ผมได้รับการติดต่อให้ทดสอบชุดลำโพงKlipsch และAVR Integraรุ่นใหม่ล่าสุด เป็นลำโพงในseries Reference Premiere IIโดยลำโพงFloor standingเป็นรุ่น RP-8000F II ลำโพงcenter RP-504C II ลำโพงsurroundแบบbookshelfรุ่น RP-600M II subwooferรุ่นSPL-120 และใช้AVR Integraรุ่นDRX-5.4 มาดูกันว่าลำโพงชุดนี้เมื่อได้รับการCalibrateอย่างเต็มที่แล้ว เสียงออกมาในห้องของผมจะเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามกันได้เลยครับ
ก่อนอื่นมาดูรายละเอียดของอุปกรณ์แต่ละตัวว่ามีอะไรสำคัญบ้าง เริ่มจากศูนย์กลางของเครื่องเสียงชุดนี้ ได้แก่ AVR Integra รุ่นDRX-5.4 ซึ่งดูจากfunctionต่างๆถือได้ว่าเป็นNetwork A/V Receiverกันเลย ราคาขายในบ้านเราอยู่ที่ 89,900บาท เป็นAVRที่ถอดรหัสเสียงได้ถึง 7.2.4channel โดยมีAmplifierอยู่9channel ให้กำลังขับอยู่ที่ 120W/channel และถ้าต้องการต่อเต็มระบบ 7.2.4 channelก็ต้องหาpower amplifierมาเพิ่มอีก 2channels รองรับระบบเสียงทั้ง Dolby Atmos, DTS XTM, IMAX® Enhanced ระบบภาพ HDR10, HDR10+, Dolby VisionTM ,HLG(Hybrid Log Gamma) มีeARCที่ส่งสัญญาณuncompressed surround soundทั้ง Dolby Atmos, DTS XTMเมื่อเชื่อมต่อHDMIกับTVที่รองรับ สามารถเชื่อมต่อHDMI 2.1ทำให้รองรับการส่งข้อมูลภาพ8K60Hzหรือ4K120Hz ได้รับการรับรอง THX Certified Select มีระบบปรับเสียงอัตโนมัติDirac Liveแบบเต็มมาให้ในเครื่องแล้วไม่ต้องไปซื้อเพิ่ม สำหรับรูปร่างทั่วไปตัวเครื่องเป็นสีดำ มีปุ่มหน้าเครื่องครบถ้วนตามสไตล์Integra จับดู ยกดูก็รู้สึกได้ถึงความแข็งแรงคงทนของเครื่อง ขนาดของเครื่องอยู่ที่กว้าง44cm ลึก39cm สูง20cm น้ำหนัก 14kg
ส่วนคุณสมบัติทางด้านnetworkหรือstreamingนั้นเยอะมากไม่ว่าจะเป็นdeezer, TIDAL, Spotify, pandora, amazon music, TUNE IN, Chromecast built-in, roon ,alexa ฯลฯ พูดไปคงไม่หมดดูภาพเลยละกันครับว่ามีอะไรบ้าง
สำหรับลำโพงที่ใช้จะเป็นลำโพงKlipsch รุ่นReference Premiere II ซึ่งทางKlipschบอกว่าเป็นการupgradeครั้งใหญ่จากรุ่นที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องการออกแบบwooferที่มีการเพิ่มAluminum shorting ringsเพื่อลดdistortionสามารถรองรับแรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นทำให้ได้พลังเสียงที่สูงมากขึ้นตามมา การออกแบบตู้ที่เพิ่มการแบ่งช่องภายในตัวตู้ลำโพงให้มีปริมาณมากขึ้น ทำให้ตัวตู้มีความแข็งแรง มั่นคง ลดการเกิดresonance, ลดการสั่นของตัวตู้เพิ่มความชัดเจน เพิ่มclarityของเสียง ส่วนHornsออกแบบใหม่ให้มีความใหญ่และมีคุณภาพที่ดีมากขึ้นทำให้การควบคุมทิศทางของเสียงทำได้อย่างแม่นยำเที่ยงตรง และHornsตัวใหม่ก็ยังดูสวยงามมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การออกแบบและงานประกอบลำโพงก็ทำให้ลำโพงรุ่นใหม่มีความสง่างาม