Article

Search

What’s new in home theater2017?

ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีปีใหม่2560และขออวยพรปีใหม่ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านโชคดีมีชัยกันถ้วนหน้าตลอดปีนี้ครับ สำหรับเนื้อหาบทความในฉบับนี้เริ่มต้นปีก็ขอพูดถึงแนวโน้มเทคโนโลยีภาพและเสียงสำหรับปีนี้กันว่าจะไปในทิศทางไหนบ้าง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเดี่ยวนี้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากว่าเครื่องจักรกล คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆสามารถประดิษฐ์ได้เร็วขึ้นแบบก้าวกระโดดเป็นกราฟexponentialเลย ซึ่งจะต่างจากมนุษย์ที่ตามธรรมชาติจะเป็นไปในแบบlinearเสียมากกว่า ทั้งนี้ก็เพราะคอมพิวเตอร์ต่างๆล้วนใช้การคิดคำนวณจากprocessor หรืออุปกรณ์ตัวใหม่เพื่อพัฒนาตัวใหม่กว่า ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ตัวดั่งเดิมตั้งแต่แรกในการพัฒนาตัวใหม่ๆ ทำให้ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าอีกหน่อยก็อาจจะถึงวันที่เครื่องจักรกล คอมพิวเตอร์ต่างๆสามารถคิดได้ฉลาดกว่ามนุษย์ เหมือนในภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่ใช้plotนี้เอาไปสร้างเป็นภาพยนต์ขึ้นมา ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบนี้เราก็คงต้องรู้ทันเทคโนโลยีเหล่านี้แต่คงไม่ต้องถึงกับใช้มันทั้งหมดเพียงแค่รู้ที่มาที่ไป หลักต่างๆ จะได้ใช้ประกอบในการตัดสินใจเมื่อต้องซื้อหาเทคโนโลยมาใช้จริงๆจะได้ไม่ถูกเทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านี้หลอกเอา

สำหรับในส่วนเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับHome theaterและแนวโน้มในปีนี้จะเป็นยังไงนั้นขอเริ่มจากเรื่องของจอแสดงภาพก่อน ถ้ายังจำกันได้ประมาณเจ็ดถึงแปดปีก่อน James Cameronได้นำเสนอภาพยนต์สามมิติเรื่องAvatar ที่ไม่ต้องอาศัยแว่นสามมิติแบบ สีน้ำเงินข้างหนึ่ง สีแดงข้างหนึ่งอีกต่อไป ตอนนั้นทำให้วงการจอภาพในบ้านต่างหันไปให้ความสนใจกับภาพสามมิติกันยกใหญ่ จอภาพที่ใช้ในบ้านไม่ว่าจะเป็นจอทีวี หรือจอโปรเจคเตอร์ต้องมีfunctions ภาพสามมิติอยู่ด้วย แต่เทคโนโลยีนี้ก็นับว่าหมดความนิยมลงไปในห้องhome theaterอย่างรวดเร็ว อาจจะเพราะในเรื่องของแว่นตาที่ยังคงต้องสวมอยู่เพื่อให้เกิดภาพสามมิติ หรือเรื่องของดูแล้วรู้สึกปวดตา ปวดหัว อุปกรณ์ที่ต้องซื้อเพิ่ม รวมทั้งข้อจำกัดในเรื่องของหนังต่างๆที่ออกมาเพื่อฉายในบ้านหรือในห้องhome theaterยังออกมาไม่มาก ถึงแม้ภาพยนตร์เรื่องนั้นๆฉายในโรงภาพยนต์เป็นระบบสามมิติแต่เวลาออกเป็นแผ่นblu-rayจริงๆก็ไม่มีแบบสามมิติมาให้ แต่ก็นับว่าหนังสามมิติก็ยังไม่ได้หายไปจากตลาดภายในบ้านเลยทีเดียว ในปัจจุบันก็ยังมีจอภาพที่รองรับสามมิติและภาพยนตร์ที่ออกมาในระบบสามมิติอยู่บ้างถึงแม้ไม่ได้มากนักเหมือนอดีตสี่ห้าปีที่ผ่านมา จอทีวีหรือโปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ๆบางรุ่นก็ยังคงมีระบบสามมิติออกมา ถึงแม้จะไม่ใช่จุดเด่นหลักแต่ก็เอาไว้เสริมมากกว่า พอจะรู้ไหมครับว่าเมื่อปลายปีที่แล้วมีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งออกมาชื่อว่าBilly Lynn’s Long Halftime Walk ที่กำกับโดยAng Leeผู้กำกับมือระดับOscar หนังเรื่องนี้มีสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านภาพหลายอย่าง รวมทั้งมีการใช้เทคนิคใหม่ในการทำให้เกิดภาพสามมิติ โดยจะฉายในโรงDolby Cinemas ที่เป็นโปรเจคเตอร์ระบบ 6P(six-primary) มีแสงlaserแม่สีหลักแดง เขียว น้ำเงิน 3สีสองชุดรวมกันเป็นหกแหล่งกำเนิดแสง ที่ความยาวคลื่น(wavelengths)ของแม่สีหลักทั้งสองชุดจะต่างกันเล็กน้อย filterที่อยู่บนแว่นตาแต่ละข้างก็จะตอบสนองต่อความยาวคลื่นที่ต่างกันทำให้ตาซ้าย และขวารับภาพที่ต่างกันเกิดเป็นภาพสามมิติขึ้นมาในแบบpassive3D ทำให้สีที่ออกมาสำหรับภาพสามมิติแบบนี้จึงไม่ได้เพี้ยนมากเนื่องจากสีของแว่นตา โดยยังคงความสว่างอยู่ นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่อง Billy Lynn’s Long Halftime Walk ที่นอกจากจะนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ในเรื่องสามมิติและทำการฉายแบบ 4K resolution, Dolby vision HDRแล้ว(เฉพาะDolby Cinema และ IMAXบางโรงที่ใช้เครื่องฉายของChristie Projectors) สิ่งที่น่าตื่นเต้นอีกเรื่องหนึ่งของหนังเรื่องนี้ก็คือได้ฉายในระบบ 120 frames-per-second(fps) มากกว่าโรงปกติทั่วไปที่จะฉายในระบบ 24fps ถึงห้าเท่า และสูงกว่าหนังเรื่องHobbit ที่Peter Jackson เคยถ่ายทำไว้ 48fpsสองเท่าครึ่ง การมีframes rateที่สูงมากขึ้นทำให้ภาพทีความsmooth ไม่กระตุก โดยเฉพาะเวลาแพนกล้องไปมา จะทำให้เห็นรายละเอียดภาพมากขึ้นในช่วงเวลาวัตถุเคลื่อนไหว ก็ต้องคอยดูต่อไปว่า Avatarภาค2 James Cameronจะมีเทคโนโลยีด้านภาพอะไรใหม่ๆมาให้เราดูบ้าง แล้วเทคโนโลยีเหล่านี้จะได้ถูกพัฒนาต่อไปเพื่อนำมาใช้ในห้องhometheaterหรือเปล่า

