Review

Search

StormAudio ISP 3D.16ELITE

ถ้าพูดถึงPre-ProcessorระดับHigh Endของโลกในตอนนี้สามอันดับแรกตัวหนึ่งที่ต้องพูดถึงก็คือPre-Processorสัญชาติฝรั่งเศสที่ชื่อStormAudio และตัวที่ผมได้รับเข้ามาทดสอบกว่าเดือนที่ผ่านมาก็ได้แก่รุ่นที่ชื่อว่าISP 3D. 16ELITE ลองมาดูกันว่าpre-processorตัวนี้มีอะไรที่น่าสนใจและสุ้มเสียงที่ออกมานั้น ออกมาในแนวทางไหน แล้วเป็นยังไงบ้าง

รูปที่1 StormAudio ISP 3D. 16ELITE

คุณลักษณะที่StormAudioให้ความสำคัญในการผลิตสินค้าของเขาก็คือ เสียงที่สุดยอด(Superior sound), ระบบที่สามารถเพิ่มเติมได้(Expandibility) และสามารถจัดการควบคุมแบบทางไกลได้(Remote Management) สำหรับPre-ProcessorทางStormAudioได้ผลิตออกมาทั้งระบบ 16, 20 และ 32-Channel โดยมีทั้งแบบanalogและdigital รวมถึงแบบที่สั่งทำเป็นพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ทุกรุ่นของสินค้าจะมีระบบการปรับเสียงอัตโนมัติแบบDirac Live® Room Calibrationรวมอยู่ด้วย มีnative processingเป็น9.1.6 ทั้งยังสนับสนุนระบบเสียงได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Auro-3D®, Dolby Atmos®, DTS:X™ และระบบHDMIแบบ 2.0b ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ทุกตัวจะได้รับการออกแบบ ผลิต และประกอบในประเทศฝรั่งเศสทั้งหมด

รูปที่2 StormAudio สนับสนุนระบบเสียงได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Auro-3D®, Dolby Atmos®, DTS:X™ และSphere Audio

สำหรับการที่จะยกระดับImmersive Home Theaterนั้นStormAudioได้ให้รายละเอียดในแต่ละส่วนเอาไว้ดังนี้

  • ใช้การออกแบบเป็นModularและปรับเปลี่ยนให้เล็กใหญ่ได้ตามต้องการของระบบนั้นๆ ทั้งยังสามารถupgradeในอนาคตได้ไม่ยาก
  • การออกแบบอยู่ในระดับมืออาชีพ ส่วนประกอบต่างๆใช้ระดับMedical grade โดยมีพื้นฐานเป็นแบบ DSP-based ที่มีไว้อยู่ถึง7ตัว เพื่อให้คุณภาพของเสียงออกมามีความเที่ยงตรงดีที่สุด
  • ใช้การจัดการphaseแบบ group delayเพื่อให้phaseของลำโพงแต่ละchannelประสานสอดคล้องกัน ร่วมกับใช้Bass managementระดับadvanceเสริมให้เสียงความถี่ต่ำที่ออกมาอย่างเหมาะสม
  • รองรับการส่งสัญญาณทั้งแบบAnalog และDigitalเช่นการรับส่งสัญญาณInput/Outputแบบ Digital AES ที่ทำได้ถึง32channel
  • ตัวแปลงสัญญาณระหว่างDigitalเป็นAnalogและ Analogเป็นDigital(D/A converters) ใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มีการแยกAnalog Audio boardsเพื่อหลีกเลี่ยงการกวนกันของสัญญาณ และใช้power supplyที่มีlower noise สำหรับส่วนAnalog Audio sectionโดยเฉพาะ
  • สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลายแบบทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีอื่น อุปกรณ์ยี่ห้ออื่นได้อย่างไม่มีปัญหา รองรับเสียง3D Immersive Audioได้ทั้ง Auro-3D®, Dolby Atmos®, DTS:X™ และระบบเสียง Binaural ImmersiveของหูฟังแบบSphere Audio
รูปที่3 หลักการทำงานของSphere Audio
  • ใช้งานได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก รูปแบบuser interfaceก็ดูง่าย ถ้ามีปัญหาก็สามารถแก้ไขได้โดยใช้ระบบ extensive remote monitoringจากที่อื่นได้
  • อุปกรณ์มีคุณภาพสูงในราคาที่จับต้องได้
  • มีใช้กันอย่างแพร่หลายและให้การสนับสนุนไปทั่วโลก
  • สามารถใช้การปรับเสียงอัตโนมัติแบบ Dirac® Liveที่independentได้ถึง 32channel
  • มีHDMI inputs7ช่อง และoutputs 2ช่อง รองรับการเชื่อมต่อแบบ HDMI2.0b/HDCP2.2ที่สามารถรองรับระบบภาพได้ถึง4K HDR
  • ถ้ามีห้องดูหนังฟังเพลงหลายห้องก็สามารถจัดการระบบmulti-zone, multiple theater รวมถึงระบบautomation systemได้
  • รองรับ และจัดการรูปแบบการวางลำโพง การmapping การroutingได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นSubwooferหลายๆตัวก็จัดการได้
รูปที่4 StormAudio ISP 3D. 16ELITE ตัวที่ทดสอบ
รูปที่5 ช่องต่อด้านหลังเครื่อง
รูปที่6 อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมในการทดสอบ

ทราบถึงคุณสมบัติเด่นๆของStormAudio ISP 3D ELITEไปแล้วคราวนี้มาถึงการใช้งานจริงๆกันบ้าง โดยผมได้รับเครื่องผ่านทางตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการก็คือร้านSave Audioที่คุณยะเจ้าของได้มาส่งเครื่องให้ทดลองด้วยตัวเองถึงที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อเครื่องมาถึงก็ดำเนินการต่อสายต่างๆเพื่อทดสอบ ซึ่งการต่อสายไม่ได้ยุ่งยากอะไรสามารถต่อสายสัญญาณHDMI inputจากเครื่องเล่นเข้าเครื่อง และสัญญาณ Balance XLRไปยังPower Amplifierเพื่อส่งต่อไปยังลำโพงได้เลย ส่วนการเชื่อมต่อnetworkก็เชื่อมต่อไปยังRouter ทางEthernet port โดยสายCAT5/6 เพื่อให้สามารถควบคุมเครื่องผ่านทางiPadที่อยู่ในวงLANเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้การsetupโดยคอมพิวเตอร์, upgrade Firmware และmonitorทางไกลผ่านทางnetworkได้อีกด้วย

รูปที่7 การเชื่อมต่อที่หลากหลายของ StormAudio

เมื่อเชื่อมต่อสายต่างๆก็ได้ทำการconfigurationลำโพง ว่าในห้องของเรามีลำโพงอะไรบ้างวางlayoutเป็นแบบไหนโดยจะมีภาพประกอบให้ผู้ใช้ได้เข้าใจง่ายไม่สับสน การตั้งค่าลำโพงต่างๆไม่ว่าจะเป็นBass Management Distance Level EQต่างๆก็สามารถปรับได้ละเอียดถี่ยิบเช่นเดียวกับในเครื่องมืออาชีพ แต่เมนูการใช้งานกลับเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนให้ปวดหัว ที่ผมชอบอย่างหนึ่งก็คือสามารถตั้งลำโพงเป็นGroupได้ว่าจะให้ลำโพงตัวไหนอยู่ในgroupไหน แล้วก็สามารถสั่งให้แต่ละgroupทำงานได้แยกกัน เช่นเวลาทำNoise Generationก็ทำให้ได้เสียงเฉพาะgroupลำโพงที่ต้องการได้ โดยเฉพาะเวลาcalibrateเสียงที่บางทีอาจจะต้องการให้เสียงออกเฉพาะลำโพงLeft Center Right เพื่อดูfrequency responseก็สามารถทำให้เสียงออกพร้อมกันเฉพาะลำโพงสามตัวได้อย่างง่ายดาย ไม่เหมือนกับPre-processorทั่วไปที่จะปล่อยได้แค่pink noiseและปล่อยทีละchannelเท่านั้น

รูปที่8 การวางlayoutลำโพงในเมนูของStormAudio มีภาพประกอบทำให้เข้าใจง่าย
รูปที่9 เมนูการตั้งค่าลำโพงที่ต้องทำในคอมพิวเตอร์
รูปที่10 ในเมนูสามารถบอกได้ละเอียดว่ามีสัญญาณinput และoutputจากchannelไหนบ้าง
รูปที่11 Storm Monitoringสามารถทำการวิเคราะห์สภาพของเสียงในห้องได้จากที่อื่นทั่วโลก

