Immersive sound processor ตัวใหม่ของทางStorm Audio ที่มาพร้อมโมดูลใหม่ล่าสุดทันสมัยที่สุดของทางDiracได้แก่ Dirac Live Active Room Treatmentหรือเรียกง่ายๆว่าDirac ART มาติดตามดูกันว่าpre/proตัวนี้จะให้เสียงออกมาสุดยอดขนาดไหนครับ

คุณสมบัติทั่วไปของStorm Audio ISP Elite MK3ก็เป็นsound processorรองรับสัญญาณเสียงทั้งAuro-3D, Dolby Atmos, DTS:X Proและ IMAX Enhanced สามารถส่งออกสัญญาณเสียงได้สูงสุด32แชนแนล ใช้งานaudio over IPในการเชื่อต่อแบบAES67/Ravenna, Dante ส่วนoutputแบบAES/EBUก็สามารถส่งออกได้32แชนแนลเช่นกัน โดยตัวเครื่องที่ผมทดสอบจะเป็นรุ่นที่มีanalog XLR outputs 16แชนแนล อย่างไรก็ตามตัวhardwareของตัวเครื่องสามารถเพิ่มลดให้เหมาะสมกับห้องhome theaterในแต่ละห้องได้อย่างสะดวก HDMIมี7IN/2OUT แบบHDMI2.0b/HDCP2.2 รองรับภาพ 4K UHD HDR10, Dolby Vision, HLG แบบ18Gbps ในทุกports สำหรับราคาตั้งของStorm Audio ISP16 Elite MK3อยู่ที่ 670,000บาท, ISP24 MK3อยู่ที่ 790,000 และ ISP32 MK3อยู่ที่ 890,000บาท

อุปกรณ์ที่บรรจุมาในกล่องก็ในแนวminimalเอาแค่ที่จำเป็น มีสายไฟ รีโมท Quick start guide และแผ่นเหล็กเพื่อใช้ยึดกับRack

รีโมทก็ตัวเล็กๆเอาเท่าที่จำเป็นจริงๆ แต่พอใช้งานผมเลือกควบคุมบนมือถือผ่านStormAudio app ทั้งสะดวก และปรับได้ละเอียดกว่ามากครับ

ส่วนที่ Wow! ที่สุดสำหรับผมของISP Elite MK3ตัวนี้คือ สามารถใช้งานโปรแกรมRoom Correctionแบบ Dirac Live Active Room Treatment(Dirac ART)ได้ ซึ่งตอนนี้มีแต่เครื่องpre/proของStorm Audioเพียงเจ้าเดียวเท่านั้นที่รองรับโมดูลนี้ และตัว ISP Elite MK3ที่ซื้อตั้งแต่ปีนี้(2023)เป็นต้นไปก็จะให้licenseนี้ติดมากับเครื่องเลยไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อเพิ่มอีก

