PART 2 Fundamental of Phase
หลังจากในฉบับที่แล้วผมได้พูดถึง Time & Phase Alignment for Home Theater ให้พอเห็นภาพในหลักการเรื่องของphaseเพื่อใช้ในการปรับเสียงห้องHome Theaterของเรา เนื้อหาก็อาจจะยากไปบ้างแต่ถ้าเราได้ลองอ่านทำความเข้าใจไปทีละนิด คืออาจจะไม่จำเป็นต้องเข้าใจทั้งหมดเราก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพิ่มประสิทธิภาพเสียงในห้องHome Theaterของเราได้ ไหนๆก็ไหนๆละขอเล่าต่อในเรื่องPhaseให้จบพื้นฐานจะได้ต่อยอดฉบับที่แล้วให้เข้าใจเรื่องของphaseว่ามันมีที่มาที่ไปยังไง สำคัญอย่างไร
ในอดีตถ้าพูดถึงการวัดเสียงเราก็คงคุ้นเคยกับ การวัดแบบRTA ซึ่งก็คือการวัดระดับความดัง amplitude ในแต่ละความถี่ที่แบ่งเป็นOctaveตามลักษณะการได้ยินของมนุษย์ นับว่าเป็นการวัดแบบง่ายๆและเข้าใจได้ทันทีว่าความถี่ที่Octaveนี้มีระดับความดังขนาดไหน ต่อมาเริ่มมีการคิดถึงว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นมันมีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวด้วย คือนอกจากมันจะเป็นเรื่องของความถี่หรือfrequency domainมันยังเป็นเรื่องของtime domain จึงได้ใช้หลักการแปลงรูปแบบทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่าFast Fourier Transform(ฟาสต์ฟูริเยทรานสฟอร์ม)ที่เราจะเรียกกันติดปากว่าFFT แยกเสียงที่ได้ยินในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ(Time domain) ให้มีการกระจายความดังของเสียงในแต่ละความถี่(Frequency Domain)ออกมาจึงทำให้สามาถวิเคราห์ความถี่เสียงได้แม่นยำมากขึ้นกว่าRTA

ปัจจุบันวิศวกรได้พัฒนาการวัดเสียงFFTจากเดิมที่วัดได้แค่channelเดียวให้สามารถมีการเปรียบเทียบกันสองchannels ที่เรียกว่าDual Channel FFT โดยบางคนก็อาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าTransfer Function ทำให้เราสามารถเปรียบเทียบสัญญาณจากต้นกำเนิด(reference)และสัญญาณปลายทาง(measurement)ได้ว่ามีlevel,phase,timeและcomplex frequency response เหมือนหรือแตกต่างกันกับต้นฉบับอย่างไร นับว่าเป็นการวัดเสียงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบันเพราะนอกจากจะรู้ว่าเสียงที่เราได้ยินมีความผิดเพี้ยนตรงไหนบ้างแล้วเนื่องจากมันมีตัวเปรียบเทียบจากต้นฉบับ การวัดแบบTransfer functionจึงไม่ได้รับผลกระทบจากnoiseของระบบ(noise immunity)แต่อย่างใด และเพราะว่ามันมีreference channelนี่แหละเลยทำให้การวัดแบบtransfer functionมีข้อดีที่บอกได้ว่าเสียงที่เราฟังอยู่มันเหมือนหรือต่างจากที่เขาบันทึกมามากขนาดไหนโดยสามารถดูได้จากค่าCoherenceที่จะบอกเป็นเปอร์เซนต์ของความเหมือนกันระหว่างreference และ measurement ดังนั้นในอดีตถ้าใครมีคำถามที่ว่าแล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเสียงต้นฉบับจริงๆ หรือเสียงในห้องpost productionที่คนทำภาพยนต์อยากให้เราได้ยินมันจะเป็นยังไง เราไม่มีทางรู้ได้หรอก แต่ในปัจจุบันวิศวกรได้ใช้หลักทางPhysicsเพื่อที่ทำการวัดให้สามารถบอกได้ว่าเสียงที่ได้ยินอยู่นั้นมีความใกล้เคียงกับที่เขาบันทึกมาขนาดไหน มีตรงไหนที่มีความเพี้ยนเกิดขึ้น และเพี้ยนยังไง เพราะอะไร ดังนั้นถ้าเราสามารถอ่านกราฟของDual Channel FFTหรือ Transfer Functionได้เราก็จะสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ ทำให้สามารถtuningให้เสียงได้ใกล้เคียงกับเสียงจากต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่สภาพสิ่งแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในห้องhome theaterของเราจะเอื้ออำนวยให้ได้
ปัญหาเรื่องเสียงในห้องhome theaterส่วนมากเกิดขึ้นมาจากphaseของเสียงที่ไม่ตรงกัน ไม่เข้ากัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องของComb filtering, peak และ dip ของfrequency response, focusของเสียงหายไป, เสียงไม่ชัดเจนไม่มีclarity และอีกมากมายหลายอย่าง เหล่านี้ล้วนเกิดจากพื้นฐานในเรื่องphaseของเสียง ลองมาดูรูปนี้เป็นรูปที่อาจารย์ที่สอนเรื่องphaseให้ผมคือBob McCarthyได้แสดงให้เห็นถึงคลื่นเสียงสองคลื่นเสียง เมื่อมารวมกันในตำแหน่งที่phaseต่างๆกันก็จะส่งผมทำให้levelหรือamplitudeของเสียงเปลี่ยนไป

