ขณะกำลังนั่งเขียนบทความนี้ผมพึ่งกลับมาจากงานBAV Hi-End show 2016 ที่ห้องKrungthep4 ชั้น9 โรงแรมแลนด์มาร์ค โดยงานนี้ผมและเพื่อนๆในกลุ่มFacebook fan page “Home Theater Pro Thailand” มีความตั้งใจที่จะจัดเป็นการสัมนาร่วมกับการแสดงภาพและเสียงเพื่อให้ความรู้กับผู้ที่เข้าร่วมชมงาน ซึ่งตรงกับความตั้งใจของทางคุณนาวีและกองบรรณาธิการของหนังสือAudiophile/Videophile ที่อยากทำอะไรใหม่ๆและมีประโยชน์ให้กับผู้สนใจในเรื่องของHome theater ในฉบับนี้ผมจึงได้นำเอาภาพบรรยากาศการสัมนาร่วมกับประสบการณ์ในการsetupห้องที่จัดแสดงมาฝากว่ามีอะไรน่าสนใจบ้างในการcalibrationห้องลักษณะนี้
หลังจากทราบว่าจะมีงานสัมนาเกี่ยวกับHome theaterในงานเครื่องเสียงใหญ่ระดับประเทศ ผมก็ได้ขอความร่วมมือจากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆที่รู้จักคุ้นเคยกันในวงการ ซึ่งทุกท่านก็ตอบรับด้วยความเต็มใจ ถึงแม้ว่าจะมีงานประจำที่หนักอยู่แล้วก็ยังแบ่งเวลามาช่วยกัน โดยมีการนัดหมายประชุมกันหลายครั้ง Updateความคืบหน้าของงานกันอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลาร่วมหลายๆเดือนก่อนงานสัมมนา ตอนแรกก็วางแผนกันว่าจะเข้าไปดูสถานที่จริงก่อนว่าสภาพห้องเป็นแบบไหนจะได้เตรียมความพร้อมได้ดีขึ้นถ้ามีอะไรขาดเหลือในวันงาน แต่ห้องที่ใช้จัดสัมมนานี้เป็นห้องประชุมที่มักไม่ค่อยว่างเนื่องจากต้องใช้งานตลอด ทำให้ไม่สามารถเข้าไปเห็นห้องก่อนได้ ก็เลยต้องเลยตามเลยเจอกันวันงานละกัน แต่จากข้อมูลคร่าวๆก็พอทำให้ทราบได้ว่าขนาดห้องจะเป็น 7.7x17x2.65 เมตร ตรงกลางเป็นฝ้าหลุมสูง3เมตร…..ใช่ครับไม่ต้องตกใจ 7.7×17เมตร(เพราะผมตกใจแล้วหลายรอบ555) ขนาดประมาณ 3-4เท่าของห้อง home theaterปกติในบ้านได้ นอกจากนั้นยังพอมีข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ที่เคยใช้ห้องนี้ในการจัดงานครั้งก่อนๆให้หนักใจเล่นเพิ่มขึ้นอีกว่าห้องนี้กินเบสมาก และเนื่องจากใช้เป็นห้องประชุมเป็นหลักโครงสร้างต่างๆก็ไม่ได้เตรียมไว้สำหรับเสียงที่หนักๆเตรียมพบกับสภาพฝ้าสั่นได้เลย ได้ฟังแค่นี้ทีมงานก็เอามือก่ายหน้าผากกันได้ละ
เมื่อมาถึงวันงานจริงผมเดินทางจากอุดรมาถึงกรุงเทพตั้งแต่เช้าเข้ามาถึงที่โรงแรมแลนด์มาร์คก็สายๆสภาพห้องที่เจอก็ยังเป็นห้องประชุมอยู่เนื่องจากห้องพึ่งเสร็จจากงานหมาดๆโต๊ะเก้าอี้ยังจัดเป็นห้องประชุมอยู่ ดีว่าทางโรงแรมได้จัดเตรียมพนักงานไว้เพื่อจัดเตรียมสถานที่ต่างๆแล้ว เลยไม่ต้องออกแรงเองไม่อย่างงั้นคงได้ออกกำลังกายกันตั้งแต่เช้าแล้ววันนั้น