มาถึงเรื่องของจอทีวี ในปีนี้ก็คงยังเป็นเรื่องการพัฒนาในส่วนของความละเอียดระดับ4Kที่สามารถรองรับความกว้างของสีcolor gamutได้กว้างมากขึ้นเป็น DCI-P3 ส่วนความกว้างในระดับRec.2020อาจจะต้องรออีกหลายปีกว่าจะสามารถทำได้และจำหน่ายได้เป็นสินค้าconsumer productจริงๆ รวมทั้งสื่อภาพยนตร์ต่างๆตอนนี้ก็ยังคงอ้างอิงสีที่Rec.709กันอยู่ ดังนั้นถ้าเราใช้สื่อที่ถูกบันทึกมาในRec.709แล้วเอามาrescaleเพื่อเพิ่มความกว้างของสีเป็นDCI P3สีที่แสดงออกมาก็จะเป็นสีจากการประมวลผลของchipในทีวีเครื่องนั้นๆ ถ้าprocessorไม่ค่อยดีสิ่งที่ตามมาก็คือความเพี้ยนของสีที่เกิดขึ้น สีจะเข้มผิดปกติไม่สวยเป็นธรรมชาติเหมือนกับที่เราปรับไว้เป็นnative Rec.709 อีกเรื่องหนึ่งของจอภาพทีวีที่ปีนี้คงต้องมีการพัฒนาต่อไปก็คือความสว่างเพื่อรองรับHDR เพราะจอภาพflat panelแบบเดิมที่เราใช้กันอยู่นั้นส่วนมากจะยังไม่รองรับHDR และความสว่างก็ยังไม่ถึงหลัก1000nitsตามที่ITU-Rได้แนะนำไว้ อย่างกับSony Monitor ในpost production studioบางตัวก็สามารถทำความสว่างได้ถึง 4000 nitsไปแล้ว มาถึงตรงนี้บางคนก็คงยังสงสัยกันอยู่ว่าทำไมต้องทำให้ภาพสว่างกันมากๆระดับเป็นหลายพันnits กันเลย ทีวีที่บ้านดูกันที่แค่หลักร้อยnits หรือ โปรเจคเตอร์ที่เคยแนะนำกันว่าประมาณ50nits แต่พอมาเป็นHDR แนะนำกันเป็น100nits สว่างขนาดนี้เจอฉากสว่างจ้ามากๆนี่แสบตากันเลย ตรงนี้คงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าความจริงการที่จอสามารถให้ความสว่างมากขึ้นและมีความดำมากขึ้นจะส่งผลให้ภาพที่ออกมาใกล้เคียงกับธรรมชาติความเป็นจริงมากกว่าเดิม โดยเฉพาะจุดที่สว่างจ้ามากๆ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า specular highlights เพราะมันจะทำให้คนทำหนังสามารถใส่เนื้อหารูปภาพที่มีความสว่างมากๆ ที่จะพบในชีวิตประจำวันลงไปได้เช่นภาพแสงแดดลอดมาตามแนวต้นไม้ ภาพแสงที่สะท้อนกับความมันวาวของรถ หรืออย่างเช่นมีฉากแสงสะท้อนจากกล้องที่อยู่บนปืนไกลๆแว้บเข้าตาทำให้กลายเป็นจุดสนใจและรู้ว่ามีอะไรสะท้อนแสงอยู่ไกลๆ เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ภาพที่ปรากฏอยู่บนจอมีลักษณะใกล้เคียงธรรมชาติ สมจริงมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้การใส่พวกspecular highlightsลงไปในฉากคนทำภาพที่เก่งๆก็คงไม่ได้ใส่เยอะมากจนทำให้สว่างปวด แสบตา