มีความประณีต มีรายละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับลำโพงfrontซ้ายและขวาจะเป็นลำโพงFloor Standingรุ่น RP-8000F II ราคาตั้งอยู่ที่ 79,900บาท เป็นลำโพงที่ตอบสนองความถี่ตั้งแต่ 35Hz จนถึง 25,000Hz มีความไวของลำโพงที่สูงถึง 98dB ลำโพงมีน้ำหนัก 27.85kg ใช้ดอกลำโพงwooferแบบCerametallic Cone Woofersขนาด 8นิ้วสองตัว tweeterแบบTitanium Vented Tweeter Tractrix Hornขนาด1นิ้ว ตัดCrossoverที่ 1630Hz ด้านหลังจะมีช่องportsที่ออกแบบใหม่ให้อากาศภายในตู้ระบายออกได้เร็วที่สุดเพื่อลดport noise และเพิ่มพลังงานให้กับความถี่ต่ำที่ออกมาด้านหน้าลำโพง ช่องinputsต่อสายลำโพงจะเป็นAluminum binding postsแบบDual Terminalsทำให้สามารถใช้การต่อแบบBi-wiringหรือ Bi-ampingได้ นอกจากนั้นก็จะมีช่องต่อสายลำโพงสำหรับลำโพงatmos ที่สามารถนำลำโพงมาวางเพิ่มด้านบนทำให้ดูเรียบร้อยสวยงาม ส่วนตัวฐานของลำโพงก็จะเปลี่ยนจากพลาสติกแบบเดิมเป็นเหล็กAluminumทำให้ดูดีมีราคาทั้งยังช่วยทำให้ลำโพงมีความมั่นคงแข็งแรง ช่วยลดresonantของตู้ลำโพงลง
ลำโพงCenterเป็นรุ่นRP-504CII ราคาตั้ง 39,900บาท ลำโพงตัวนี้วัสดุที่ใช้ก็จะเหมือนกับที่ใช้ในลำโพงรุ่น RP-8000F II พื้นผิวก็เช่นกันจะใช้Vinylเกรดpremiumตัวใหม่ที่ดูเหมือนผิวไม้จริงมากขึ้นกว่ารุ่นเดิม โดยลำโพงcenterรุ่นนี้จะตอบสนองความถี่ตั้งแต่ 50Hz ถึง 25,000Hz ความไวลำโพงอยู่ที่ 96dB ตัวลำโพงมีน้ำหนัก 16.45kg ดอกลำโพงTweeterใช้ขนาด1นิ้วเหมือนลำโพงTower แต่ดอกwooferใช้ขนาด 5.25นิ้ว 4ตัว ตัดcrossoverที่ 650Hz และ 1950Hz ลำโพงมีความสูง17.4cm ความกว้าง 81.4cm ลึก38.3cm และมีน้ำหนัก 16.45kg
ลำโพงsurroundใช้รุ่น RP-600M IIเป็นลำโพงbookshelf ตอบสนองความถี่ 44Hzถึง 25,000Hz มีความไว 94.5dB และเช่นเดียวกับลำโพงตัวอื่นใช้tweeterดอก1นิ้วตัวเดียวกัน แต่ดอกwooferใช้ขนาด 6.5นิ้ว ตัดcrossoverที่1500Hz ตัวตู้มีขนาดไม่ต่างจากลำโพงsurroundที่เห็นทั่วไป มีความสูง40cm ความกว้าง 20.2cm ลึก33cm และมีน้ำหนัก 8.2kg ลำโพงมีราคาอยู่ที่ 35,900บาท
ลำโพงSubwooferเป็นรุ่น SPL-120เป็นลำโพงตู้เปิด ที่มีดอกลำโพงแบบcopper Cerametallicขนาด 12นิ้ว ใช้แอมป์ Class D กำลัง 300W RMSเป็นตัวขับ ตอบสนองความถี่ที่ 24Hz- 125Hz สามารถทำความดังได้สูงสุด 118dB ตัวตู้มีขนาด 45.1×37.4×50.6cm น้ำหนัก 20.4kg ราคาตั้งอยู่ที่39,000บาท(ตอนนี้มีราคาพิเศษอยู่ที่ 23,900บาท) ซึ่งเท่าที่ดูก็ถือว่าเป็นSubwooferขนาดกลางๆของทางKlipsch คราวนี้ก็น่าสนใจตรงที่ว่าSubwooferตัวนี้เพียงแค่ตัวเดียวจะเอาห้องhome theaterของผมที่มีปริมาตรเกือบๆ 90ลบ.ม.และมีacoustics treatmentติดตั้งไว้แบบจัดเต็ม ได้หรือไม่