เช่นในตำแหน่งที่คลื่นเสียงทั้งสองอยู่ในphaseที่ตรงกัน หรือมีphaseที่อยู่ห่างกัน0องศาก็จะทำให้เสียงเสริมกันและมีlevelที่เพิ่มขึ้น6dB หรือจะเรียกได้ว่า ณ.ตำแหน่งนี้1+1=2 คราวนี้ลองมาดูว่าถ้าคลื่นเสียงทั้งสองต่างกันอยู่ 90องศาก็จะทำให้เสียงมีlevelเพิ่มขึ้น 3dB ซึ่งก็คือ 1+1=1.4 แต่ถ้าเมื่อไหร่คลื่นเสียงทั้งสองต่างกัน180องศา หรือมีการกลับphaseของเสียงทั้งหมด ตรงนี้เสียงก็จะหายไปอาจจะลดลงไปถึง -100dBจนไปถึงไม่มีเสียงเลยก็คือ 1+1=0 ดังนั้นความสัมพันธ์นี้เอาไว้หลอกเด็กได้ว่า1+1ไม่เท่ากับ2เสมอไปนะเอ่อ……ก็เพราะในทางAcousticsแล้ว 1+1จะได้เท่าไร่นั้นมันต้องขึ้นอยู่กับphaseด้วย ฮ่า ฮ่า