เอาแค่เสริมให้ความสมจริงสมจังของภาพเท่านั้น แต่เนื่องจากในปัจจุบันยังเป็นยุคเริ่มต้นของHDR ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ที่ดูก็ยังเป็นภาพยนตร์ที่ทำมาสำหรับจอภาพทั่วไป แต่เอามาเปิดกับเครื่องที่เป็นHDR บางcontentอาจจะสว่างเกินหรือสลับฉากมืดกับสว่างมากเกินไปทำให้คนดูปวดตา หรือเมื่อยตาได้ แต่ต่อไปเมื่อจอภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น มาตรฐานของHDRมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ก็จะทำให้คนทำหนังสามารถใช้ประโยชน์จากHDRได้เต็มที่ ภาพออกมาดูแล้วก็จะสบายตา ดูเป็นธรรมชาติสมจริงยิ่งขึ้น แต่อย่างว่าตอนนี้มาตรฐานต่างๆของHDRก็ยังไม่ชัดเจนแน่นอน เช่นการกำหนดความสว่างสูงสุดของภาพในหนังแต่ละเรื่องก็ยังไม่เท่ากัน เนื่องจากstudioแต่ละที่ก็ใช้monitorต่างกัน ความสว่างสูงสุดก็ไม่เท่ากัน ถึงแม้จะมีการรวมตัวกันของบริษัทต่างๆในชื่อ UHD Alliance เพื่อกำหนดทิศทางของทีวี เครื่องเล่น ในgenerationใหม่ๆ ผู้บริโภคจะไม่ได้สับสนกับการเลือกซื้ออุปกรณ์ 4K HDR แต่ก็ยังไม่ง่ายในตอนนี้ ความจริงแล้ว UDH Allianceมีบริษัทที่เข้าร่วมกว่า 35บริษัทเช่น LG, Panasonic, Samsung, Toshiba, Sony, Sharp รวมทั้งบริษัทเกี่ยวกับเสียง Dolby หรือแม้กระทั่งบริษัทเกี่ยวกับหนัง รายการทีวี Netflix, 20th Century Fox ก็เข้าร่วมในกลุ่มนี้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้มีมาตรฐานในการจัดการภาพและเสียงอย่างเป็นระบบ ประมาณว่าหนังของDisney ทางบริษัทNetflix ก็สามารถนำไปstream เพื่อฉายยังจอ Samsungเพื่อให้ได้ภาพและเสียงตามที่ผู้กำกับที่ Disney ได้ตั้งใจไว้ ซึ่งต่อมาก็ได้เกิดขึ้นเป็นUHD Premium specification นำเสนอไปเมื่องานCES2016ที่ผ่านมา โดยจะมีlogo ของ Ultra HD Premiumติดอยู่ตามสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคไม่ต้องกังวลใจว่าอุปกรณ์4K HDRแต่ละชิ้นจะไม่เข้ากัน แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่ เพราะถึงแม้ Samsung และ Panasonicจะใช้มาตรฐาน ยึดlogoของ UHD Premiumนี้ ทางSonyเองก็กลับใช้Logo ของตัวเองที่เป็น 4K HDR แทน ส่วนPhillipsถึงตอนนี้ก็ประกาศยังจะไม่ใช้ Logo ของ Ultra HD Premium ก็อย่างที่บอกไว้ครับว่าตอนนี้ยังเป็นยุคเริ่มต้นของ HDRอยู่ เราผู้บริโภคก็คงต้องคอยติดตามข่าวสารต่างๆต่อไปว่าเมื่อไรมาตรฐานจะลงตัว

