เมื่อต้นเดือน ธันวาคม ปีที่ผ่านมา ทางHAA หรือ ชื่อเต็มๆคือ Home Acoustics Allianceสถาบันสอนปรับเสียงของห้องHome Theaterได้มาเปิดคอร์สในเมืองไทยเป็นครั้งแรกที่บริษัทDeco2000 งานนี้ได้มีมือset upเครื่องเสียง นักเล่นhome theater เจ้าของกิจการ ร้านค้าต่างๆในเมืองไทยให้ความสนใจและลงทะเบียนเรียนกันมากมาย รวมทั้งเพื่อนบ้านใกล้ๆเราทั้งชาวฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย หรือขนาดไกลถึงอินเดียก็มาเรียนคอร์สนี้ด้วย ผมก็ได้ลงทะเบียนเรียนด้วยสองวัน เพื่อรื้อฟื้นความรู้เก่าๆที่เคยเรียนเมื่อหลายปีมาแล้ว โดยเฉพาะความรู้เพิ่มเติมกับระบบเสียงImmersive Soundที่พึ่งเข้ามาใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Dolby Atmos, Auro3D หรือล่าสุด dts:X ว่าระบบเสียงเหล่านี้มีconcept ในการtuning ต่างจากแบบเดิมๆบ้างไหม เนื่องจากว่าในสมัยที่ผมเคยเรียนHAA,THXที่เมืองจีนเมื่อหลายปีก่อนระบบเสียงเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้นมา การเรียนในสมัยนั้นอย่างเก่งก็จะมีอยู่แค่ระบบ 7.1Channelsแค่นั้น ในฉบับนิตยสารAudiophile/Videophile ฉบับนี้ผมเลยจะเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับ บรรยากาศในห้องเรียนที่เมืองไทยว่าเป็นอย่างไรบ้าง รวมทั้งจะสอดแทรกความรู้ในการปรับHome theaterให้กับท่านผู้อ่านไปด้วย เผื่อท่านผู้อ่านจะสามารถนำไปใช้กับเครื่องเสียงชุดHome theaterที่บ้านได้ เพราะบางทีบางท่านก็ไม่สามารถจ้างช่างจากHAAไปปรับให้ได้ หรือบางท่านอาจจะชอบการปรับแต่งเองมากกว่าเพราะได้ความรู้และสนุกในการปรับแต่งtuningไปด้วย


ว่าถึงHAAเขาก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพของการติดตั้งและปรับแต่งห้องHome theaterโดยอาศัยหลักการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้เสียงที่ดีและถูกต้องตามมาตรฐานสากล โดยกระบวนการของHAAก็คือการtraining หรือสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติโดยเมื่อนักเรียนจบคอร์สไปแล้วสามารถนำไปประยุกต์ปรับในห้องhome theaterแบบต่างๆได้ การมาเปิดcourseในเมืองไทยเป็นครั้งแรกนี้DirectorของHAA Gerry LeMayได้มาสอนเองรวมทั้งนำstaffมาร่วมด้วยอีกคนคือMax Lee แมกซ์คนนี้เก่งมาก รับทั้งสอนทั้งแปล Course ต่างๆ ทั้งภาพและเสียงของTHX, ISF, CEDIAที่เมืองจีน เมื่อก่อนอยู่อเมริกาทำงานเป็นSenior Engineerให้บริษัทDolbyมาหลายปี ตอนนี้มาเปิดบริษัทเครื่องเสียงใหญ่โตที่เมืองจีนแล้ว พูดอังกฤษคล่องปร๋อคอยมาเป็นอาจารย์ผู้ช่วยในคอร์สนี้

นอกจากนั้นก็ยังมีJerry MurrayจากAVprostoreบริษัทที่นำ HAA classไปเปิดสอนทั่วโลกมาช่วยในการจัดเตรียมและอำนวยความสะดวกในการสอนต่างๆ การเรียนการสอนจะแบ่งเป็นสี่วัน สองวันแรกจะเป็นlectureกับอีกวันจะเป็นการฝึกปฏิบัติจริงซึ่งเป็นการปรับแบบรวดเร็วที่ชาวHAAจะเรียกกันติดปากว่าการปรับแบบTurboCal(เทอร์โบแคล) โดยอาศัยหลักการมาตรฐาน(rules-of-thumb)