ถ้าถามว่าDirac Live Active Room Treatmentน่าตื่นเต้นตรงไหน? ผมต้องตอบเลยว่ามันเป็นสิ่งที่จะมาเปลี่ยนแนวคิดการทำAcoustics treatmentภายในห้องไปอย่างสิ้นเชิง จนบางคนถึงกับบอกว่านี่คือgame-changerในโลกของspeaker calibrationอย่างแท้จริง เนื่องจากเดิมถ้าต้องการแก้ไขในเรื่องการสั่นค้างของเสียงเบสเนื่องจากการสะท้อนกลับไปกลับมาของความถี่ต่ำภายในห้องที่บางคนก็เรียกว่าsmeared bassหรือ boomy bassนั้น เราต้องใช้วัสดุปรับสภาพacousticsภายในห้องที่มีอยู่หลายชนิดหลายแบบเช่น bass traps, wall absorption หรือวัสดุacoustics treatmentที่มีขนาดใหญ่ ราคาแพง รูปร่างหน้าตาก็ไม่ค่อยจะสวยเท่าไหร่ใส่เข้าไปในห้อง หรือบางทีก็ต้องมีการใช้หลักการของmultiple subwooferที่ใช้subwooferจำนวนมากวางในตำแหน่งเฉพาะเพื่อแก้ไขroom modeภายในห้อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เพื่อต้องการลดค่าroom decay timeของเสียงความถี่ต่ำภายในห้องลง แต่สำหรับDirac Live ARTนั้นจะใช้หลักการคล้ายกับactive noise cancelation โดยจะใช้ลำโพงของเราที่มีอยู่ภายในห้องปล่อยสัญญาณความถี่ต่ำกว่า150Hzที่มีphaseตรงข้าม(anti-signals)cancel outกับเสียงที่สะท้อนออกมาจากผนัง หรือเสียงสะท้อนอื่นที่ทำให้เกิดdistortionของเสียงจริงจากลำโพง เพื่อควบคุมการresonanceและdecay timeของห้องฟังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำเช่นนี้ก็จะทำให้เสียงความถี่ต่ำภายในห้องมีความแน่น ไม่เพี้ยน ไม่มีการringing เพิ่มsweet spotของการนั่งฟังให้กว้าง ตำแหน่งนั่งฟังแต่ละที่ก็จะมีความแตกต่างกันน้อย ได้ฟังเสียงที่ถูกต้องใกล้เคียงกับเสียงภาพยนตร์ที่directorหรือคนทำหนังเขาได้ยินในห้องpost production studio ซึ่งหลังจากทางStorm Audioได้เปิดตัวDirac ARTและมีการสาธิตในห้องแสดงเครื่องเสียงในต่างประเทศ คนที่ได้ฟังต่างก็ชื่นชม และamazingกับเสียงที่ออกมา ได้ฟังได้อ่านมาแค่นี้ต่อมความตื่นเต้นผมก็ทำงานหนัก….ว้าวุ่นเลยทีนี้

การทดสอบผมทำในระบบวางลำโพงแบบ 7.1.4 ใช้ชุดลำโพงของMeyer Soundทั้งชุดที่เป็นลำโพงแบบActiveมีPower Amplifierในตัว โดยลำโพงLCRจะเป็นรุ่นAcheron Designer, ลำโพงSurroundทั้งหมด8ตัวเป็นรุ่นHMS-10 ส่วนลำโพงSubwooferใช้4ตัวเป็นรุ่นX-400Cวางกลางผนังห้องทั้งสี่ด้าน โดยสัญญาณต่อตรงผ่านช่องBalance XLRจากpre/proเข้าลำโพงโดยไม่ผ่านexternal DSPแต่อย่างใด เนื่องจากการทำDirac ARTตัวโปรแกรมจะทำการวัดลำโพงทุกตัวว่าสามารถตอบสนองความถี่ต่ำได้ลึกถึงเท่าไหร่ เพื่อให้ลำโพงทุกตัว(ที่เลือกไว้)ช่วยกันปล่อย anti-signals ลดการสะท้อนของเสียงจากผนังตามความสามารถของลำโพงแต่ละตัว สำหรับขั้นตอนการsetupแบบ Dirac ARTผมจะทำเป็นคลิปแยกเพื่อแนะนำขั้นตอนการทำ และเทคนิคเล็กๆน้อยที่จะช่วยให้ผู้ที่setupได้เข้าใจและสามารถทำได้ง่ายมากขึ้น ใครสนใจก็ติดตามในช่องYouTube MorAek Home theaterได้ครับ