สำหรับเรื่องของProjectors แนวโน้มในปีนี้ก็คงใกล้เคียงกับทางจอflat panelยกเว้นแหล่งกำเนิดแสงที่กำลังมาแรงแทนหลอดภาพเดิมก็คือเทคโนโลยี Laser Projectors ที่สามารถให้ความสว่างสูงกว่าหลอดแบบเดิมจึงสามารถใช้กับจอขนาดใหญ่ได้สบาย ทั้งหลอดยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดprojectorsแบบเดิมไม่แตกง่ายทำให้ประหยัดค่าหลอดไปได้เยอะ เวลาเปิดปิดเครื่องก็รวดเร็วไม่ต้องอุ่นเครื่องนานกว่าสีสันต่างๆจะเข้าที่ เวลาปิดก็ไม่ต้องนั่งรอนานหลายนาที แถมยังช่วยส่งผลให้dynamic contrastของภาพดีขึ้นเวลาที่มีฉากมืดสลับกับสว่างด้วย

ในปัจจุบันโรงภาพยนตร์ระดับHi Endของต่างประเทศเช่นโรงDolby Cinema, IMAXเริ่มทะยอยเปลี่ยนมาใช้laser projectorsกันแล้วแทบทั้งสิ้น เสียแต่ตอนนี้ยังเป็นการแค่การเริ่มต้นพัฒนาอยู่ราคายังคงสูง ขนาดเครื่องก็ใหญ่โตมโหฬาร และเพราะเครื่องมันร้อนมากพัดลมระบายอากาศก็จะมีเสียงดัง เกิดการเสียของเครื่องได้บ่อยๆเนื่องจากความร้อนของเครื่องเอง เห็นคนที่ไปดูโรงDolby Cinemaที่ต่างประเทศหลายคนก็บ่นอยู่ว่าไปทีไรเครื่องฉายก็เสีย ก็คงยังต้องปรับปรุงกันต่อไปครับ และหวังว่าอีกไม่นานคงได้เข้ามาทดแทนหลอดprojectorsแบบเดิมๆ

มาถึงเรื่องของระบบเสียง เพื่อให้ได้รับประสบการณ์เสียง 360องศาในห้องhome theaterทำให้ระบบเสียงImmersive Soundต่างๆได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบDolby Atmos, Auro-3Dและน้องใหม่ล่าสุดระบบdts:X หลายคนก็อาจจะมองว่าระบบเสียงAuro-3Dที่ออกมาเป็นเจ้าแรกน่าจะหายไปในไม่ช้าเพราะจนถึงตอนนี้แผ่นblu-ray, 4Kหรือภาพยนตร์ที่streaming ระบบเสียงเป็นAuro-3D ยังมีไม่กี่เรื่อง ในขณะที่Dolby Atmosมีร้อยกว่าเรื่องแล้ว แต่ล่าสุดทาง Sony Pictures Post Production ได้เปิดตัว Home Theater Dub Stageแห่งใหม่เพื่อใช้สำหรับ re-recording ภาพยนตร์ลงแผ่นBlu-ray Disc, 4K Ultra HD Disc, digital streamingต่างๆ (Culver City, CA-November 22, 2016) โดยห้องนี้ออกแบบเพื่อให้จำลองสภาพห้องhome theaterทั้งในระบบDolby Atmos, Auro-3Dและระบบimmersive soundแบบใหม่ต่างๆอยู่ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าทางSonyก็ยังให้ความสำคัญกับระบบAuro-3Dอยู่ไม่ได้ทิ้งไป ซึ่งห้องre-recordingของSonyนี้มีพื้นที่ประมาณ 50ตารางเมตร ติดตั้งระบบยึดลำโพงแบบDelicate Audio truss system ทำให้สามารถเปลี่ยนตำแหน่งลำโพงเพื่อให้เข้ากับimmersive sound formatsต่างๆได้โดยง่าย