แล้วปรับตามนั้นเลย ตรงนี้อาจจะต่างจากตอนสมัยผมไปเรียนที่เมืองจีน วันแรกที่เมืองจีนเรียนจะเป็นlecutureเต็มวันเลยแล้ววันที่สองถึงจะเป็นการปรับแบบTurboCal แต่ตอนนี้Gerryได้ปรับเปลี่ยนเป็นวันแรกเรียนการปรับแบบTurboCalก่อน วันที่สองถึงค่อยเรียนlectureซึ่งผมคิดว่าแบบหลังนี้ก็ดีเหมือนกันจะได้ไม่เหนื่อยและท้อก่อน จำได้ที่เมืองจีนเปิดวันแรกขึ้นมานี่งงกันเลยทั้งภาษาและความยากของเนื้อหาที่แน่นเอียด เรียนตั้งแต่เก้าโมงเช้าพักเที่ยงชั่วโมงเดียวแล้วยิงยาวถึงเกือบทุ่ม เรียกได้ว่าจบวันแรกไม่อยากกลับมาเรียนวันที่สองกันเลย แต่ถ้าวันแรกได้ปฏิบัติก่อนวันที่สองนักเรียนมาเรียนlectureก็จะได้อะไรมากขึ้นเพราะวันแรกก็จะมีการสอดแทรกเนื้อหาไปบ้างแล้ว แถมยังได้ลองปฏิบัติก็จะพอนึกเห็นภาพขั้นตอนต่างๆไม่ใช่หมดกำลังใจตั้งแต่วันแรก

ส่วนเนื้อหาก็จะเริ่มจากการให้รู้ว่าเสียงที่HAAต้องการนั้นเป็นอย่างไร(Sonic Goals) มีองค์ประกอบอะไรบ้าง มาถึงตรงนี้Gerryก็ได้สอนเทคนิคที่จะใช้ในการประเมินเสียง(Sonic Evalution)ว่าเวลาฟังต้องฟังยังไง เริ่มจากอะไรบ้าง เท่าที่ผมพอจับจุดได้คืออย่างแรกเราต้องฟังเป็นแบบมืออาชีพไม่ได้ฟังเรื่อยเปื่อยไปไม่มีจุดหมาย สิ่งที่เราต้องจับให้ได้คือในแต่ละองค์ประกอบเสียงที่ฟังอยู่เราต้องฟังแล้วเปรียบเทียบกับSystemมาตรฐานที่เราเคยได้ยินว่ามันเหมือนหรือมีความแตกต่างกันอย่างไร ส่วนการฟังในแต่ละองค์ประกอบที่เราสนใจก็เลือกฟังเพลงที่เราคุ้นเลือกมาซักเพลงสองเพลงที่มีจุดเด่นในเรื่องที่เราสนใจอยู่ โดยฟังแต่ละครั้งก็ฟังแค่ช่วงสั้นๆไม่กี่นาทีไม่ต้องฟังจนจบเพลงเพราะจะจำไม่ได้ ส่วนการฟังก็ฟังในระดับที่ฟังปกติ หรืออาจจะเอาดังกว่าปกติแค่เล็กน้อย จำไว้ว่าSystemที่calibratedมาดีแล้วควรจะต้องให้เสียงดีทั้งที่ในระดับปกติและระดับที่ดังกว่าปกติด้วย(แต่ไม่ได้หมายถึงดังเกินไปนะครับ) และเมื่อเราทำการเปลี่ยนตำแหน่งนังฟัง ตำแหน่งลำโพง หรือใส่วัสดุacousticsต่างๆก็ต้องคอยเรียนรู้ว่าเสียงที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นยังไงบ้าง และระวังด้วยเวลาที่เราต้องวัดtest toneที่เสียงดังมากก็พยายามใส่พวกear plugsป้องกันเสียงพวกนี้เพราะมันจะทำอันตรายต่ออวัยวะรับเสียงในหูเรา ทั้งยังช่วยทำให้หูเราfreshส่งผลให้วิเคราะห์เสียงได้ดีขึ้น ผมขอแนะนำอีกอย่างว่าเวลาเลือกเพลง หรือtrackที่จะใช้เพื่อSonic Evaluationพยายามเลือกเอาเพลงที่เราไม่ได้ชอบมากนักมาใช้ คิดดูว่าเราจะต้องฟังtrackนี้ซ้ำๆกันหลายสิบหลายร้อยเที่ยว เรียกได้ว่าเบื่อเพลงนี้กันไปเลยทีเดียว ส่วนการฟังจะใช้การเปิดtrackต่างๆจากAudio CDที่เป็น2ch. แล้วให้ตัว pre-processor หรือAVRเป็นตัวถอดรหัสเสียงและสังเคราห์เสียงDolby prologicให้ออกทุกลำโพงตามspeaker configuration,level,distance,bass managementที่เราsetไว้ในเครื่อง ที่ต้องใช้เพลง2ch.ก็เพราะเราต้องการให้ตัวpre-processorเป็นตัวสร้างเสียงSurroundเองจริงๆ ไม่ได้เป็นเสียงSurround ที่เกิดจากการmixเสียงจากsourceที่เป็นmultichannelเพราะถ้าเป็นอย่างนั้นเราจะฟังความผิดปกติต่างๆออกได้ยากว่ามันเป็นความผิดปกติจากการตั้งค่าต่างๆในpre-proหรือเสียงนั้นมันเกิดจากการmixเสียงของsound engineer

