Article

Search

Magic Sound vs. Natural Sound

ถ้าพูดถึงคำที่ได้ยินบ่อยในวงการเครื่องเสียง คำหนึ่งก็คงคือคำว่าเสียงธรรมชาติ(Natural Sound) คำนี้เรียกได้ว่าถ้าได้ยินแล้วดูเหมือนมันมีพลังอยู่ในตัว สามารถใช้ตัดสินเครื่องเสียง หรือใช้วัดทุกสิ่งทุกอย่างในวงการเครื่องเสียง ไม่ว่าจะเป็นในวงการAudiophile, งานPublic Address(PA) หรือแม้กระทั่งในhome theater ต่างถือว่าคำนี้เป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์ล่วงละเมิดมิได้ ทำให้ผมคิดอยู่เหมือนกันว่าถ้าผมเขียนถึงเรื่องนี้ ผมกำลังทำตัวเป็นนักข่าวSpotlightเหมือนในหนังเรื่องSpotlightหรือเปล่าที่กล้าหาญเข้าไปทำข่าวเกี่ยวกับคดีล่อลวงเยาวชนของนักบวชในศาสนาซึ่งเป็นบุคคลน่าเคารพของคนในชุมชน แบบนี้ต้องตอบแบบในภาพยนต์หรือเปล่าที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นMarty Baron(แสดงโดยLive Schreiber) บอกกับพระคาร์ดินัลLaw(Len Cariou)ว่า”สื่อจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ต้องโดดเดี่ยวตัวเองไม่อยู่ใต้อิทธิพลใดๆถึงจะทำงานได้เต็มที่” อันนี้ผมเปรียบเทียบเล่นๆให้สนุกๆกันนะครับ555 ความจริงที่ผมกล่าวถึงในวันนี้จะเป็นเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับhome theaterเท่านั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับ2ChannelsหรืองานPAคงไม่ได้กล่าวถึงเพราะผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องAudiophileซักเท่าไรครับ