ดังนั้นจนถึงตอนนี้ทำให้เห็นว่าระบบimmersive soundได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้น สินค้าที่เกี่ยวกับHome theaterต่อไปก็คงต้องสนับสนุนระบบเสียง 3D โดยเฉพาะสินค้าพวก Pre-processor หรือ AVR เพราะถึงแม้ห้องที่ใช้ฟังจริงๆอาจจะไม่สามารถติดลำโพงได้ตามความต้องการของระบบ เช่นขนาดห้องไม่เอื้ออำนวย เพดานติดลำโพงไม่ได้ ภรรยาไม่ปลื้ม….อิ อิ ตอนนี้ก็มีสินค้าพวกลำโพงUpfiring Speakersเพื่อใช้วางบนลำโพงหลักให้เสียงสะท้อนจากเพดานลงมาเหมือนมีลำโพงCeiling Channelของimmersive soundอยู่บนเพดานจริงๆ ถึงแม้เสียงอาจจะสู้มีลำโพงแขวนอยู่จริงๆไม่ได้ แต่ก็เรียกได้ว่าให้ความใกล้เคียงมากทีเดียว หรือถ้าพื้นที่จำกัดมากจนไม่สามารถติดลำโพงหลายตัวได้ Soundbarก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ตอนนี้มีSoundbarออกมาใหม่ๆหลายยี่ห้อ หลายๆรุ่นที่รองรับระบบเสียงimmersive sound เพราะว่าขนาดblu-ray re-recording studioชื่อดังอย่างSanta Monica เมื่อmixเสียงลงแผ่นเสร็จ ก็ต้องมาเปิดฟังเสียงจากSoundbarด้วยเพื่อเป็นการยืนยันว่าแผ่นที่อัดลงไปแล้วเมื่อนำไปเปิดระบบเสียงimmersive soundกับSoundbarยังให้เสียงที่ดีอยู่ไหม และถ้าอยากจะให้เสียงความถี่ต่ำดีมากขึ้นแนะนำอย่างยิ่งเลยครับที่จะเพิ่มsubwooferต่อพ่วงเข้าไปอีกตัว เหมาะสมมากสำหรับห้องที่ไม่ใหญ่มากนัก Soundbarบางตัวก็จะมีpower amplifyอยู่ในตัวลำโพงอยู่แล้ว เลยไม่จำเป็นต้องหามาเพิ่มเติมให้ยุ่งยากเปลืองที่อีก นับได้ว่าง่ายต่อการติดตั้งและเหมาะสมกับสังคมเมืองยุคปัจจุบันได้ดีทีเดียว

พูดถึงเรื่องImmersive Soundทำให้โยงไปถึงเทคโนโลยีใหม่อีกตัวหนึ่งที่ถูกนำเสนอออกมาเมื่อปลายปีที่แล้วชื่อว่าLumiere โดยเขาบอกว่าเป็นImmersive Cinema หลักการก็คือการทำImmersiveทั้งภาพและเสียง สำหรับเสียงก็คงนึกภาพออกว่าเป็นDolby Atmos, Auro-3Dหรือ dts:Xที่เราคุ้นเคยกัน ส่วนภาพนั้นพัฒนาโดยบริษัทBarco Residentialบริษัทที่ทำProjector Hi Endให้กับห้องHome theaterของผู้กำกับ Producer ชื่อดังหลายๆคนเช่น Michael Bay, Jerry Bruckheimer ส่วนแนวคิดก็คล้ายๆกับเสียงImmersive Soundนั่นคือทำให้มีภาพอยู่รอบๆตัวทั้งบนเพดาน ผนังด้านข้าง เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆโดยได้โฆษณาไว้ว่า”the ultimate immersive cinema experience” ผมดูรูปแล้วก็ดูน่าตื่นตาตื่นใจดี แต่จะออกมาสู่consumer marketหรือเปล่าอันนี้ก็ยังไม่รู้นะครับ เห็นว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆน่าสนใจเลยเอามาให้ดูเป็นตัวอย่างก่อนครับ

เทคโนโลยีในห้องhome theater ก็คงมีอะไรใหม่เข้ามาเรื่อยๆ ถึงแม้เราไม่สามารถหาซื้อมาใช้ทั้งหมดได้ แต่การอัพเดทตัวเองให้รู้ทันเทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะเมื่อเราต้องบริโภคมันจริงๆจะได้ตัดสินใจไม่พลาด ไม่ต้องมานั่งเสียใจทีหลังว่าทำไมไม่ศึกษาให้ดีกว่านี้ก่อนซื้อ หรืออย่างน้อยเวลาพูดคุยกับพี่ น้อง เพื่อนฝูงจะได้ไม่กลายเป็นคนตกยุคไป

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ What’s new in home theater2017? (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้