Article

Search

Acoustical Treatment

ฉบับนี้จะมาพูดถึงเรื่อง Acoustical Treatment ซึ่งก่อนที่จะเริ่มแก้ไขปรับปรุงAcousticsของห้อง อย่างแรกเราก็ต้องรู้ก่อนว่าปัญหาด้านAcoustic ที่เรามักจะพบบ่อยในห้องhome theaterมีอะไรบ้าง

  • Reflections เป็นการสะท้อนของเสียงต่อพื้นผิวที่มีลักษณะแข็ง เช่น พื้น ประตู หน้าต่าง ผนังด้านต่างๆของห้อง โดยจะทำให้เสียงเกิดการก้องสะท้อน(flutter echo,excess ambience) โดยเฉพาะflutter echo ถ้าเราศึกษาเรื่องacousticsในห้องขนาดเล็ก คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้าใจในflutter echoซึ่งมันก็คือการที่คลื่นเสียงภายในห้องมีการสะท้อนกลับไปมาระหว่างพื้นที่ที่ขนานกันสองข้าง

จะทำให้เสียงออกมาในลักษณะค่อนข้างสด เสียงแหลมจะเพี้ยวฟ้าว หรือเรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “bright” หรือบางทีก็เรียกว่า “Zingy sound” เสียงนี้มันก็จะไปกระทบกับความsmoothของคลื่นเสียง ทำให้toneของเสียงมีการเปลี่ยนแปลงไป การเช็คflutter echoes ก็ไม่ยากอะไรใช้การตบมือหลายๆจุดในห้องhome theater แล้วฟังดูเสียงecho ของมันถ้ามีอาการเสียงที่เป็นZingy sound ก็แสดงว่าน่าจะมีปัญหาเรื่องflutter echo แต่ตอนฟังเราต้องนั่งฟังตรงตำแหน่งที่ดูหนังนะครับ(primary seat) ไม่ได้ให้ตบมือแล้วฟังตรงนั้นเลย ง่ายๆเราก็หาเพื่อนอีกคนตบมือในตำแหน่งต่างๆของห้อง เราก็นั่งฟังตรงจุดที่เป็นตำแหน่งนั่งดูหนังหลักได้

การใช้Acoustic treatment รวมกันระหว่าง absorption และ diffusion ส่วนมากก็จะสามารถแก้ไขflutter echoes แบบนี้ได้ หรือไม่บางทีการใส่เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่นพวกตู้หนังสือ ชั้นเก็บCD ก็อาจจะพอช่วยได้เหมือนกัน

แต่การที่เราจะทำให้ผนังห้องไม่ขนานกันไม่ค่อยช่วยแก้ไปflutter echoesสักเท่าไรเพราะถ้าจะทำจริงๆตามทฤษฏีผนังด้านตรงข้ามกันต้องทำมุมต่อกันมากกว่า 6องศา แถมบางทีทำห้องเอียงๆแบบนี้แล้วมันก็ยังไม่หายเพราะreflections การสะท้อนก็ยังมีอยู่ดี และเราควบคุมมันไม่ได้ นอกจากนั้นก็จะทำให้เรายิ่งยุ่งยากในการแก้ไขเรื่องroom modeอีกต่างหาก ส่วนมากจึงไม่ค่อยแนะนำให้ใช้วิธีนี้ในการลดflutter echoes

  • Unbalanced tonality เป็นลักษณะที่เสียงในความถี่ต่างๆไม่มีความสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่มักเกิดจากลักษณะของตัวห้องเอง หรือไม่บางทีก็เกิดจากการใส่Acoustic treatment ที่ความถี่ใดความถี่หนึ่งมากเกินไป
  • Uneven bass response มักจะเป็นผลมาจากสัดส่วนของห้องเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดstanding wave ในห้อง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าroom mode ดังที่เคยพูดมาแล้วในฉบับก่อนๆ
  • Noise หรือเสียงรบกวน ส่งผลให้ลดdynamic range ของห้องลดลงไป โดยเฉพาะถ้าเราไม่ทำการacoustically isolatedของห้องกับโครงสร้างของบ้านอย่างเหมาะสมNoise ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก

คำว่าAcoustics มีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Home theater ที่จะกล่าวถึงในฉบับนี้จะเป็นเรื่องของroom treatment ซึ่งก็คือการควบคุม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเสียงที่อยู่ในห้อง เนื่องจากว่าคลื่นเสียงที่อยู่ในห้องhome theaterนั้นส่วนมากจะได้รับaffectedจากเสียงสะท้อนภายในห้องทำให้เกิดเป็น ringing, flutter echo หรือเป็น standing wave ในความถี่ที่ต่ำๆ นอกจากนี้ในห้องที่มีขนาดไม่ใหญ่มากอย่างในห้องhome theaterโดยทั่วไปคลื่นเสียงส่วนใหญ่ก็จะเกิดจากการreflectedมาทั้งนั้น ดังนั้นการtreatment เสียงสะท้อนเหล่านี้จึงมีความสำคัญมากต่อเสียงที่เข้าสู่หูของเรา

ส่วนอีกคำที่เราก็อาจจะเคยได้ยินบ้างคือsound transmission คำนี้ไม่เหมือนกับroom treatmentนะครับ เดี๋ยวบางคงจะเข้าใจคิดว่าเหมือนกัน คำว่าsound transmissionก็หมายถึงการที่คลื่นเสียงมันหลุดผ่านออกจากห้อง หรือหลุดเข้ามาในห้องของเราทั้งไปตามช่องต่างๆหรือที่ออกไปตามโครงสร้างต่างๆภายในบ้าน ดังนั้นการที่เราทำroom treatment มันไม่ส่งผลต่อsound transmission หรือถ้ามีผลก็น้อยมากๆ การแก้ไขsound transmission คือการอุดช่องต่างๆที่จะทำให้คลื่นเสียงเข้าหรือออกจากตัวห้องhome theater ให้มากที่สุด โดยเฉพาะถ้าเป็นพวกdedicated home theater ก็ต้องมีความใส่ใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยทั่วไปเราจะอุดรอยรั่วของเสียงและSeal ห้องให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นประตูหน้าต่าง ช่องต่างๆที่จะทำให้เสียงหลุดออกไปได้ ก็ต้องอุดรอยรั่วทั้งหมด เชื่อไหมครับว่าเจ้าตัวช่องที่เป็นปลั๊กต่างๆ มักจะเป็นตัวทำให้เสียงleak เข้าและออกจากห้องได้โดยง่าย ลองสังเกตดูบางทีเราไปพักโรงแรมบางแห่งแล้วยังได้ยินเสียงของห้องข้างๆเล็ดลอดเข้ามาตามช่องของปลั๊กไฟฟ้าต่างๆ ดังนั้นในห้องhome theaterที่ต้องการลดnoiseในห้องให้มากที่สุดบางทีเขาก็ต้องเอาวัสดุที่มีคุณสมบัติไม่เป็นตัวนำเสียงไปหุ้มไว้เลยทีเดียว

ที่ต้องทำขนาดนี้เพราะว่าเวลาเสียงมันleakแค่จุดเล็กๆ ก็จะส่งผลไม่ต่างจากการที่เสียงleakเป็นพื้นที่ใหญ่ๆสักเท่าไร เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆเหมือนกับเรานั่งอยู่ในรถแล้วปิดประตู หน้าต่างกระจกให้สนิททำให้ภายในรถก็จะเงียบมาก แต่เมื่อเราแง้มกระจกแค่เพียงนิดเดียวเสียงมันก็จะleakเข้ามาอย่างมาก แต่เมื่อเราเปิดกระจกให้มากขึ้นอีกเสียงที่จะleakเข้ามาก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากซักเท่าไร่เมื่อเทียบกับแง้มนิดเดียวดังนั้นจุดleakเล็กๆเหล่านี้ก็ต้องได้รับการใส่ใจด้วยถ้าเราต้องการให้ห้องเงียบที่สุด ส่วนถ้าเป็นเสียงที่แผ่ไปตามโครงสร้างต่างๆภายในบ้าน(structure borne sound transmission)วิธีที่ดีที่สุดก็คือการตัดตอนเสียง(decoupling) เพื่อให้ห้องhome theater ของเราisolate จากโครงสร้างอื่นๆในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความถี่ต่ำที่มักจะทำให้เกิดปัญหากับstructure borne sound transmission ได้มากกว่าความถี่สูง รู้สึกผมจะเคยพูดถึงในเล่มก่อนๆลองไปหาอ่านดูได้ถ้าสนใจครับ

อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าวัตถุประสงค์ในเรื่องAcoustics ของห้องhome theater ของเราคือ พยายามทำให้คลื่นเสียงมีความsmooth โดยไม่มี flutter หรือ ringing นอกจากนั้นทั้งห้องและเครื่องเสียงต่างต้องทำงานประสานกันเพื่อให้เกิดเป็น surround system ที่มีความเที่ยงตรง ความเพี้ยนน้อยที่สุด ซึ่งก็จะทำให้ผู้ฟังได้รับประสบการณ์ที่ตื่นเต้นเร้าใจไปกับภาพและเนื้อหาในภาพยนต์เรื่องนั้นๆได้ใกล้เคียงกับที่คนสร้างเขาอยากให้เราได้ยินจริงๆ ดังนั้นการที่เราจะจัดการกับAcousticsในห้องเราต้องเข้าใจหลักการของการจัดAcoustics treatment ในห้องhome theater ก่อน โดยสิ่งที่เป็นหลักการสำคัญข้อหนึ่งก็คือห้องhome theater ต้องไม่มีabsorption มากเกินไป เพราะจะทำให้ห้องมีลักษณะเป็นdead sound ทั้งนี้เพราะตามหลักPsychoacoustics สมองของเราจะใช้เสียงที่เกิดจากreflections เพื่อใช้ในการกำหนดตำแหน่งsound source และทำให้เกิดการรับรู้เสียงsound field ได้ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด ถ้าเราทำการใส่absorption มากเกินไปก็จะให้ขัดขวางกระบวนกับรับรู้นี้ ทำให้คนฟังรู้สึกว่าเสียงไม่เป็นธรรมชาติ เสียงมันจะดูแปลกๆ เนื่องจากชีวิตคนเราจริงๆในธรรมชาติต้องมีเสียงสะท้อนอยู่บ้างครับ ไม่ได้อยู่ใน Anechoic chamber ที่ไม่มีเสียงสะท้อนอยู่เลย ใครเคยไปอยู่ข้างในมักจะทนได้ไม่เกินสิบห้านาทีเพราะมันเงียบจนกระทั่งได้ยินเสียงเลือดที่ไหลในเส้นเลือดเลย ทำให้เรารู้สึกอึดอัดมาก ดังนั้นเราจึงต้องปล่อยให้ห้องดูหนังเรามีการสะท้อนของเสียงบ้าง อีกอย่างหนึ่งการใช้absorbers จะเป็นการดูดซับคลื่นเสียง ดังนั้นพลังงานเสียงในห้องก็จะหายไปการใส่absorbers ที่มากเกินไปก็จะทำให้รู้สึกว่าเสียงมันขาดพลัง เสียงอั้นๆห้วนๆไม่สดใส

โดยปกติในห้องที่ไม่ได้สร้างขึ้นเป็นห้องhome theater โดยตรงแต่เป็นห้องอรรถประโยชน์ที่เราใช้ทำกิจกรรมอย่างอื่นด้วยเช่น เป็นห้องนั่งเล่นด้วย เป็นห้องอาหารด้วย หรือที่เขาเรียกว่าเป็นห้องmultipurpose home theater ส่วนมากแล้วห้องพวกนี้จะมีเฟอร์นิเจอร์หลากหลายอยู่ในห้องเช่น ตู้ต่างๆ ต้นไม้ พรม ชั้นวาง หรือแม้กระทั่งเตียง ซึ่งเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ในห้องเหล่านี้จะช่วยจัดการacoustics ในห้องได้ดีระดับหนึ่งอยู่แล้วจะไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องacoustics treatment

แต่ในทางกลับกันห้องที่เป็นห้องhome theaterโดยเฉพาะ(dedicated home theater) มักจะเป็นห้องสี่เหลี่ยมโล่งๆ มีเพียงโซฟา หรือเก้าอี้เพียงตัวเดียวไม่ค่อยมีเฟอร์นิเจอร์อื่น จึงทำให้เกิดการสะท้อนกลับไปมาระหว่างผนังที่โล่งๆเรียบๆกว้างๆ และขนานกันมากเกินไปทำให้เกิดเสียงสะท้อนที่ส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อAcousticsภายในห้อง โดยทั่วไปการใช้Acoustic treatment ร่วมกันระหว่าง absorption และdiffusion ก็จะกำจัดพวกlinear reflectionsเหล่านี้ไปได้ทำให้เกิดsmooth sounding ของคลื่นเสียงภายในห้องhome theater โดยเฉพาะพวก midและhigh frequenciesต่างๆ