เมื่อทำการcalibratedโดยใช้Dirac Live ARTเรียบร้อย สิ่งแรกที่ผมต้องการรู้ก็คือ มันสามารถลดDecay timeได้จริงอย่างที่แจ้งไว้หรือเปล่า เพราะดูจากconceptและวิธีการนั้นมันดูเหมือนsimplyเกิน ไม่ต้องเพิ่มลำโพงที่มีอยู่ในระบบ ใช้เท่าที่มี ไม่ได้สนใจว่าลำโพงอยู่ที่ตำแหน่งไหนบ้าง แค่วางให้ไม่ผิดมาตรฐานมากนักก็ใช้ได้ สัดส่วนสภาพacousticsห้องก็ไม่ได้สนใจ อารมณ์ประมาณเดี๋ยวตัวโปรแกรมจะจัดการทุกอย่างเองขอให้ทำการcalibrateให้ถูกต้องวัดค่าลำโพงออกมาvalidตามวิธีการของDiracก็พอ ทำให้ตอนแรกในความคิดผมก็คือมันก็คงทำได้ดีในระดับหนึ่งประมาณว่าลดค่าพอเห็นเล็กๆน้อยๆเสียงเบสก็คงแน่นกว่าการcalibratedด้วยDirac Live Bass Controlนิดหน่อย กราฟที่ทางบริษัทวัดมาแบบWaterfall time decayก็มีโชว์แต่ผมก็ไม่เชื่อเท่าไหร่อยากวัดเองมากกว่า ซึ่งเมื่อผมลองวัดค่าSpectrogram Graphเองเพื่อดูdecay time เทียบระหว่างใช้กับไม่ใช้ Dirac ARTผลที่ได้ออกมาตามกราฟที่เห็นเลยครับ ไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้ดีถึงขนาดนี้ ringingต่ำกว่า 150Hzในห้องผมถูกจัดการเรียบ อย่างเนียน งานนี้ต้องยอมรับเลยว่ามันทำได้จริงไม่จกตา….ทำได้ไงเนี่ย

ดูค่าจากกราฟดีมากคราวนี้มาฟังเสียงจริงดูบ้างว่าดีขึ้นจริงเหมือนอย่างที่กราฟแสดงไว้ไหม ทดสอบความถี่ต่ำแน่นอนต้องจากหนังเรื่อง John Wick: Chapter 4(2023) ฉากแรกเลยที่John Wickชกเสาสั่นสะท้านสะเทือน ฉากนี้ผมลองบ่อยมากจนจำลักษณะเสียงได้ แต่พอทำDirac ARTแล้วเปิดดู เสียงไม่เหมือนที่เคยฟังมาเลย เสียงแน่นขึ้น ชัดขึ้น ขอบเสียงต่ำชัดเจน ไม่มีอาการsmearของเสียง แค่ฟังแบบcasual listeningไม่ต้องฟังแบบนั่งจับผิดก็เห็นความต่างเยอะ รายละเอียดของเสียงตรงนี้เยอะกว่าที่เคยฟัง คงเป็นเพราะที่เคยฟังมาเสียงบางส่วนถูกกลบด้วยเสียงความถี่ต่ำเดิมที่เก็บตัวไม่ทันเนื่องจากdecay timeของห้องสูงเกิดringingมาทับ ทำให้เสียงตอนนี้ได้รายละเอียดครบๆแบบไม่เบลอ ไม่มีเพี้ยน แบบนี้แหละมั้งที่ฝรั่งมักเรียกว่า”clean bass” ฟังแล้วgetเลยกับความหมายของคำ ๆนี้

ลองฟังStar Wars: Episode VII-The Force Awakens หนังเรื่องนี้ผมเคยไปฟังจริงๆในระบบDolby Atmosจากสตูดิโอที่ทำเสียงของหนังเรื่องนี้มา ทำให้พอรู้ว่าเสียงจะออกมาประมาณไหน ต้องบอกว่าเสียงที่ออกมาจากเครื่องStorm Audio ISP Elite MK3นั้นทำเสียงออกมาได้ใกล้เคียงเสียงที่เคยได้ยินในสตูดิโอมาก ทั้งความหนักหน่วงของเสียง, tonal balanceทั้งเสียงความถี่ต่ำ ความถี่สูง ยิ่งหนังเรื่องนี้มีหลายฉากที่ยานวิ่งไล่ ยิงต่อสู้กันรอบทิศ ความชัดของเสียงimmersiveนั้นก็ทำได้เนียนไม่มีช่องโหว่ รู้ตำแหน่งยานที่วิ่งรอบตัวเลย เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงความถี่ต่ำ น้ำหนักเสียง เนื้อเสียงไม่ต้องพูดถึง Dirac ARTจัดการได้อย่างยอดเยี่ยมมาก และด้วยdecay timeของเสียงที่ต่ำ ก็ทำให้ดูหนังได้นานขึ้นโดยไม่เหนื่อย ไม่อึดอัดอีกด้วย