และเนื่องจากเป็นห้องที่มีความยาวมากเลยต้องหาอะไรมากั้นไว้ส่วนหนึ่งเพื่อให้ห้องดูเป็นสัดส่วนมากขึ้น ไม่ดูโหรงเหรงเกินไปถ้าคนเข้ามาไม่มากผมเลยหาวัสดุแถวๆนั้นเป็นโครงเหล็กร่วมกับผ้าปิดไว้ซึ่งตรงนี้คงไม่ได้ช่วยในเรื่องเสียงเท่าไร่เพียงแต่ต้องการทำให้ห้องดูเป็นสัดส่วน เพราะยังไงเสียงความถี่ต่ำก็ต้องอยู่ในVolumeของห้องทั้งหมดอยู่แล้วไม่สามารถกั้นได้นอกจากทำผนังแบบแข็งแรงถาวรกั้นไว้
เมื่อได้ขนาดห้องคร่าวๆก็พอทำนายได้ว่าห้องนี้ความสำคัญเรื่องroom modeจะลดลง ไม่เหมือนในห้องเล็กๆ ถ้าใครได้เข้าฟังการสัมมนาเรื่องเสียงคงพอนึกออกว่าผมได้พูดถึงกราฟของmodal rangeกับSBIR ซึ่งในกราฟนี้เป็นผลที่เกิดจากห้องขนาดเล็ก เมื่อห้องขนาดใหญ่ขึ้นช่วงของModal rangeจะค่อยๆลดลงมาทางด้านซ้ายหรือมาทางความถี่ต่ำมากขึ้น ตรงนี้อธิบายได้ว่าเนื่องจากเมื่อขนาดของห้องใหญ่ขึ้นAcousticsของห้องจะเปลี่ยนไปทำให้ความสำคัญของStanding Waveหรือroom modeจะลดลง ดังนั้นความสำคัญของตำแหน่งการวางSubwooferเลยลดลง ไม่ได้หมายถึงห้องใหญ่ๆจะไม่มีroom modeแต่เนื่องจากขนาดห้องที่ใหญ่room modeที่อยู่ในห้องจึงเกิดการrandomizeต่อกันและทำให้พลังงานที่เกิดไม่ค่อยรุนแรงเหมือนในห้องขนาดเล็ก แต่ในห้องขนาดใหญ่ปัญหาที่เจอจะเปลี่ยนไป ก็คือเป็นเรื่องของlevelที่ลดลงของความถี่สูงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับความถี่ต่ำทำให้เกิดความไม่สมดุลย์กัน ดังเช่นผมเคยพูดไว้ในหนังสือAudiophile/Videophileเมื่อสองสามฉบับก่อน ดังนั้นเมื่อเจอห้องใหญ่แบบนี้เราจึงต้องให้ความสำคัญกับSPL(sound power level)ของเสียงในความถี่ต่างๆเป็นสำคัญ ยังไงก็เพื่อให้คนที่นั่งด้านหลังสุดของห้องยังได้รับเสียงที่มีSPL และfrequency responseที่ดีอยู่
ดังนั้นก่อนวางลำโพงต่างๆผมเลยต้องใช้ตัวช่วยคือโปรแกรม MAPP XT เพื่อให้พอเห็นแนวทางว่าวางลำโพงแบบไหนการตอบสนองความถี่ต่างๆจะมีลักษณะแบบไหน โปรแกรมประเภทนี้มีหลายตัวที่มีประสิทธิภาพ แต่ที่ผมเลือกตัวนี้เนื่องจากคุ้นเคยเพราะใช้กับลำโพงMeyer soundที่ใช้อยู่ และเพื่อนๆEngineerในต่างประเทศที่รู้จักมักจะใช้ตัวนี้กันก็เลยค่อนข้างคุ้นเคยกับโปรแกรมนี้มากกว่าตัวอื่นๆ ผมเลยเอาตัวอย่างรูปแบบวางSubwoofer และผลที่ตอบสนองได้จากการวางในตำแหน่งนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้โปรแกรมนี้เป็นเพียงการทำนายไม่ได้ตรง100% แต่มันก็เป็นจุดเริ่มต้นให้เราเข้าใจAcousticsของห้องได้โดยไม่เสียเวลามากเกินไปในการย้ายตำแหน่งSubwooferไปเรื่อยๆโดยไม่มีguide โดยเฉพาะในงานProfessionalที่มีเวลาจำกัด เพื่อนๆEngineerบอกว่าเขาใช้โปรแกรมแบบนี้ก่อนเข้าทำงานนอกสถานที่เกือบทุกครั้งเพื่อเป็นการประเมินสภาพที่จะเกิดขึ้นจริงในการวางลำโพงในตำแหน่งต่างๆทำให้ประหยัดเวลาในการหาตำแหน่งที่หน้างานจริง
