Understanding Phase IV

พูดถึงเรื่องPhaseมาหลายครั้ง ผู้อ่านบางท่านอาจจะไม่เคยได้อ่านบทความตอนแรกๆที่ผมเคยเขียนเมื่อหลายปีก่อน บางท่านก็อาจจะเคยอ่านแต่ลืมไปแล้ว หรืออ่านในตอนนั้นแล้วไม่ค่อยเข้าใจในศัพท์พื้นฐานต่างๆ วันนี้ผมเลยจะมาอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของศัพท์ที่มักพบ รวมถึงที่มาที่ไปในเรื่องของPhase บางเรื่องเคยอธิบายไปแล้วแต่อาจจะยังไม่ละเอียดพอหรือไม่ได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ บางอย่างก็เป็นศัพท์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยพูดถึง วันนี้เลยจะมาอธิบายในเรื่องนี้อีกทีเพื่อว่าในอนาคตจะได้พอมีความเข้าใจหรือพอนึกออกได้บ้างว่าเขากำลังพูดถึงอะไรในเรื่องของPhase Phaseของเสียงที่พูดถึงนี้มันจะแสดงมุมเป็นองศาของวงกลมคล้ายๆนาฬิกาที่ถ้าครบหนึ่งรอบก็จะเป็น 360องศา ครึ่งวงกลมก็เป็น 180องศา โดยจะดูตามความถี่ในแต่ละความถี่ว่ามีPhaseอยู่ที่องศาเป็นเท่าไหร่ แต่ค่าของPhaseนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ที่ 360องศา มันสามารถเพิ่มไปมากกว่านั้นอาจจะเป็น0o , 360 oไปยัง 720 o และก็เพิ่มขึ้นไปได้เรื่อยๆ แต่ต้องระวังนิดหนึ่งในการแปลค่าเพราะในตำแหน่งPhaseที่เป็น 0o , 360 o และ 720 o ถึงแม้จะมีตำแหน่งอยู่ตรงกัน แต่ค่าของPhase delayจะไม่เท่ากันโดยจะมีค่าตามหลัง0o เป็นหนึ่งรอบ สองรอบตามลำดับ นึกภาพง่ายๆเหมือนนักวิ่งแข่งภายในสนามกีฬา นักวิ่งคนที่นำเป็นที่หนึ่งเข้าเส้นชัยเป็นคนแรกในขณะที่นักวิ่งคนสุดท้ายก็ยังอยู่ในตำแหน่งเส้นชัยเหมือนกันแต่ถูกน๊อครอบ จะเห็นได้ว่านักวิ่งทั้งสองคนนี้อยู่ในตำแหน่งPhaseที่เหมือนจะเท่ากัน แต่ความจริงแล้วเขาอยู่คนละรอบกัน แน่นอนว่ารางวัลที่ทั้งสองคนได้ก็คงจะต่างกันลิบลับ ก็เช่นเดียวกับเรื่องPhaseเสียงที่0o และ 360 oดูเหมือนจะเท่ากันแต่ความจริงแล้วผลออกมานั้นต่างกันมาก ส่วนคำว่าAbsolute Phase หมายถึงค่าของphaseในเวลาหนึ่งๆที่บอกได้ไม่แน่นอนว่าเทียบจากเวลาอะไร บางทีอาจจะเป็นเวลาในนาฬิกาของเครื่องคอมพิวเตอร์เอง หรือไม่ก็อาจจะเทียบจากเวลาเริ่มต้นในการวัดที่เป็นช่วงเวลา 0ms และphaseเป็น 0o ดังนั้นค่าของAbsolute Phaseจึงไม่ค่อยบอกอะไรได้มากนักเพราะไม่มีตัวเปรียบเทียบ […]
Understandingphase III

“Bob McCarthyจะมาบรรยายที่เมืองไทย” พอได้ยินคำนี้สิ่งแรกที่คิดออกคือคำว่า”จริงหรือนี่?”….ถ้าใครเคยได้อ่านบทความเรื่องPhaseที่ผมเคยเขียนไว้เมื่อหลายปีก่อน คงพอจะนึกออกว่าผมเคยไปเรียนกับBob McCarthy แล้วเอาข้อมูลที่ไปเรียนมาเขียนให้ได้อ่านกัน ทำให้หลายๆคนหลายๆท่านจุดประกายในเรื่องphaseของเสียง บางท่านก็ได้มีความเข้าใจในเรื่องของphaseกันมากขึ้นและบางท่านก็อาจจะงงมากกว่าเดิมก็มี5555 แต่ไม่เป็นไรอย่างที่ผมบอกไว้ว่าเรื่องของphaseมีรายละเอียดมากกว่าที่เราเข้าใจกัน phaseไม่ได้มีแค่ว่าphaseถูกเสียงดัง phaseผิดเสียงหาย phaseไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินที่จะเข้าใจ วันนี้ผมจึงเอาข้อมูลพื้นฐานเรื่องที่มาที่ไปของการวัดphaseของเสียง อย่างน้อยก็จะได้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับใครที่ได้ลงทะเบียนเรียนกับ Bob McCarthyในกลางเดือนมีนาคมนี้ครับ ทำไมผมถึงรู้สึกตื่นเต้นที่Bob McCarthyจะมาบรรยายที่เมืองไทย ก่อนอื่นต้องขอเล่าให้รู้จักตัวเขาก่อนว่าเขาคือใคร มีความสำคัญอย่างไร Bob McCarthy ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่รู้เรื่องsound phaseดีที่สุดของโลกคนหนึ่งในยุคปัจจุบัน ผลงานของเขาที่เด่นๆก็เช่นได้tuningเสียงในสวนสนุกต่างๆทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นDisneyland California, Hong Kong Disneyland, Walt Disney World, The Disney Wonder, The Disney Magic, Sea World รวมถึงในสเตเดียมดังๆ Concert Hallใหญ่ๆหลายแห่งในอเมริกา ที่สำคัญเขาแต่งหนังสือเรื่อง”Sound Systems: Design and Optimization: Modern Techniques and Tools for Sound System […]
Advance Display Calibration

เคยพูดถึงการปรับภาพในห้องhome theaterมาหลายฉบับแต่ส่วนมากจะพูดถึงแค่ในการปรับแบบเบื้องต้นไม่ยุ่งยากอะไร ในฉบับนี้ผมจึงจะขอพูดถึงการปรับภาพในระดับที่ละเอียดและมีความแม่นยำมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามไม่ว่าวิธีไหนวัตถุประสงค์ของการปรับภาพหรือVideo Calibrationก็ยังคงเดิมก็คือปรับภาพออกมาให้มีความเที่ยงตรงอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นสากลว่าภาพที่ได้มาตรฐานเป็นยังไง ทำให้ภาพยนตร์ที่ดูมีความใกล้เคียงกับสิ่งที่Producerเขาเห็น เมื่อเวลาดูหนังจะได้สัมผัสประสบการณ์อารมณ์ ความรู้สึกเหมือนกับที่ผู้กำกับหรือผู้ทำหนังต้องการสื่อออกมา(Director,Creator Intend) การปรับภาพที่ได้ยินกันบ่อยๆก็คงจะเป็นการปรับCMS(Color Management System)ที่มีทั้งการปรับColor Temperature, 2points Grayscaleหรือถ้าจะให้ละเอียดหน่อยก็อาจจะละเอียดถึง11หรือ21points Grayscale, การปรับความสว่างหรือGamma, เสร็จแล้วก็จะปรับColor Gamutของแม่สีหลักและสีรองอีกหกสี(RGBCMY) แต่บางท่านเคยเจอไหมแบบว่าปรับเสร็จแล้วกราฟทุกอย่างดี ค่าdelta Eหรือค่าความเพี้ยนก็น้อย สีของแม่สีแต่ละสีเข้าเป้าColor Gamutหมดเลย แต่พอดูภาพจริงๆ ภาพกลับออกมาอมแดงบ้าง อมเขียว หรืออมฟ้าบ้าง ทำให้แปลกใจว่าColor gamutก็ตรงอยู่นี่นา ปัญหานี้ผมได้รับคำถามมาบ่อยๆซึ่งพบว่าถ้าไม่ใช่เพราะความผิดพลาดของmeterวัดสี(Colorimeter, Spectroradiometer) หรือความผิดพลาดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไปก็คือเรื่องของเทคนิคการปรับภาพ อย่างค่าColor Gamutของแม่สีที่เห็นนั้นความจริงแล้วมันเป็นค่าสีที่ขอบของcolor spaceที่จอภาพแต่ละจอทำได้เช่นสีแดงเกือบ100% ซึ่งในชีวิตจริงนั้นสีที่เห็นอยู่ทุกวันแทบจะไม่มีสีที่อยู่ตรงนี้เลย ดังนั้นการที่บอกว่าสีตรงขอบของcolor spaceตรงเข้าเป้าไม่ได้เป็นการยืนยันว่าสีที่อยู่ภายในcolor spaceตรงหรือใกล้เคียงกับความจริง การใช้Color Checkerวัดสีที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน หรือวัดcolor sweepsของสีที่อยู่ภายในcolor spaceจึงให้ข้อมูลของสีที่ถูกต้องมากกว่า โดยเน้นไปที่สีแดงสีแสดสีเหลืองเป็นสำคัญ เพราะบริเวณนี้เป็นสีของskin toneที่มนุษย์เราให้ความสำคัญและจดจำในการมองเห็นได้มากกว่าเฉดสีอื่นๆ จอภาพที่มีความเป็นlinearityสูงเมื่อวัดแม่สีบริเวณขอบของcolor spaceสีที่อยู่ภายในก็มักจะไม่ค่อยมีความเพี้ยนเท่าไร แต่ถ้าเป็นจอภาพที่ไม่มีความเป็นlinearity(Non-Linear response) ถึงแม้วัดแม่สีตรงทุกสีแต่สีที่อยู่ภายในcolor spaceก็มักจะมีความเพี้ยนอยู่ไม่มากก็น้อย […]