คราวนี้มาถึงองค์ประกอบของเสียงที่จะประเมินว่าเราต้องฟังอะไรกันบ้าง(Sound Quality Metrics) ถ้าเคยอ่านจากบทความผมเล่มเก่าๆก็จะพบว่าผมเคยพูดเรื่องนี้มาบ้างแล้ว งั้นฉบับนี้ขอมากล่าวโดยละเอียดอีกทีว่าคุณภาพของเสียงตามHAAที่สำคัญมีอะไรบ้าง
- Clarity
- Focus
- Envelopment
- Response
- Dynamics
- Consistency
เริ่มจากส่วนที่สำคัญที่สุดคือClarityถ้าจะแปลง่ายๆก็คือความชัดเจน ถูกต้องของเสียง ซึ่งClarityจะเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของเสียงที่ดีในห้องHome theaterเพราะว่า เราต้องการความชัดเจนของเสียงคนพูดในภาพยนต์เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาของหนัง เราต้องการเข้าใจเข้าถึงเพลงที่เป็นเสียงประกอบในภาพยนต์ เราต้องการบรรยากาศของเสียงสิ่งแวดล้อมต่างๆในหนังที่เขาบันทึกมา(background details)เพื่อให้ได้อารมณ์ของหนัง ทำให้เรารู้สึกเข้าใจ มีอารมณ์ร่วมไปกับภาพยนต์ที่เราดู Clarityของเสียงจะเกิดจากองค์ประกอบอื่นๆที่เหลือไม่ว่าจะเป็นFocus Envelopment Dynamic Response เหล่าต้องได้มาก่อนมันถึงจะส่งผลให้เราได้Clarityของเสียงที่ดี นอกจากนี้แล้วClarityของเสียงยังขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์ในSystemเรา ระดับความก้องของเสียงในห้อง(room reverberation levels) ความเงียบของห้อง(ambient noise levels) ตำแหน่งที่นั่งฟังในห้อง สำหรับHAAนั้นเขาจะมีtrackเพลงที่ใช้ในการสอนฟังClarityของเสียง คือ “Hi-Lili Hi-Lo” ของ Rickie Lee Jonesโดยจะฟังที่เสียงคนร้อง เสียงเครื่องดนตรีต่างๆว่ามีความเป็นClarity มากน้อยอย่างไร อีกtrackหนึ่งที่แนะนำคือZither Carol(Zing Zing)ของOscar’s Motel Choir; Cantate Domino Proprius7762โดยtrackนี้ให้ฟังความชัดของเนื้อร้องว่าเราได้ยินชัดเจน ฟังแล้วรู้ไหมว่าที่เราได้ยินเขาร้องเป็นภาษาอะไร ว่าอะไร ความจริงtrackนี้สามารถใช้ดูได้ทั้งClarityในเรื่องdialogue intelligibility และFocusของimage stabilityที่กำลังจะพูดถึงต่อไป