เท่าที่ศึกษามาทั้งTHX, HAA, CEDIA จะมีกฏพื้นฐาน หรือthe rule of thumb ของAcoustics treatment ในการใส่ absorption และ diffusion ในห้องhome theater เหมือนๆกันคือ

  • พยายามใส่วัสดุที่มีคุณลักษณะabsorption ที่ส่วนหน้าของห้อง(ฝั่งจอภาพ) ส่วนdiffusion มักนิยมใส่ไว้ด้านหลังของห้อง ใกล้ๆกับลำโพงsurround speakers
  • ไม่ควรมีวัสดุ absorption มากกว่า 25% ของพื้นที่ผนัง
  • เช่นเดียวกับdiffusive ที่ไม่ควรมีมากกว่า25%ของพื้นที่ผนัง
  • วัสดุทั้งabsorption และdiffusive ควรจะมีความหนาระหว่าง 2-6นิ้ว

ส่วนการสะท้อนของlow frequency ที่จะทำให้เกิดroom mode หรือ standing waves วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือสัดส่วนของห้องอย่างที่เคยอธิบายไว้อย่างละเอียดในฉบับก่อนๆแล้ว และจำไว้อีกอย่างหนึ่งว่าพวกlow frequency เหล่านี้มักจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องisolation ของห้องด้วย

วัสดุที่ใช้ในการAcoustical treatment ในห้องhome theater แบ่งให้เข้าใจง่ายๆได้ 3ประเภทตามลักษณะหน้าที่

  • Absorption
  • Diffusion
  • Bass Trapping

Absorption จะเป็นวัสดุที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงไปเป็นพลังงานความร้อน ทำให้ลดการสะท้อนกลับของคลื่นเสียง วัสดุที่ใช้ทำเช่น acoustical foam, fiberglass, fiberทั้งที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ หรือวัสดุจากธรรมชาติ วัสดุเหล่านี้ควรจะต้องถูกห่อด้วยผ้า หรือวัสดุacoustics ที่ให้เสียงทะลุเข้าไปยังตัวเนื้อfiberได้ ที่ต้องถูกห่อก็เพื่อป้องกันfiber ที่บางตัวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหลุดเข้าสู่ร่างกาย ถ้าเป็นในประเทศสหรัฐอเมริกาวัสดุเหล่านี้ก็ต้องเป็นfire rated ClassA(ไม่ติดไฟ)ด้วย โดยทั่วไปแล้วเราจะพบวัสดุfiberอยู่3ประเภทที่ใช้กันอยู่ในตลาดของabsorbers เหล่านี้ ซึ่งก็จะให้ผลการดูดซับเสียงได้ใกล้เคียงกัน ส่วนการที่จะส่งผลกับคลื่นความถี่เท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับความหนาของวัสดุ ถ้าวัสดุหนาก็จะส่งผลในความถี่ที่ต่ำลงไป จากรูปจะเห็นได้ว่าความหนา 2.5cm จะส่งผลถึงความถี่ที่สูงกว่า 1k ซึ่งไม่ค่อยเห็นผลเท่าไหร่ ส่วนหนา 10.0cmจะส่งผลต่อความถี่ประมาณ 250Hz ซึ่งจะดีกว่า ส่วนDiffuserก็จะทำนองเดียวกันดูจากความหนา หรือความลึกของ treatment ถ้าจะให้ดีก็ต้องมากกว่า 10 cm หรือ 4นิ้วขึ้นไป

ส่วนค่า Noise reduction coefficient(NRC) ที่เราเห็นเขาบอกไว้เวลาเขาระบุspecของวัสดุtreatment พวกนี้ ก็จะบอกได้เพียงคร่าวๆเพราะเป็นค่าเฉลียการ absorptive ที่ความถี่Octave 250,500,1000,2000 จึงเหมาะกับใช้ในห้องประชุม ห้องเรียน สำนักงาน ที่เน้นการพูดเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นห้อง home theater หรือห้องที่เกี่ยวกับเสียงดนตรีที่มี frequency band ที่กว้างกว่านี้มาก ค่านี้จึงไม่ค่อย represent ค่าที่เราต้องการเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะห้องhome theaterของเราที่มีคลื่นความถี่ต่ำๆอยู่มาก วัสดุที่มักนำมาทำเป็น วัสดุabsorption ดังที่กล่าวข้างต้นมีดังนี้

