หลายฉบับที่ผ่านมามีเนื้อหาวิชาการเรื่องภาพและเสียงมาเยอะแล้ว มาฉบับนี้ฉบับส่งท่ายปีเก่าเลยขอเปลี่ยนบรรยากาศพาไปชมห้องStudioของต่างประเทศกันบ้าง ที่เอามาเล่าให้ฟังในวันนี้เป็นห้องของSound Postproduction Companyแห่งหนึ่งในอเมริกา ห้องนี้มีจุดที่น่าสนใจตรงไหนบ้าง ทำไมผมเอามาให้ดู ลองติดตามกันครับ




ห้องนี้เป็นห้องStudio AของFormosa Group ที่เป็นบริษัทให้บริการในด้านPost-Production Soundสำหรับงานภาพยนตร์ เกมส์ งานโทรทัศน์Broad castต่างๆ ฟังชื่อบริษัทก็คงไม่คุ้นหูเท่าไร แล้วห้องนี้มันน่าสนใจตรงไหนทำไมผมถึงเอามาให้ดูกัน… อย่างแรกที่ต้องบอกว่าบริษัทFormosa Groupเป็นบริษัทที่ทำงานด้านเสียงทั้งงานด้านRecording, re-recording, Editing, re-editing, Mixing, remix, Mastering, remastering รวมทั้งเป็นSound Supervisionให้กับภาพยนตร์ชื่อดังๆ หรือภาพยนต์รางวัลดีเด่นด้านเสียงมาหลายเรื่อง ผลงานที่ออกมาล่าสุดที่คุ้นๆกันก็เช่น Star Trek Beyond, The Conjuring2, Batman V. Superman dawn of justice, The Revenant, JohnWick1-2 หรือแม้กระทั่งหนัง6รางวัลOscarที่เป็นรางวัลด้านSound Editing, Sound Mixingอย่างMad Max: Fury Road เหล่านี้ล้วนก็มีชื่อของFormsa Groupเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วที่ต้องเป็นห้องStudio Aของ Formosa Group ก็เพราะห้องนี้ใช้เป็นห้องremixเสียงภาพยนตร์แบบDolby Atmosที่จะลงแผ่นBlu-ray และ 4K เพื่อให้นำไปรับชมในห้องHome theater นอกจากนี้ TV Seriesชื่อดังอย่างGame of Thrones ที่ได้บันทึกเสียงแบบDolby Atmos การันตีจากรางวัลEmmy Awardsอย่างมากมายรวมถึงOutstanding Sound Mixingหลายสมัย ก็ใช้ห้องนี้ที่Formosa Groupเป็นห้องmixเสียง ในตอนนี้เรียกได้ว่าแผ่นหนังBlu-rayหรือ4K แบบDolby Atmos หนึ่งในสามที่ออกมาในตลาดก็จะมาจากFormosa Groupแทบทั้งนั้น







อย่างที่ผมบอกมาเสมอว่า GoalของการปรับภาพและเสียงตามหลักของTHX, HAA, CEDIA เหล่านี้ก็คือต้องพยายามให้เสียงออกมาใกล้เคียงกับStudioที่เขาใช้ทำการmixเสียงให้ได้มากที่สุด เพื่อว่าเสียงออกมาจะได้ไม่ผิดเพี้ยนจากความตั้งใจของผู้กำกับหรือDirector ที่นำเสนอผลงานออกมาให้ได้ดูได้ชมกัน คราวนี้ลองมาดูห้องStudio ของ Formosa Groupกันบ้างว่ามีลักษณะเป็นยังไง ห้องนี้มีขนาดกว้างxยาวxสูง อยู่ที่ 670x884x518 เซนติเมตร ผนังด้านข้างจะมีแผงdiffuserวางอยู่บางส่วนตามรูปไม่ได้อยู่เต็มผนังไปหมดเพราะอย่างที่ผมเคยบอกไว้ว่าการวางแผงsound treatmentต่างๆไม่ควรวางให้เต็มพื้นที่ทั้งหมด ควรจะเหลือส่วนที่ให้เสียงมีการสะท้อนตามธรรมชาติบ้าง