ฉบับนี้นับเป็นฉบับที่ผมเขียนลงหนังสือครบรอบปี 12ฉบับพอดี ที่ผ่านมาก็มีเนื้อหาในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเสียงในห้องHome theater ว่าแล้วฉบับนี้ขอรวบยอดมาให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าที่เคยกล่าวมาทั้งหมดแล้วนี่ถ้าเราต้องการทำการปรับห้องดูหนัง(room tuning) อะไรบ้างที่มีบทบาทต่อเสียงในห้องHome theaterของเรา ผมจะบอกไว้เป็นเปอร์เซนต์เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆว่าอันไหนสำคัญมากอันไหนสำคัญรองลงมานะครับไม่ได้หมายความว่าทุกห้องจะเป็นตัวเลขเปอร์เซนต์แน่นอนเท่านี้
- 70% คือตำแหน่งของลำโพงต่างและตำแหน่งนั่งฟัง เนื่องจากห้องhome theaterของเรามีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือให้เสียงออกมาใกล้เคียงกับต้นฉบับที่เขาบันทึกมาให้มากที่สุด ดังนั้นเราจึงต้องพยายามให้ลดการinteraction ระหว่างลำโพงกับผนัง หรือกับวัตถุต่างๆภายในห้อง เพื่อให้เสียงที่มันสะท้อนมาจากผนัง จากพื้นผิวต่างๆ ไม่ทำให้เกิดphase cancellationที่รุนแรงในตำแหน่งนั่งฟัง และก็ต้องพยายามลดปัญหาเรื่องStanding Wave หรือroom mode ซึ่งวิธีป้องกันที่ได้ผลที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ก็คือสัดส่วนความกว้าง ความยาว ความสูงของห้อง ดังที่ผมเคยเขียนไว้ในหนังสือVideophileฉบับปลายๆปีที่แล้วลองไปหาอ่านดูครับ
- 25% ที่มีบทบาทในห้องก็คือAcoustical Treatment โดยเฉพาะการแก้ปัญหาในเรื่องFirst Order Reflections จากผนังต่างๆ วิธีที่จะหาตำแหน่งFirst Reflectionsได้ง่ายๆก็คือการให้กระจกสะท้อนตำแหน่งtweeterของลำโพงว่าตำแหน่งกระจกอยู่ตรงไหนที่เวลาดูตรงตำแหน่งนั่งฟังหลักแล้วเห็นtweeterของลำโพงเราก็วางตัวAbsorptionไว้ตรงตำแหน่งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้First Reflectionsมีความรุนแรงและทำให้เกิดphase cancellation กับเสียงหลักที่ออกมาจากลำโพงมาหาตำแหน่งนั่งฟัง ส่วนที่เราสามารถใช้กระจกที่สะท้อนตำแหน่งของลำโพงได้นั้นก็เพราะว่าโดยปกติที่ความถี่ที่มากกว่า 400Hz ขึ้นไป คลื่นเสียงจะมีลักษณะทางPhysicsใกล้เคียงกับคลื่นแสง ที่มีการสะท้อนเหมือนกันแต่ถ้าความถี่ที่ต่ำกว่านี้คลื่นเสียงจะมีการเคลื่อนที่ไม่เหมือนคลื่นแสงแล้ว นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงขนาดของห้อง และreverb time ก็สามารถแก้ปัญหาเสียงเบสได้ โดยอาจจะใช้พวกBass Trapsต่างๆ ทั้งนี้ก็เพราะเสียงเบสมักจะเป็นปัญหาหลักๆของห้องHome theaterเกือบทุกห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่ไม่มีความสมมาตรกัน
- ส่วนอีก5%ก็คือ Equalizationการที่เราทำEqualizationก็เพื่อปรับให้frequency responseมีความsmoothมากขึ้น เพราะบางทีในห้องที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่หรือข้อจำกัดอื่นๆในการปรับAcoustic การใช้ Equalizer(EQ)ก็สามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่แนะนำให้เป็นทางเลือกสุดท้ายเนื่องจากการใช้EQ ถ้าใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสม มักจะทำให้เกิดผลเสียต่อเสียงมากกว่าผลดี แต่ถ้าเราสามารปรับRoom Acousticsตามวิธีข้างต้นได้ดีการใช้EQก็จะน้อยลงผลเสียต่างๆก็จะน้อยลงไปด้วย อย่าลืมว่าการใช้EQ มากๆโดยไม่ได้วัดอย่างละเอียด สิ่งที่จะตามมาคือความเพี้ยนของเสียงจะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การใช้EQ ปรับเสียงในห้องhome theaterมักจะทำให้Sweet spotในห้องเล็กลงนะครับ ไม่เหมือนกับการปรับRoom Acousticsตามวิธีอื่นๆข้างต้นที่ไม่ได้ทำให้Sweet spotเล็กลงแต่อย่าง แนะนำให้ปรับEQเพียงแค่เล็กน้อยหรือFine Tuning บางทีฝรั่งก็จะเรียกว่านิดหน่อยแค่เป็นIcing on the cake และจำไว้เลยครับว่าการจัดวางอุปกรณ์ต่างได้ถูกต้องเหมาะสมจะช่วยลดการใช้EQได้ดีมาก แต่การใช้EQจะไม่สามารถแก้ไขการจัดวางลำโพงหรืออุปกรณ์ต่างๆในห้องที่ไม่เหมาะสมมากๆได้(ที่สำคัญการจัดวางใช้เงินน้อยกว่าการใช้EQ)
หลักที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในห้องHome theaterหรือห้องฟังโดยทั่วๆไปก็คือความสมมาตร หรือSymmetry เราก็ต้องพยามทำให้ห้องของเรามีPhysical Symmetryโดยเฉพาะผนังด้านต่างๆ ลำโพง และอุปกรณ์ อย่างเช่นAcoustical treatment ต่างๆก็ควรจะใส่ให้สมดุลย์กันโดยเฉพาะในลำโพงหลักซ้าย ขวา ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้ side to side imaging และ center imageดีขึ้น ความจริงแล้วimaging เหล่านี้มีความสำคัญไม่แพ้กับ frequency responseในห้องhome theaterเลยนะครับ (แต่โดยส่วนตัวถ้าเป็นการtuningของผมแล้วสิ่งที่ผมให้ความสำคัญมากกว่า frequency responseก็คือPhase responseครับ)
ถ้าพูดถึง room tuning เราต้องเข้าใจในเรื่องพื้นฐานของAcousticsก่อน อย่างแรกที่อยากพูดถึงก็คือเรื่องการรับรู้เสียงของคนเรา เคยรู้มาก่อนไหมครับว่าการรับรู้ความถี่เสียงของคนเราไม่ได้เป็นสัดส่วนแบบเป็นเส้นตรง(linear) แต่การรับรู้ของคนเราเกือบทั้งหมดจะเป็นlogarithmic(log) หรือมีการรับรู้แบบเป็นเท่าๆ ไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่งซึ่งการรับรู้แบบนี้มันเกิดขึ้นภายในหัวเราเท่านั้น แต่ในโลกของฟิสิกส์(Physics world)เกือบทั้งหมดจะเป็นlinear ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าPhysics worldไม่ได้ร้องเพลง เพลงที่เราได้ยินจริงๆ… ฮ่า ฮ่า งงไหมครับ เอางี้..ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราปรับเสียงให้ความถี่ 30-35Hzมีlevelที่สูงขึ้น เราก็จะรู้สึกได้ง่ายๆเลยว่ามีเสียงเบสบางช่วงที่ดังขึ้น แต่ถ้าเทียบกับเราลองปรับที่ความถี่5000Hz-5005Hzให้สูงขึ้นในlevelที่เท่ากันเราแทบจะจับไม่ได้เลย ว่าเสียงอะไรมันเปลี่ยนไป ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่ามนุษย์เราจะมีการรับรู้เสียงความถี่ต่ำได้ดีกว่าและจะค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ spaceของการรับรู้ก็จะลดลงไปเรื่อยๆตามความถี่ที่เพิ่มขึ้น โดยในรูปแบบการลดลงจะเป็นแบบlogarithmic
ลองดูจากในตารางเห็นได้ว่าเสียงเพลงที่มนุษย์เราได้ยินจะอยู่ในลักษณะเป็นlog หรือเป็นแบบขั้นๆOctavesต่างๆที่แต่ละขั้นมีช่องระหว่างfrequencyที่ไม่เท่ากัน แต่เสียงที่ออกมาจากเครื่องดนตรีต่างๆ(Harmonic)จะออกมาเป็นแบบlinear อีกอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่าในโลกของPhysicsเป็นlinearคือเวลา(time) เวลาจะเดินเป็นlinearคือ … tick-tick-tick-tick-tick-tick…, ไม่ได้เดินเป็นแบบlogarithmic เพราะถ้าเดินแบบlogมันก็จะเดินเป็น tick——–tick—-tick—tick-tick ยุ่งแน่ๆครับถ้าphysicsทำให้เวลาเดินแบบlogเพราะมันจะทำให้เด็กๆโตช้ามากกกก และเมื่อเวลาผ่านไปเราก็จะแก่เร็วขึ้น เร็วขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนPhaseที่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับเวลาที่delayไปในแต่ละความถี่ก็จะเป็นlinear เพราะว่าเวลาเป็นlinearจึงทำให้Phaseมีลักษณะเป็นlinearด้วย อีกตัวอย่างคือWhite noiseกับPink noiseที่เราใช้ในการวัดเสียงตอนSet upก็ต่างกันโดยที่ตัวWhite noiseมันจะให้energyหรือlevelในแต่ละความถี่เฉลี่ยเท่าๆกันตัวมันจึงเป็นlinear ส่วนตัวPink noiseจะใส่filterเข้าไปทำให้ใกล้เคียงกับที่หูของมนุษย์ได้ยินมันจึงเป็นlog ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอีกอันหนึ่งคือComb-filter ซึ่งในโลกของlinear ทั้งpeakและdipต่างก็จะมีช่องว่างเฉลี่ยเท่าๆกันทุกความถี่ แต่สิ่งที่มนุษย์เราได้ยินมันกลับจะมีช่องว่าแคบลง แคบลงเมื่อความถี่สูงขึ้น มันจึงทำให้เรารับรู้peak และ dip ในความถี่ต่ำได้ละเอียดกว่า
ดังนั้นในการcalibrationความถี่ต่ำเราจึงต้องใช้เครื่องมือวัดและเครื่องมือที่ใช้ปรับก็ต้องละเอียดพอ ที่ผมเห็นส่วนมากในAVR หรือ Pre-Processorทั่วๆไปการวัดและปรับความถี่ต่ำมีแค่หนึ่งoctave ซึ่งมันไม่ละเอียดพอถ้าเราต้องใช้ปรับในความถี่ต่ำ ถ้าจะให้ดีอย่างน้อยมันต้องวัดและปรับได้ระดับ 1/24octave หรือ 1/48octave ดังนั้นเราจึงมักเห็นห้องDedicated home theaterใหญ่ๆในต่างประเทศมักจะใช้อุปกรณ์พวก Digital Signal Processor(มีชื่อเรียกหลายแบบแล้วแต่บริษัท เช่น DSP, Speaker Management, Equalizer)ที่สามารถปรับParametic EQและค่าอื่นๆที่ละเอียดมากได้เพิ่มเติมเพื่อจัดการกับเสียงความถี่ต่ำภายในห้องhome theater