คราวนี้หลังจากเช็คเสียงว่าออกทุกลำโพงเป็นปกติดีไหม เสร็จแล้วก็ถึงขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งในการติดตั้งก็คือการใช้โปรแกรมปรับเสียงแบบอัตโนมัติ Dirac Live® ซึ่งสำหรับ Dirac Live® นั้นขอพูดให้รู้จักกันนิดหนึ่งเผื่อผู้อ่านบางท่านอาจจะยังไม่รู้จัก โดยDirac Live®นั้นเป็นโปรแกรมRoom Correction ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการวิเคราะห์เสียงจากลำโพงในห้องฟัง เพื่อแก้ไขเสียงที่ออกมาให้ปราศจากเสียงที่ผิดปกติหรือเสียงแปลกปลอมเจือปนที่บางคนเรียกว่าcolorationsของเสียง ทำให้เสียงที่ผู้ฟังได้รับฟังนั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ โดยโปรแกรมจะทำการเก็บข้อมูลเสียงจากตำแหน่งต่างๆในห้องฟัง นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดส่งไปคำนวณ และเปรียบเทียบกับต้นแบบที่มีอยู่ในบริษัทแม่ของ Dirac Live® เสร็จแล้วก็จะส่งผลลัพธ์กลับมาติดตั้งอยู่ในเครื่องPre-ProcessorหรือAVRต่อไป โดยเสียงที่ออกมาจะทำให้ผู้ฟังได้สัมผัสกับประสบการณ์เวทีเสียงที่ดีขึ้นสามารถระบุตำแหน่งของเสียง หรือเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างแม่นยำ เสียงพูดหรือเสียงร้องมีความชัดเจนสมจริง ใกล้เคียงเสียงธรรมชาติ(Better clarity & intelligibility) ความถี่ต่ำมีความลึก ความแน่น ไม่มีเสียงกวนกัน(resonances)ในตำแหน่งนั่งฟังทั้งหมด ซึ่งเมื่อปลายปีที่แล้ว Dirac Live®ก็ได้ออกFirmwareล่าสุดที่เพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์subwooferทั้งตัวเดียวและหลายตัวให้ดียิ่งขึ้น โดยในวันที่ทางคุณยะมาติดตั้งให้ทดสอบก็ได้ใช้Firmwareใหม่นี้ในการติดตั้งด้วย วิธีการทำ Dirac Live®ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเสียบไมค์เข้ากับคอมพิวเตอร์ เปิดโปรแกรมDirac Live®ที่อยู่ในหน้าจอSetupของStormAudio ISP3Dหลังจากนั้นก็ทำตามขั้นตอนที่แสดงทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เลย เมื่อโปรแกรมเก็บข้อมูลจนเสร็จ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำไปประมวลผลที่บริษัทDiracแล้วทางบริษัทก็จะส่งข้อมูลค่าParameterที่ปรับแต่งเก็บไว้เป็นprofileหนึ่งในเครื่องของเรา โดยที่ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขค่าใดๆในprofileนั้นได้ แต่ถ้าต้องการแก้ไขก็ทำได้ง่ายๆโดยกดปุ่มDuplicateบนหน้าจอSetupของStormAudioในคอมพิวเตอร์ แล้วตั้งชื่อเป็นprofileใหม่ เพียงแค่นี้เราก็สามารถเข้าไปแก้ไขค่าที่Diracคำนวณไว้ในprofileใหม่นี้ได้แล้ว

รูปที่12 StormAudio มาพร้อมกับโปรแกรมRoom Correctionแบบ Dirac Live®
รูปที่13 หลักการทำงานของ Dirac Live®
รูปที่14 การแก้ไขในส่วนTime Domainของ Dirac Live®ทำให้Impulse responseดีขึ้น
รูปที่15 Dirac Live®ทำให้เสียงที่ผู้ฟังได้รับฟังนั้นมีคุณภาพดีขึ้น

