Article

Search

9 Basic Subwoofer Concepts

เรื่องของเสียงความถี่ต่ำเป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในงานMulti Channels ทั้งดูหนัง หรือฟังเพลง เพราะถ้าเสียงเบสผิดปกติไม่ว่าจะboomy หรือเบสบางส่วนขาดหายไป มันก็จะส่งผลต่ออรรถรสอย่างมาก มิหนำซ้ำการจะซื้อSubwooferรุ่นแพงๆ แล้วเอามาวางในห้องเพื่อจะให้เสียงความถี่ต่ำที่ลึกๆออกมาดีเองเลยโดยอัตโนมัตินั้นเป็นไปได้ยาก การทำให้เสียงความถี่ต่ำที่มีคุณภาพว่าไปก็คงเหมือนกับการซื้อบ้านแหละครับ ส่วนที่สำคัญก็คือทำเล ทำเล….และก็ทำเล ถึงตัวบ้านจะมั่นคงแข็งแรง วัสดุใช้ของดี ตกแต่งดี หรูขนาดไหน แต่บ้านดันไปอยู่ในสถานที่อับ ไม่มีทางเข้าทางออก ก็ถือว่าเป็นบ้านที่ไม่ดี ลำโพงchannels Mainอื่นๆอาจจะไม่seriousในเรื่องตำแหน่งเท่าไร และก็มีมาตรฐานให้อยู่แล้วว่าให้วางในช่วงประมาณตำแหน่งไหนได้บ้างถึงจะให้เสียงดี แต่สำหรับSubwooferไม่ได้เป็นแบบนั้นเสียทีเดียว ในบทความฉบับนี้ก็จะพูดถึงพื้นฐานเรื่องความถี่ต่ำและSubwoofer รวมถึงtips เทคนิคต่างๆในการจัดวางSubwooferให้เหมาะสมในห้องของเรา แต่คงไม่ลงไปลึกมากนักเพราะเรื่องเหล่านี้ผมเคยพูดอย่างละเอียดและเจาะลงไปในแนวลึกในบทความเล่มเก่าๆมาหลายฉบับแล้วใครสนใจ สามารถหาซื้อนิตยสารAudiophile/Videophileฉบับย้อนหลัง หรือหาอ่านได้ในFacebook fan pageของhome theater pro Thailand, webของ thaidvd.net, htg2.net โดยจะมีเนื้อหาเล่มเก่าๆที่ผมเคยเขียนไว้ในหนังสือAudiophiles/Videophiles ตั้งแต่ฉบับแรกเมื่อร่วมสามปีก่อน

1.มาเริ่มจากพื้นฐานของตำแหน่งนั่งฟังกันก่อน ตำแหน่งนั่งฟังหลักหรือmoney seatที่ฝรั่งเรียกกัน มันไม่ควรอยู่ตรงกึ่งกลางห้อง เพราะเมื่อเราดูจากรูป room modeของห้องทั้งมองจากด้านหน้า และมองจากด้านข้างจะเห็นว่ามันเป็นตำแหน่งที่เป็นpeakและ dipของmodeต่างๆ มันทำให้การตอบสนองต่อความถี่ต่ำไม่สม่ำเสมอ บางความถี่ถูกเสริมให้ดังขึ้น บางความถี่ถูกหักล้างให้เบาลงกว่าความถี่อื่นๆ แต่ถ้าสังเกตดีๆเมื่อมองจากมุมมองด้านข้างของห้องจะเห็นได้ว่ามีอยู่สองตำแหน่งที่เหมาะสม ตำแหน่งแรกคือประมาณ 3/5ของความยาวของห้อง ส่วนตำแหน่งที่สองจะอยู่หลังต่อ 3/4ของความยาวของห้องเล็กน้อย สองตำแหน่งนี้เลยเป็นตำแหน่งยอดนิยมถ้าเราต้องการทำที่นั่งฟังสองแถว แต่ถ้าเราต้องการแถวเดียวก็เลือกตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งก็ได้ เช่นเดียวกับsubwooferตำแหน่งกลางห้องเลยก็คงไม่เหมาะสมนักเหตุผลสำคัญไม่ได้เป็นเรื่องของmode แต่คงนึกภาพออกนะครับว่าคงไม่มีใครจะเอาลำโพงตัวใหญ่ๆดำๆวางไว้โดดเด่นเป็นสง่าตรงกลางห้องเลย