Focusคำนี้น่าจะเข้าใจง่ายว่าหมายถึงความสามารถในการระบุตำแหน่งเสียงต่างๆในระนาบทั้งสามมิติ หรือเราอาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าacoustical focus โดยในภาพยนต์เรื่องหนึ่งๆนั้นการบันทึกเสียงมาก็จะมีเสียงซ้อนทับกันหลายเสียงทั้งจากด้านข้างซ้ายขวา หน้าไปหลัง ยิ่งในปัจจุบันมีระบบเสียงimmersive sound เข้ามาด้วยแล้ว ก็ต้องสามารถระบุตำแหน่งทิศทางของเสียงได้ทั้ง 360องศารอบๆตัวผู้ฟังกันเลยทีเดียว ดังนั้นระบบที่ดีจึงต้องมีpin point focus สามารถแยกเสียงต่างๆได้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณsound stageด้านหน้าระหว่างลำโพงLCR โดยimageนี้ต้องให้ความสมบูรณ์ทั้งขนาดของimage รูปร่าง และการเคลื่อนไหวของimageนี้ว่าจากไหนไปไหนเข้ามาตรงไหน ออกไปตรงไหน ใช้เวลาเท่าไหร่ ต้องบอกได้ในระนาบ360องศารอบตัวเราเลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเสียงimmersive soundในปัจจุบันนี้ แต่ก็ต้องคำนึกถึงคุณภาพในการบันทึกเสียงด้วยเพราะต้องระวังว่าบางแผ่นการบันทึกอาจจะยังไม่ดีพอ ไม่ใช่ระบบเราไม่ดีดังนั้นเราจะเลือกใช้เพลงไหนtrackไหนในการประเมินเสียงเหล่านี้ก็ควรหาที่มาที่ไปเพลงนั้นๆบ้างนะครับว่าเป็นเพลงที่มีคุณภาพของเสียงดีจริงไหม ซึ่งในเรื่องfocus ทางHAAได้มีเพลงหลายtrack ที่นิยมนำมาทดสอบเรื่องของfocus เช่น The Moon is a Harsh MistressจากFairy Tales; Radka Toneff and Steve Dobrogosz หรือไม่ก็ Roll ‘Em ของ Harry James and his Big Band;Still Harry after All these Years, Sheffield CD-11 ที่รู้จักกันมากหน่อยก็TimeของPink Floyd;Dark Side of the Moon(ซึ่งผมเลือกไม่ใช้เพลงนี้เพราะผมชอบ ฮ่า ฮ่า) หรือไม่ก็เพลงใช้ทดสอบClarityที่แนะนำไป Hi-Lili Hi-Loของ Rickie Lee Jones; Pop Pop, Geffen ART-NO-T209 ก็สามารถเอามาเช็คFocus ได้เช่นเดียวกัน



Envelopment อย่างที่กล่าวไปว่าระบบเสียงที่ดีต้องให้ความสมจริงของเสียงที่ถูกบันทึกมา โดยนอกจากจะต้องบอกตำแหน่งได้ชัดเจนในระบายสามมิติแล้ว เสียงเหล่านี้บางเสียงก็ต้องให้ความรู้สึกถึงการโอบล้อมของsoundstageทั้ง360องศา ต่อผู้นั่งฟังโดยไม่มีช่องโหว่ หรือมีจุดที่ดังกว่าจุดอื่นๆเนื่องจากความไม่เท่ากันของlevelในลำโพงแต่ละตัว หรือการวางลำโพงที่ไม่เหมาะสม การสร้างบรรยากาศแบบนี้จะทำให้เกิดความสมจริง การFocusของเสียงที่ได้กล่าวมาในข้างต้นก็จะเพิ่มความสมจริงมากขึ้นเมื่อต้องมีการเคลื่อนที่ของเสียงทั้งด้านซ้ายขวา หน้าหลัง(ambient sounds) โดยเพลงที่จะใช้ในการทดสอบEnvelopmentได้ดีคือ Limehouse Blues, Jazz at The Pawnshop, Propruus PRCD7778(also available as SACD) โดยเฉพาะในช่วงintro ที่มีเสียงบรรยากาศอยู่ในPub ถ้าระบบที่ดีเราจะต้องมีความรู้สึกเหมือนกับว่าเราได้เข้าไปนั่งอยู่สถานที่จริงๆ มีเสียงบรรยากาศโอบล้อมตัวเรา เสียงคนคุยกัน เสียงแก้ว เสียงจาน เสียงโต๊ะฯลฯ ต่างๆเหล่านี้ แต่ถ้าเรามีความรู้สึกเหมือนกับว่าเราอยู่ข้างนอกร้านแล้วมองเข้ามาในร้านที่เสียงออกมาจากประตูแคบๆ แบบนั้นไม่ใช่Envelopmentที่ดี อีกTrackหนึ่งที่ผมจะใช้ทดสอบEnvelopmentก็คือ Drum Improvisationของ Jim Keltner; Sheffield Drum and Track Record, Sheffield CD 14/20 เพลงนี้ให้สังเกตุตอนขึ้นต้นก่อนที่จะมีเสียงกลอง มันจะมีเสียงกระดิ่งดังรอบๆตัวเรา อย่าลืมนะครับว่าSourceที่เราฟังอยู่มันเป็น 2Channel แต่เราให้ Pre Processorหรือ AVRเป็นตัวถอดรหัสเสียงและจำลองDolby Prologicขึ้นมา ดังนั้นถ้าเราSet มันได้ดีแล้วเสียงที่ได้จะทำให้เกิดสนามเสียงล้อมรอบตัวเรา เสียงกระดิ่งมันก็จะวิ่งหมุนไปโอบล้อมตัวเราในทางด้านหลังด้วย แต่ถ้าเสียงกระดิ่งที่ได้มันวิ่งอยู่แค่ระหว่างลำโพง LCRอย่างนี้เรียกว่าEnvelopmentยังไม่ดีพอ ต้องหาจุดบกพร่องและแก้ไขต่อไป