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการสัมนาและจัดแสดงครั้งนี้ได้รับความกรุณาจากหลายๆบริษัทเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนร่วมกัน เริ่มจากระบบภาพบริษัทDECO2000ก็ส่งprojector JVC model X9000ตัวtopของรุ่นล่าสุดจากJVC ที่สามารถทำNative Contrast Ratioได้ 150,000:1 ส่วนDynamic Contrastทำได้ถึง 1,500,000:1 สามารถรองรับข้อมูลภาพแบบ 4K60p 4:4:4และHDR โดยมีความเร็วการส่งสัญญาณ 18Gbps HDMI/HDCP2.2 ที่สำคัญมีความสว่าง 1900 Lumenมากกว่าmodelเดิมถึง 46% ทางด้านจอภาพจะเป็นของdnp supernova ขนาด 144นิ้วที่อัตราส่วน 2.35:1 เป็นHigh gain screenที่มีค่าgainสูงถึง 2.3 ยิ่งเอามาจับคู่กับJVCตัวใหม่ทำให้ภาพที่ได้สว่างมาก ถ้าใครที่ได้เข้ามาดูภาพในวันจริงจะสังเกตเห็นได้ว่าสามารถเปิดไฟดูได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะเนื้อจอgainระดับนี้จะให้ความสว่างมากกว่าจอgainต่ำอยู่แล้ว ยิ่งมาจับคู่กับJVC X9000ที่สว่างมากทำให้พลังของภาพเหลือเฟือสำหรับห้องขนาดนี้ การปรับภาพจะปรับผ่านLumagen mini3D โดยใช้ color meterของ Klein และ pattern generator ระดับisf certifiedของ Murideoตัวล่าสุด
จากข้อมูลตัวเลขและกราฟภาพหลังการปรับจะเห็นได้ว่า ภาพที่ออกมามีค่าความเพี้ยนของGrayscale และสีน้อยมากเฉลี่ยแค่ 0.6%เท่านั้น อันนี้ต้องยกเครดิตให้กับทีมปรับภาพที่มีพี่หมออิ๊ด(calpo) และคุณนัท(Cinemania)ส่วนผมก็ได้แต่แอบมองขโมยเทคนิคจากทั้งสองท่านนี้เท่านั้น555 และในวันเสาร์ อาทิตย์มีสัมนาที่เป็นเรื่องของAnamorphic Lens ก็จะใช้เลนส์DIY โดยพี่หมอนพ(Dr.Nop) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเลนส์ระดับต้นๆคนหนึ่งของเมืองไทยเข้ามาติดตั้งด้วยตัวเองให้ได้รับชมเพื่อเป็นประสบการณ์เพิ่มกันอีก
ระบบเสียงได้รับการสบับสนุนจาก บริษัทInventive AV Co.,Ltd.