2.เมื่อตำแหน่งนั่งติดผนังด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะทำให้หูได้รับความดัน(pressure)ของเสียงเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งความถี่ต่ำด้วย แต่อาจจะเป็นความถี่ที่ไม่ราบเรียบเท่าไร

3.ในห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ไม่ได้มีด้านกว้าง ยาว สูงขนาดที่เท่ากันหรือหารกันลงตัว มักจะทำให้เสียงความถี่ต่ำลงตัวได้ง่ายกว่าห้องที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือมีด้านต่างๆหารกันลงตัวเช่น 3x6x3, 4x8x4 แต่ไม่ต้องตกใจครับถ้าห้องเรามีขนาดเป็นแบบที่ว่า มีหลายเทคนิคที่จะช่วยให้ได้เสียงเบสที่มีคุณภาพได้เช่น การใช้เรื่องของmultiple subwoofer ตำแหน่งการวางsubwoofer รวมถึงการใช้Equalizerเพื่อปรับแต่งเสียง

4.เมื่อคุณเลื่อนsubwooferเข้าใกล้ผนังมากขึ้น เสียงเบสที่ได้ยินก็จะมากขึ้นเนื่องจากมีการเพิ่มพลังงานของความถี่ต่ำจากผนังที่อยู่ติดกับsubwoofer(boundary gain)

5.ความถี่ต่ำจะมีพลังงานมากที่สุดถ้าเลื่อนsubwooferไปอยู่ที่มุมห้อง แต่ก็อาจจะทำให้ความสม่ำเสมอของความถี่ต่ำเสียไป(flattest response)

6.การปรับตำแหน่งโซฟา หรือเก้าอี้นั่งฟังให้ห่างจากผนัง และ/ หรือ ตำแหน่งของsubwooferให้ห่างจากมุมห้องส่วนมากแล้วจะช่วยให้การตอบสนองต่อความถี่ที่ลึกๆ(deep bass) มีความราบเรียบมากขึ้น รวมถึงส่งผลต่อตำแหน่งนั่งฟังหลายๆตำแหน่งพร้อมกันภายในห้องhome theaterด้วย(wide sweet spot)

7.ถ้าseriousกับการset upเพื่อให้ได้เสียงเบสดีที่สุดแนะนำให้ลงทุนเพิ่มกับการใช้subwooferแบบสองตัวเหมือนๆกัน หรือมากกว่าสองตัว เพราะsubwooferมากกว่าสองตัวในห้องจะทำให้เสียงความถี่ต่ำที่ได้มีพลังมากขึ้น ความถี่ต่ำมีการตอบสนองที่ราบเรียบมากขึ้นกว่าการใช้subwooferแค่เพียงตัวเดียว เนื่องจากมีทางเลือกในการจัดการกับroom modeได้มากขึ้น

8.และถ้าต้องใช้subwooferหลายๆตัว แนะนำให้ใช้subwooferที่เหมือนกัน(identical) จะทำให้คุณสมบัติทางด้านacousticsของมันเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องความชันการลดลงของความถี่ที่ถูกตัด(roll off) ,การตอบสนองในความถี่ต่างๆ, levelที่ออกมาจากsubwoofer ฯลฯ ทำให้subwooferเหล่านี้ทำงานประสานกันได้ดีกว่าการใช้subwooferแตกต่างกันที่บางทีการทำงานของตัวหนึ่งอาจจะไปขัดขวางการทำงานของsubwooferอีกตัวหนึ่งได้

9.ถ้าคุณสนใจเรื่องของความราบเรียบของการตอบสนองต่อเสียงเบสในความถี่ต่างๆมากกว่าปริมาณเสียงเบสที่ออกมา อย่านั่งชิดผนังด้านหลังหรือด้านข้างของห้อง พยายามนั่งให้ห่างจากผนังโดยถ้าจะให้ดีให้ห่างออกมามากกว่า 1/4ของความยาวของห้องถ้าเป็นไปได้