ถ้ามีคำถามขึ้นมาว่าเสียงไหนดีกว่ากันระหว่างเสียงแบบธรรชาติไม่ปรุงแต่งใดๆ กับเสียงที่ต้องผ่านขบวนการทางไฟฟ้าอิเลคโทรนิคเพื่อขยายเสียง ทุกคนก็ต้องตอบว่าเสียงแบบธรรมชาติแน่นอนเพราะโดยส่วนมากเราต้องเคยมีประสบการณ์สุดแย่กับระบบขยายเสียงของลำโพงตามงานวัด งานประจำปีต่างๆที่ดังจุกอกจนหายใจไม่ออก หรือเสียงแหลมที่แสบเข้าไปถึงรูหูด้านใน แต่ถ้ามองถึงในอีกแง่หนึ่งแล้วเสียงที่ถูกเรียกว่าเป็นเสียงจากธรรมชาติหรือเสียงจริงต่างๆกลับถูกจำกัดอยู่ในวงแคบมากๆเช่นSymphony music ใน Symphony hallที่มีAcousticsทำให้เกิดharmonyได้สมบูรณ์แบบและมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก หรือในOperaที่อยู่ในOpera house หรือแค่เฉพาะการพูดประชุมในห้องขนาดเล็กๆเท่านั้น ซึ่งถือว่าส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยมากๆเมื่อเทียบกับระบบที่เป็นunnatural sound ก็ทำให้น่าสงสัยขึ้นว่าถ้ามันดีจริงทำไมมันถึงถูกใช้น้อยจัง วิธีง่ายๆที่จะทดสอบก็คือเวลาไปดูคอนเสิร์ตหรือการแสดงบนเวทีเราก็ลองปิดลำโพงเลย…. รับรองไม่กี่วินาทีต่อมาเราต้องบอกว่าจริงๆแล้วเราไม่ต้องการnatural sound เพราะว่าเสียงที่มาจากเวทีมันอยู่ไกลมากฟังไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจเลยว่านักร้องร้องอะไร นักแสดงพูดอะไร กระซิบอะไรกัน อ้าวคนนั่งรอบๆเราก็ขยันแย่งกันไอจริงๆ อีกคนก็คุยวิจารณ์ คุยโทรศัพท์กัน อีกอย่างหนึ่งอย่าลืมด้วยว่าถ้าไม่มีลำโพง นักแสดงเองก็จะกลายเป็นhuman speakerก็ต้องพยายามตะเบ็งเสียงให้ดังๆเข้าไว้เพื่อให้แน่ใจว่าคนที่อยู่ด้านหลังสุดหรือผู้ชมที่อยู่ไกลที่สุดได้ยิน ซึ่งมันก็ไม่ใช่เสียงที่มนุษย์เราคุยกันตามปกติหรือกระซิบกันตามธรรมชาติอยู่ดี ดังนั้นเราจึงพูดได้ว่าในโรงภาพยนต์ ห้องhome theater หรือการแสดงบนเวทีไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ตหรือละครเวทีที่ต้องใช้เครื่องขยายเสียงต่างๆเหล่านี้ล้วนมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ค่อยใกล้เคียงกับเสียงจากธรรมชาติสักเท่าไร แต่วัตถุประสงค์จริงๆแล้วคือเสียงที่ฟังดูใหญ่กว่า ใกล้ชิดกว่า และเข้าใจได้ง่ายกว่าเสียงจริงๆในธรรมชาติ ดังนั้นhome theaterของเราก็ต้องสร้างเสียงที่เป็นลักษณะพิเศษที่ต่างจากเสียงธรรมชาติออกไปโดยที่ยังคงรักษาลักษณะบางอย่างของเสียงธรรมชาติเอาไว้เพื่อให้คนไม่ได้รู้สึกว่าเสียงที่เขาได้ยินนี้ไม่ได้มาจากเสียงจริงๆของธรรมชาติ จะได้ไม่ถูกดึงความสนใจไปจากภาพบนจอภาพยนต์ หรือการแสดงบนเวที เพราะไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ต่างๆบนโลกเรา ล้วนมีสัญชาตญาณไวต่อเสียงที่ผิดปกติ โดยเมื่อได้ยินอะไรแปลกๆเราก็จะหันไปดูต้นกำเนิดของเสียงนั้นทันที ซึ่งเสียงที่จะใช้เพื่อหลอกสมองของมนุษย์ว่าเสียงนี้ไม่ได้ผิดปกติจากธรรมชาติ ผมขอเรียกเสียงแบบนี้ว่า “Magic Sound”โดยบทความฉบับนี้ผมจะพูดถึงความรู้พื้นฐานทั่วไปของเสียงธรรมชาติก่อน แล้วค่อยมาแนะนำว่ามีtrickตรงไหนบ้างที่เราสามารถสร้างmagic soundนี้ขึ้นมาได้

ก่อนที่เราจะสร้างเสียงเลียนแบบธรรมชาติขึ้นมาได้เราคงต้องเข้าใจเสียงธรรมชาติให้มากขึ้นก่อนว่ามีลักษณะยังไง โดยปกติเสียงnatural soundจะแพร่ผ่านอากาศอย่างมีทิศทางที่คาดเดาได้จากต้นกำเนิดเช่นเสียงพูด หรือเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ โดยทิศทางที่ส่งมาจะส่งผลถึงทั้งความดัง ความถี่ และเวลา จุดสำคัญคือตำแหน่งของแหล่งกำเนิดเสียงเพราะว่ามันทำให้สมองมนุษย์ทำการคาดเดาเสียงที่น่าจะได้ยินจากระยะทางของต้นกำเนิดเสียง เช่นเมื่อเราเห็นว่ามีคนพูดกับเราอยู่ในระยะ30เมตร สมองของเราโดยสัญชาตญาณก็จะคาดการณ์ไว้แล้วว่าเสียงที่มาถึงจะมีความแตกต่างจากเสียของคนที่พูดอยู่ใกล้ๆเรา โดยสมองไม่ต้องคิดว่าacousticsของสิ่งแวดล้อมเป็นแบบไหน เช่นเดียวกับเรื่องของการมองเห็นเมื่อเราพยายามมองดูวัตถุที่อยู่ไกลมากๆ สมองก็จะเตรียมตอบสนองต่อสีขาวดำมากกว่าสีอื่นๆเราจึงเห็นวัตถุที่อยู่ไกลมากๆเป็นโทนสีออกขาวดำมากกว่ามีสีสันต่างๆ