นอกจากนี้ความไม่เข้ากันของphaseมันไม่ได้เกิดขึ้นจากคลื่นเสียงที่มาเจอกันแล้วหักล้างหรือเสริมกันภายในห้องเท่านั้น แต่มันยังเกิดขึ้นในสมองของมนุษย์ด้วย เมื่อphaseของเสียงที่ไม่เท่ากันเข้ามาในหูของเรา เสียงมันก็จะต่างกันอย่างมากมายเพราะการแปลผลของสมอง คราวนี้ลองทดลองง่ายๆนะครับเอาแผ่นที่เขาใช้ทดสอบเสียงin phaseกับout of phaseมาเปิดแล้วใช้หูฟังลองฟังดู เมื่อเสียงin phaseเข้ามาในหูทั้งสองข้างของเรา สิ่งที่เราได้ยินจะเป็นเสียงที่ชัดเจน มีfocusของเสียง แต่พอลองฟังเสียงที่เป็นout of phase เสียงที่ได้ยินก็จะเป็นเสียงที่เบา ไม่มีfocusของเสียง ฟังไม่ชัดเจนไม่เคลียร์ ทั้งที่เสียงที่ได้ฟังนั้นไม่ได้ออกมาข้างนอกหูฟัง หรืออยู่ในห้องที่จะทำให้เกิดการcancellationของเสียงในอากาศ เนื่องจากฟังจากหูฟังเท่านั้น แต่เมื่อเราฟังเสียงที่out of phase แล้วเอาหูฟังออกข้างหนึ่ง เสียงก็จะกลับมาคมชัดเหมือนเดิมเพียงแต่เราจะได้ยินอยู่ข้างเดียวในหูข้างที่เรามีหูฟังอยู่ ซึ่งสิ่งนี้จึงเป็นการพิสูจน์ได้ว่าเสียงที่มาถึงหูของเราในphaseที่ต่างกันมันจะทำให้การแปลผลของเสียงนั้นต่างกันด้วย ทำให้เสียงที่รับรู้มันมีความแตกต่างกันอย่างมากดังนั้นphaseจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการรับรู้เสียงของมนุษย์ของเรา เสียงของเครื่องดนตรีต่างๆ ล้วนมีลักษณะphaseของเสียงที่ต่างกัน สมองมนุษย์ก็จะทำการจดจำลักษณะphaseเสียงของเครื่องดนตรีนั้นๆเพื่อใช้ในการประมวลผลแยกแยะได้ว่าเสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงเครื่องดนตรีอะไร ดังนั้นการปรับเสียงถ้าเราสามารถทำให้เสียงที่ออกมามีphaseที่ถูกต้องใกล้เคียงกับต้นฉบับ(ถ้าต้นฉบับบันทึกมาดีนะ) มันก็อาจจะเรียกได้ว่าเราทำให้เสียงได้เสมือนจริงที่สุด หรือถ้าเปรียบกับศัพท์ทางAudiophileก็อาจจะเรียกว่าได้เสียงที่เป็นธรรมชาติเหมือนเครื่องดนตรีจริงๆนั่นเอง
พอรู้ที่มาที่ไปคร่าวๆของphaseและวิธีการวัดแบบ Transfer functionแล้วคราวนี้เราลองมาดูพื้นฐานของกราฟphaseในTransfer functionว่ากราฟที่ขึ้นๆลงคล้ายใบเลื่อยมันมาได้ยังไงและมีความหมายอย่างไร ตรงนี้อยากจะเน้นว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการอ่านกราฟphase…..ดูปากณัชชานะคะ…..สำ…คัญ…มากกกกกกกก

เริ่มต้นจากสองมิติก่อน จากภาพPhase Wheel ที่ผมแสดงให้ดูก่อนหน้านี้ เมื่อมีคลื่นความถี่สองคลื่นที่มีfrequency, amplitudeและpolarityเท่ากัน แต่ว่ามีphaseต่างกันมาเจอกันเราก็เอามาแสดงในรูปแบบที่เป็นวงกลม โดยถ้าphaseเท่ากันก็จะเป็น0องศาก็จะอยู่จุดสูงสุดของวงกลม พอphaseเริ่มต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆมันก็จะหมุนไปตามเข็มนาฬิกาเช่นถ้าphaseต่างกัน90องศาก็จะอยู่ด้านขวาของวงกลม จนไปถึงต่างกัน180องศาที่ด้านล่างของวงกลมก็จะเป็นการกลับphaseทั้งหมด จนไปถึง360องศาก็จะกลับมาจุดเดิมคือ0องศาแต่ว่ามันจะไม่ใช่เวลาเดิมละเพราะเวลามันเดินไปเรื่อยๆและก็จะเป็นตำแหน่งที่คลื่นเสียงเคลื่อนที่ครบรอบเป็นหนึ่งความยาคลื่นพอดี(one wavelength) เมื่อมีการหมุนต่อไปเรื่อยๆครบอีกรอบก็จะเป็น720องศา 1080, 1440…รอบก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามองศาที่เพิ่มขึ้น wave lengthก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเป็น1,2,3…เรื่อยๆตามรอบที่ครบ แต่แบบนี้เป็นการดูแค่ความถี่เดียวที่ทำให้เห็นเป็นสองมิติ คราวนี้เมื่อเราต้องการดูความถี่ทั้งหมดหรือfull range ที่มีlevel และpolarityเหมือนกันในทุกๆความถี่โดยมีแกนความถี่อยู่ในแนวลึกเข้าไปหรืออยู่ในแนวแกนZ รูปที่ออกมาก็จะเป็นตามdiagramรูปที่สอง(Spiral opened at bottom) จากรูปถ้าความถี่full rangeทั้งหมดของเสียงphaseตรงกันหมด ไม่มีการdelayของเวลาที่เรียกว่าtime offset=0 เส้นกราฟมันก็จะเป็นเส้นตรงอยู่ด้านบนของทรงกระบอกวิ่งไปตามแนวยาวของแกนZ แต่อย่างที่บอกว่าในความเป็นจริงนั้นคลื่นความถี่ต่ำมันต้องใช้เวลาในการstretch มันจะมาถึงช้ากว่าความถี่สูงเสมอ คราวนี้ถ้าเราให้เวลาที่เป็นtime offset 0.25ms ที่ความถี่4kHz มันก็ส่งผลให้มีphaseที่ต่างกัน360องศาและtime offsetเดียวกันนี้ 0.25ms มันก็จะทำให้เกิดphase shiftที่ 8kHzไป720องศา และมากขึ้นเรื่อยๆหมุนไปรอบๆPhase wheel