ที่รวบรวมมาเหล่านี้ก็เป็นพื้นฐานของsubwooferและความถี่ต่ำที่ผมเคยพูดถึงอย่างละเอียดในบทความเก่าๆและเห็นว่าน่าสนใจเลยนำมารวบรวมให้ได้อ่านกันอีกครั้งแบบย่อ พูดถึงเรื่องการsetupฉบับนี้เลยจะพาไปดูผมtuning ห้องhome theaterของพี่ๆเพื่อนๆในกลุ่มเดียวกันสักสองห้อง ห้องแรกเป็นห้องที่ใช้เพื่อดูหนังฟังเพลงด้วยกันทั้งสองอย่าง รูปร่างเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดของห้องอยู่ที่ 4.25×6.00×2.75เมตร ลำโพงmainและsurroundเป็น M&K S300ทั้งชุด, ceiling channelใช้ M&K Architectural In-wall, ส่วนsubwooferมีสองตัว ตัวหนึ่งเป็น M&K X12 และอีกตัว JL F113fathom subwooferทั้งสองตัวถูกควบคุมโดยDSPของminiDSP2x4, Pre-processor เป็น Anthem AVM60 ซึ่งสัญญาณจาก 5channel หลักจะนำไปขยายโดยPower AmplifierของPlinius Odeon ส่วนchannelที่เหลือได้แก่Surround Back และ Ceiling Channelจะใช้Power Ampของ Anthem P5 และ P2, ต้นทางsourceจะเป็นเครื่องเล่นBlu-ray Pioneer LX88 ด้านภาพจากเครื่องเล่นสัญญาณภาพก็จะส่งผ่านScaler Lumagen2020เพื่อปรับแต่งภาพและสีแล้วส่งไปยังเครื่องฉาย Projector JVC RS67อีกที ความจริงห้องนี้ได้รับการcalibrationโดยเพื่อนๆกันมาหลายครั้งแต่ก็ได้มีการปรับปรุงอุปกรณ์ เปลี่ยนแปลงตำแหน่งลำโพงเรื่อยๆโดยเฉพาะSubwoofer มาคราวนี้ก็ได้เปลี่ยนไปใช้เป็นSubwoofer 2ตัววางหน้าหลังทแยงมุมกัน

เมื่อผมมาถึงห้องก็ทำการฟัง และปิดในส่วนของEQต่างๆก่อนเพื่อฟังว่าจริงๆแล้วเสียงที่ยังไม่ได้มีการปรับเป็นยังไง ในที่นี้จะเล่าเน้นไปที่เสียงเบสก่อนเพราะเป็นส่วนสำคัญสำหรับห้องHome theater จะได้เข้ากับเนื้อหาที่พูดถึงในฉบับนี้ด้วย แต่ในส่วนอื่นๆก็ทำการcalibrateไปตามขั้นตอนปกติไม่ว่าจะเป็นการปรับ Level, เช็คpolarityลำโพงทุกตัว, ใส่DelayและEQลำโพงChannelต่างๆ ฯลฯ พูดถึงเสียงความถี่ต่ำที่ได้ยินตอนแรกก่อนปรับก็จะมีเสียงBoomอยู่ในช่วงความถี่ต่ำประมาณ 30Hz ส่วนพอหลังจากความถี่ 50เป็นต้นไปก็หายไปเลย และยังให้ความรู้สึกว่าsubwooferทั้งสองตัวยังทำงานประสานกันได้ไม่ดีก็อาจจะเนื่องมาจากลำโพงsubwooferทั้งสองตัวเป็นคนละแบบคนละบริษัทกัน เมื่อฟังเสร็จพอทราบปัญหาเบื้องต้นก็ทำการย้ายSubwooferไปยังตำแหน่งต่างๆเพื่อให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในห้องนี้โดยการวัดและก็ย้าย และก็วัดและก็ย้าย… อย่างที่ผมเขียนไว้ด้านบนแหละครับว่าสิ่งสำคัญของsubwooferที่อยู่ในห้องhome theaterก็คือ ตำแหน่ง ตำแหน่ง…. และก็ตำแหน่ง เมื่อได้ตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วก็ทำการวัดlevelตรงหน้าSubwooferทั้งสองตัวให้มีความแรงของเสียงเบสเท่ากัน ถึงตอนนี้หลายคนคงสงสัยว่าทำไมไม่วัดตรงตำแหน่งนั่งฟังหลักให้subwooferมีระดับเสียงที่เท่ากันวัดอย่างนี้ลำโพงsubwooferตัวใกล้กว่าก็จะเสียงดังกว่าสิ? อันนี้ต้องอ้างไปถึงคำแนะนำของDr.Floyd Toole เจ้าพ่อด้านAcousticsในห้องขนาดเล็ก(สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ Sound Reproduction) ที่เคยแนะนำไว้ว่าในห้องขนาดเล็กเมื่อเราใช้Multiple Subwooferสิ่งที่เราต้องการได้จากการใช้Subwooferหลายๆตัวก็คือให้พลังงานเสียงของแต่ละตัวทำงานประสานกันอย่างสมดุลย์เพื่อช่วยกันลดstanding waveหรือ room modeที่อยู่ภายในห้อง ทำให้เสียงเบสที่ได้มีความสม่ำเสมอ ดังนั้นพลังงานหรือLevelของเสียงที่ปล่อยออกจากSubwooferแต่ละตัวควรจะต้องเท่ากันเพื่อให้ได้เกิดผลลัพธ์ได้ดีที่สุด แต่ถ้าเราไปลดความแรงของSubwooferเพราะกลัวว่าเสียงsubwooferจากลำโพงที่อยู่ใกล้มันจะดังกว่าอีกตัวที่อยู่ไกลมันก็จะทำให้ประสิทธิภาพของSubwooferตัวหนึ่งลดลงไป ส่วนเรื่องเสียงที่คิดว่าตัวที่อยู่ใกล้จะดังกว่าและฟ้องตำแหน่งนั้นอย่าลืมว่าถ้าเราตัดความถี่crossoverให้ต่ำกว่า 120Hz เสียงความถี่ที่ต่ำกว่าก็จะเป็นลักษณะomnidirectionalหรือฟุ้งกระจายไปทั่วห้อง ย่อมไม่สามารถบอกตำแหน่งที่มาของเสียงหรือฟ้องตำแหน่งได้(นอกจากมีความผิดพลาดในเรื่องlow pass filterของการปรับหรือของอุปกรณ์ต่างๆ)