IMAX Enhanced

งานBAV2018 เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้ไปบรรยายเนื้อหาเรื่องIMAX Enhanced ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมชมงานอย่างมากมาย แต่ก็มีผู้สนใจบางท่านไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าวได้ และถามเข้ามาหลายคนอยากให้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และมีหลายท่านให้ความสนใจ ถึงแม้ว่าของจริงยังไม่ได้ออกมามีเพียงแต่การนำเสนอในงานCEDIA2018ครั้งที่ผ่านมา บทความในฉบับนี้ผมเลยจะเอาเรื่องนี้มาพูดถึงอีกครั้งทั้งในเรื่องข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสบการณ์ที่ผมได้ไปสัมผัสIMAX Enhancedจริงๆว่าเสียงที่ได้ภาพที่ออกมาจะเป็นอย่างไรกันบ้าง ก่อนหน้าที่จะไปถึงเรื่องของIMAX Enhancedก็ขอปูพื้นในเรื่องของโรงภาพยนตร์IMAXกันก่อนว่าทำไมโรงภาพยนตร์IMAXถึงมีความพิเศษมากกว่าโรงภาพยนตร์โดยทั่วไป เริ่มจากระบบเสียงก่อน ระบบเสียงของIMAX นั้นเขามีระบบของเขาเองซึ่งจะไม่เหมือนโรงภาพยนต์ทั่วๆไป อาจจมีจำนวนchannel 6-12channelsขึ้นอยู่กับขนาดของโรงภาพยนตร์ โดยพื้นฐานก็จะเป็น front left, center,right,surround และSub-bass ตามปกติ แต่ในบางโรงภาพยนตร์ที่มีขนาดใหญ่ๆหรือมีจอสูงมากๆก็อาจจะมีchannelเพิ่มเข้ามาอีกเพื่อความต่อเนื่องของเสียงเช่น center channel ที่อยู่สูงขึ้นไปหรือเรียกว่าThe Voice Of Godอีกchannelหนึ่ง ที่ต้องมีก็เพราะเนื่องจากว่าจอมันสูงหลายสิบเมตร ความต่อเนื่องในแนวVertical จะไม่มีถ้าไม่มีcenter heighตรงนี้ อย่างฉากที่จรวดกำลังทะยานจากฐานขึ้นไปสู่ท้องฟ้า เสียงมันก็จะต้องออกจากด้านล่างของจอภาพแล้วค่อยๆไล่ขึ้นไปขอบจอภาพเป็นต้น ที่ทำเช่นนี้ได้ก็เพราะว่าหนังที่ฉายในระบบIMAX ทางผู้ผลิตหนังจะre-mixเสียงขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะเพื่อให้เข้ากับระบบของIMAX จะไม่เหมือนกับการmixสำหรับโรงหนังทั่วๆไป ในการmixเสียงสำหรับIMAX นั้นเขาจะทำที่มาตรฐานความดัง85dBc (C weighted) ซึ่งจะถือว่าค่อนข้างดังกว่าหนังทั่วๆไปที่อาจจอยู่ประมาณ 70-80 dBc ส่วนช่วงPeakโรงIMAX ก็จะทำได้ถึง 118dBc ทั้งนี้เพราะเขาแน่ใจว่าอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับโรงIMAX สามารถคุมความดังขนาดนี้ได้โดยไม่มีDistortion ทำให้sound engineer สามารถre-mix ให้เสียงเป็นไปตามต้องการได้มากขึ้นกว่าโรงทั่วๆไป […]
CEDIA Expo 2018