บางคนอาจเคยได้ยินหลักการชื่อ Inverse-square lawที่กล่าวไว้ว่าระดับเสียง(Sound level) จะลดลง 6dB ทุกๆระยะทางที่เพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว แต่เชื่อไหมคับว่ากฏข้อนี้ถูกลักไก่บ่อยมาก บ่อยกว่าเราขับรถเร็วเกินที่กฏหมายจราจรกำหนดเสียอีกเชื่อไหม555 เพราะในความเป็นจริงชีวิตคนเราไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่กลางอากาศ หรืออยู่ในห้องanechoic chambersที่ไร้เสียงสะท้อนใดๆ ดังนั้นสภาพแวดล้อมจริงตามธรรมชาติพลังงานจากการสะท้อนของเสียงมันจะเข้ามารวมเข้ากับเสียงที่มายังหูเราตรงๆเหมือนกับเป็นการrecycling และ reused เลยทำให้แทนที่sound levelลดลง 6dBตามหลักการ กลายเป็นมีระดับการลดลงน้อยกว่านั้น แต่เดี๋ยวก่อนปรกฏการณ์นี้มันไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกๆความถี่ของเสียง แต่มันมักจะเกิดขึ้นเฉพาะในความถี่ต่ำๆที่มีลักษณะเป็นการเคลื่อนที่แบบไม่มีทิศทาง(omnidirection) ในทางกลับกันความถี่ที่สูงขึ้นมา เสียงที่ตรงเข้ามายังหูเราจะสูญเสียSound levelได้มากกว่าตามกฏของInverse square law เพราะเมื่อคลื่นเสียงความถี่สูงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศ ก็จะถูกอากาศabsorptionพลังงานได้มากกว่าความถี่ต่ำ ดังนั้นเมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านอากาศเป็นระยะทางที่มากขึ้นก็ทำให้การสูญเสียความถี่สูงเพิ่มมากขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆตามระยะทางที่ยาวขึ้น

ความถี่ต่ำถ้าอยู่นอกห้องก็จะสะท้อนจากพื้นต่างๆเช่นเดียวกับอยู่ในห้อง ส่วนในห้องที่มีพื้นแข็ง และมีผิวเรียบๆอย่างกระเบื้องยิ่งสะท้อนได้ง่ายเลย โดยเมื่อระยะทางมากขึ้น ห้องใหญ่ขึ้นก็จะยิ่งเสี่ยงที่จะเจอเสียงก้องสะท้อนของความถี่ต่ำเหล่านี้มากขึ้น ส่วนความถี่สูงเมื่ออยู่ในห้องขนาดใหญ่ขึ้นก็จะสูญเสียlevelลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับความถี่ที่อยู่ระดับกลาง(midrange) ดังนั้นเมื่อเราได้เข้าไปฟังเสียงในห้องขนาดใหญ่อย่างOpera house แล้วเรานั่งอยู่แถวหลังๆแน่นอนว่าเสียงความถี่ที่สูงจะrolled offลง ส่วนความถี่ต่ำก็จะถูกboostedให้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับถ้าเรานั่งอยู่ด้านหน้าติดเวที แล้วถ้าเราคิดว่าเราต้องทำห้องhome theaterให้เสียงใกล้เคียงกับที่ได้ยินแบบเสียงธรรมชาติในOpera houseเราจะใช้เสียงจากตรงไหนเป็นมาตรฐานล่ะ? จะเอาตรงหน้าใกล้ๆเวทีใกล้เครื่องดนตรีที่ความถี่HFยังrolled offไม่เยอะ หรือตรงกลางของห้องโถงที่ไกลจากเครื่องดนตรีที่มีความถี่สูงพอสมควร หรือด้านหลังของห้องเลยที่มีระยะเฉลี่ยของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดใกล้เคียงกันแต่อยู่ห่างจากเครื่องดนตรี่ที่มีความถี่สูงมาก ซึ่งก็คงตัดสินได้ยากเพราะไม่ว่าจะนั่งอยู่ใกล้หรือไกลเครื่องดนตรี เสียงที่เราได้ยินต่างกันนั้นมันก็คือเสียงธรรมชาติด้วยกันทั้งหมด