Dynamicเป็นคำที่เราคงคุ้นเคยกันดี อธิบายง่ายๆมันก็คือความแตกต่างระหว่างระดับเสียงที่เบาที่สุดถึงระดับเสียงที่ดังมากที่สุดโดยไม่มีความเพี้ยนหรือdistortionของเสียง ซึ่งส่วนมากเราก็จะไปเน้นแต่เสียงที่ดังที่สุดของระบบโดยลืมนึกไปถึงเสียงที่เบาที่สุดของระบบ อย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ว่าระบบเสียงที่ดีนั้นไม่ได้แค่เป็นระบบเสียงที่สามารถทำให้เกิดเสียงดังที่สุดแต่ระบบที่สามารถได้ยินเสียงที่เบาที่สุดที่เขาบันทึกมาได้โดยง่ายนั่นแหละคือระบบเสียงที่ดี ซึ่งส่วนที่ส่งผลต่อDynamicของเสียงก็คือเสียงรบกวนภายนอก และเสียงสะท้อนก้องในห้องhome theater เพราะเมื่อมีเสียงเหล่านี้ดังเกินไปมันก็จะไปรบกวนทั้งfocus และclarityของเสียง ดังนั้นระบบเสียงในห้องhome theaterที่ดีจะต้องสามารถเปิดในเสียงที่ดังระดับreference levelหรือสูงกว่าโดยไม่มีความเพี้ยนและยังสามารถได้ยินเสียงเบาๆในภาพยนต์ได้ การประเมินDynamicก็สามารถทำได้โดยวัดค่าNoise Curveภายในห้องว่ามีค่าสูงมากน้อยยังไง ถ้ามีค่าสูงก็ต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากสิ่งใดแล้วค่อยแก้ตรงจุดนั้นซึ่งเรื่องนี้ผมเคยพูดในบทความไว้บางแล้ว Trackเพลงที่HAAใช้ทดสอบความสามารถของระบบเสียงก็คือ Drum Improvisationของ Jim Keltner; Sheffield Drum and Track Record, Sheffield CD 14/20 เพลงเดียวกันกับที่ใช้ทดสอบenvelopment และfocus นั่นแหละครับ ให้ลองดูเสียงsoloกลองดูว่าเวลาเล่นแล้วให้ความรู้สึกเหมือนกับว่ามีคนมาตีกลองจริงๆอยู่ตรงหน้าหรือเปล่า และถ้าระบบเสียงดีๆแล้วมันจะสื่อได้เลยว่าเสียงกลองมันมีความแน่น เวลาเสียงไม้ตีกลองกระทบหนังกลองมันก็จะรู้ถึงความแรง ความหนักเสมือนจริง แต่ถ้าฟังแล้วดูเหมือนนักดนตรีไม่ค่อยมีแรงตี หรือตีเบาๆนิ่มๆเหมือนเพลงblue อย่างนี้แสดงว่าDynamicเสียงมีปัญหาละครับ

