงdiffuserยิ่งมีความลึกของแผงมากขึ้นก็จะส่งผลถึงความถี่ที่ต่ำมากขึ้น

อุปกรณ์ในห้องนี้มีทั้งระบบ 2channelและ home theaterอยู่ทั้งสองอย่างด้วยกัน โดยประกอบไปด้วย เครื่องเล่นblu-ray Pioneer BDP LX71, Dune HD Solo 4K, เครื่องเล่น CD playerเป็น Denon 3500RG, ส่วนTurntableใช้ของ VPI Scout, Music playerเป็น Consonance, Pre-Processor Onkyo PR-SC5530 ต่อไปยังPower AmplifierของBryston ST power 3channelและ Krell: KSA 300S, Pre-Ampเป็น Melos MA-333, Pre-phonoของAcoustech, ระบบไฟฟ้าPower supplyใช้Hydra V-Ray, ระบบลำโพงหลักคือ Proac Response 4, Subwoofer: SVS PB 12 plus ระบบสายส่วนมากใช้ MIT, ชั้นวางของRacks: Acoustic Lab และระบบภาพProjector JVC RS-25 ก็อย่างที่เห็นล่ะครับเครื่องต่างๆมีหลากหลายมากมายเพราะว่าพี่ยุทธนาเล่นเครื่องเสียงมาหลายสิบปีอุปกรณ์ต่างๆจึงเยอะไปด้วยเลย

หลังจากที่ได้ทดลองทั้งฟังเพลง 2ch. และดูหนังmulti ch.ในห้องนี้แล้ว ต้องพูดได้ว่าห้องนี้เป็นห้องฟังที่ดีมากอีกห้องหนึ่งที่ผมเคยสัมผัสมาเลย โดยเฉพาะความถี่ต่ำที่ได้ยินนั้นเรียกได้ว่าห้องนี้เอาอยู่ได้สบาย มีความแน่น นิ่ง ไม่มีอาการก้อง หรือว่าบวมเบลอให้ได้ยินเลย ส่วนความถี่กลางและความถี่สูงมีความคมชัด มีclarityของเสียงที่ดีมาก ทั้งนี้ผมว่าเนื่องมาจากเจ้าของห้องมีความรู้ความเข้าในในการ DesignและTreatห้องฟังอย่างถูกหลักการเลยทำให้ห้องที่ออกมามีเสียงที่ดีแบบนี้ ซึ่งพี่ยุทธนาก็ฝากบอกมาว่าใครที่มีปัญหาในการทำห้องฟัง หรือสนใจห้องแบบนี้สามารถติดต่อหรือโทรปรึกษากับพี่ยุทธนาได้โดยตรงที่ คุณยุทธนา ค้าคล่อง หมายเลขโทรศัพท์ 081-869-8200 พี่เขายินดีตอบปัญหาและถ่ายทอดประสบการณ์เรื่องการทำห้องฟังอย่างเต็มที่ครับ ท้ายนี้ผมก็หวังว่าบทความฉบับนี้คงมีประโยชน์บ้างสำหรับใครที่สนใจในเรื่องAcoustics หรือการทำห้องฟังเพลง ห้องhome theater และคงได้มุมมองอะไรหลายๆอย่างที่น่าสนใจนะครับ

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ Center Channel Speakers (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้