เมื่อวันที่ 4-8กันยายน2561ที่ผ่านมาผมได้เข้าร่วมงานCEDIA Expo2018 ณ.เมืองSan Diego รัฐCalifornia ถือว่าเป็นงานใหญ่ที่สุดสำหรับคอHome Theater โดยงานนี้จะจัดขึ้นทุกๆปีช่วงเดือนกันยายนหมุนเวียนไปในเมืองต่างๆทั่วอเมริกา โดยในงานจะมีการแสดงสินค้านวัตกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในบ้านมากกว่า 20000ชนิด จากผู้เสนอสินค้ากว่า 500ยี่ห้อ ก็ลองมาดูกันครับว่างานนี้มีอะไรที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์เกี่ยวกับHome Theaterบ้าง งานCEDIAที่จัดขึ้นทุกปีจะจัดขึ้นใช้เวลาทั้งหมด 5วัน ในสองวันแรกจะเป็นการเรียนหรือTrainingอย่างเดียว ส่วนอีกสามวันที่เหลือก็มีทั้งการTrainingและการออกร้านแสดงสินค้าจากผู้จำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องเสียงต่างๆ โดยการTrainingก็จะมีอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงมีประสบการณ์ในด้านต่างๆมาให้ความรู้ในห้องเรียนเป็นSessionมากมายหลากหลายหัวข้อแล้วแต่เราจะเลือกว่าต้องการเรียนเรื่องอะไรบ้างส่วนมากจะฟรีแต่ก็มีบางหัวข้อที่น่าสนใจได้รับความนิยมก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการเรียนด้วย ส่วนManufacturer Product Training บริษัทเครื่องเสียงชั้นนำต่างๆก็จะเปิดห้องเรียนเพื่อมาให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าของตัวเองในเรื่องเทคนิคการใช้งานการปรับแต่ง ผมได้เดินทางมาถึงอเมริกาก่อนงานเริ่มหนึ่งวันเพื่อเตรียมตัวก่อน โรงแรมที่พักก็ได้จองไว้ให้ใกล้เคียงกับงานมากที่สุดจะได้ไม่มีปัญหาในการเดินทาง ในปีนี้งานจัดขึ้นที่ San Diego Convention Center หอประชุมที่มีขนาดพื้นที่กว่า 250000ตารางเมตร มีสามถึงสี่ชั้นในแต่ละส่วน ผมก็ได้เข้าพักที่โรงแรมHilton San Diego Gaslamp Quarterเรียกได้ว่าอยู่ตรงข้ามกับสถานที่จัดงาน เพียงแค่ข้ามถนนก็ถึงนับว่าสะดวกในการเดินทางดี หลังจากผ่านการเดินทางที่นั่งเครื่องบินกว่ายี่สิบชั่วโมงมาถึงเมืองSan Diegoก็ช่วงบ่ายๆ เข้าไปcheck inที่โรงแรมเรียบร้อยก็ข้ามถนนไปยังสถานที่จัดงานทันทีเพื่อไปลงทะเบียนเข้างานก่อนในวันเริ่มงานจริงๆจะได้ไม่ได้ต้องมารอคิวยาว มาถึงสถานที่จัดงานก็มีบูทพร้อมเจ้าหน้าที่มารอรับการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว เมื่อลงทะเบียนเสร็จก็จะให้กระเป๋า หนังสือแนะนำงาน รวมถึงป้ายคล้องคอที่แสดงข้อมูลพื้นฐานของเรา coursesเรียนต่างๆที่ได้ลงทะเบียนไว้ และได้ฝังchipข้อมูลของเราอยู่ตรงป้ายคล้องคอนี้ด้วย เวลาเข้าไปเรียนในห้องไหนก็จะมีการscanเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนว่าได้ลงทะเบียนให้classนั้นๆไว้ไหมจะได้เป็นการเก็บข้อมูล และเก็บเครดิตในการเข้าเรียนในแต่ละห้องเอาไว้ด้วย […]
Basic Display Calibration

หลังจากฉบันก่อนหน้านี้ผมได้เขียนเรื่องการปรับภาพแบบ 4K HDR ทำให้มีบางท่านสงสัยกันเข้ามาเรื่องการปรับภาพแบบพื้นฐาน เนื่องจากว่าผู้อ่านส่วนหนึ่งก็สนใจในการปรับภาพแต่ยังไม่เคยศึกษาในเรื่องการปรับภาพมาก่อนเลย บางท่านก็ถามมาบอกว่าไม่ต้องไปถึง4K HDR ทีวีที่บ้านยังเป็นFull HDอยู่และก็ไม่รู้ว่าปุ่มfunctionต่างๆที่มีอยู่ทำหน้าที่อะไร และส่งผลอย่างไรต่อภาพบ้าง วันนี้ผมเลยจะมาพูดถึงพื้นฐานอีกทีในเรื่องนี้ว่าปุ่มต่างๆหรือเมนูfunctionต่างๆที่มีอยู่ในทีวี หรือจอโปรเจคเตอร์ทั่วๆไปมันคืออะไรกันบ้าง ก่อนจะเริ่มต้นในเรื่องนี้คงต้องพูดถึงก่อนว่าทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญกับการปรับภาพ ความจริงเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าถ้าเราไม่ปรับภาพให้ตรงตามมาตรฐานก็จะเป็นไปได้ยากที่จะได้สัมผัสกับภาพที่ทีมงานสร้างภาพยนตร์ต้องการให้ผู้ชมได้ดู ไม่ว่าทั้งในโรงภาพยนตร์หรือจากทีวีภายในบ้าน ดังนั้นการปรับภาพจึงมีความจำเป็นถ้าต้องการชมภาพที่มีสีใกล้เคียงสีมาตรฐานทีใช้อยู่ในการgradingภาพจากภาพยนตร์ในขั้นตอนpost production ภาพที่ออกมาจึงเป็นภาพที่คนทำหนังเขาอยากให้ออกมาในแนวนี้ในจอแบบต่างๆ โดยอ้างอิงอยู่บนความถูกต้องและแม่นยำ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าจอที่ออกมาจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด ค่าที่โรงงานตั้งมาให้ยังไม่ใกล้เคียงค่ามาตรฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทีวี ที่จะให้สีมาแบบสดมาก(over saturated) ค่าการไล่โทนความมืดความสว่าง(gamma)หรืออุณหภูมิสี(color temperature)มีความเพี้ยน รวมถึงระดับความมืดความสว่างของภาพก็ผิด ที่เขาปรับแบบนี้มาก็เพราะค่าเหล่านี้มันทำให้ทีวีภาพดูสวยเตะตาในห้องโชว์รูม ต้องบอกว่าการปรับภาพในห้องโชว์เหล่านี้วัตถุประสงค์ของเขาคือต้องทำให้ภาพดูเด่นสะดุดตากว่าทีวีตัวอื่นๆ เพื่อดึงความสนใจของลูกค้า ไม่ได้ปรับมาเพื่อให้มีความถูกต้องเที่ยงตรงของภาพของสีแต่อย่างใด แต่ก็มีทีวีบางตัวที่รุ่นสูงขึ้น ราคาสูงขึ้นจะใส่ presetsแบบมืออาชีพให้มาไม่ว่าจะเป็นISFหรือTHX แต่ค่าpresetsเหล่านี้ก็ถือว่าใกล้เคียงมากขึ้นแต่ต้องลองเช็คลองวัดดูทีวีเป็นตัวๆไปเพราะบางตัวบางรุ่นใส่มาเพื่อวัตถุประสงค์ทางตลาดมากกว่าความถูกต้อง ก็ทำให้เราหลงทางไปได้ การปรับภาพนั้นมีหลายระดับ ในระดับเบื้องต้นก็เป็นการใช้remoteเปลี่ยนค่าต่างๆที่อยู่ในเมนูการปรับภาพของทีวีหรือโปรเจคเตอร์ จนไปถึงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์การวัดภาพ อุปกรณ์เสริมเพื่อให้ภาพออกมาตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นซึ่งการปรับภาพระดับมืออาชีพก็สามารถจ้างช่างปรับภาพมาได้ หรือถ้าสนใจศึกษาที่จะทำเองก็สามารถทำได้ตั้งแต่การปรับในเบื้องต้นได้แก่การตั้งต่าระดับความดำความสว่าง(Black & White levels) การหาความสว่างที่สุดของจอ(Peak White) การหาPicture Modeที่เหมาะสม การเลือกค่าGamma การตั้งค่าGrey Scale ความสมดุลของสีขาว การปรับสีcolor gamut หรือถ้าใครที่จริงจังในการปรับตั้งค่ามากหน่อยอาจจะปรับCMS(Color Management […]
Monitor Setup

เนื้อหาฉบับนี้จะเกี่ยวกับหลักการSetupเครื่องเสียงในห้องที่ใช้ทำงานของเหล่าmixing หรือmastering engineer โดยผมได้สรุปมาจากหนังสือชื่อดังMastering Audio: the art an the scienceของBob Katz พูดถึงBob Katzถ้าใครอยู่ในวงการอัดเสียงก็อาจจะคุ้นชื่อบ้างแกเป็นMixing and Mastering Engineer ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับProfessional recording ที่การันตีด้วยรางวัลGrammy award มีผลงานตีพิมพ์เกี่ยวกับเครื่องเสียงมากมายเช่นใน Stereo Review, Audio, Stereophile เคยทำงานที่Chesky Recordsและมีผลงานที่ได้รับคำชมออกมามากมาย ถึงตอนนี้บางคนคงสงสัยว่าแล้วแกมาเกี่ยวกับhome theaterได้ยังไง คือผมได้อ่านหนังสือที่แกเขียนจนมาถึงบทที่ 21 เรื่องMonitor