Review

Search

BenQ SW271

หลังจากได้ทดสอบโปรเจคเตอร์BenQที่ใช้กับงานhome theaterเรียบร้อยแล้ว ทาง BenQ Thailand ก็ได้แนะนำให้ผมว่าลองทดสอบจอคอมพิวเตอร์เพื่อแต่งภาพของBenQรุ่นBenQ SW271ดูไหม ซึ่งจอรุ่นนี้ผมก็พอได้ยินชื่อเสียงมาอยู่บ้างว่าเป็นจอแต่งภาพสำหรับ photographer หรือvideographerมืออาชีพ ความจริงสำหรับผมก็พอถ่ายภาพอยู่บ้างแต่ก็มือสมัครเล่น ถ่ายสนุกไปเรื่อยๆไม่ได้จริงจังอะไร ก็เลยทำให้รู้สึกว่าเอามาลองหน่อยเป็นความรู้ก็ดี จะได้รู้ว่าจอสำหรับช่างภาพมืออาชีพนี่เขาไปถึงไหนกันแล้ว แต่ก็คิดอยู่ว่าโดยส่วนตัวคงไม่ได้ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่ามากนักเพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานhome theaterที่สนใจโดยตรง…..หลังจากได้ทดลองใช้ทำให้โลกทัศน์สำหรับจอคอมพิวเตอร์ของผมเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง จอBenQ SW271ตัวนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่มากมายหลายอย่างกว่าจอmonitorที่ผมเคยใช้มาโดยตลอด ลองติดตามดูครับว่าจอนี้มีจุดเด่นอะไรบ้าง

ได้รับจอมาแค่ดูขนาดของกล่องก็รู้ว่าจอตัวนี้ไม่ได้ธรรมดาเหมือนจอคอมขนาด 27นิ้วที่ผมเคยซื้อมาจากร้านแถวตึกคอม กล่องที่ใส่มามีขนาดใหญ่โต ไม่ได้เป็นกล่องเล็กๆบางๆเหมือนจอคอมทั่วไป

เปิดกล่องมาดูมืออาชีพเลย มีใบFactory Calibration Reportมาให้งงเล่นด้วย

จะเอามาต่อคอมเล่นFBหน่อยเช้านี้ เห็นแล้วรีบปิดกลับไปเปิดดูคู่มือก่อนเลย…สรุปเอาไว้ตอนเย็นค่อยมาต่อละกัน อุปกรณ์มาอย่างเยอะ!

ประกอบเสร็จแล้ว(บางส่วน) ขอเอามาถ่ายรูปก่อน

ด้านหลัง เท่าที่ดูพลาสติกที่ใช้ทำโครงสร้างมีความหนาแน่น แข็งแรง ท่าทางจะทนไม่แตกง่ายเหมือนจอคอมทั่วไป(หนักด้วย)

สามารถขยับปรับหมุน ดันจอขึ้นลงได้ง่าย แต่มีความมั่นคงดี

หมุนจอให้ตั้งขึ้นเพื่อใช้ในงานพวกPortraitก็ได้

เสริมหล่อด้วย Hoodเพื่อกันแสงเข้าด้านข้างเพิ่มcontrastให้กับภาพ และสีมีความเที่ยงตรงมากขึ้น

ช่องต่อมีมาให้สำหรับช่างแต่งภาพมืออาชีพแบบครบครัน ทั้งHDMI 2.0จำนวน2ช่อง, USB-C™, Display Port V1.4

เอามาตั้งที่ห้องทำงานเรียบร้อย ได้เวลาเปิดFacebook กับตอบไลน์แล้ว555 แต่พอเสียบสายเข้าไปเปิดดูภาพ สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนก็คือความสว่างความเข้มของสีเขียว สีฟ้ามากขึ้น ชัดๆเลยก็คือiconของ line ที่มีความสดใสมากกว่าจอเดิมที่ใช้ หน้าจอที่มีBackgroundเป็นรูปท้องฟ้าทะเลนี่สดใสขึ้นมาก ตอนแรกก็นึกว่าจอเพี้ยนหรือเปล่า แต่พอเข้าไปดูSpecก็ถึงบางอ้อ…..