1 Glass fiber หรือที่เรามักเรียกกันว่าfiberglass มันคือวัสดุเดียวกันกับที่ใช้ในงานทำฉนวนต่างๆ(insulation building)โดยเขาจะอัดfiber glassให้แน่นเพื่อให้แข็งและทำรูปร่างเป็นแผ่นได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องระวังก็คือมันทำมาจากglass เศษของมันหรือละอองของมันก็จะทำให้ระคายเคื่องได้ง่าย อาจจะแสบๆคันๆ ขณะติดตั้ง หรือบางคนก็อาจจะแพ้ได้

2.Mineral fiber หรือ mineral wool มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงใกล้เคียงกับfiber glass การทำให้เป็นรูปร่างก็เหมือนกับfiber glassส่วนมากได้มาจากอุตสาหกรรมพวกหินบะซอลต์ หรือ industrial slag ซึ่งพวกนี้ก็ทำให้เกิดการคันเช่นเดียวกันกับfiber glass และเป็นfire rated ClassA

3.Natural fiber ทำมาจากcotton ความสามารถในการดูดซับเสียงก็ไม่ต่างจากสองชนิดข้างบน ไม่ทำให้เกิดการคัน แต่ต้องระวังในเรื่องติดไฟได้ง่าย

4.Acoustical foam เป็นวัสดุยอดนิยมที่ใช้ทำabsorption อีกตัว เนื่องจากมีราคาถูกกว่า ทำรูปร่างและสีสันได้หลากหลาย บางทีก็อาจจะถูกวางไว้หลังผ้า(acoustics fabric)เพื่อตบแต่งห้องให้สวยงามมองไม่เห็นตัวabsorption แต่คุณสมบัติในการดูดซับเสียงจะไม่ดีเท่าพวกวัสดุพวกfiber แต่ถ้าต้องการให้ดีใกล้เคียงกับพวกfiber ก็ต้องทำให้หนามากขึ้น และอีกอย่างหนึ่งวัสดุfoam พวกนี้ไม่ได้เป็นfire rated classA แต่จะเป็นclassB ซึ่งหมายถึงมันไม่ได้ติดไฟได้โดยตรง แต่มันทำให้เกิดควันขึ้นอย่างมากถ้าถูกไฟเผา ก็ต้องระวังเผื่อเอาไว้ด้วยครับ

สำหรับ Diffusion ก็จะทำการกระจายคลื่นเสียงที่มาตกกระทบให้กระจายทั่วๆไปในห้องมากกว่าที่จะสะท้อนกลับไปตรงๆหาแหล่งกำเนิดเสียง หรือผนังด้านตรงข้าม ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่diffusion อยู่ในตลาดจะมีอยู่หลายรูปร่าง ทำมาจากวัสดุหลายๆแบบ แต่ละแบบก็จะใช้เพื่อtreatment ที่ต่างวัตถุประสงค์กันไป และเช่นเดียวกับabsorption มันจะดีถ้าเราใช้เพื่อกระจายเสียงในความถี่ที่ต่างๆกันไป ซึ่งความถี่ที่มันจะส่งผลถึงจะขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างจุดลึกสุดกับสูงสุดของวัสดุdiffusionนั้นๆ ลักษณะรูปร่างของdiffuser ที่มักเห็นทั่วๆไปเช่น

2D Diffusers ที่เป็นรูปร่างครึ่งวงกลม(Cylindrical) กับเป็นร่องๆ(Slotted) ซึ่งเหมาะจะใช้ในส่วนด้านหน้าของห้องhome theater เนื่องจากไม่ได้กระจายเสียง(scattering) มากจนทำให้เสีย focus ซึ่งในส่วนด้านหน้าห้องhome theaterเราต้องการ focus มากกว่า envelopment

3D Diffusers มักจะถูกวางไว้ส่วนหลังของห้อง ใกล้ๆลำโพง Surround เนื่องจากเราต้องการ scattering เสียงด้านหลังให้มากเพื่อให้เกิดenvelopment ให้มากที่สุด เพราะเราไม่ต้องการ focus แบบ pin point ในบริเวณด้านหลังของห้อง

ส่วนตัวBass Trapping ก็จะเป็นตัวช่วยดักความถี่ต่ำที่มีความยาวคลื่นยาวๆก่อนที่มันจะสะท้อนผนังกลับไปกลับมาภายในห้องเพื่อลดปัญหาstanding wavesลง ที่ใช้กันในห้องhome theaterจะมีอยู่หลายๆแบบเช่น