โดยได้ส่งPre-processor Anthem AVM60มาให้ ตัวนี้เป็นตัวล่าสุดของAnthemที่รองรับระบบเสียงDolby Atmos ,dts:X Ready(ต้องup firmwareก่อน) ลำโพงFrontทั้ง3ตัวจะใช้ลำโพงProaudiotechnology รุ่น ProAudio SCR12SM Surround 4ตัวเป็น Pro Audio SCRS8AI และลำโพงceiling channelทั้ง4ตัวเป็น ProAudio SCRS5IW ส่วนSubwooferเป็น ProAudio LFC18smที่มีDriverขนาด18นิ้ว4ตู้ด้วยกัน Power Amplifierจะใช้ของAnthem ทั้งรุ่นMCA525, MCA325, P5, P2 ที่ต้องใช้Power Amplifierเยอะมากก็เนื่องจากลำโพงทุกตัวแยกpower amplifierในการขับdriverแต่ละตัวเลย จึงต้องมีการนำเอาสัญญาณAnalog audioจากPre-processorเข้าไปปรับแต่งค่าต่างๆบน MiniDSPไม่ว่าจะเป็นการปรับความถี่, delay, level, parametric EQ ส่วนของsubwooferจะใช้สัญญาณAnalog audioเข้าไปปรับที่Meyer Galileo408 แล้วค่อยส่งมายังPower Amplifier ACM-M2800 เนื่องจากลำโพงSubwooferที่ใช้จะเป็นแบบPassive สายสัญญาณใช้ของTARALABSซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากทางบริษัทIAVอีกเช่นกัน โดยสามารถดูรายละเอียดรูปแบบการต่อจากdiagramที่ได้แสดงไว้ ส่วนตัวโครงอลูมิเนี่ยมที่เอาไว้แขวนโปรเจคเตอร์และลำโพงceiling channel ก็ได้มาจากเสี่ยเบนซ์ที่ลงทุนขนมาจากขอนแก่น แต่ยังไม่พอต้องขนขึ้นมาชั้น9ของโรงแรมแลนด์มาร์คกันอีกเนื่องจากมันยาวเข้าลิพท์ไม่ได้ ยังไงต้องขอบคุณเสี่ยเบนซ์มาณ.ที่นี้ด้วยครับ
เมื่อได้อุปกรณ์ครบก็ได้เวลาsetup และcalibration ซึ่งจะมีความยากมากกว่าการsetupในระบบhometheater ภายในบ้านโดยทั่วๆไปมากเนื่องจากลำโพงทุกตัวต้องใช้power amplifierแยกขับในแต่ละdriver เลยต้องมีการโยงสายที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในลำโพงแต่ละตัว และต้องมีการปรับแต่งแบบmanualในลำโพงแต่ละตัวกันเลยทีเดียว นี่ยังดีหน่อยที่คุณโก้สุดยอดฝีมือคนปรับเสียงอีกคนหนึ่งจากทางบริษัท Inventive AV Co.,Ltd.ได้ทำการปรับในบางส่วนมาให้บ้างแล้ว
ส่วนการCalibrationผมก็ใช้วิธีการวัดและปรับร่วมกันทั้งในส่วนของfrequency domainและphase domainดังที่เคยเขียนอธิบายวิธีไว้แล้วในหนังสือฉบับก่อนๆ ซึ่งพบว่าเมื่อได้ทำการalign phaseของsubwooferให้เข้ากันระหว่างsubwooferแต่ละตัว และระหว่างsubwooferกับลำโพงmainแล้ว ร่วมกับมีการใช้EQในการปรับแต่งเล็กน้อย ก็จะพบว่า ความถี่ต่ำที่เคยเป็นpeak และdipในความถี่ต่างๆมีความsmoothดีขึ้นมาก ดังกราฟที่แสดงไว้ เสียงที่ออกมาจริงๆตอนลองฟังทำให้รับรู้ถึงความสม่ำเสมอของทั้งความถี่ต่ำและความถี่สูง ถ้าใครได้ฟังในการบรรยายในsessionท้ายๆเรื่องHome Theater setupที่ผมได้เปิดreference trackที่ใช้ในการCalibrateเสียงของHAAไม่ว่าจะเป็น“Hi-Lili Hi-Lo” ของ Rickie Lee Jones, Limehouse Blues, Jazz at The Pawnshop, Propruus, Drum Improvisationของ Jim Keltner