Bohemian Rhapsody (2018) เป็นหนังที่เสียงคอนเสิร์ตmixออกมาได้เยี่ยมมาก เป็นความโชคดีว่าในยุคสมัยที่คอนเสิร์ตนี้แสดงอยู่จริง ส่วนมากการออกอากาศจะเป็นการใช้ไมค์บันทึกเสียงของเครื่องดนตรีที่เล่นทุกตัวรวมกัน แต่ด้วยความเก่งของBBC sound engineerสมัยนั้น ก็ได้ทำการบันทึกเสียงเป็นmulti trackแยกเครื่องดนตรีแต่ละตัวแล้วค่อยนำมาmixรวมกันก่อนออกอากาศในระบบstereo ทำให้มีไฟล์เสียงที่มีคุณภาพของเครื่องดนตรีแต่ละตัวที่เล่นจริงในวันนั้นเก็บไว้ และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้นำtrackเสียงเหล่านี้กลับมาmixใหม่ แล้วค่อยเพิ่มเสียงของบรรยากาศอื่นเข้าไปทีหลัง ทำให้เสียงดนตรีที่ได้ยินจากหนังเรื่องนี้เป็นเสียงของวงQueenเล่นจริงที่ชัดเจน มีnoiseกวนเสียงน้อยมาก เสียงดีแบบมีมิติ ดีจนในปี2019 เป็นหนังที่ได้รับรางวัลออสการ์ เรื่องเสียงทั้งBest sound editing, Best sound mixing และเมื่อได้ฟังจากStorm Audio ISP MK3 ที่ได้ทำDirac ARTแล้วนั้น ฟินจริงๆครับ เป็นเสียงคอนเสิร์ตที่ดีมาก ความถี่ต่ำของเสียงกลองมาเป็นลูกๆทุกครั้งที่เหยียบกระเดื่อง ความสดใสของHi-Hat ความแรงของกลองSnare ความพลิ้วของเสียงกีตาร์ รวมกับเสียงร้องทรงพลังอันมีเสน่ห์ของFreddie Mercury ช่างทำออกมาได้อย่างลงตัว ไพเราะน่าประทับใจ ใครที่เคยดูเรื่องนี้แบบผ่านๆลองกลับไปดูอีกรอบเพื่อเก็บความประทับใจเหล่านี้ไว้ เพราะผมคิดว่า Bohemian Rhapsodyเป็นภาพยนตร์ที่ทำเสียงคอนเสิร์ตออกมาได้ดีที่สุดเรื่องหนึ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันครับ

Storm Audio ISP Elite MK3เป็นsound processorที่สุดยอดตัวหนึ่งในวงการhome theaterที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้คุณภาพเสียงออกมาดีเยี่ยม มีความflexibleของเครื่องสูงupgradeอุปกรณ์ได้ง่าย รองรับinterfaceของเสียงที่จะมีในอนาคตได้หลายแบบ ทำการติดตั้งและcalibrationsได้ง่าย ความบกพร่องของโปรแกรมน้อย ที่สำคัญรองรับระบบDirac Live Active Room Treatment ทำให้ห้องที่เคยเจอปัญหาเรื่องacousticsของเสียงต่ำมีเสียงที่ดีออกมาได้อย่างสะดวกง่ายดาย เหมาะสมแล้วกับคำที่บอกว่า “Simply the best home cinema sound processor” ต้องขอขอบคุณทางบริษัท Inventive AVที่ส่งเครื่องStorm Audio ISP Elite MK3มาเปิดโลกทัศน์ของผมในครั้งนี้ด้วยครับ