ระบบการได้ยินของมนุษย์เราสามารถระบุตำแหน่งวัตถุได้ทั้งในแนวระนาบ(horizontal) และแนวดิ่ง(vertical) แต่ทั้งสองระนาบจะใช้กลไกการรับรู้ต่างกัน ในแนวระนาบใช้การรับรู้ของระดับความดังของเสียงdB(level) และเวลา(time หรือ phase) ที่เสียงมาถึงหูทั้งสองข้างหรือที่ฝรั่งเรียกกันว่าbinaural hearing เช่นเสียงมาจากวัตถุอันเดียวทางด้านซ้ายมือมันก็จะทำให้ระดับความดังที่มาถึงหูด้านซ้ายมากกว่าที่มาถึงหูด้านขวา และเวลาที่เดินทางมาถึงหูด้านซ้ายก็จะเดินทางมาถึงก่อนหูด้านขวา หลังจากนั้นข้อมูลก็จะถูกนำไปแปลผลที่สมองแล้วสรุปออกมาเป็นตำแหน่งต้นกำเนิดของเสียงว่าเสียงมาจากตำแหน่งไหน ส่วนในแนวดิ่งหูแต่ละข้างของเราจะวิเคราะห์แยกกันโดยอาศัยข้อมูลการสะท้อนของเสียงจากหูชั้นนอกและใบหูร่วมกับประสบการณ์การรับรู้เสียงที่อยู่ในสมอง โดยเสียงที่อยู่ด้านบนจะมีการสะท้อนของเสียงบริเวณหูด้านนอกเข้ามาในรูหูต่างจากเสียงที่อยู่ด้านล่างกว่า โดยกลไกของการระบุตำแหน่งในแนวดิ่งจะไม่ละเอียดเท่าแนวระนาบดังนั้นเมื่อมีแหล่งต้นกำเนิดเสียงมาจากหลายๆแหล่งเข้ามาไม่ว่าจะเป็นเสียงตรงๆ หรือเสียงสะท้อน การวิเคราะห์ในแนวดิ่งอยู่บนพื้นฐานความดังของเสียงเป็นหลักส่วนเรื่องของเวลาที่มาถึงหูไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์เอามาวิเคาะห์มากเหมือนในแนวระนาบเพราะคนเราไม่มีหูบนหูล่าง มีแต่หูด้านซ้ายและขวา นอกเหนือจากนี้ระบบการได้ยินและระบบการมองเห็นของมนุษย์จะต้องทำงานร่วมกัน โดยสมองคาดหวังว่าภาพที่มองเห็นควรต้องเข้ากันกับเสียงที่ได้ยิน โดยขนาดของวัตถุต้นกำเนิดเสียงสมองก็คาดการณ์จากfrequency response ส่วนตำแหน่งของเสียงก็อาศัยกลไกการรับรู้เสียงดังที่อธิบายไว้ข้างต้น