เมื่อทำตามขั้นตอนDirac Live® เสร็จสิ้นก็มานั่งฟังผลที่ได้ ซึ่งต้องบอกว่าเสียงที่ได้ออกมาเทียบกับก่อนที่จะใช้โปรแกรม Dirac Live®  นั้นคุณภาพเสียงดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจอย่างที่เขาบอกไว้จริงๆ น้ำเสียงที่ได้มีความสดใส คมชัด กระฉับกระเฉง มีFocusเสียงที่แม่นยำ รายละเอียดเสียงbackground เล็กๆน้อยๆได้ยินชัดเจนขึ้น เสียงจากลำโพงSurround รวมถึงลำโพงCeiling มีความต่อเนื่องลื่นไหล ความถี่ต่ำมีความกระชับ เรียกได้ว่าโดยรวมเสียงดีขึ้นในทุกมิติ ดังนั้นถ้าใครใช้Storm Audio ISP 3Dนี่แนะนำเลยว่าควรจะต้องใช้โปรแกรม Dirac Live®  เพื่อจะได้เสียงที่ดีขึ้น แถมตอนนี้คุณยะเองก็แจ้งว่าใครซื้อStormAudioจากทางร้านSave Audioก็จะมีบริการAudio Calibrationโดยใช้โปรแกรม Dirac Live®  โดยไม่คิดบริการใดๆเพิ่มเติมอีก

รูปที่16 StormAudio สามารถเก็บpresetได้หลายpresetทำให้สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ง่าย
รูปที่17 การทำPhase/Time Alignment ระหว่างลำโพงMainและลำโพงSubwoofer

การทำ Dirac Live® นั้นอย่างที่บางคนน่าจะทราบว่าเป็นการทำroom correctionที่ใช้mixed-phase filterแทนminimum-phase/linear-phase correction เพื่อควบคุมในเรื่องtime domainของเสียงให้มีimpulse responseใกล้เคียงกับperfect impulse response และแก้ไขfrequency responseให้เป็นไปตามtarget curveที่ตั้งไว้ ซึ่งสามารถทำแยกกันได้ถึง32-channel โดย FIR(Finite impulse response) filtersแบบhigh resolution FIRทำให้ลดการเกิดphase shift การแก้ไขfrequency responseก็จะมีความผิดพลาดน้อยกว่าการใช้filterอีกแบบที่เรียกว่าIIR(Infinite impulse response) filters แต่อย่าลืมว่าปัญหาของFIRคือต้องระวังในเรื่องของความถี่ต่ำ ดังนั้นผมจึงได้ทำการManual Calibrationเพิ่มเติมจากการใช้ Dirac Live®  เพื่อให้แน่ใจว่าphase/time alignment ของระบบทั้งหมดมีความถูกต้องเข้ากัน โดยหลังจากได้ทำการalign phase ระหว่างลำโพงSubwooferแต่ละตัวแบบparallel และalign phaseระหว่างลำโพงMainและSubwooferตรงบริเวณcrossover pointเป็นแบบseriesแล้ว ทำการเก็บเป็นpresetอีกอันหนึ่งเอาไว้เปรียบเทียบกับpresetอื่น ซึ่งตรงนี้ก็เป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งของPre-processorตัวนี้ที่สามารถเก็บpresetได้มากแบบไม่จำกัดทำให้สามารถนำpresetต่างๆมาเปรียบเทียบกันได้ง่าย และเมื่อทำทุกอย่างเสร็จสิ้นมาฟังเสียงเปรียบเทียบกันระหว่างก่อนการalign phaseกับหลังจากalign phaseทุกchannels ก็จะได้ยินถึงเสียงที่เปลี่ยนไป เสียงความถี่ต่ำก็จะมีความแน่น กระชับฉับไวขึ้น เวทีเสียงรู้สึกถึงความกว้างให้สเกลเสียงที่ใหญ่ขึ้นอย่างชัดเจน

รูปที่18 งานCEDIA2018ครั้งล่าสุดที่ผ่านมาPre-processorของStormAudioรุ่น ISP 3D.32 ELITEออกแสดงร่วมกับลำโพงAlconsและได้รับรางวัลBest of Show Demo Award

สรุปได้ว่าPre Processor ของStormAudio รุ่น 1IPS 3D เป็นPre-Processorที่ให้เสียงImmersive Soundได้อย่างสุดยอด อุปกรณ์ที่ใช้ภายเครื่องก็เลือกใช้อุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพ เครื่องมีความเสถียร สามารถUpgradeได้สะดวก การใช้เมนูการSetupต่างๆทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เรียกได้ว่าเป็นImmersive Pre-Processorที่คุ้มค่าเกินค่าตัว ถ้าใครมีงบพอและกำลังตัดสินใจเลือกPre-Processorซักตัว ผมแนะนำว่ายังไงต้องหาโอกาสลองไปฟังเสียงของStorm Audio ISP 3D ELITEตัวนี้ก่อนตัดสินใจครับ

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ StormAudio ISP 3D.16ELITE (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้