ไม่อย่างนั้นเสียงในห้องhome theaterก็จะทึบ หรือภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าเสียงจะdeadไป ทำให้เวลาดูหนังหรือฟังเพลงนานๆแล้วมีความรู้สึกไม่สบาย อึดอัดเช่นเดียวกับคนที่เคยเข้าไปอยู่ในห้องAnechoicหรือห้องไร้เสียงสะท้อนใดๆ เมื่ออยู่นานๆจะรู้สึกอึดอัดจนทนไม่ได้เนื่องจากภายในห้องไม่มีการสะท้อนของเสียงใดๆแม้แต่น้อย ห้องเลยเงียบมากไม่เหมือนสภาพธรรมชาติที่มนุษย์เราอาศัยอยู่ตามปกติ ที่จะมีเสียงสะท้อนอยู่ไม่มากก็น้อยแล้วแต่สภาพสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในห้องดูหนังหรือฟังเพลง ห้องก็ควรจะทำให้เกิดการสะท้อนขึ้นตามธรรมชาติบ้าง โดยค่าที่นิยมใช้วัดความก้องของห้องก็คือค่าT30 หรือที่เราคุ้นกันคือ RT60 เป็นค่าเวลาที่เสียงลดลงจนถึง 60dBหลังจากสิ้นสุดต้นกำเนิดเสียง ซึ่งมันก็เป็นการบ่งถึงความก้องของห้อง ถ้ามีค่ามากแสดงว่าห้องมีการก้องของเสียงมาก ค่าที่THXแนะนำไว้คือ0.2-0.4secondและในปัจจุบันระบบที่เป็นImmersive Soundทั้งหลาย ค่าRT60ก็ควรจะลดลงเหลือซักต่ำกว่า 0.35 secondน่าจะกำลังดีเพราะระบบเหล่านี้ล้วนมีจำนวนลำโพงมากขึ้นดังนั้นจึงต้องการFocusของเสียงเพิ่มมากขึ้น envelopmentก็ไม่จำเป็นต้องมากเหมือนในระบบ 5.1หรือ7.1ที่ต้องการความก้องของเสียงเพื่อให้เกิดenvelopmentในส่วนของSurroundทั้งด้านข้างและด้านหลังในห้องhome theater มาถึงบริเวณเพดานของห้องจะทำเป็นหลุมขึ้นๆลงที่มีความลึกต่างๆกันไปโดยส่วนที่ลึกสุดอาจจะลึกถึงหลายสิบเซนติเมตรกระจายไปเพื่อให้ได้ประโยชน์ของการdiffuseเสียงลดการเกิดresonance ของเสียงกลับไปกลับมาในความถี่เดียว ทำให้ความรุนแรงของroom modeลดลง ร่วมกับวัสดุที่ใช้ทำพื้นห้องและผนังในห้องจะทำมาจากไม้เป็นส่วนใหญ่จึงทำให้ห้องมีความก้องพอดีไม่deadจนเกินไป



ถึงตรงนี้เราก็คงอยากจะรู้ว่าแล้วห้องStudio AของFormosa Group ที่ใช้mixหรือบันทึกหนังในแผ่นBlu-rayหรือ 4K นั้นเขาใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงตัวไหนบ้างในการmixเสียง จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในห้องนี้ทำให้รู้ว่าลำโพงที่ใช้เป็นหลักและระบบทั้งหมดจะเป็นของMeyer Sound โดยด้านหน้าScreen Channel Loudspeakerจะเป็นลำโพง Meyer Acheron 3ตัววางอยู่ด้านหลังจอAcoustic Transparent Screenขนาดใหญ่เกือบเต็มพื้นที่ด้านหน้า ส่วนด้านข้างและด้านหลังจะเป็นลำโพงSurround ของMeyer Soundรุ่นHMS-10วางอยู่ด้านข้าง ข้างละ3ตัว วางอยู่ด้านหลังเป็นSurround Backอีก 2ตัว บนเพดานจะเป็นลำโพงHMS-10เช่นเดียวกัน แขวนเป็นCeiling Channelเพื่อใช้mix immersive soundแบบต่างๆ อีก 4ตัว โดยจะแขวนเอียงtoe in เข้ามาหาตำแหน่งนั่งทำงาน เพื่อให้ตำแหน่งนี้ได้เสียงที่เป็นon axisมากที่สุดลดความเพี้ยนและlevelที่ไม่สมดุลของoff axisลงไป Subwooferจะใช้Meyer Sound X-400C ที่มีขนาด 18นิ้วlong-excursion cone driverรุ่นx-400cอีก4ตัว วางอยู่หลังจอด้านหน้าเช่นเดียวกับMeyer Acheron