Setup ที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการติดตั้งและปรับเสียงในห้องแบบmulti-channelsเนื่องจากว่างานของแกบางส่วนก็มีที่เป็นmulti channelsเพื่อใช้ทั้งในงานบันทึกเสียงเพลงและในงานภาพยนตร์ พออ่านไปแล้วมีหลายส่วนในบทนี้เป็นแนวคิดการปรับเสียงในห้องhome theaterที่น่าสนใจ และสามารถเอาไปประยุกต์ใช้งานได้จริงๆก็เลยสรุปเอาข้อเขียนของเขาที่น่าจะเป็นประโยชน์ให้เราได้ลองศึกษาดู มีบางจุดก็เหมือนกับที่เคยเรียนรู้กันมาแต่ไม่ค่อยได้สนใจ หรือบางจุดก็ต่างจากที่เคยรู้เคยเห็นมา ยังไงก็ลองอ่านดูครับ โดยปกติmastering engineersจะใช้วิธีตามปกติมาตรฐานเพื่อให้ได้ลำโพงที่สามารถตอบสนองได้แบบfull-range โดยใช้วงจรcrossoverแบบanalog-domainแล้ววางลำโพงในห้องที่มีการออกแบบไว้อย่างดี จากนั้นจะทำการวางลำโพงในตำแหน่งที่คิดว่าเหมาะสมที่สุดในห้องโดยใช้วิธีการร่วมกันทั้งฟังด้วยหู การคำนวณ และการวัดค่าต่างๆ ซึ่งห้องทุกห้องก็มักจะมีปัญหาเรื่องความถี่ต่ำเกือบทุกห้อง แต่จะมากจะน้อยก็แตกต่างกันออกไปในห้องแต่ละห้อง ถ้าห้องที่มีขนาดใหญ่และมีการออกแบบมาดีก็จะเจอปัญหาเรื่องนี้น้อยหน่อย ส่วนในห้องของBobเองเขาบอกว่าห้องที่เขาทำงานอยู่ก็จะมีปัญหาเรื่องนี้เช่นกันสาเหตุก็มาจากroom modeของห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างผนังด้านหน้ากับผนังด้านหลัง ดังนั้นการวางลำโพงในห้องจึงมีความสำคัญ การวางลำโพงที่ผิดตำแหน่งก็จะทำให้บางย่านความถี่ดีขึ้น […]
4K HDR Projectors Brightness

ในปัจจุบันโปรเจคเตอร์ที่เป็นระบบ 4K หรือ UHD HDR เริ่มออกมามากขึ้นในท้องตลาด เนื่องจากความละเอียดของภาพเพิ่มขึ้นเป็นระดับ4K รวมถึงHDRที่เพิ่มความดำและความสว่างของภาพมากขึ้นเพื่อให้ภาพที่ออกมา มีสีสันที่สดสวยงดงามใกล้เคียงธรรมชาติ ดังนั้นความสว่างของโปรเจคเตอร์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องคุณภาพของภาพ4K HDR อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความสว่างของภาพจากโปรเจคเตอร์จะประกอบไปด้วยความสว่างของเครื่องฉาย จอภาพที่ถูกฉายลงไป รวมกันออกมาก็จะเป็นความสว่างของภาพที่ถูกเรียกว่าLuminance ถ้าต้องให้ภาพออกมาดีเครื่องฉายก็ต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอสามารถมองเห็นได้ง่าย จอภาพก็ต้องสามารถสะท้อนแสงออกมาได้อย่างเหมาะสมรวมไปถึงแสงสว่างจากสิ่งแวดล้อมก็ต้องไม่มากเกินไปจนรบกวนภาพจากจอภาพ วันนี้เลยจะมาพูดถึงเรื่องความสว่างของโปรเจคเตอร์กันครับ เมื่อเราสนใจที่จะซื้อโปรเจคเตอร์ คุณสมบัติเรื่องความสว่างของโปรเจคเตอร์คำที่ต้องเจอก็คือคำว่า Lumens, Foot Lamberts, nits คำเหล่านี้หมายถึงอะไรลองมาดูกัน คำแรกที่ต้องเห็นบนโฆษณาก็คือคำว่าLumen ซึ่งจะหมายถึงความสว่างที่โปรเจคเตอร์แต่ละรุ่นแต่ละตัวสามารถทำได้ โดยมาตรฐานในขั้นตอนการวัด การทดสอบความสว่างถูกกำหนดโดยAmerican Standards Institute(ANSI)หรือสถาบันกำหนดมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ทำให้เรียกกันติดปากว่าANSI Lumen(แอนซี่ลูเมน) พูดง่ายๆคำนี้ก็หมายถึงค่าความสว่างที่ปล่อยออกมาจากตัวโปรเจคเตอร์ ค่าlumenยิ่งมากก็แสดงว่าโปรเจคเตอร์มีความสว่างมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึงว่ายิ่งมากภาพก็จะยิ่งสวยขึ้นเพราะคุณภาพของภาพจะขึ้นอยู่กับปัจจัยประกอบอย่างอื่นอีกหลายอย่าง รวมถึงก็ต้องพิจารณาวัตถุประสงค์การใช้งานด้วยว่าต้องการใช้งานในงานประเภทไหนเพื่อที่จะเลือกความสว่างที่เหมาะสมภาพที่ออกมาจะได้ไม่ดูมืดเกินไปหรือดูสว่างจ้าเกินพอดีในสภาพแวดล้อมที่กำลังฉายอยู่ ถ้าจะแบ่งระดับความสว่างออกเป็นกลุ่มคร่าวๆตามLumenก็ประมาณว่า ระดับ 1000 lumens หรือน้อยกว่า ความสว่างระดับนี้ถือว่าต่ำ ข้อได้เปรียบสำหรับกลุ่มนี้คือในเรื่องของราคา ถ้าเทียบกับในรุ่นเดียวกันโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างน้อยกว่ามักจะมีราคาที่ต่ำกว่า เหมาะสำหรับงานpresentationที่มีงบจำกัด แสดงอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มืด สำหรับในห้องdedicated home theaterถ้าควบคุมแสงสว่างได้และขนาดจอภาพไม่ได้ใหญ่มากเกินไปก็สามารถใช้ความสว่างระดับนี้ได้ แต่ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมแสงได้ แสงพวกนี้จะกวนทำให้ภาพที่ออกมามีcontrastลดลง ภาพไม่มีความชัดเจน ซึ่งถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้นมาก็คงต้องใช้โปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างมากขึ้น หรือมีค่าlumenที่สูงขึ้น ระดับ […]
Calibrated 4K HDR Projector

ถ้าพูดถึงภาพ UHD HDRหรือเรียกง่ายๆว่า4K HDR สำหรับทีวีก็ถือว่าเป็นระบบภาพที่ให้ความสวยงาม คมชัด สมจริงกว่าระบบ Full HD หรือ 1080p แต่สำหรับโปรเจคเตอร์แล้วระบบภาพ 4K HDRในช่วงก่อนหน้านี้ยังถือว่าไม่ค่อยน่าพอใจกับภาพที่ออกมานัก จนบางคนถึงกับบอกเลยว่าถ้าเป็นโปรเจคเตอร์แล้วจะดูแผ่นแบบ4K HDRให้ปิดระบบHDRไปเลยดีกว่าเนื่องจากภาพที่ออกมาดูไม่ธรรมชาติการไล่เฉดสีก็ไม่เนียนขาวเกินไปในบางที่ บางที่ก็สีดำเป็นปื้นๆ สีสันก็เข้มเกินจริงหน้าดาราประหนึ่งจะแสดงลิเก หน้าผู้ชายออกมาปากทาลิปติกแดงเชียว แต่ในปัจจุบันโปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ที่ออกมาสนับสนุนภาพแบบHDRให้ภาพได้ดีกว่าเดิมมาก วันนี้เลยจะมาพูดถึงระบบนี้ในโปรเจคเตอร์กันว่ามีการพัฒนาไปถึงไหนแล้ว ได้เวลาซื้อเครื่องเล่นโปรเจคเตอร์HDRมาเล่นหรือยัง หรือจะรอให้พัฒนาอีกหน่อย รวมไปถึงถ้าซื้อมาแล้วจะปรับภาพแบบง่ายๆยังไงให้ภาพ 4K HDRมีภาพออกมาได้สวยงามเป็นธรรมชาติ ก็สืบเนื่องมาจากผมได้โปรเจคเตอร์ตัวใหม่ JVC DLA-X9900BE ซึ่งเป็นโปรเจคเตอร์ที่รองรับระบบภาพแบบ 4K HDRมาประจำการแทนตัวเดิม JVC DLA-RS56ที่ใช้มานานหลายปีแล้วและความละเอียดสูงสุดยังได้แค่ระดับ 1080pอยู่ ทำให้เกิดปัญหาเวลาจะดูหนังใหม่ๆในระบบเสียง Immersive Soundพวก Dolby Atmosหรือ DTS-X ที่บางเรื่องระบบเสียงเหล่านี้จะใส่ลงมาเฉพาะในแผ่น4K ถ้าเป็นแผ่นBlu-ray 1080pก็จะมีแต่ระบบเสียงTrue HDหรือ DTS HDเท่านั้น ครั้นจะดูแผ่น4Kแล้วdownscaleให้มาเป็น1080pภาพที่ออกมาก็ดูมืดทึมๆดูแทบไม่ได้ เลยคิดว่าควรจะถึงเวลาที่จะต้องปรับปรุงระบบภาพให้เป็น4K HDRแล้ว แต่ก็คิดหนักอยู่เหมือนกันเพราะผ่านมาถ้าเป็นโปรเจคเตอร์ที่รองรับระบบHDRนั้นภาพถือว่ายังไม่ผ่าน แต่พอเห็นJVCออกโปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ออกมาเลยว่าจะลองมาดูภาพHDRของโปรเจคเตอร์ตัวใหม่ๆบ้างว่าภาพที่ออกมาจะเป็นยังไงบ้าง แต่ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องของภาพHDR รวมถึงการปรับภาพ ขอพูดถึงโปรเจคเตอร์JVC […]