ส่วนสุดท้ายคือ”เวลา” อย่างที่เราเรียนกันมาตั้งแต่โรงเรียนชั้นประถมว่าเสียงเดินทางช้ากว่าแสง ดังนั้นในธรรมชาติเสียงก็ต้องตามมาทีหลังภาพที่เราเห็น แต่น่าประหลาดใจเรามักจะถูกหลอกจากหลักธรรมชาติข้อนี้เสมอ ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราอยู่ห่างจากเวทีการแสดง 33เมตร(110ฟุต) และเมื่อนักแสดงบนเวทีพูดเราก็จะได้ยินเสียงช้ากว่าสิ่งที่เราเห็น 100millisecondsตามธรรมชาติ สมมติมีจอโปรเจคเตอร์ฉายภาพนักแสดงขึ้นจอทำให้เราเห็นนักแสดงขยับริมฝีปากขณะพูดด้วย เราก็จะบ่นออกมาว่า”โห…ระบบเสียงนี้(อาจจะเป็นเสียงธรรมชาติ)ไม่syncกับภาพเลยนะ” หรือเมื่อเวลาดูพลุผมก็จะรู้สึกประหลาดใจทุกครั้งว่าเสียงกับแสงนี่มันไม่syncกันเลย บางทีก็คิดเล่นๆว่าถ้าเสียงมันถูกเสกให้เร็วเท่าแสงได้คนส่วนมากก็คงยังไม่เอะใจอะไรในตอนแรกที่ดูพลุ ตัวอย่างอีกตัวอย่างที่ดีคือภาพยนต์ เรียกได้ว่าหนังHollywoodคงมีmagic acousticsแน่เลยที่เวลามีฉากระเบิด ไม่ว่าระยะทางจะใกล้จะไกล จะอยู่บนโลกหรืออยู่ในอวกาศ เราจะเห็นภาพระเบิดพร้อมกับเสียงเสมอ555 ดังนั้นอาจพูดได้ว่าเวลาเมื่อต้องทำการSyncวิดีโอเราไม่ได้ต้องการเลียนแบบลักษณะเสียงของธรรมชาติแต่เราทำให้สมองมันถูกเชื่อว่ากำลังได้ยินเสียงธรรมชาติอยู่

เมื่อรู้จักหลักการเดินทางของเสียงธรรมชาติและการรับรู้เสียงธรรมชาติของมนุษย์แล้วคราวนี้ลองมาดูซิว่าจะสร้างmagic soundได้อย่างไรให้แนบเนียนที่สุด สิ่งแรกที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือการมองเห็นลำโพง ถึงแม้ว่าสิ่งนี้อาจจะไม่ใช่ส่วนที่สำคัญที่สุดแต่ก็ใช้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีได้ เนื่องจากเมื่อเรามองไม่เห็นตู้เหลี่ยมๆสีดำๆของลำโพงแล้วและกำลังเพลิดเพลินสนุกสนานไปกับภาพบนจอ สมองก็จะลืมไปได้อย่างรวดเร็วว่าเสียงมันมาจากไหนเพราะมองไม่เห็นว่าตู้ลำโพงอยู่ไหนกันบ้าง ต่อมาก็คือเสียงที่มาจากลำโพงต้องไม่มีเสียงเพี้ยนต่างๆไม่ว่าจะเป็นเสียงฮัม,rattles sound, noise,buzzes,เสียงจี่ฯลฯ เพราะว่าเสียงdistortionเหล่านี้ล้วนไม่ได้เป็นเสียงธรรมชาติ ลองดูสิครับไม่ว่าคนเราจะตะโกนดังเท่าไรเสียงที่ออกมามันก็ไม่เคยมีเสียงclippingหรือเสียงเพี้ยน ออกมาเหมือนในระบบhome theaterที่กำลังขับไม่พอ หรือลำโพงรับloadไม่ไหว ไม่ก็มีความเพี้ยนจากระบบdigitalและการset upต่างๆ ดังนั้นระบบเสียงก็ควรจะมีกำลังสำรองที่เพียงพอหรือฝรั่งมักเรียกกันว่าheadroom ที่เหลือๆเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดเสียงผิดปกติ อีกเรื่องหนึ่งที่มักมองข้ามไปก็คือการครอบคลุมความถี่ต่างๆของระบบลำโพง(frequency range) เนื่องจากว่าacousticsในธรรมชาติจริงๆfrequency rangeมันไม่มีlimit แต่ส่วนที่ไปlimitความถี่ต่างๆก็มาจากหูกับลำโพง เมื่อเราต้องการเลียนแบบเสียงธรรมชาติระบบจึงต้องเป็นระบบที่สามารถแสดงfrequency rangeได้กว้างไม่ใช่ดังอยู่แค่ความถี่ช่วงที่เสียงพูดเยอะๆ หรือได้ยินบ่อยๆ เมื่อระบบลำโพงเน้นอยู่แต่ความถี่ช่วงหนึ่งๆเกินไปมันก็จะถูกจับได้โดยง่ายเนื่องจากไม่เหมือนกับเสียงที่พบในnatural sound แต่ก็อย่ามากเกินพอดีนะครับเพราะถ้าระบบมันมีfrequency rangeที่กว้างเกินหูมนุษย์ได้ยินมากๆไม่ว่าจะเป็นความถี่ที่ต่ำมากๆ หรือสูงมากๆ จนเกินพอดีมันก็จะถูกจับได้ง่ายเช่นเดียวกัน อีกอย่างหนึ่งก็คือข้อมูลภาพยนต์ที่บันทึกลงในสื่อข้อมูลไม่ว่าจะBlu-ray,DVD,Movie Fileต่างๆก็จะบันทึกลงมาในช่วงความถี่20Hz-20,000Hzเท่านั้นแสดงว่าถ้าชุดHome theater ทำได้เกินกว่านี้เสียงที่ออกมาจึงเป็นเสียงที่ไม่ได้ถูกบันทึกลงไว้ แต่เป็นเสียงที่สร้างขึ้นเองจากชุดเครื่องเสียง หรือบางคนก็อาจจะเรียกว่าเป็นColorของเสียงบ้าง บางคนก็เรียกว่าเป็นdistortionของเสียง ซึ่งในแต่ละคนอาจจะชอบ หรือติดอยู่กับcolorของเสียงพวกนี้เราก็ไม่ว่ากันเนื่องจากเป็นความชอบของแต่ละคนครับ อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าการมีเสียงพวกนี้ออกมามันจะทำให้systemไม่มีความเป็นlinear อย่างที่ผมพูดมาตลอดว่าระบบที่ดีต้องมีความเป็นlinearโดยเมื่อต้นทางไม่ว่าจะเป็นBlu-ray,DVD ฯลฯมีการบันทึกมาอย่างไร เช่นมีความถี่แบบไหน มีphaseอย่างไรระบบก็ต้องทำให้เสียงออกมาเหมือนต้นฉบับที่บันทึกมายกเว้นแค่ความดังหรือความค่อยที่เราสามารถปรับได้ อย่างอื่นต้องพยายามคงไว้ให้ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด ซึ่งวิธีการแก้frequency rangeที่กว้างเกินไปก็คงต้องใช้EQ เพื่อควบคุมระบบเสียงของเราลดfrequency rangeลงให้พอดีใกล้เคียงในธรรมชาติที่มนุษย์เราได้ยินก็อยู่ที่ประมาณ 20Hz-20,000Hz(อาจจะมากน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วยโดยเฉพาะความถี่สูงที่เมื่ออายุมากขึ้นการรับรู้ความถี่สูงก็จะลดลง)