นอกจากลำโพงที่ใช้เป็นมาตรฐานในการบันทึกแล้วยังมีลำโพงขนาดเล็กวางไว้ใกล้ตำแหน่งmixด้านหน้าconsoleที่เรียกว่าลำโพง near fieldอีกสี่ตัวรวมSubwoofer ทั้งนี้การใช้ลำโพงnearfieldเหตุผลหนึ่งก็เพื่อสำหรับตรวจสอบว่าถ้าฟังในห้องขนาดเล็กหรือในห้องนั่งเล่นทั่วไปที่ขนาดไม่ใหญ่เท่าในstudio มีการวางลำโพงไม่ไกลเท่าไร เสียงที่mixออกมาจะเป็นยังไง ยังดีอยู่ไหมหรือจะต้องแก้ไข ซึ่งลำโพงnear fieldในห้องนี้ 3channelsหน้าleft center rightเป็นลำโพงmonitorดังจากเยอรมันชื่อ Adam S3A ส่วนSubwooferที่ใช้ฟังแบบnear fieldเป็นGenelec Studio Subwoofer นอกจากนี้เมื่อmixเสร็จก็ยังต้องฟังเสียงถ้าเปิดจากSoundbarด้วยโดยใช้Soundbar ของYamaha รุ่น YSP-5600 ที่เป็นsoundbarรองรับระบบเสียงDolby Atmos ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่าคนที่ซื้อแผ่นไปไม่ว่าจะเล่นกับเครื่องเสียงระดับไหนก็ยังให้เสียงที่ดีอยู่

การวางSpeaker Configuration จะใช้เป็นระบบมาตรฐานทั่วไปในห้องhome theaterคือ 7.1.4 ก็คือมีลำโพงleft center right, surroundและ surround back ซ้ายและขวาเป็น 7channal มีLFE อีก 1channel และเป็นลำโพงเพดานอีก 4ตัวสำหรับDolby atmos จึงเรียกว่าเป็นระบบ 7.1.4 บางคนก็อาจจะสงสัยว่ามีSubwoofer ตั้ง4ตัวทำไมถึงได้setแค่ 7.1.4 ทำไมไม่ทำเป็น 7.4.4 หรือ 7.2.4ให้LFE channel เป็นระบบStereoไปเลย ตรงนี้ต้องอธิบายหน่อยว่าระบบ LFEที่mixลงในแผ่นทั่วไปนั้นจะเป็นmono ส่วนมากแล้วเวลาSetup ก็จะแนะนำให้ปล่อยสัญญาณSubwooferออกมาเป็นchannelเดียวเพื่อให้แน่ใจว่าสัญญาณที่ออกมาจากเครื่องหรือpre-processor มาจากสัญญาณตัวเดียวกันถึงแม้เครื่องนั้นจะสามารถปล่อยsubwooferออกมา 2channelก็ตาม เพราะบางทีสัญญาณที่ออกมาจากทั้งสองช่องoutputมีphaseไม่เท่ากัน, latencyไม่เท่ากัน มันจะไปทำให้เสียงที่ถูกปล่อยออกมาจากSubwoofer แต่ละchannelมีphaseของเสียงไม่เท่ากัน มีการกวนกันของphase ดังนั้นในการsetup ระบบใหญ่ๆหรือระบบที่ต้องการความเที่ยงตรงสูงเขาจึงใช้สัญญาณsubwooferออกมาเส้นเดียวแล้วค่อยมาsplitสัญญาณและปรับแต่งทั้งหมดใน DSP(Digital Signal Processor) อีกที เพื่อให้แน่ใจว่าสัญญาณต้นทางที่ออกมาก่อนจะเข้าSubwooferมีphaseเดียวกัน ระบบจึงกลายเป็น 7.1.4 