หรือบางระบบอาจจะBypass filterต่างๆในPre-ProcessorหรือAVRไปเลยเพื่อมาปรับแต่งในตัวDSPที่ปรับได้ละเอียดกว่าAVRหรือPre-Processor ทั้งหมดทุกchannelเลยเช่นในระบบของJBL Synthesis
ต่อมาลองมาดูที่ความยาวคลื่นกันบ้าง ความถี่ที่เราได้ยินอยู่ในห้องHome theater ทั่วไปมันก็จะมีความถี่ที่อยู่ระหว่าง 20Hz-20kHz ถ้ามาดูที่ความยาวคลื่นของมันจากสูตรหากินเดิมของเรา
ความถี่(frequency) = ความเร็วเสียง/ความยาวคลื่น(λ)
จากการคำนวณจะพบว่าความถี่ 18kHz ก็จะมีความยาวคลื่นประมาณนิ้วมือเรานิ้วหนึ่ง,8kHzก็ประมาณสองนิ้ว, 1kHzจะยาวประมาณข้อศอกถึงข้อมือ, 500Hzประมาณความยาวของแขน, ส่วนถ้าเป็น80Hzจะยาวเกือบเท่ารถยนต์หนึ่งคัน หรือถ้าเป็นความถี่ต่ำมากๆระดับ25Hz ก็จะอยู่ประมาณตู้shipping containerตู้หนึ่งเลยทีเดียว เราเคยสงสัยกันไหมครับว่าความยาวคลื่นระดับความถี่ต่ำ 20-80Hz ที่มีความยาวคลื่นหลายๆเมตร ทำไมเราไม่ต้องใช้ลำโพงที่ขนาดใหญ่เป็นเมตรๆเหมือนในหนังเรื่องBack to the Future เพื่อให้เกิดคลื่นความถี่ต่ำระดับความยาวคลื่นเป็นเมตรแต่subwooferที่มีความกว้างหน้าตัดไม่กี่นิ้ว ช่วงชักอย่างมากสองสามนิ้วถึงทำให้เกิดเสียงความถี่ระดับหลายๆเมตรได้ ให้เวลาคิดหนึ่งนาทีตามเวลาแบบlinearของPhysics worldครับ tick-tick-tick-tick-tick-tick…
ได้คำตอบหรือยังครับ….. เฉลยเลยละกันคำตอบในเรื่องนี้ก็คือเพราะว่าคลื่นความถี่ต่ำนั้นมันจะยืดหรือstressตามเวลา พูดง่ายๆก็คือเมื่อเวลาเพิ่มขึ้นความยาวคลื่นก็จะมากขึ้นลูกคลื่นก็จะใหญ่ขึ้น ความถี่ก็จะลดลงไปเป็นความถี่ต่ำ(low frequency, LF) ทดลองดูง่ายๆเราลองเอาไมค์ไปจ่อไว้ที่หน้าลำโพงทั่วไปแล้วเปิดpink noiseหรือimpulseต่างๆหาdistance ถ้าเครื่องมือที่ดีหน่อยมันก็จะสามารถคำนวณdelay timeออกมาและแจ้งระยะออกมาได้ใกล้เคียงความเป็นจริงได้เลยว่าไมค์วางห่างลำโพงเท่าไร คราวนี้เราลองวัดsubwooferในLF เอาไมค์ไปจ่อติดๆกับdriverเลย เราจะพบว่าเครื่องมันจะคำนวณออกมาว่า subwooferไม่ได้อยู่ตรงนั้น มันอาจจะบอกว่าอยู่ห่างไป หนึ่งเมตร สองเมตร สามสี่เมตร แต่มันไม่ได้บอกว่าSubwooferอยู่ตรงนั้น อ้าว เครื่องเสียเปล่า ลองเช็คดูก็ปกตินี่นาแล้วอย่างนี้…”Where are you Subwoofer?”