ถ้าเสียงธรรมชาติจากมนุษย์เป็นลำโพง ก็คงเปรียบได้กับลำโพงที่มีทิศทางและสามารถครอบคลุมพื้นที่อยู่60องศาตามทิศทางที่หันหน้าไป การมีทิศทางก็จะมากในความถี่ที่สูงมากกว่าความถี่ต่ำเช่นเดียวกับลำโพงจริงๆ แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าลำโพงที่ดีต้องครอบคลุมกว้าง60องศาแต่ที่เราต้องการก็คือระบบที่ไม่มีความผิดเพี้ยนของความถี่ต่างๆจากการที่ใช้ลำโพงหลายๆตัวในห้องhome theaterหรือที่เรียกกันว่าcomb-filtering เราจะทำเสียงcome-filteringได้ง่ายๆก็คือลองเอามือป้องปากแล้วพูดนี่แหละครับเสียงของcomb –filteringก็จะออกมาอู้อี้ ไม่ชัดเจน แน่นอนว่าเราไม่ต้องการให้ลำโพงมีเสียงออกมาแบบนี้ ดังนั้นเราต้องทำให้เกิดการกวนกันของลำโพงในห้องhome theaterของเราให้น้อยที่สุดโดยวางลำโพงให้ใกล้เคียงตามมาตรฐานมากที่สุด และควบคุมการสะท้อนของลำโพงให้ไปในแนวทางที่เราต้องการอย่างที่เคยอธิบายไว้ในบทความที่ผมเคยเขียนมาแล้วในฉบับก่อนๆ