หลังจากแกะกล่องก็นำลำโพงทั้งหมดในระบบ5.1 มาวางตามตำแหน่งมาตรฐาน ITU 5.1 (https://moraekhometheater.com/home/archive/2015/home-theater-speaker-configuration/)สำหรับSubwooferตัวเดียวของระบบก็วางไว้ด้านหน้าข้างๆกับลำโพงcenterตามตำแหน่งที่นิยมวางกัน และก็ใส่ดอลลี่ให้กับsubwooferเพื่อช่วยในการหาตำแหน่งในภายหลัง และเมื่อได้ตำแหน่งแล้วค่อยยกลงวางกับพื้นตามปกติอีกที
ลำโพงSurroundวางไว้เยื้องจากตำแหน่งนั่งฟังไปด้านหลังประมาณ 10องศา ไม่ได้มีการtoe inหาตำแหน่งฟัง เนื่องจากเป็นระบบ5.1 มีลำโพงอยู่ด้านหลังแค่คู่เดียว จึงต้องการการโอบล้อมและบรรยายกาศที่เรียกว่าenvelopment มากกว่าfocusของเสียง จึงไม่มีการหันหน้าลำโพงเข้าหาตำแหน่งนั่งฟัง
สำหรับ AVR Integra DRX-5.4การใช้งานเมนูทำได้ง่ายมาก เมนูตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อน
เมนูมีรูปประกอบให้เห็นภาพชัดเจนว่าเป็นเมนูเกี่ยวกับอะไร พร้อมมีคำอธิบายข้างใต้เผื่อบางทีไม่รู้ว่าเมนูที่กำลังแสดงอยู่นี้ใช้ในการปรับอะไร ที่ชอบอีกอย่างของAVR Integraตัวนี้ก็คือ สามารถเลือกชนิดลำโพงและรุ่นของลำโพง Klipschได้เลยว่ากำลังใช้ลำโพงรุ่นอะไรอยู่ในระบบบ้าง ระบบก็จะทำการจัดการเกี่ยวกับการตัดความถี่crossover ความชันของการตัด ต่างๆให้พอดีเหมาะสมกับลำโพงตัวนั้นๆ แต่ถ้าใครอยากจะปรับเองแบบmanualก็ยังสามารถปรับแบบเดิมได้เช่นกัน
ต่อสายตั้งค่าconfigurationลำโพงต่างๆเรียบร้อยก็ได้เวลาcalibrate เริ่มต้นก็ใช้auto calibrationแบบAccuEQ Room CalibrationของทางIntegra,Onkyoเอง การใช้งานก็ผ่านหน้าเมนูของเครื่องโดยใช้ไมค์ที่มากับเครื่อง วิธีการก็ไม่ยุ่งยากทำตามเมนูบนจอภาพได้เลย หลังจากปรับเสร็จสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือเสียงมีความกลมกลืนกัน ความต่อเนื่องของเสียงดีขึ้น
หลังจากนั้นผมก็ลองปรับเสียงauto calibrationแบบ Dirac Live room correctionที่ถูกใส่มาในเครื่องเรียบร้อยแล้ว โดยการทำก็ง่ายเช่นเดียวกัน สามารถใช้มือถือในการcontrolเพื่อปรับเสียงได้เลย เพียงแค่โหลดapp Integra Control Proมา เสร็จแล้วก็connectกับตัวเครื่องผ่านทางสัญญาณWiFi เลือกฟังก์ชั่นDirac Liveแล้วทำตามขั้นตอนที่แนะนำบนหน้าจอได้เลย หลังการวัดค่าเสียงภายในห้องเสร็จก็จะมีการแสดงกราฟก่อนและหลังการcorrection ข้อดีของDirac Liveก็คือเราสามารถปรับtarget curveของแต่ละลำโพงตามที่เราต้องการได้ด้วย เมื่อทำการปรับแต่งจนพอใจแล้วก็ค่อยทำการtransferข้อมูลการปรับทั้งหมดลงไปในเครื่องAVR Integra แค่นี้ก็เสร็จ ในเมนูRoom EQก็สามารถเลือกเป็นDirac Liveได้เลย สำหรับเสียงที่ปรับด้วยDirac Live room correctionเท่าที่ผมฟังดูเรื่องความต่อเนื่องของเสียง เนื้อเสียง รายละเอียดต่างๆก็จะใกล้เคียงกับAccuEQ Room Calibrationแต่ที่ดีกว่าการอย่างเห็นได้ชัดคือเรื่องของเสียงความถี่ต่ำ ที่Dirac Liveให้เสียงความถี่ต่ำที่แน่น คม กลมกลืนกับลำโพงหลักได้ดี คงจะเป็นเพราะการปรับแบบDirac Liveในปัจจุบันนอกจากจะมีการปรับในเรื่องของFrequency Domainเป็นหลักแล้ว ก็ยังจะไปปรับในส่วนของTime Domainของเสียงด้วย ค่าที่ออกมาจึงแม่นยำ ใกล้เคียงกับสภาพห้อง สภาพacousticsต่างๆในแต่ละห้องได้ดีมากขึ้น