The Dedicated Home Theater

ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆห้องDedicated Home Theaterก็หมายถึงห้องดูหนังภายในบ้านที่ถูกทำขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อเป็นห้องสำหรับดูหนังจริงๆ สำหรับใครก็ตามที่มีความชื่นชอบ หลงไหลในการดูภาพยนตร์ภายในบ้าน ห้องแบบนี้ไม่ได้หมายถึงห้องนั่งเล่นหรือห้องอรรถประโยชน์ขนาดใหญ่ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่างในห้องเดียวกันที่บางทีจะใช้ทั้งนั่งเล่น ดูละคร ดูหนัง เล่นเกมส์หรือแม้กระทั่งกินข้าวในห้องนี้ แบบที่ฝรั่งเขาเรียกห้องแบบนี้กันว่าMultipurpose Room แต่ห้องDedicated Home Theaterจะมีการวางแผนและออกแบบอย่างละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างห้องเพื่อให้สมาชิกภายในบ้านได้รับประสบการณ์การดูหนังที่สุดยอดทั้งภาพและเสียง ซึ่งในปัจจุบันถ้าจะพูดถึงห้องdedicated home theater ก็มักจะบรรจุเทคโนโลยีด้านภาพและเสียงอย่างทันสมัยเอาไว้ด้วยอย่างเช่น จอภาพที่มีขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นจอทีวี หรือจอโปรเจคเตอร์แบบ 4K ที่มีความละเอียดมากกว่าระบบภาพแบบ 1080P มากกว่าสองเท่า รวมถึงบางห้องอาจจะรองรับการstreaming ภาพยนตร์แบบ4K HDRจากผู้ให้บริการหนังออนไลน์ที่มีอยู่อย่างมากมาย การที่ภาพมีรายละเอียดมากขนาดนี้จึงทำให้ห้องdedicated home theaterสามารถใช้จอขนาดใหญ่แบบเต็มฝาผนังได้สบายถูกใจคอหนังจอยักษ์แบบIMAXมาก แน่นอนว่าการจะทำห้องแบบนี้ได้ต้องมีการคำนวณขนาดจออย่างถูกต้องเหมาะสมเข้ากับเครื่องโปรเจคเตอร์ที่ใช้ ตำแหน่งของจอสูงขนาดไหน ระยะนั่งดูต้องห่างเท่าไร เครื่องโปรเจคเตอร์ต้องแขวนห่างจากจอเท่าไร รวมถึงเก้าอี้ที่ใช้ในห้องไม่ว่าจะทำที่นั่งดูแบบเป็นแถวเดียวหรือหลายแถว ก็ต้องหาเก้าอี้ดูหนังแบบที่นั่งแล้วให้ความสบายไม่ส่งผลเสียต่อacousticของเสียงในห้อง ระบบเสียงต้องทำให้ดูหนังแล้วรู้สึกว่าอินเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในหนัง โดยเฉพาะในปัจจุบันเป็นยุคของระบบเสียงแบบImmersive Soundไม่ว่าจะเป็นระบบเสียงแบบ Dolby Atmos, DTS-X หรือ Auro3D ถ้ามีการออกแบบ จัดวางลำโพงได้อย่างถูกต้องเหมาะสมก็จะเอื้อให้ผู้ชมได้สัมผัสกับประสบการณ์เสียงแบบสมจริงได้ดีมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนที่เป็นแค่ระบบ2.1หรือ 5.1แชลเนลเท่านั้น มีการออกแบบสิ่งแวดล้อมในห้องไว้อย่างลงตัวไม่ว่าจะเป็นระบบแสงไฟภายในห้องที่นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกในการเปิดปิด การหรี่ไฟ เนื่องจากห้องhome theaterในขณะที่ดูหนังห้องจะต้องมืดที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ภาพจากจอภาพมีความสมบูรณ์ ระบบระบายอากาศระบบทำความเย็นก็ต้องคำนึงถึงเสียงที่อาจจะดังมากเกินไปจนรบกวนเสียงของห้องโดยรวมหรือที่เรียกกันว่าnoise floor […]