คราวนี้ลองนึกถึงภาพPhase wheelนี้เป็นกระดาษรูปทรงกระบอก เมื่อเราตัดกระดาษรูปทรงกระบอกนี้ตามแนวแกนZ ที่ตำแหน่งPhase180องศา แล้วคลี่มันออกมาเหมือนกับรูปSpiral opens up เราก็จะได้กราฟของphaseเอียงขึ้นลงที่แสดงถึงphase shift และมีแนวแกนXเป็นfrequency ส่วนแนวแกนYจะเป็นphase ที่มีphase 180องศาอยู่ด้านบน –180องศาอยู่ด้านล่าง ในบางโปรแกรมวัดphaseก็อาจจะมีการลากเส้นตรงตามแนวแกนYเพื่อเชื่อมตำแหน่งกราฟที่180องศากับ-180องศาเพื่อให้ดูง่ายขึ้นอย่างเช่นโปรแกรม Sim3ของMeyer sound แต่ในโปรแกรมยอดนิยมอย่างเช่นSmaart 7ที่ในรุ่นก่อนๆก็มีเส้นเชื่อมแบบนี้แต่รุ่นใหม่ๆได้ตัดเส้นเชื่อมนี้ออกไป ก็มีทั้งคนชอบคนไม่ชอบ คนที่ชอบก็บอกว่าเส้นนี้ทำให้ดูง่ายเวลาต้องalign phaseและมันยังทำให้เกิดfeelingว่าเป็นกราฟphaseดี ส่วนคนที่ไม่ชอบก็บอกว่าทำให้กราฟดูยุ่งมากเกินไปถ้าจำเป็นต้องดูในบริเวณที่มีphase shiftเยอะมากๆ
เมื่อเราคลี่กราฟทรงกระบอกให้เป็นกราฟในสองมิติแล้วแกนXที่เราดูตอนนี้มันจะเป็นแกนของfrequency แต่อย่างที่เราทราบว่าการรับรู้ความถี่ของหูคนเรามันไม่ได้เป็นlinear scaleแต่สมองของคนเราจะรับรู้ในแบบlogarithmic scaleดังนั้นเพื่อให้เราได้เห็นกราฟได้ง่ายขึ้นก็จะทำการtake logเข้าไปในแกนfrequencyเสร็จแล้วเราก็จะได้กราฟphaseที่สมบูรณ์

เมื่อได้กราฟมาเราลองมาอ่านกราฟดู อย่างที่บอกไปแล้วถ้ามันไม่มีphase shiftของความถี่ทั้งหมดเส้นกราฟของphaseก็จะเป็นเส้นตรง แสดงถึงไม่มีการdelayของเสียงทุกย่านความถี่ แต่เมื่อมีการdelayของเสียงที่เป็นmeasurement(output)เมื่อเทียบกับเสียงที่เป็นreference(input)กราฟก็จะเกิดslopeลงมาเมื่อความถี่เพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าเสียงที่เป็นmeasurement(output)มาถึงก่อนเสียงreference(input) กราฟก็จะเป็นslopeขึ้น(ซึ่งเป็นไปไม่ได้) ถ้าเห็นกราฟแบบนี้ก็แสดงถึงว่าเราสลับสายละ 555 คราวนี้ลองมาดูความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับความชันของกราฟphase เมื่อเราใส่phase delayค่าเดียวเข้าไปในทุกๆความถี่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือเมื่อความถี่เพิ่มมากขึ้นความชันของphase shiftก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้ามองเฉพาะในความถี่ใดความถี่หนึ่งความชันของกราฟมันก็จะบอกถึงจำนวนของwavelengthที่เกิดการdelayขึ้นซึ่งก็คือphase shiftมากขึ้นเมื่อdelayมากขึ้น ณ.ความถี่หนึ่งๆ โดยเราก็จะสามารถเขียนความสัมพันธ์ออกมาเป็นสมการได้เป็น