จอนี้สามารถแสดงช่วงสีได้กว้างกว่าเดิม จากเดิมทั่วไปที่เป็น sRGB จอนี้ก็สามารถแสดงเฉดสีได้กว้างถึง 99%Adobe RGB โดยเฉพาะในส่วนของโทนสีเขียวและสีฟ้าที่กว้างขึ้น ทำให้สีสันของภาพกลางแจ้งหรือภาพธรรมชาติมีความสมจริงมากขึ้น ส่วนข้อมูลทั่วไปของจอนี้ก็คือเป็นจอแบบLED backlight ความละเอียด3840×2160 อัตราส่วนจอ 16:9 สามารถแสดงผลแบบ HDR 10bitได้

Input lag 4Kที่วัดได้จากบนลงล่างคือ 1.6ms, 9.2ms, 16.8ms เอาไปใช้เล่นเกมส์ก็ยังพอไหวนะนี่

ที่ชอบมากอีกอย่างหนึ่งก็คือมีhotkeyหรือปุ่มลัดทำให้สลับmodeสีของภาพได้อย่างง่ายดาย ว่าจะให้จอแสดงเฉดสีแบบไหนเพียงการกดเพียงครั้งเดียว แล้วสามารถใช้เป็นremoteปรับค่าต่างๆของจอได้เช่นกัน

สิ่งที่ชอบมากที่สุดและคิดว่าเป็นประโยชน์สำหรับนักเล่นHome Theaterอย่างผมก็คือจอภาพสามารถทำHardware 3D LUT พูดง่ายๆก็คือฝังLUTไว้ที่จอเลย ไม่ได้เป็นsoftware LUTที่เวลาใช้งานก็ต้องใช้ผ่านโปรแกรม แต่แบบนี้คือไม่ว่าจะไปต่ออุปกรณ์เครื่องเล่นแบบไหนไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นBlu-ray, กล่องAdroid, apple TV, เกมส์ฯลฯ ก็สามารถใช้LUTที่ฝังอยู่ในจอภาพได้เลยไม่จำเป็นต้องเปิดระบบปฏิบัติการเพื่อrun programก่อน ส่วนรายละเอียดในเรื่องของ3D LUTผมเคยอธิบายไว้ละเอียดในบทความก่อนหน้านี้ ยังไงลองหาอ่านได้ครับ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2003941469734941&type=1&l=551f534314

meterที่ใช้ทำLUTก็รองรับหลายตัวได้แก่ X-Rite i1 Display Pro/ i1 Pro/ i1 Pro 2 หรือของDatacolorรุ่น Spyder 4/5v โชคดีของผมมีเหลืออยู่ทั้งi1 display proที่เป็น Colorimeter และ i1 Pro2ที่เป็นSpetrophotometer ตอนแรกว่าจะขายทิ้งไปแล้ว

มีเทคนิคการวางmeterนิดหนึ่ง…ถ้าจอตั้งตรงบางทีวางmeterอาจจะไม่แนบสนิทกับจอทำให้มีแสงจากด้านข้างรั่วเข้าไปได้ แบบนี้ให้เอียงจอขึ้นไปหน่อยแรงดึงดูดจะช่วยให้meterแนบกับจอได้ดี

การทำLUTของBenQ SW271ใช้โปรแกรมPalette Master Element ที่สามารถเลือกได้หมดว่าต้องการทำLUTในมาตรฐานไหน สำหรับคอดูหนังอย่างเราคงต้องชอบ Rec.709, DCI-P3