ส่วนสุดท้ายก็คือResponse ซึ่งก็หมายถึงความตอบสนองความถี่ของระบบ โดยจะใช้การวัดจากระดับ(level)ของความถี่แต่ละย่านความถี่ ระบบที่ดีจะมีความราบเรียนสม่ำเสมอของlevelในแต่ละfrequency แต่ถ้าเป็นระบบที่ไม่มีความสมดุลย์ของเสียง(improper tonal balance) ก็อาจจะพบเสียงเบสที่มากเกินไปหรือได้ยินบ่อยๆว่าboomy bass หรือไม่ก็มีเสียงแหลมที่บาดหูหรือexcessive treble เหล่านี้ล้วนทำให้ลักษณะของเสียงดนตรี(musical timbre) หรือความสมจริงของเสียงต่างๆเสียไป ปัจจัยที่ส่งผลต่อfrequency responseของเสียงอย่างมากได้แก่ คุณภาพของอุปกรณ์เครื่องเสียงภายในห้องhome theater และเมื่อได้เครื่องที่มีคุณภาพดีแล้วก็ยังต้องอาศํยการset-upที่ถูกต้องเที่ยงตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องขนาดเล็ก นอกจากนั้นก็มีตำแหน่งนังฟังที่ดี ตำแหน่งลำโพงต่างๆ และการใช้equalizationเพื่อทำการแก้ไขในบางจุดที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยวิธีอื่นๆแล้ว เมื่อเราสามารถปรับแต่ให้frequency responseได้ดีแล้วก็จะทำให้เราดูหนังได้อย่างสนุกไม่ว่าจะฟังlevelระดับใด(ไม่เกินreference level) ไม่เมื่อยล้าเมื่อต้องดูนานๆหลายชั่วโมง และระบบสามารถสร้างเสียงที่ใกล้เคียงกับที่เขาบันทึกมาให้เราได้ยินมากที่สุด ส่วนการวัดFrequency ResponseทางHAAเขาจะใช้Source จากPink Noiseแล้วใช้โปรแกรม AudioToolsที่เป็นapp อยู่บนiPad iPhoneทำการวัด FFT(Fast Fourier Transform)เพื่อดูcurve และความsmoothของfrequency response


ส่วนเนื้อหาในเรื่องอื่นๆ ผมก็เคยพูดมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Design Adjustmentที่เกี่ยวกับ Listener Placement เรื่องของSweet Areaในห้องHome theater ตำแหน่งการวางลำโพงต่างๆ เรื่องของBass Distortionsทั้งroom mode, SBIR, Boundary Gain, Acoustics ในห้องฟังขนาดเล็กฯลฯ ยังไงก็ลองหาอ่านได้ครับจากคอลัมน์Dream Home TheatreในหนังสือAudiophile/Videophile เล่มเก่าๆหรือเข้าไปกดlikeที่หน้าFacebookของ Home Theater Pro Thailandดูได้ ผมuploadเนื้อหาเล่มเก่าๆเอาไว้ที่นั่นด้วย ยังไงเข้าไปพูดคุยติชมสอบถามในเรื่องhome theaterกันก็จะยินดีเป็นอย่างยิ่งครับผม

พูดเรื่องวิชาการมาเยอะละเปลี่ยนไปท่องเที่ยวกันบ้างครับจะได้ดูไม่น่าเบื่อเกินไป เมื่อปลายปีที่แล้วผมก็ได้รับเกียรติจากคุณนาวี คุณธรรมนูญ กองบรรณาธิการหนังสือAudiophile/Videophile เสี่ยเบนซ์จากขอนแก่นนักเล่นผู้มีความรู้ทั้งงานPAและhome entertainmentอย่างมากมาย เฮียสมชายจากร้านขอนแก่นไฮไฟร้านที่มีเครื่องเสียงขายทุกประเภทไม่ว่าจะหายากแค่ไหนเฮียแกจัดหาได้หมด เฮียอู๊ดจากร้านข้าวต้มก๊ก24น.(ผมนี่ไปขอนแก่นทีไรต้องไปกินข้าวต้มร้านนี้ประจำครับ) เฮียกิตติคุณจากร้านDiscovery HiFIร้านจำหน่ายเครื่องเสียงชื่อดังจากกรุงเทพ ได้มาเยี่ยมชมห้องHome theaterที่รกๆของผมที่อุดรธานีกัน

เรียกว่าแต่ละคนที่มากันนี่ประสบการณ์ในเรื่องเครื่องเสียงช่ำชองกันทุกคน วันนั้นกว่าจะมาถึงอุดรธานีกันก็ช่วงบ่ายแก่ๆเพราะออกมาจากกรุงเทพฯตอนเช้าแวะเปลี่ยนรถกับรับเพื่อนๆจากขอนแก่นถึงอุดรก็ประมาณเกือบๆสี่โมงเย็นละ มาถึงผมก็คิดว่าคงจะหิวๆกันแล้วก็ได้เตรียมของว่าง ขนม(ฝีมือภรรยา) refreshmentไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม น้ำชา กาแฟไว้ต้อนรับนิดหน่อย เกรงว่าถ้ามากไปเดี๋ยวจะหลับกันซะก่อน อีกอย่างจะกินข้าวเย็นกันไม่ลง ฮ่า ฮ่า