และเนื่องจากsubwooferทั้งสองตัวไม่เหมือนกัน สิ่งที่สำคัญมากอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากLevelและการEQแล้วก็คือเรื่องของDelay timeหรือphaseของเสียงที่มาไม่พร้อมกันของsubwooferทั้งสองตัว เพราะถึงแม้จะวางห่างในระยะเท่ากันแต่ด้วยที่subwooferเป็นคนละแบบกัน ระบบวงจรelectronicsต่างๆภายในตัวลำโพงก็ไม่เหมือนกัน latencyก็ไม่แน่ว่าจะเท่ากัน ดังนั้นก็ต้องมีการalign subwooferเพื่อsubwooferทั้งสองตัวทำงานให้เสียงที่ออกมามีphaseและเวลาที่มาถึงตำแหน่งนั่งฟังเท่ากัน หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด หลักการอย่างแรกเลยที่จะใส่delayเพื่อให้phaseและtimeของเสียงมีการalignกันก็คือ เสียงจากลำโพงตัวไหนมาถึงก่อน เนื่องจากในความเป็นจริงเราสามารถdelayลำโพงตัวที่เสียงมาถึงก่อนให้เสียงมาถึงพร้อมกับลำโพงอีกตัวได้ แต่เราไม่สามารถdelayให้ลำโพงตัวที่เสียงมาถึงทีหลังให้มาพร้อมกับเสียงตัวที่มาถึงก่อนได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดตรงนี้ก็คือต้องรู้ว่าจะdelayลำโพงตัวไหน บางคนอาจคิดว่าจะไปยากอะไรลำโพงตัวที่อยู่ใกล้กว่าเสียงก็มาถึงก่อนอยู่แล้ว….เดี๋ยวก่อน….อย่าลืมว่าลำโพงที่กำลังtuningอยู่นี้เป็นคนละแบบกัน latencyไม่รู้จะเท่ากันหรือเปล่า หรือข้างในfilterที่ใส่เข้าไปในวงจรlow pass filter, high pass filter หรือEQ ทำให้เกิดphase shiftไปเท่าไรอย่างที่บอกไว้ ถ้าเป็นลำโพงรุ่นเดียวกันเหมือนกันก็อาจจะอาศัยการดูคร่าวๆได้ แต่ถ้าเจอแบบนี้ เพื่อความแน่นอนต้องวัดเอาครับ โดยผมใช้โปรแกรม smaart เพื่อวัดdelay time และ phaseของเสียง วิธีการดูว่าลำโพงตัวไหนเสียงมาถึงก่อนก็คือการดูกราฟของphaseในtransfer function เทียบกันเลยถ้าphase trackของลำโพงตัวไหนชันกว่าก็แสดงว่าเสียงของลำโพงตัวนั้นมาถึงก่อน เราก็ใส่delayให้กับลำโพงตัวนั้น ก็ค่อยๆใส่delayเข้าไปในDSPซึ่งในห้องนี้ใช้DSPของ miniDSP2x4เป็นตัวคุมsubwooferทั้งสองตัว ใส่ค่าdelay timeจนกระทั่งกราฟphaseของลำโพงทั้งสองมีความสัมพันธ์กันแบบparallel ส่วนการalignระหว่างsubwooferกับลำโพงmainตรงบริเวณcrossover pointก็ปรับdelayจนกระทั่งลำโพงsubwooferและลำโพงmainมีความสัมพันธ์แบบserial ต่อกัน อย่างที่ผมเคยอธิบายไว้อย่างละเอียดในเรื่องUnderstanding Phaseเมื่อปีที่แล้วครับ และเมื่อปรับทุกอย่างตามขั้นตอนของTHXและHAAแล้วลองฟังเสียง ก็ทำให้เสียงความถี่ต่ำมีความชัดมากขึ้น impactคมแน่น ไม่เกิดอาการboomy เหมือนก่อนที่จะปรับ