ดังนั้นเมื่อเห็นกราฟphase เราก็สามารถคำนวณเวลาของphase delayได้ และก็นำไปคำนวณต่อเพื่อหาระยะทางได้ว่าตรงความถี่ที่เกิดphase shiftมันเกิดขึ้นที่ระยะทางเท่าไรในความถี่ไหน ก็จะช่วยเป็นแนวทางในการเลือกวัสดุปรับacousticsห้องและตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดวัสดุปรับacousticsต่างๆเหล่านี้ ความจริงในเรื่องของPhaseยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ แต่สำหรับเรื่องพื้นฐานเพื่อใช้ในการปรับห้องhome theaterของเราแค่นี้ก็น่าจะพอให้ได้เห็นภาพและเข้าใจในเบื้องต้น ส่วนการนำเรื่องphaseไปใช้ในห้องhome theaterผมก็ได้กล่าวไว้โดยละเอียดเรื่อง Time & Phase Alignment for Home TheaterในหนังสือAudiophile/Videophileฉบับที่แล้วเดือนมีนาคม 2559 ใครยังไม่ได้อ่านแนะนำให้หามาอ่านเลยมีประโยชน์มากครับ
สำหรับเรื่องหนักๆของphaseคงพอละครับเดี๋ยวจะกลายเป็นหนังสือประกอบสัมนาเชิงวิชาการเสียก่อน แค่นี้ บก.รูปหล่อของผมก็ค้อนจะแย่ละ555 ยังไงเรื่องของphaseถ้าพอมีประโยชน์กับผู้อ่านบ้างผมก็ขอยกเครดิตให้กับอาจารย์ที่เป็นคนสอนเรื่องphaseให้กับผมครับ Bob McCarthy ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่รู้เรื่องsound phaseดีที่สุดของโลกคนหนึ่งในยุคปัจจุบัน ผู้แต่งหนังสือเรื่อง”Sound Systems: Design and Optimization: Modern Techniques and Tools for Sound System Design and Alignment”ที่มีการแปลไปกว่า10ภาษาทั่วโลก ซึ่งถ้าใครสนใจในเนื้อหาด้านลึกของphaseผมแนะนำให้อ่านเลยครับ

จบจากเรื่องหนักๆเป็นว่าวันนี้ผมจะพาท่องเที่ยวไปปรับเสียงละกัน…เป็นห้องของผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี ก็ไม่ไกลเท่าไรจากบ้านผม ถ้าขับรถก็ใช้เวลาประมาณสองนาที วิ่งไปคงซักห้านาทีได้ แบบนี้ละครับต่างจังหวัดเมืองไม่ใหญ่มากเดินทางสะดวกครับ อิ อิ ว่าแล้วผมก็ขนอุปกรณ์ขึ้นรถกันได้เลย….