ดังนั้นการใช้EQ เพื่อที่จะทำให้เสียงออกมาใกล้เคียงธรรมชาติก็คือต้องแยกความถี่เป็นช่วงๆ โดยเฉพาะความถี่ที่สูงมาก และต่ำมากคือต่ำกว่า 100Hz และสูงกว่า 4kHzเนื่องจากมันเป็นผลมาจากธรรมชาติของการเคลื่อนที่เสียงผ่านอากาศตามระยะทางที่มากขึ้นอย่างที่ได้อธิบายไปในย่อหน้าก่อนๆพร้อมกับรูปกราฟ แต่ถ้าระบบเครื่องเสียงของเราให้ความถี่ที่วัดออกมาแล้วเป็นเส้นตรงเท่ากันทุกความถี่แสดงว่าเราทำให้ผู้ฟังอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดมากเกินไปเนื่องจากมันยังไม่มีความถี่ต่ำที่เพิ่มมากขึ้นจากการสะท้อนของผนังหรือพื้นผิวต่างๆ และยังไม่ได้ลดความถี่สูงลงเนื่องจากมันถูกอากาศabsorbตามธรรมชาติ แน่นอนในภาพยนต์ หรือการดูคอนเสิร์ตเราต้องการให้ผู้ชมรู้สึกว่าอยู่ในเหตุการณ์หรืออยู่ใกล้ๆเหตุการณ์เพื่อความสมจริง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้อยู่ตรงต้นกำเนิดของเสียงต่างๆเลยเพราะถ้าเราปรับEQให้เป็นเส้นตรงเลยก็แสดงถึงความถี่ต่างๆยังไม่มีการสูญเสียหรือเพิ่มมากขึ้นจากการเดินทางผ่านอากาศเลย การปรับแบบนี้ก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกอึดอัด และรู้สึกถึงความไม่สมจริงของเสียง ดังนั้นเพื่อให้จำลองเสียงได้ใกล้เคียงกับธรรมชาติเราต้องปล่อยให้ความถี่ต่ำค่อยสูงขึ้นอย่างsmooth ส่วนความถี่สูงก็ค่อยๆให้fadeลดลงมาคล้ายๆกับเสียงความถี่สูงที่roll offลงมาเมื่อเคลื่อนที่ผ่านอากาศ

อีกอย่างหนึ่งของลักษณะเสียงที่มาจากลำโพงต่างจากเสียงที่มีต้นกำเนิดมาจากธรรมชาติก็คือ เสียงที่มาจากลำโพงจะมีcrossoverเพื่อให้ลำโพงแต่ละตัวทำหน้าที่ในช่วงความถี่ที่เหมาะสมกับขนาดของdriver แต่เสียงธรรมชาติไม่มีcrossoverเช่นเมื่อเราร้องเพลงแล้วขึ้นเสียงสูงเสียงก็ยังมาจากแหล่งกำเนิดเดิมอยู่ดี ดังนั้นในห้องhome theaterที่ต้องใช้ลำโพงmainหลายตัว ร่วมกับลำโพงSubwooferเพื่อสร้างความถี่ต่ำ ร่วมกับลำโพงอื่นๆที่สร้างความถี่สูงกว่านั้นก็ต้องมีการปรับphaseของเสียงให้ระหว่างลำโพงSubwooferมีphaseที่alignกับลำโพงอื่นๆ ตรงcrossover ซึ่งก็คงต้องใช้วิธีphase alignmentดังที่เคยอธิบายไว้แล้วในเล่มก่อนๆ

ความจริงในเรื่องMagic soundของภาพยนต์ และ Natural soundยังมีอีกหลายแง่มุม แต่ผมเลือเอาที่จุดใหญ่ๆเกี่ยวข้องกับงานHome theaterเท่านั้น ก็หวังว่าข้อมูลเหล่านี้คงพอมีประโยชน์ช่วยให้เราเข้าใจและสามารถนำไปปรับปรุงชุดsystemของเราให้เป็นเสียงMagic sound ที่เลียนแบบเสียงธรรมชาติได้ใกล้เคียงที่สุดครับผม

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ Magic Sound vs. Natural Sound (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้