ยังไม่จบแค่นี้ด้วยความที่ผมอยากรู้ว่าชุดนี้ถ้าจะรีดประสิทธิภาพแบบสุดๆจะไปได้ขนาดไหนเลยต้องทำการmanual calibrationโดยวิธี Turbocalของ HAA ถ้าใครพอรู้เกี่ยวกับการปรับเสียงของHAA หรือใครที่เคยเรียนเคยได้HAA certifiedก็จะรู้ว่าวิธีการปรับเสียงของHAAมีอยู่หลายวิธี ซึ่งวิธีที่ผมเลือกใช้Turbocalก็จะเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับตำแหน่งนั่งฟังที่นั่งเดียว ใช้ไมค์เพียงตัวเดียว การปรับใช้เวลาไม่นานมาก ผลลัพธ์ที่ออกมาหลังปรับจะเห็นผลชัดเจนแม้การฟังแบบทั่วไปที่ไม่ต้องตั้งใจฟังแบบaudiophile ก็จะได้ยินความแตกต่างแล้วว่าเสียงดีขึ้นอย่างไร ว่าแล้วมาเริ่มปรับกันได้เลย “Fire in the hole!”
สำหรับขั้นตอนการปรับของHAAก็จะมีหลายขั้นตอนตั้งแต่ Evaluation, Verification, Design, Calibrationโดยในแต่ละขั้นตอนก็จะมีหัวข้อย่อยในการปรับอีกหลายหัวข้อ
อย่างเช่นในภาพนี้ก็เป็นการวัดpolarityของdriverแต่ละตัวว่ามีpolarityเดียวกันไหม เพื่อให้แน่ใจว่าเสียงที่ออกมาจากลำโพงทุกตัวในระบบจะมีphaseที่ตรงกันไม่หักล้างกันแบบ180องศา เพื่อให้เสียงที่ออกมามีimpact มีพลังงานออกมาสูงสุด ซึ่งพอวัดออกมาpolarityทุกdriverของลำโพง Klipschมี polarityเดียวกันทั้งระบบ
อีกขั้นตอนที่สำคัญก็คือขั้นตอนKick Sub ซึ่งก็คือการหาตำแหน่งที่ดีที่สุดของSubwoofer โดยได้ทำการวัดfft 1/24octave ในตำแหน่งต่างๆที่คิดว่าน่าจะมีfrequency responseดีที่สุด ลองให้ทายดูกันครับว่าในห้องผมตำแหน่งsubwooferตรงไหนจะดีที่สุด
ระหว่างตำแหน่งตรงกลางข้างลำโพงcenterที่เรามักจะเห็นคนวางตำแหน่งนี้กันส่วนมาก อีกตำแหน่งจะเป็นด้านตรงกลางด้านข้างของผนังห้องทั้งสองข้าง และสุดท้ายตำแหน่งมุมห้องด้านขวา แต่ในห้องผมก็ไม่ได้มุมสุดเนื่องจากมีวัสดุacousticsอยู่ตรงนั้นเลยขยับออกมาอีกนิดหนึ่งแต่ก็ถือว่าเกือบๆมุมห้องละ
จากโจทก์ที่ให้มาว่ามีsubwooferตัวเดียวแต่ต้องให้เสียงออกมาดีที่สุด ผมคิดในใจตั้งแต่แรกว่าคงจะวางไว้มุมห้องข้างใดข้างหนึ่งแน่นอน เนื่องจากห้องมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับsubwooferเพียงตัวเดียว การวางsubwooferไว้มุมจะทำให้ได้พลังงานเพิ่มขึ้นมาอีก9dBจากผนังสามผนังที่สะท้อนพลังงานออกมา ดังนั้นcalibratorเก่งๆหลายคนจะแนะนำเลยว่า ถ้ามีsubwooferเล็กตัวเดียวในห้องใหญ่ให้วางไว้มุมห้องเลย เรื่องfrequency