ก็จะได้พบกับความตื่นตาตื่นใจกับเสียงที่เกิดขึ้นในการsetแบบใช้phase domain&frequency domainร่วมกัน โดยในวันนั้นผมได้ชี้ให้เห็นจุดสำคัญในการฟังว่าtrackนี้ต้องฟังตรงไหน อันไหนสำคัญ ทำให้เวลาเราได้ฟังจริงๆจะได้พอมีแนวทางให้รู้ว่าเสียงที่เขาบอกว่าควรจะเป็นนั้นเสียงจริงๆมันควรมีลักษณะเป็นเช่นไร และอีกอย่างเมื่อเราสามารถปรับphaseของความถี่ต่ำให้เข้ากันแล้วจะพบว่าการสั่นของฝ้าเพดานจะลดลงเมื่อเทียบกับก่อนปรับที่มีเสียงฝ้ากระพืออยู่เกือบตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามอาจจะมีการสั่นหลงเหลืออยู่บ้างในบางความถี่เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของห้องที่ไม่ได้ทำไว้สำหรับห้องhome theaterโดยเฉพาะอันนี้ก็คงต้องปล่อยไปแต่ถ้าเป็นห้องที่เราจะทำเพื่อเป็นห้องhome theaterโดยเฉพาะเจอแบบนี้ก็คงต้องไปเสริมความแข็งแรงของฝ้าขึ้น เช่นอาจจะใช้เป็นไม้ไปเสริมในส่วนของโครงC-lineที่มีการสั่น เพราะการสั่นพวกนี้จะทำให้เกิดเสียงไม่พึงประสงค์ที่ฝรั่งเรียกกันว่าrattle sound(แรทเทิลซาวด์)ขึ้น
สำหรับงานสัมมนาทั้งสี่วันหัวข้อมีทั้งหมด 5หัวข้อ คือDedicated Home Theater, Basic Home Theater Setup(Video,Audio), Immersive Sound, Anamorphic Lens มีการบรรยายกว่า 14sessions ก็ได้รับเกียรติจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาให้ความรู้พบปะพูดคุยกันอย่างสนุกสนานทั้งสี่วัน ยังไงต้องขอขอบคุณวิทยากรร่วมทั้ง พี่หมออิ๊ด(ที่นอกจากจะมาบรรยายแล้วยังพกของรางวัลสายHDMI 4KคุณภาพสูงจากGolden Sound มาแจกผู้ฟังด้วย…อยากบอกพี่อิ๊ดว่าผมยังอยากได้เลยครับพี่555), คุณชวิน, คุณนัท(Cinemania), นพ.จเร, คุณไซ, พี่ชาติ, พี่หมอนพ(Dr.Nop) รวมถึงทีมงานสนับสนุนทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคุณปอผู้จัดการ ข้าว1000ดี จากสิงห์ที่ได้สนับสนุนเสื้อสวยๆมาแจกเป็นของรางวัล, พี่วิ, พี่ภิญโญ, คุณบี, คุณกุ้ง ที่คอยส่งข้าวส่งน้ำ ทำงานเบื้องหลังทำให้งานนี้ออกมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ขอบคุณ คุณนาวี คุณธรรมนูญและกองบก.หนังสือAudiophile/Videophileที่ผลักดันจนทำให้เกิดกิจกรรมดีๆนี้ ที่ลืมไม่ได้ก็คือผู้ฟังผู้ชมทุกท่านที่เข้ามาให้กำลังใจ นั่งฟังแชร์ความรู้กันจนบางsessionกำหนดแค่1ชั่วโมงพอคุยกันจริงๆมีการถามตอบกันก็กินเวลากันไปเกือบสองชั่วโมงแถมก็ยังอยู่ฟังกันจนเต็ม บางท่านก็นั่งฟังทั้งวันทุกsessionเรียกได้ว่าตั้งใจจริงๆเยี่ยมเลย ขอขอบคุณทุกๆท่านครับ….หมอเอก