ส่วนหนึ่งที่ได้มาเยี่ยมชมกันในวันนั้นก็เพราะผมได้รับProjector JVC RS600มาทดสอบ พร้อมกับจอรับภาพdnp Supernova ทำให้หลายๆท่านอยากมาดูให้เห็นกับตาว่าภาพที่ออกมาจากJVC DLA-RS600(ในเมืองไทยจะใช้ชื่อรุ่นDLA-X9000) รุ่นที่ได้ชื่อว่าภาพสวยโดดเด่นมากในงานCEDIAครั้งล่าสุดที่ผ่านมาว่าเมื่อผ่านการปรับตามมาตรฐานของISFแล้วภาพจะขนาดไหน อีกทั้งระบบเสียงในห้องของผมได้เปลี่ยนไปหลายอย่างจากครั้งที่แล้วที่หนังสือAudiophile/Videophileได้มาสัมภาษณ์เมื่อเกือบสองปีก่อน ที่เปลี่ยนไปจุดใหญ่ๆก็คือSubwooferโดยตอนนี้ได้เปลี่ยนมาเป็นMeyer Sound X-400Cจำนวนสองตู้ โดยใช้ Galileo408 Loudspeaker Managementเป็นตัวควบคุมSubwooferร่วมกับลำโพงMainทั้งหมด ส่วนลำโพงSurroundทั้งในส่วนSurround Backรวมทั้งCeiling Channel ของระบบDolby Atmosก็จะใช้ลำโพง Meyer Sound HMS-10 โดยระบบตอนนี้จะเป็นDolby Atmos 7.1.4 (Subwoofer channelจะใช้subwooferสองตัวแต่มาจากสัญญาณsubเส้นเดียวกันจึงเป็น.1ไม่ใช่.2ครับ) ลำโพงSurroundทั้งหมดควบคุมโดย BSS Soundweb London BLU-160 หลายคนถามว่าทำไมไม่ใช้Meyer sound Galileoเหมือนลำโพงหน้าล่ะ คำตอบง่ายๆคือราคาครับ…แฮะ แฮะ ต้องยอมรับว่าอุปกรณ์แต่ละชิ้นของMeyer soundนั้นwell engineerจริงๆ คุณภาพก็ดีมาก ราคาก็เลยดีตามคุณภาพไปเลย….เอิ้กกก แต่ตัวBSS Blu-160คุณภาพก็ถือว่าไม่ได้หนีตัวMeyer soundไปมากเท่าไรนะครับ มันก็คือตัวเดียวกับที่ใช้เป็นEqualizerในระบบJBL Synthesisแต่ชื่อของมันจะเปลี่ยนเป็นJbl Synthesis SDEC-4500P เพี่ยงแต่ต่างกันที่หน้ากาก กับsoftwareที่ใช้ควบคุม อีกอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้เนื่องจากเป็นลำโพงแบบActiveก็คือลำโพงMeyer Sound HMS-10ต้องต่อผ่านตัวMPS-488HPซึ่งจะเป็นตัวPower Supplyกับส่งสัญญาณAnalog XLRไปด้วยกันผ่านสายของMeyer Soundเอง เรียกได้ว่านอกจากจะแพงแล้วแต่ละตัวยังต้องใช้อุปกรณ์เสริมเพียบ ไม่อยากคิดเลยว่าถ้าใช้Meyer Soundเต็มระบบจริงๆจะต้องลงทุนไปเท่าไร่ แต่เมื่อผมได้ฟังเสียงแล้วก็ต้องยอมรับเขาล่ะครับว่าของเขาดีจริงๆสมควรแล้วที่Studioทำหนังระดับโลกทำไมส่วนใหญ่ถึงเลือกใช้ยี่ห้อนี้กัน ส่วนอุปกรณ์อื่นก็มีPre Processorของ Marantz SR8002ที่ผมเอามาแค่decode สัญญาณImmersive Soundเฉยๆ filterอื่นๆในตัวเครื่องผมbypassมันทั้งหมดแล้วมาปรับแบบmanualทั้งหมดที่ Galileo408กับBSS Blu-160แทน ส่วนลำโพงFront Channel, Power Amplifier เครื่องเล่นต่างๆก็ยังเหมือนเดิมกับเมื่อสองปีที่แล้วไม่เปลี่ยนแปลงครับ(เพราะว่าเงินหมดไปกับตัวที่เปลี่ยนแล้วไง….555)