….Subwooferก็จะตอบว่า”I’m everywhere จ้า”ฮ่า ฮ่า ก็อย่างที่บอกครับว่าตามหลักPhysics การที่ลำโพงสร้างLFได้มากกว่าความกว้างของตัวลำโพงเองได้ก็เพราะคลื่นความถี่ต่ำมันจะใช้เวลา จะไม่เหมือนกับhigh frequency(HF) ที่ไม่ต้องอาศัยการstressของคลื่นหรือใช้แต่stressมันน้อยมาก เราจึงสามารถใช้ตลับเมตรวัดระยะdistanceของลำโพงMain หรือSurroundต่างๆแล้วใส่ค่านั้นลงไปในAVRหรือPre-Pro ได้เลยโดยไม่ค่อยมีข้อผิดพลาดสักเท่าไร่ แต่สำหรับSubwoofer นั้นไม่สามารถทำได้เพราะว่า”Where are you Subwoofer?” ดังนั้นการวัดDistance ในความถี่ต่ำ เราจะไม่สามารถใช้ตลับเมตรวัดระยะห่างจริงๆของSubwooferเพราะมันจะไม่แน่นอน โดยในความถี่ที่ต่างๆกันdelay timeหรือPhase ของมันจะไม่เท่ากัน การวัดDistanceที่ดีและเที่ยงตรงแบบหนึ่งที่Acoustics Engineer นิยมใช้กันก็คือการวัดPhase response และถ้าเราต้องการalign subwooferกับmain channelเราก็ดูตรงความถี่crossover ว่าphase responseมันmatchใกล้เคียงกันหรือเปล่า ส่วนการใช้impulse responseไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียงลูกโป่งแตก,เสียงปึ๊ก….ปึ๊ก…ปึ๊กที่เครื่องสร้างมา หรือการใช้เสียงกลอง ตึง…ตึง…ตึง… แล้ววัดค่า impulseต่างๆออกมา สำหรับความถี่ต่ำก็ยังถือว่าไม่accuracyสักเท่าไรไม่เที่ยงตรง เท่าphase responseเนื่องจากว่าในPhysics worldแล้วมันไม่มีperfect impulseจริงๆที่ตัวimpulseนั้นมีความถี่ต่ำและความถี่สูงเดินทางมาถึงพร้อมกันโดยไม่มีdelay timeยังไงLFก็ยังต้องการเวลาในการstressคลื่นออกมา ส่วนการใช้impulseแนะนำให้ใช้ในการหาdelay timeของHFจะดีกว่า ซึ่งเนื้อหาในเรื่องนี้ถ้าจะว่ากันจริงๆต้องเอาแบบละเอียดมากๆถึงจะเข้าใจ ผมเขียนไปก็คงจะไม่เข้าใจกัน จะพากันงงเปล่าๆ(โดยเฉพาะผมงงเอง อิ อิ)
พอทราบหลักการพื้นฐานเรื่องการปรับdistanceของSubwoofer บ้างแล้ว คราวนี้ถึงเวลาที่จะต้องลองของจริงว่าเราจะsetในห้องhome theaterของเราได้อย่างไร โดยถ้าเป็นAcoustic Engineer, Installer หรือพวกProfessional Home theater calibrator เขาจะใช้เครื่องมือกับไมค์ที่เป็นระดับProfessionals เพื่อทำการวัดค่าphase response, frequency response, impulse response, coherent เครื่องมือที่ใช้ก็จะมีหลายแบบเพื่อวัดค่าที่ต่างๆกันไปเช่น RTA(Real Time Analyzer), FFT(Fast Fourier Transfor), ETC(Energy Time Curve), Room Impulse Response(IR), Transfer Function หรือ Dual FFT ซึ่งพวกนี้อาจจะยากไปสำหรับนักเล่นโดยทั่วๆไป ลองมาดูวิธีที่ผมว่าเราน่าจะพอทำได้ไม่ยาก ค่าที่ได้มีความเชื่อถือได้มากกว่าวิธีพื้นฐานอื่นๆ
เริ่มจากเปิดapp Audio Toolsบนipad, iphoneที่ผมเคยแนะนำไปในฉบับแรกๆที่ผมเขียน