หลังจากเลือกทุกอย่างเสร็จเครื่องก็จะจัดการเอง ใช้เวลาประมาณสิบถึงยี่สิบนาทีกว่าๆ ขึ้นอยู่กับความเร็วของmeterและความเร็วของคอมพิวเตอร์ด้วย หลังจากทำเสร็จก็สามารถเลือกColor Modeในจอภาพได้เลยว่าต้องการใช้Color Modeไหน ไม่ว่าจะเป็น Adobe RGB, sRGB, B+W, Rec.709, DCI-P3, HDR, DICOM(Digital Imaging and Communications in Medicine) หรือไม่ก็สามารถsetในhotkeyได้3 Color Mode เพิ่มความสะดวกในการดูภาพเพียงคลิ๊กเดียว Color Modeก็เปลี่ยนได้เลย

ที่เจ๋งของจอBenQ ตัวนี้ก็คือเป็นจอที่technicolor บริษัทที่เป็นPost-ProductionของHollywoodชื่อดังได้รับรองสีที่ได้จากจอภาพนี้(Color Certified) และได้ใช้จอนี้เป็นPost-Production Monitorด้วย ทำให้มั่นใจได้ว่าภาพและสีสันของจอนี้มีความถูกต้องเที่ยงตรงแน่นอน

และเท่าที่ผมได้ลองดูภาพจากcontentต่างๆเพื่อดูความถูกต้องของภาพและสีสัน ต้องบอกว่ามีความแม่นยำมาก สามารถใช้เป็นภาพอ้างอิงได้เลย เพราะบางทีดูภาพจากโปรเจคเตอร์ก็ไม่รู้ว่าในpost-productionภาพออกมาจะประมาณไหน ครั้นจะเอาจอSony BVM-X300หรือDolby Pulsarราคาเป็นล้านมาเทียบก็คงไม่มีปัญญา แต่มีBenQ SW271วางอยู่ที่โต๊ะทำงานนี่ดูได้เลย แถมคลิกเลือกง่ายๆเลยว่าจะเอาColor Modeแบบไหน

ลองเอาเครื่องเล่นไฟล์มาต่อเข้าผ่านสายHDMIแล้วเปิดContentที่เป็นใช้ตรวจสอบภาพ ก็สามารถเลือกColor Spaceได้อย่างง่ายดาย ยกเว้นContentที่เป็นHDRเครื่องจะswitchไปColor Mode HDRโดยอัตโนมัติและไม่สามารถเปลี่ยนเป็นColor Modeอื่นได้จากตรงนี้ แต่ถ้าอยากปิดFunction HDRอัตโนมัติตรงนี้ก็สามารถทำได้ในเมนูSettingได้

เลือกColor Spaceได้ง่ายๆจากHotkey สะดวกดี

แค่นี้ก็สามารถสัมผัสสีที่เป็นมาตรฐานPost-Productionของtechnicolorบริษัทแนวหน้าระดับรางวัลOscar® ของHollywoodได้แล้ว แถมยังมีHardware Calibrationแบบฝัง3D LUTเข้าไว้ในเครื่องเพิ่มความมั่นใจในความถูกต้องแม่นยำของสีด้วย ผมว่าจอภาพ BenQ SW271ตัวนี้นอกจากจะเหมาะสมกับช่างภาพ ช่างวิดีโอมืออาชีพแล้ว ก็ยังเหมาะสมอย่างยิ่งกับนักเล่นHome Theaterที่Seriousเรื่องภาพและต้องการจอภาพที่เอาไว้เป็นตัวอ้างอิงความถูกต้องของสี หรือแม้กระทั่งคนทั่วไปที่ต้องการให้จอคอมพิวเตอร์ที่ทำงานมีภาพคมชัด สีสวย ที่บางทีมีอารมณ์อยากจะดูหนังขึ้นมาตอนนั่งทำงานอยู่และอยากให้ภาพออกมาสวยถูกต้องตามที่ผู้กำกับต้องการ ก็สามารถดูภาพจากจอนี้ได้ ยังไงลองหาโอกาสดูภาพจากจอตัวนี้หรือลองใช้งานดู ผมว่าจะต้องติดใจภาพจากจอBenQ SW271ตัวนี้เช่นเดียวกับผมครับ

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ BenQ SW271 (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้