– Absorbers วัสดุก็ใช้วัสดุที่ใช้ทำabsorptionโดยทั่วไปที่ใช้เป็นbroad band absorptionดังที่กล่าวมาแล้ว แต่เพราะเราต้องการใช้ในความถี่ที่ต่ำมากๆ ดังนั้นมันก็จะต้องมีขนาดใหญ่และหนาเป็นพิเศษ บางทีก็จะวางไว้ที่มุมห้อง หรือซ่อนไว้ข้างใต้ผ้า(acoustics fabric)เพื่อความสวยงาม

– Diaphragmatic bass trap จะส่งผลในช่วงความถี่เฉพาะที่ไม่กว้างมาก ขึ้นอยู่กับวัสดุและความหนาของตัวbass trap โดยปกติจะอยู่ในช่วง 40-140Hz ซึ่งก็จะมีความหนาอยู่ที่ประมาณ 8นิ้ว

-.Tube Traps ก็จะเป็นabsorber ประเภทหนึ่ง จะส่งผลในช่วงความถี่ที่กว้างมากขึ้น(broadband) ส่วนใหญ่มักจะใช้ในStudio มากกว่าห้องHome theaterโดยทั่วไป

-.Helmholtz Resonator จะใช้หลักการทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนเพื่อทำการดักคลื่นความถี่ที่เฉพาะเข้าไปในรู แล้วทำการสลายในช่องว่างที่อยู่ด้านในของตัวResonator ดังนั้นมันจึงส่งผลต่อความถี่ที่แคบมากๆ ถ้าเป็น Parametric Equalizer ก็เหมือนกับค่า Q ที่สูงเพราะยิ่งค่าQ ยิ่งมากก็จะส่งผลต่อbandความถี่ที่แคบลงเขาจึงเรียกเจ้าตัวHelmholtz Resonator นี้ว่าเป็นhigh Q device

แต่ยังไงก็ดีการป้องกันstanding wavesที่ดีและได้ผลที่สุดในห้องhome theaterที่มีลักษณะเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมก็ยังคือการdesignขนาดสัดส่วนของห้องให้เหมาะสมเพื่อลดmodal problems ให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าห้องhome theaterของเรามีลักษณะไม่ได้เป็นกล่องปิดแต่มีส่วนที่เปิด เปิดโล่งออกสู่พื้นที่ว่างที่กว้างมากๆ ปัญหาเรื่องroom mode ก็จะไม่ใช่ปัญหาหลักอีกต่อไป

สิ่งที่ฝากไว้อีกอย่างคือว่าเจ้าตัวtreatments พวกนี้ถ้าเราเน้นเรื่องความสวยงามของห้องก็ควรจะวางไว้หลังผ้าAcoustics fabricเพราะรูปร่างหน้าตาtreatmentsมันจะดูพิลึก แปลกๆโดยเฉพาะกับบุคคลอื่นที่ไม่เล่นเครื่องเสียง แต่กับคนที่เล่นเครื่องเสียงบางท่านอาจจะมองว่ามันสวย ดูขลังแทน อิ อิ ถ้าเราเลี่ยงไม่อยากให้เห็นวัสดุพวกนี้เราก็หาวัสดูอื่นๆมาดัดแปลงให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับการใช้treatments พวกนี้ก็ได้ เช่นวัสดุabsorptive ถ้าเราไม่ต้องการเห็นเป็นแบบแผ่นๆแปะไว้ข้างฝา เราก็อาจจะประยุกต์ใช้ผ้าม่านผืนหนาๆแขวนไว้ห่างผนังซัก10cm. หรือพวกชั้นวางหนังสือ ชั้นวางCD Blu-ray DVD ต่างๆก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นDiffuserได้

ส่วนต้นไม้พร้อมกระถางถ้าเราวางมุมห้องบางทีมันก็อาจจะทำหน้าที่เป็นbass trapได้เหมือนกันขึ้นอยู่กับรูปร่างขนาด และการจัดวาง อีกอย่างหนึ่งที่ผมเห็นก็คือพวกไม้แกะสลักจากทางภาคเหนือ ถ้าเรายึดติดกับผนังห้อง ก็ให้ผลเป็นdiffuserได้เหมือนกันแถมยังมีความสวยงามแบบไทยๆ ทำให้ห้องเราดูดีมีDesign สบายตา ไม่เหมือนห้องทดลองทางด้านเสียงมากเกินไปครับ

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ Acoustical Treatment (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้