หรือถ้าใครมีโปรแกรมอื่นๆที่สามารถวัดRTAได้ละเอียดอย่างน้อย 1/3octaveก็ใช้ได้เหมือนกัน จากนั้นต่อไมค์ที่เราจะใช้วัดเข้ามายังipadเราให้เรียบร้อย เลือกที่Function Acoustics เลือก RTA ปรับความละเอียดของการวัดเป็น 1/3Octave คราวนี้สมมุติว่าเราตั้งSpeaker Management เป็นsmall และมีCrossoverอยู่ที่ 80Hzในตำแหน่งยอดนิยม เราก็เปิดsource เป็นเสียงfull band pink noise เลือกลำโพงหลัก1channelที่คิดว่าปรับdistanceได้ถูกต้องแล้วอาจเป็นลำโพงFront Left, Front RightหรือCenter ก็ได้ เปิดเสียงให้เสียงออกจากทั้งSubwooferและลำโพงหลักที่เราเลือกไว้ ส่วนลำโพงตัวอื่นปิดให้หมด คราวนี้มาดูที่หน้าจอ RTA ณ.ตำแหน่งที่เป็นCrossover เช่นเราเลือกไว้ที่80Hz เราก็มาดูค่าlevelตรงแกนY ที่เป็น dB SPLณ.ตำแหน่งOctaveที่80Hz แล้วเราก็ค่อยๆปรับค่าdistance ที่AVR หรือ PreprocessorของSubwoofer ค่อยๆปรับทีละนิด อาจจะทีละ10cm. รอสักสิบวินาทีแล้วคอยสังเกตดูค่าlevelตรง80Hz ปรับไปเรื่อยๆจนเจอค่าlevelที่สูงที่สุด และถ้าค่าdistanceในเครื่องของเราปรับได้ละเอียดกว่า10cm เราก็ค่อยๆปรับให้ละเอียดลงไปจนเจอระยะที่ค่าdB SPL มันสูงสุด ซึ่งมันจะแสดงให้เห็นว่าตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่คลื่นเสียงจากSubwoofer และลำโพงmain ที่เราเลือกไว้ เกิดการin phaseและไม่ทำให้เกิดphase cancellationกันที่จุดcrossoverนี้ซึ่งในตัวอย่างนี้คือ80Hz
เมื่อได้แล้ว ยังครับอย่าพึ่งดีใจมากเกินไปเราลองมาเช็คกันดูอีกทีว่ามันใช่ตำแหน่งที่มันin phaseกันจริงหรือเปล่าโดยการไปปรับphaseที่Subwooferของเราให้subwooferเรากลับphaseไป 180องศา เช่นถ้าเริ่มต้นเราตั้งไว้เป็น0องศา เราก็ไปปรับมันให้เป็น 180องศา แต่ถ้าเริ่มต้นเราตั้งไว้180องศา เราก็ไปปรับให้มันเป็น0องศาเสีย แล้วกลับไปดูค่าdB SPL ที่RTA อีกครั้ง ถ้าค่าdistanceเราถูกต้องเมื่อเรากลับPhase ของSubwoofer ค่าlevelมันจะต้องลดลงหลุบเป็นเหวลงไปตรงCrossover octaveนั้นเลย ถึงตอนนี้ดีใจได้แล้วครับว่าเราได้ค่าdistanceของSubwooferที่ถูกต้องแล้ว คราวนี้จะฟ้อนจะรำก็ตามใจ แต่อย่าลืมไปปรับphaseที่Subwooferของเราให้กลับเป็นเหมือนเดิมด้วยนะ ไม่อย่างงั้นที่ทำมาก็ไม่ได้กลายเป็นศูนย์นะ แต่ติดลบเลยครับเพราะจะกลายเป็นphase cancellationกันหมดเลยระหว่างmainกับsubwoofer….ขอเศร้าแพร๊บ
เป็นไงบ้างครับพอget ideaเกี่ยวกับroom tuningโดยเฉพาะความถี่ต่ำที่มักจะเป็นปัญหาหลักของห้องhome theaterของเราไปบ้างหรือยัง ซึ่งหลักการที่ใช้ทั้งหมดนี้เป็นหลักการที่ใช้พื้นฐานของPhysicsล้วนๆ แต่ก่อนที่จะจบฉบับนี้ผมให้ลองดูรูปนี้ก่อนนะครับดูซิว่านี่คือรูปอะไร
ถูกต้องครับมันคือรูปของจักรวาล หรือUniverse
Name: Universe
Author: Unknown
Operating System: Physics
Version: 1.0.0
Release Date: Big Bang
Next Update: End of time
ข่าวดีก็คือทุกอย่างที่เราเรียนเกี่ยวกับPhysics เราจะได้ใช้ไปตลอดชั่วชีวิตเรา เพราะยังไม่เห็นวี่แววว่าAuthorมีplanที่จะเปลี่ยนตัว Operating Systemครับผม