ได้เวลานั่งฟังกันเสียที เริ่มต้นกับของใหม่กันก่อนกับแผ่นตัวอย่างของDolby Atmosไม่ว่าจะเป็นTrailersหนัง กับSeriesต่าง เพลง คลิปเสียงเพื่อใช้ทดสอบลำโพงเพดาน เรียกได้ว่าทุกคนรู้สึกชอบและตื่นเต้นกับระบบภาพที่คมชัดสดใสของJVC DLA-RS600 ร่วมกับเสียงImmersive SoundของDolby Atmosโดยเฉพาะตัวอย่างเกมส์จากVideo Games Star Wars Battlefront มันทำให้เรารู้สึกอยากเล่นเดินไปซื้อเกมส์มันมาเล่นตอนนั้นเลย ทั้งเสียงและภาพทำได้สมจริงมาก

หลังจากนั้นก็ได้ลองแผ่นคอนเสิร์ตBlu-rayของ Roger Waters The Wallที่คุณธรรมนูญได้ติดมาให้ดูด้วย พอได้ดูแผ่นนี้ที่บันทึกมาในระบบDolby Atmosแล้วเรียกว่าฟินกันทุกคนเลยครับ ทั้งภาพ ทั้งเสียง เรียกได้ว่าครบเครื่องจริงๆ ยิ่งได้คุณธรรมนูญ กูรูแผ่นนี้มานั่งอธิบายที่มาที่ไปของคอนเสิร์ตด้วยแล้ว เรียกได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากจริงๆครับ และภาพจากProjector JVC DLA-RS600นั้นนับว่าทำได้ดีสมคำล่ำลือ ขนาดเสี่ยเบนซ์ผู้ซึ่งไม่ค่อยชอบภาพแนวJVCถึงกับบอกว่าเป็นProjector JVCที่สวยที่สุดตั้งแต่เคยสัมผัสมาเลยทีเดียว ส่วนในรายละเอียดขอบภาพ ผมจะนำเสนอในบทความของการทดสอบเครื่องอีกทีโปรดติดตามครับ

เมื่อได้ลองดูหนังฟังเพลงกันจนเต็มที่แล้ว เปิดไฟขึ้นมาสิ่งแรกที่คนมาเยี่ยมห้องผมส่วนมากจะทำก็คือขอดูSubwoofer Meyer X-400Cชัดๆหน่อยเถอะว่า ทำไมลำโพงดอก18นิ้ว ตู้เปิดหน้าตาเชยๆเหมือนลำโพงงานวัด น้ำหนักตัวแค่35Kg.เสียงมันทำออกมาได้ขนาดนี้ได้ยังไง (ผมก็อยากตอบเหมือนกันว่า…ผมก็ไม่รู้ ถ้าผมรู้ผมคงรวยไปแล้วครับ 555)

ผ่านไปอย่างรวดเร็วกับการดูหนัง ฟังเพลงหลายชั่วโมงแล้ว พวกเราชาวรักเครื่องเสียงเหมือนกัน(ถึงแม้บางคนจะชอบ2ch. บางคนชอบHome theater บางคนก็เล่นturn ผมก็โมเมไปว่ามีความชอบเหมือนกันนะ) พวกเราทีมเดียวกันก็พากันไปกินข้าวที่ร้านระเบียงพัชนี ร้านอาหารไทยรสชาติดีที่อยู่ติดสวนสาธารณะหนองประจักษ์ อากาศวันนั้นดีมากๆ ลมเย็นๆนั่งกินข้าว ดื่มเบียร์ คุยกันอย่างสนุกสนานกับเรื่องราววงการเครื่องเสียงในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นเบื้องหน้าเบื้องหลังเบื้องลึกต่างๆ เรียกได้ว่าได้ทั้งความรู้ประสบการณ์เพิ่มขึ้นอีกมากเลยครับ ยังไงก็ขอบคุณทุกท่านสำหรับคำแนะนำติชมต่างๆ ผิดพลาดประการใดขออภัยมาณ.ที่นี้ด้วย และหวังว่าโอกาสหน้าคงจะได้แวะเวียนมาเยี่ยมเยือนกันอีก ผมยินดีต้อนรับเสมอครับ