อุปกรณ์ก็เป็นอุปกรณ์sound spectrum analyzerมาตรฐานทั่วๆไปที่Calibratorในต่างประเทศใช้ ที่ผมใช้จะเป็นของStudio Six Digitalซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ใช้ในการเรียนการสอนของHAAเพื่อใช้วัดค่าพื้นฐานต่างๆไม่ว่าจะเป็นSPL Meter, RTA(Real Time Analyzer), FFT(Fast Fourier Transform), ETC(Energy Time Curve) เพิ่มเติมก็มีเครื่องมือที่ใช้ร่วมกับโปรแกรมSmaart7เพื่อวัดค่า Phase delay, Time delay, Impulse Response, ค่าCohesive ต่างๆ

พอเข้ามาได้เห็นห้องแล้วต้องเรียกว่าเป็นห้องที่ตกแต่งมาสวยงามมาก โดยลักษณะของห้องได้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นห้องนั่งเล่นเพื่อใช้ทำหลายๆอย่างในห้องนี้ ถ้าตามคำจำกัดความของCEDIAจะเรียกห้องแบบนี้ว่าเป็นห้องMultipurpose room หรือ Multi-use space(แต่ถ้าเป็นห้องที่ทำมาเพื่อใช้ในงานชมภาพยนต์อย่างเดียวก็จะเรียกกันกว่าห้องDedicated theater)

ห้องนี้ลักษณะlayoutจะเป็นรูปตัวLมีขนาดส่วนที่เป็นห้องดูหนังฟังเพลง 3.7×5.8×2.8 และมีส่วนที่เพิ่มเติมรูปตัวLกว้างเพิ่มขึ้นมาเป็น 8.2เมตร เฟอร์นิเจอร์ต่างๆถูกตกแต่งเป็นแบบbuilt in ที่แฝงเป็นวัสดุacousticsในตัว อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องก็มี Projector JVC DLA-RS55, ลำโพงFront left, Front right เป็น GoldenEar SuperSat50, center Paradigm Studio CC-590, Surround Totem Dreamcatcher, Pre-Processor Anthem AVM50, Power Amplifier Anthem PAV7 ส่วนSubwooferจะเป็น JL Fathom-f113 อ้าวแล้วตั้งดูเด่นเป็นสง่าสองตัวนั่นหล่ะ ฮ่า ฮ่า ต้องบอกก่อนว่าห้องนี้ให้เป็นห้องฟังเพลง2channelsด้วย ผมว่าก็เป็นแนวคิดที่ดีที่ได้แยกเอาลำโพงWilson Sasha เพื่อเป็นลำโพงฟังเพลงอย่างเดียวไม่เกี่ยวข้องกับการดูหนังเพราะบางทีตำแหน่งการวางลำโพงเพื่อดูหนังอาจจะไม่เหมือนกับตำแหน่งวางลำโพงเพื่อฟังเพลงทีนี้เวลาจะsetเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งก็ต้องcompromiseอีกสิ่ง

เมื่อสำรวจห้องต่างๆเสร็จเรียบร้อยต่อมาก็คือทำการฟังเพลงที่ผมมักใช้เพื่อทดสอบโดยเป็นtrack 2ch. แล้วให้Pre-Processor AnthemAVM50สังเคราะห์เสียงdolby prologicทั้ง7channelsออกมา เริ่มจากเพลงแรก Limehouse Blues, Jazz at The Pawnshop, Propruus PRCD7778(also available as SACD)เพื่อดูenvelopmentของเสียงพบว่าเสียงยังไม่โอบล้อมตัวเท่าไร เสียงช่วงintroของเพลงยังไม่ให้ความรู้สึกของการได้เข้าไปอยู่ในPubเสียงจะเหมือนแค่อยู่ระหว่างลำโพงซ้ายและขวา ต่อมาก็ฟังtrack Drum Improvisationของ Jim Keltner; Sheffield Drum and Track Record, Sheffield CD 14/20เพื่อดู Dynamicของเสียงกลอง ซึ่งพอฟังแล้วรู้สึกว่าเสียงกลองยังไม่เหมือนมีคนมาตีกลองอยู่ข้างหน้าเราจริงๆ โดยเฉพาะเสียงความถี่ต่ำที่ยังไม่เข้ากับเสียงความถี่กลางและความถี่สูงฟังแล้วดูเหมือนว่าเสียงเบสจะมาช้ากว่ามาก และไม่มีพลัง trackสุดท้ายคือ Hi-Lili Hi-Loของ Rickie Lee Jones; Pop Pop, Geffen ART-NO-T209ที่จะใช้ดูทั้งFocusและส่วนที่สำคัญที่สุดคือClarityของเสียง พบว่าทั้งFocusของเบส กีตาร์ และเสียงนักร้องยังไม่ชัดเจน เสียงนักร้องยังกองอยู่แถวลำโพงไม่สัมพันธ์กับเสียงของลำโพงFront leftและ Front right เมื่อรู้ปัญหาของเสียงในห้องนี้เรียบร้อยแล้วก็เริ่มทำการจัดแจงกางอุปกรณ์ต่างๆพอได้มุมนั่งพับเพียบทำงาน แล้วจึงเริ่มทำการcalibrationได้