responseอาจจะไม่สำคัญเท่าเรื่องพลังงานของเสียงที่ออกมาในสถานการณ์แบบนั้น แต่ไม่น่าเชื่อค่าที่วัดในห้องผมออกมาปรากฏว่าเมื่อวางลำโพงsubwooferในตำแหน่งมหาชนที่อยู่ข้างลำโพงcenterด้านหน้าจะเกิดdip เกือบ 20dBช่วงระหว่าง 50-60Hz ตามเส้นกราฟสีน้ำเงิน เมื่อเลื่อนsubwooferไปตำแหน่งกลางผนังห้องด้านข้างซ้ายซึ่งตำแหน่งนี้น่าจะให้frequency responseที่เรียบแต่ก็ปรากฏว่าก็ยังมีdipเกือบๆ15dB ช่วง 40Hz ตามเส้นกราฟสีแสด เมื่อลองเลื่อนมาด้านขวาผลก็จะคล้ายๆกัน และsurpriseสุดคือตำแหน่งมุมห้องที่ปกติจะต้องมีpeakและdipมากกว่าจุดอื่นกลับปรากฏว่าให้ความsmoothดีที่สุดตามเส้นกราฟสีขาว ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในการวางsubwooferในสถานการณ์นี้คือมุมห้องที่จะได้ทั้งพลังงานของsubwooferที่มากขึ้นและยังคงความsmoothของfrequency responseอยู่
เมื่อทำการoverlay กราฟfrequency responseกับ room modeของห้องตามรูปในหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็จะเห็นว่าทั้งpeak และdipที่เจอล้วนมาจากroom modeของห้อง ซึ่งถ้าใช้ลำโพงsubwooferหลายตัวก็น่าจะสามารถแก้ไขroom modeตรงนี้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยตำแหน่งการวางผมว่าcalibratorที่เก่งและมีประสบการณ์ก็คงจะแก้ไขเรื่องroom modeตรงนี้ได้ไม่ยากเพราะเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมาตามหลักphysics
เมื่อได้ทำการcalibrationตามขั้นตอนTurbocalจนเสร็จเรียบร้อยทั้งในเรื่องfrequency responseและphase response แล้วจึงได้ทำการevaluationอีกทีว่าเสียงที่ออกมามีความถูกต้องเหมาะสมตามที่ควรจะเป็นหรือยัง โดยใช้เครื่องมือ Seven G 8KของMurideoซึ่งเป็นเครื่องมือทดสอบได้ทั้งภาพและเสียง และเครื่องมือตัวนี้ApprovedโดยDolbyด้วย การทดสอบก็จะทำการปล่อยสัญญาณภาพที่ความละเอียด, frame rate ต่างๆเพื่อทดสอบว่าAVRสามารถรองรับภาพได้ตามที่บอกมาในspecหรือไม่ โดยหลังจากการทดสอบก็ไม่พบปัญหาในเรื่องการแสดงภาพ การsyncภาพในรูปแบบต่างๆแต่อย่างใด
ลองเปิดภาพยนตร์ที่เป็นระบบ IMAX Enhancedเครื่องAVR Integraก็สามารถdecodeสัญญาณเสียงออกมาเป็น IMAX Enhanced และส่งต่อสัญญาณภาพIMAX Enhancedไปยังทีวีหรือโปรเจคเตอร์ที่รองรับระบบIMAX Enhancedได้
Calibrationเสร็จได้เวลาเอนหลังมานั่งฟังเสียงจริงกันบ้าง เริ่มจากนี่เลยJohn Wick(2014) chapter7 เริ่มต้นจะเป็นฉากในคลับ เริ่มฟังเสียงโอบล้อมมาดีเลย เสียงเบสของเพลงออกมาจากกลางจอ ไม่ฟ้องตำแหน่งของsubwooferที่อยู่มุมห้องแต่อย่างไร เสียงความถี่ต่ำให้ความยิ่งใหญ่ลึกและสะเทือนห้องได้อย่างไม่น่าเชื่อว่ามาจากลำโพงsubwoofer 12นิ้วเพียงแค่ตัวเดียว โดยเฉพาะเสียงปืนที่ยิงimpactของเสียงทำได้มันสะใจดีมาก รายละเอียดของเสียงปืนแต่ละกระบอกมีความเปิด เคลียร์ และรายละเอียดของเสียงแทบจะสามารถแยกเสียงปืนที่เสียงต่างกันในปืนแต่ละกระบอกได้เลย