เช่นเดียวกับห้องของเพื่อนอีกท่านหนึ่งที่ผมไปcalibrateให้ ห้องนี้จะเป็นเหมือนห้องฟังที่พบได้มากในบ้านเราก็คือ เป็นห้องที่ใช้ดูหนังและฟังเพลงในห้องเดียวกัน ใช้ลำโพงหน้าคู่เดียวกันร่วมกันทั้งดูหนังฟังเพลง อุปกรณ์ภายในห้องประกอบด้วย ลำโพงหลักซ้ายขวาก็คือ ลำโพงWilson Sophia3, ลำโพงcenterเป็นWilson Watch3เช่นเดียวกัน ส่วนลำโพงsurroundและsurround backเป็นAerial SR3, Subwooferใช้ของ JL F113fathom 2ตัว, โดยใช้DSPของ QSC DSP-30เป็นตัวควบคุมSubwooferทั้งสองตัว, pre-processorเป็นMarantz AV8001ส่งสัญญาณไปขยายที่Power Amplifier Anthem P2& P5, เครื่องเล่นต้นทางเป็น Oppo105d, ส่วนระบบภาพเครื่องprojectorเป็น JVC DLA-RS57 ฉายลงไปบนจอ Stewart Firehawk G4 ทางด้าน 2Channelเจ้าของห้องก็ชื่นชอบการฟังเพลงไม่แพ้ดูหนังเช่นกัน คร่าวๆระบบก็จะเป็น Power Amp Autio Research ref210 Monoblock , Pre Audio Research ls27, เครื่องเล่นแผ่นเสียงเป็นVPI Scoutmaster2, ผ่าน Pre phono Audio Research PH3, เครื่องเล่นเป็นWeiss Man301, ระบบไฟProPower 1050 นี่ยังไม่ได้รวมสายเทพๆอีกมากมาย จากอุปกรณ์คงเห็นได้ว่าเจ้าของห้องเน้นทั้งดูหนังและฟังเพลง การtuningห้องลักษณะนี้ผมก็ต้องคำนึงถึงตำแหน่งของลำโพงหลักซ้าย ขวาที่ใช้เป็นลำโพงฟังเพลงด้วย เลยพยายามยุ่งเกี่ยวกับตำแหน่งลำโพงหน้าให้น้อยที่สุดถ้าไม่จำเป็น รวมทั้งตำแหน่งSubwooferในห้องแบบนี้ส่วนมากจะย้ายตำแหน่งได้น้อย เนื่องจากติดที่อุปกรณ์มีจำนวนมากและอาจมีผลต่อเสียง2channelด้วยถ้าวางตำแหน่งไม่ดี บางทีก็ต้องcompromiseเลือกเอาตำแหน่งที่ไม่ทำให้สูญเสียเสียงมากเกินไปทั้ง 2channels และ multi-channel ดังนั้นอุปกรณ์พวก DSPเพื่อปรับแต่งSubwooferก็คงมีความจำเป็นมากขึ้นในห้องลักษณะนี้ โดยในห้องนี้ก็ใช้ QSC DSP-30เพื่อควบคุม Delay time, EQ และfilterต่างๆ ให้subwooferทำงานประสานกันเอง รวมทั้งทำงานประสานร่วมกับลำโพงหลักได้ดีขึ้น สำหรับห้องนี้ผมเคยได้มาปรับครั้งหนึ่งแล้วต่อมาเมื่อเจ้าของห้องได้เปลี่ยนลำโพงหลัก และอุปกรณ์บางตัวใหม่เลยได้เข้ามาปรับอีกครั้ง สำหรับตำแหน่งลำโพงได้ใช้ตำแหน่งเดิมที่ปรับครั้งที่แล้วเป็นหลัก เปลี่ยนแปลงเฉพาะในส่วนของลำโพงใหม่ที่เพิ่มเข้ามาและDSP เมื่อทำการtuningตามขั้นตอนเหมือนปกติ ก็ทำการปรับdelayของ subwooferให้ทั้งphase และtimeมันalignกันดังที่ได้กล่าวไว้