หลักการCalibration ผมก็ทำตามขั้นตอนของTHX ร่วมกับ HAAเพราะมีขั้นตอนหลักๆใกล้เคียงกันคือไล่กันตั้งแต่Evaluation>Verification>Designแล้วถึงจะจบด้วยCalibration แต่หัวข้อย่อยอาจจะต่างกันบ้าง เริ่มจากการEvaluation ผมก็ได้ทำการวัดค่าFFTของลำโพงแต่ละตัวก่อนปรับ จุดที่น่าสนใจอยู่ที่ความถี่ต่ำซึ่งพบว่ามีภูเขาอยู่ลูกหนึ่งที่บริเวณ 49Hz

อย่าลืมว่าห้องนี้มีlayoutเป็นรูปตัวL ห้องประเภทนี้จะค่อนข้างปรับยากกว่าห้องรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าปกติ เพราะว่าถ้าเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเราสามารถให้หลักการrule of thumbต่างๆได้เลย เนื่องจากว่าสามารถทำนายได้ค่อนข้างแม่นยำว่าเสียงจะออกมาประมาณไหนแล้วจะแก้ไขยังไงวางตำแหน่งลำโพง ตำแหน่งนั่งฟังยังไง แบบไหนเหล่านี้ล้วนทำนายได้ถึงแม้ไม่ได้ 100%แต่ก็ถือว่าใกล้เคียงช่วยประหยัดเวลาในการมาหาตำแหน่งต่างๆได้เยอะ แต่ในห้องที่มีรูปร่างต่างออกไปนั้นการทำนายผลเป็นไปได้ยากมากคงต้องอาศัยการวัดการปรับที่หน้างานอย่างเดียว อย่างเช่นในห้องนี้ผมก็ได้ใช้วิธีการหลายวิธีร่วมกันในการปรับเนื่องด้วยตำแหน่งอุปกรณ์บางอย่างก็ย้ายไม่ได้เนื่องจากเป็นFurnitureแบบbuilt in ก็เลยต้องปรับตำแหน่งเท่าที่พอจะทำได้ ซึ่งหลังจากได้ทำการcalibrationเสร็จแล้วก็ถือว่าผลลัพธ์ที่ออกมาสำหรับห้องนี้นับว่าดีขึ้มากเลยทีเดียว โดยเฉพาะความถี่ต่ำ ลองดูจากFFTหลับปรับ ภูเขาลูกนั้นได้หายไปแล้วโดยไม่ต้องใช้ DSPช่วยแต่อย่างไร

จุดที่น่าสนใจอีกจุดในขึ้นตอนVerificationคือ ผมพบว่าลำโพง Front leftมีpolarityที่ตรงข้ามกับลำโพงอื่นๆ ซึ่งวิธีวัดpolarityก็ไม่ได้ยากอะไรอาจจะหาเครื่องมือที่ใช้วัดpolarityของลำโพงโดยเฉพาะเพื่อวัดคลื่นเสียงที่ออกมาว่ามันมีpolarityเป็น + หรือ – ส่วนผมใช้ก็จะใช้App AudioTools ในipad แล้วเลือกหัวข้อ Speakers และ Polarity แค่นี้ตัวเครื่องก็จะปล่อยสัญญาณเสียงแล้วเราก็ใช้ไมค์ไปจ่อใกล้ๆdriverของลำโพงแล้วดูว่าสัญญาณที่ออกมาเป็น + หรือ – อย่างในห้องนี้ลำโพงFront leftเป็น – ในขณะที่ลำโพงอื่นๆเป็น+ หมด วิธีแก้ไขpolarityก็ไม่ยาก แค่เปลี่ยนสายลำโพงด้านหลังลำโพงก็เรียบร้อยครับ ส่วนขั้นตอนการDesignผมก็ได้เปลี่ยนตำแหน่งลำโพงต่างๆให้ได้ตามมาตรฐานของ CEDIA/CEA22 ถึงแม้จะไม่สามารถทำได้ตรงตามมาตรฐานหมดทุกลำโพงเนื่องจากข้อจำกัดของห้อง ของอุปกรณ์ หรือลักษณะของลำโพงต่างๆ แต่ยังไงเราก็ต้องพยายามให้ได้ใกล้เคียงที่สุด มีบางคนสงสัยว่าถ้าเราไม่ทำตามคำแนะนำ หรือมาตรฐานของเขาล่ะมันจะได้ไหมแบบว่าอยากติดตั้งเองตามใจ…ผมว่าก็ได้นะแต่ต้องยอมรับว่าเสียงออกมาอาจจะไม่ตรงตามมาตรฐานของมันที่ควรจะเป็น หรือดีอย่างที่เสียงมันควรจะเป็น เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งสอนผมไว้ว่า “If you want great sound, so easy….just follow the rule.”