จัดหนักมาขอฟังเพลงดูบ้าง เคยได้ยินแต่ว่าลำโพงKlipschฟังเพลงงั้นๆ เลยลองเปิดกับเพลง Layla ของ Eric Clapton ในชุด The Lady In The Balcony: Lockdown Sessions เสียงแรกที่ได้ยินเปลี่ยนความคิดได้เลยครับ รายละเอียดมาแบบเต็มๆ ที่โดดเด่นเลยคือเรื่องของน้ำเสียง เนื้อเสียงที่ผมว่าAVRของIntegraทำออกมานั้นละเมียดละมัย ส่งผลให้เสียงที่ออกมาจากลำโพงKlipschมีความน่าฟัง ฟังแล้วมีความไพเราะ เคลิ้มไปกับเสียงดนตรีได้อย่างดีเยี่ยม เสียงความถี่สูงก็ไม่คมบาดหูเหมือนกับที่คิดไว้ ส่วนเสียงเบสก็ยังให้ความยิ่งใหญ่ แบบน่าฟัง การไล่เบสแต่ละโน้ตไม่มีช่วงไหนเสียงเบสขาดหายไป นี่คงเป็นผลสืบเนื่องจากการmanual calibrationที่ทำให้เกิดtonal balanceได้อย่างลงตัวและsmoothของการsetโดยวิธีHAAในsystemชุดนี้
ว่าแล้วยังข้องใจเสียงเบสว่าทำได้ดีจริงหรือเปล่าหรือเป็นแค่บางtrack เลยจัดหนักไปอีกเรื่อง Baby Driver (2017) – chapter 1 เริ่มจากฉากที่เสียบหูฟัง เมื่อเพลงBellbottomsขึ้นมา เสียงให้ความรู้สึกถึงความเป็นimmersive ล้อมรอบตัวอย่างไม่มีรอยต่อทั้งที่ใช้ลำโพงเพียงแค่ 5.1channelsเท่านั้น และเมื่อเสียงเครื่องยนต์ดังขึ้น เท่านั้นแหละครับความันก็บังเกิด ทั้งเสียงเบรกที่ยางเสียดสีกับถนน เสียงรถชน เสียงการเร่งเครื่องยนต์ ที่ล้อมรอบตัวเรา ลำโพงชุดนี้แสดงออกมาได้อย่างน่าประทับใจมาก ความยิ่งใหญ่ ความกระแทก ไดนามิกของเสียง รายละเอียดต่างๆเป๊ะเว่อร์ ดูแล้วเพลิดเพลินสนุกสนานคึกคักไปกับหนังมากเลยครับ
หลังจากได้ทดสอบชุดลำโพงและAVRของKlipschและIntegra ซึ่งถือว่าเป็นชุดที่ไม่ได้มีราคาสูงจนจับต้องไม่ได้ ต้องบอกว่าเป็นชุดที่ลงตัวมาก AVR Integra รุ่นDRX-5.4 เป็นAVRที่setupง่าย ให้ระบบauto calibrationมาทั้งAccuEQ room calibrationและDirac Live room correctionเมื่อนำมาใช้ร่วมกับลำโพงKlipsch เสียงที่ออกมาเป็นเสียงที่ไพเราะน่าฟัง รายละเอียดเสียงครบ เด่นเรื่องเนื้อเสียงดีมีน้ำหนัก การจำลองเสียงimmersiveทำได้เสมือนจริง เมื่อมีการแพนเสียง เสียงก็จะให้ความต่อเนื่อง เสียงความถี่ต่ำทำได้อย่างน่าประทับใจ ความเข้ากันของเสียงระหว่างลำโพงmainและsubwooferทำได้อย่างไร้รอยต่อ ถ้าได้ตำแหน่งsubwooferที่ดีๆและมีการsetupที่ถูกต้องเหมาะสมรับรองว่าจะตกใจในเสียงที่ได้ และจะงงเลยว่าชุดระดับนี้ทำเสียงเบสได้ใหญ่โต ให้ความเร็วกระชับ และimpactของเสียงได้ขนาดนี้เชียวเหรอ ผมว่าถ้าใครต้องการชุดลำโพงที่ให้เสียงดีครบเครื่องในราคาที่จับต้องได้ชุดลำโพงKlipschและAVR integraไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอนครับ
อย่าลืมกด Subscript ช่อง MorAek Hometheater บน Youtube ด้วยนะครับ
พี่หมอเอก