ขอเสริมตรงนี้นิดหนึ่งเพราะเคยมีคนสงสัยในเรื่องความสัมพันธ์ของphase และlevelตรงจุดcrossover pointว่าสมมติเราฟังๆไปแล้วเรารู้สึกว่าความถี่ต่ำมันน้อยเราก็เลยปรับlevelของsubwooferขึ้น เราต้องปรับdelayของsubwooferกับmainใหม่หรือเปล่าเพราะความสัมพันธ์ของphaseระหว่างsubwooferกับmainมันเปลี่ยนไป ซึ่งในเรื่องนี้ Jamie Andersonเจ้าของโปรแกรมSmaartได้ตอบไว้ในclassเรียน(เนื่องจากมีSound Engineerสงสัยกันหลายคน) ตอนผมไปtrainที่สิงคโปร์ไว้ว่าถ้าเราสามารถทำให้ความสัมพันธ์ของSubwooferกับลำโพงmainมีการin phaseและin timeแล้วเมื่อเราปรับlevel subwoofer(ไม่มากเกินไป)ก็จะทำให้ยังมีการin phaseกันอยู่ แต่ถ้าเส้นกราฟphaseของSub กับmainมันไม่alignกันแต่มันเท่ากันตรงเฉพาะจุดcrossoverเท่านั้นเมื่อเรามีการปรับlevelของsubwooferแค่เพียงนิดเดียวphaseมันก็ไม่alignกันละแบบนี้เขาเรียกว่ามันin phaseกันแต่มันไม่in timeเสียงก็จะเสียไปเมื่อเราปรับlevelของSubwoofer ดังนั้นการให้ความสัมพันธ์ของphaseกับtimeในเรื่องacousticsของเสียงจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่จะทำให้ได้รับเสียงที่ดี มีความเพี้ยนจากต้นฉบับน้อยที่สุด ซึ่งโดยส่วนตัวผมของผมเองก็จะให้ความสำคัญของphase traceมากกว่า RTAหรือFFT

ห้องนี้เมื่อปรับเสร็จแล้วเสียงที่ได้ยินมีความแตกต่างจากก่อนปรับอย่างเห็นได้ชัด เพราะก่อนที่จะปรับฟังๆดูเสียงความถี่ต่ำจะมีแต่ช่วงลึกๆ ช่วงกลางๆหายไปเลย เวลาดูหนังความรู้สึกก็เหมือนดูหนังactionในJazz Clubมากกว่า555 เพราะมีแต่ความถี่ที่ต่ำมากๆความถี่ที่ทำให้เกิดimpactหรือการสะดุ้ง ความตื่นเต้นค่อนข้างน้อย แต่เมื่อปรับแล้วความถี่ต่ำมากันครบทั้งที่ลึกมากๆ และในช่วงต้นที่เป็นimpactของเสียง เสียงเบสที่ได้จึงมีพลัง เร็ว แน่น ลึก และไม่เพี้ยนตามidealของเสียงความถี่ต่ำที่ดีในห้องhome theaterเลย เพื่อนๆที่ไปร่วมสังเกตการณ์ในวันนั้นต่างก็รู้สึกได้เช่นเดียวกัน

ก็ต้องขอขอบคุณทั้งพี่วิ และคุณปอที่ให้ผมและเพื่อนๆได้เข้าไปเยี่ยมชม tuning systemที่สุดยอดในครั้งนี้ด้วย ยังไงขอมอบป้ายTHX Plaqueที่เป็นลิขสิทธิ์แท้แทนคำขอบคุณ และเป็นสัญลักษณ์ว่าเคยมีช่างจากTHX มาปรับในห้องนี้แล้วด้วย โอกาสหน้าหวังว่าคงมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมเยือน พูดคุย ดูหนังฟังเพลงกันอีกนะครับ

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ 9 Basic Subwoofer Concepts (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้