เมื่อทำการTuningเรียงตามขั้นตอนย่อยทั้งหมดใน Evaluation>Verification>Design>Calibration ตอนนี้ก็ถึงเวลามาฟังเสียงจริงๆว่ามีความเปลี่ยนแปลงยังไงบ้า แค่เปิดtrack Drum Improvisationของ Jim Keltner; Sheffield Drum and Track Recordเพื่อดู Dynamic ก็ได้ยินเสียงเจ้าของห้องที่นั่งอยู่ข้างๆ(ที่ไม่ได้ตรงsweet spot)พูดออกมาเลยว่า”เสียงดีขึ้นเยอะมากครับ ฟังออกเลย” ใช่ครับผมก็คิดว่าอย่างนั้นเหมือนกันเพราะถ้าเราtuningได้ดีแล้วเสียงที่ออกมาก็จะสามารถฟังออกได้อย่างชัดเจนเลยว่าเสียงดีขึ้นหรือฝรั่งเขาใช้คำพูดว่าฟังแบบcasual listeningไม่ต้องนั่งฟังแบบเอาจริงเอาจัง หน้านิ้วคิ้วขมวด(อาจจะกอดอกด้วย555) สรุปคร่าวๆได้ว่าเสียงกลองที่ออกมามีความแน่น กระชับ ฉับไว ให้ความรู้สึกถึงไม้กลองกระทบหนังกลองเลยว่าเป็นยังไง เพลงLimehouse Blues, Jazz at The Pawnshopให้ความรู้สึกโอบล้อมมากขึ้นฟังแล้วเหมือนเราเข้าไปอยู่เหตุการณ์ในPubจริงๆ ส่วน Rickie Lee Jones ก็ได้ไปยืนร้องHi-Lili Hi-Loได้อย่างมีClarity อยู่ตรงกลางจอเป็นที่เรียบร้อย….เย้…เสร็จแล้วก็ได้ถึงเวลาลองดูภาพยนต์ที่บันทึกมาในระบบ 7.1จริงๆ พบว่าเสียงปืนในหนังเรื่องLone Survivor มีความสมจริงมาก แรงimpactและdynamicของเสียงสามารถสัมผัสได้ชัดเจน ทำให้สามารถแยกแยะเสียงปืนแต่ละกระบอกว่ามีเสียงปืนต่างกันอย่างไร ส่วนเสียงปืนก็จะวิ่งไปทั่วรอบๆตัวเราทำให้ดูแล้วได้บรรยากาศสนุกมาก

ท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณท่านเจ้าของห้อง คุณไพฑูรย์ผู้ใหญ่ใจดีสำหรับของฝาก และมิตรไมตรีที่มอบให้กับผม ขอบคุณเฮียสมชาย จากร้านขอนแก่นไฮไฟด้วยที่ช่วยมายกSubwooferให้(เอาระดับCEOมาใช้แรงงานได้ไงนี่เรา 555) และขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามอ่านกันจนจบ แม้ว่าจะปวดหัวบ้างครับ