ถึงแม้จะมีSubwooferกี่ตัวก็ตาม ส่วนลำโพงSurroundและSurround backที่เห็นมีกว่า 8ตัว ก็เพราะว่าห้องนี้ต้องใช้ mix ทั้งในระบบ 5.1 , 7.1 , stereo รวมถึงDolby Atmos ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนตำแหน่งลำโพงให้เหมาะสมสำหรับการmix หรือ upmixingในแต่ละformat อย่างกับระบบ 7.1.4 ก็จะใช้แค่ลำโพงSurround และ Surround Back ตามมาตรฐานทั่วไป ทั้งนี้ทั้งนั้นห้องนี้จะใช้mixเสียงทั้งภาพยนตร์, เพลง, คอนเสิร์ต, live show, video game เพื่อลงในแผ่น CD, Blu-rayหรือDVD รวมทั้งใช้mixเพื่อ streaming media, การออกอากาศbroadcast ต่างๆ ดังนั้นการบันทึกลงแผ่นหรือออกอากาศเหล่านี้สิ่งแวดล้อมที่ผู้ซื้อแผ่นไปฟังในห้องส่วนตัวจะต่างจากสถานที่จริงมากเช่นในโรงภาพยนต์แบบatmos จะมีลำโพงวางเรียงรายมากกว่าในห้องhome theaterมากและเสียงก็สามารถจำลองได้ถึง 128 audio objects ดังนั้นการmixก็จะต้องพยายามทำให้คงสภาพเสียง ตำแหน่งเสียงต่างๆใกล้เคียงกับต้นฉบับที่ฉายในโรงภาพยนตร์มาตรฐานdolby atmosให้มากที่สุด โดยใช้nearfield mixing techniqueต่างๆ และในการmixก็จะมีsound supervisor, sound editor หรือบางทีก็จะเป็นdirectorมาคอยกำกับเลยเพื่อให้เสียงที่ออกมาจากแผ่นได้ตามความตั้งใจของผู้กำกับให้มากที่สุด หรืออาจจะเรียกขั้นตอนนี้ว่า post-post productionก็ได้




บางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วเวลาเขาฟังเพื่อmixเสียงลงแผ่นblu-ray, DVDเหล่านี้เขาฟังระดับความดังเหมือนกับmixในโรงภาพยนตร์หรือเปล่า เพราะถ้าเวลาดูหนังในบ้านเราก็อยากมีประสบการณ์ฟังความดังเหมือนที่directorฟังบ้าง ตรงนี้Tim Hoogenakkerที่ทำงานเป็นRe-recording mixerได้บอกว่าปกติการฟังเพื่อmixสำหรับโรงภาพยนต์ทั่วไปเขาจะmix อยู่ที่ 85 dB SPL แต่สำหรับการremixลงแผ่นเพื่อใช้ในห้องhome theaterหรือห้องในบ้านที่มีขนาดต่างจากโรงภาพยนตร์มาก จะmixที่ระดับ 80-81 dB SPL ความดังตรงนี้หมายถึงความดังเฉลี่ยทั่วไปในภาพยนตร์ตลอดทั้งเรื่องนะครับไม่ได้หมายถึงตอนpeak สุดของเสียง ที่เขาลดลงมามากกว่าในโรงภาพยนตร์ก็เพราะในการดูหนังจริงๆในบ้านไม่มีใครฟังดังมากขนาดนั้น แถมเมื่อดูนานๆในห้องที่มีขนาดเล็กทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายมากขึ้นยิ่งถ้าต้องนั่งฟังนานๆต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง โดยเฉพาะตอนดึกๆคงไม่อยากมีใครฟังแล้วทำให้ภรรยาหรือลูกๆตื่นขึ้นมาแน่ และด้วยสภาพAcousticsในโรงภาพยนตร์กับในบ้านต่างมากอย่างที่ผมเคยได้เขียนไว้ ปริมาณอากาศในห้องดูหนังมีมากกว่าทำให้ลำโพงที่ออกแบบมาสำหรับในโรงภาพยนตร์เกิดการผลักอากาศได้ความดันเยอะ เกิดimpactได้สูงกว่าในห้องhome theater ดังนั้นการRe-recording mixingเพื่อใช้ฟังภายในห้องhome theaterที่ดีก็ต้องพยายามให้รายละเอียดต่างๆหรือ เสียงimpact, dynamicที่สร้างบรรยากาศ อารมณ์ของหนังต่างๆยังครบดูแล้วได้อารมณ์เช่นเดียวกับดูในโรงหนังอยู่ แม้จะเปิดเบากว่าความดังที่อยู่ในโรงภาพยนตร์ปกติก็ตาม
แต่ก็มีเรื่องขำขันเล็กๆน้อยๆของDolby atmosในการmixเสียง เพราะเราคงคิดว่าระบบเสียงDolby atmosนี้มีลำโพงเพิ่มขึ้นมาด้านบนหรือceiling channelสร้างบรรยากาศข้างบนขึ้นมาให้เกิดการโอบล้อมแบบ 360องศาสมจริง ฉากเด็ดที่ประทับใจมากเอาไว้โชว์ได้เลยฉากหนึ่งของdolby atmosคือฉากฝนตกที่ลำโพงในระบบมาตรฐาน 5.1หรือ 7.1ยังไงก็ไม่สามารถสร้างบรรยากาศเสียงฝนตกได้เหมือนกับในมีลำโพงจริงๆแขวนอยู่บนเพดานเหมือนในdolby atmos ยกตัวอย่างฉากจากภาพยนต์เรื่อง John Wick(2014) ฉากclimax ที่ต่อสู้กันกลางสายฝน ผมดูฉากนี้แล้วทำให้ประทับใจเสียงdolby atmosจริงๆ เสียงฝนนี่อยู่บนหัวจริงๆ แต่รู้ไหมครับผมถูกmagic soundของHollywoodหลอกอีกแล้ว เพราะความเป็นจริงในธรรมชาติเมื่ออยู่กลางสายฝนจริงๆไม่ได้อยู่ใต้หลังคาบ้านหรือในป่าทึบที่มีใบไม้อยู่บนหัว เสียงฝนที่ได้ยินจะมาจากพื้นไม่ได้มาจากด้านบน เพราะว่าเวลาฝนตกลงมา เราจะไม่ได้ยินเสียงฝนจนกว่าเสียงฝนนั้นตกลงกระทบพื้นจนเกิดเสียงขึ้นมาจากพื้น นั่นเพราะผมมัวแต่คิดว่าฝนตกมาจากท้องฟ้าด้านบนก็เลยเชื่อว่าเสียงฝนต้องมาจากด้านบนเท่านั้น Gotcha! ถูกHollywood หลอกอีกแล้ว555…..หลังจากที่ถูกหลอกมาโดยตลอดจากเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงระเบิด เสียงพลุ ที่ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ อยู่ไกล ในอวกาศ หรือที่ไหนก็ตาม Hollywood sound ก็จะทำให้เสียงมาทันกับภาพที่เราเห็นบนจอ ทั้งที่ในธรรมชาติจริงๆเสียงจะต้องมาหลังแสงเสมออย่างที่ผมเคยเล่าให้ฟังมาแล้วในฉบับก่อนๆ


เป็นยังไงครับ คงพอเห็นภาพกันบ้างสำหรับการRe-recording mixingภาพยนต์ เพื่อลงแผ่นBlu-ray แผ่นDVD หรือส่งBroadcasts ต่างๆ ซึ่งเราผู้บริโภคคงไม่ต้องทราบถึงขั้นตอนโดยละเอียดทั้งหมดแค่พอเห็นภาพ กับเห็นห้องจริงๆว่าสภาพห้องที่ใช้เป็นอย่างไร จะได้เอาไว้อ้างอิงว่าสภาพห้องที่Re-recording mixerมีลักษะห้องยังไง มีการวางลำโพงแบบไหน เวลาทำห้องหรือปรับปรุงห้องhome theaterจะได้พอมีguidelineการทำห้องเพื่อบรรลุตามgoal หรือวัตถุประสงค์ของห้องที่ให้เสียงใกล้เคียงกับที่ผู้กำกับ หรือdirectorได้ยินในห้องบันทึกเสียงจริงๆและเป็นภาพกับเสียงที่ผู้กำกับต้องการให้เราได้ดูได้ฟังนั่นเอง