THX DOMINUS มาตรฐานใหม่ล่าสุดจากTHX

ถ้าพูดถึงมาตรฐานTHXที่คุ้นเคยกันก็คงจะเป็น THX Select, THX Ultra และเมื่อต้นปี2021ทางTHXได้เพิ่มมาตรฐานใหม่ขึ้นมาอีกอันหนึ่งก็คือ THX Dominus(โดมินัส) THXได้แจ้งว่าTHX Dominus เป็นมาตรฐานใหม่ที่ใช้สำหรับห้องHome Theaterที่มีขนาดใหญ่, จำนวนแถวที่นั่งมากกว่า และมีขนาดจอที่ใหญ่กว่าTHX Ultra THX Dominusเหมาะสำหรับห้องHome Theaterที่เป็นระบบimmersive surround ขนาดของห้องใหญ่ถึง 184ตารางเมตร คิดคร่าวๆก็คงประมาณห้องขนาด7×9เมตรสูงซักสามเมตร มีแถวนั่งฟัง 2-3แถว ระยะห่างจากจอภาพมากกว่า6เมตร จอภาพมีขนาดใหญ่ระดับ 230นิ้ว โดยระบบเครื่องเสียงที่ผ่านมาตรฐานTHX Dominusต้องสามารถทำความดังได้มากกว่ามาตรฐานTHX Ultra อยู่6dB โดยมีความเพี้ยนระดับ120dB SPL ในระยะ 1เมตรน้อยที่สุด สำหรับSensitivityของลำโพงจะถูกกำหนดไว้อยู่ที่ 92dB เพื่อให้ลำโพงสามารถทำความดังในระดับ THX Reference Level(เฉลี่ย=85dB, Max=105dB, Subwoofer Max=115dB)เช่นเดียวกับในโรงภาพยนตร์หรือห้องpost productionได้ ในตอนนี้ก็จะมีลำโพงSubwooferใหม่ของ M&Kรุ่น X+ Series และลำโพงของ Perlisten Audioที่ได้ถูกรับรองมาตรฐานTHX Dominusแล้ว ก็รอดูต่อไปว่าจะมีลำโพงรุ่นไหน แบรนด์ไหนอีกบ้างที่จะได้THX […]

โรงภาพยนตร์ที่ฉายหนังจากฟิล์ม35mm มีความละเอียดกี่Pixels ?

นับเป็นเวลากว่า125ปี ที่พี่น้องตระกูล Lumie’reจากฝรั่งเศสได้เริ่มทำการฉายภาพยนตร์จากฟิล์มให้ได้ชมกัน หลังจากนั้นการใช้ฟิล์มในการฉายหนังก็ได้รับความนิยมขึ้นมามากขึ้นเรื่อยๆจนมาถึงปัจจุบันที่กำลังจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องฉายระบบดิจิตอล ที่ผ่านมาฟิล์มมีหลายรูปแบบที่ถูกนำมาใช้ในการฉายหนัง แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดและแทบจะเรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานก็คือฟิล์มในระบบ35mm โดยทางKodakได้เคยให้ข้อมูลไว้ว่าฟิล์มหนังชนิดcolor negative 35mm สามารถบันทึกข้อมูลได้สูงถึง 12million pixelsกันเลยทีเดียว และถ้าเทียบเป็นด้านยาวของเฟรมก็คงมีรายละเอียดประมาณ 4,000pixel หรือคร่าวๆก็ประมาณ4K แต่เดี๋ยวครับอันนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่เป็นอุดมคติจากฟิล์มเท่านั้น เพราะจริงๆแล้วเวลาฉายหนังเราไม่ได้ฉายจากฟิล์มnegativeแต่ต้องมีกระบวนการเปลี่ยนจากฟิล์มnegativeเป็นสีแบบปกติซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้รายละเอียดของภาพลดลงอย่างน้อย 33% นอกจากนั้นขั้นตอนการcopyฟิล์มเพื่อนำไปฉายในโรงต่างๆทั่วโลกก็จะทำให้ลดรายละเอียดของภาพลงไปอีก ซึ่งรวมๆแล้วขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ก็จะลดรายละเอียดของภาพลงไปเหลืออยู่แค่ประมาณ 2K เท่านั้นยังไม่พอเมื่อมาถึงเครื่องฉายก็จะมีผลจากการที่ฟิล์มขยับได้ตามรูหนามเตยทั้งด้านข้าง(weave) ด้านบนล่าง(jitter) และการขยับไปในแนวหน้าหลัง(flutter)ที่ทำให้ระนาบฟิล์มไม่ได้พอดีกับfocus planeแบบ100% ซึ่งeffectเหล่านี้เป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นในเครื่องฉายแบบฟิล์มแม้ว่าจะพยายามลดให้เกิดน้อยที่สุดแต่ก็พบว่ายังมีอยู่ โดยทางITU(International Telecommunications Union)เคยศึกษาในโรงภาพยนตร์ที่ถือได้ว่ามีเครื่องฉายระดับดีที่สุดของโลก 6โรง พบว่าในโรงภาพยนตร์ที่ดีที่สุดรายละเอียดของภาพลดลง 12% ส่วนโรงที่แย่ที่สุดนั้นลดรายละเอียดของภาพลงถึง30% อันนี้คือโรงภาพยนตร์ที่มีเครื่องฉายดีที่สุดในโลกนะครับ โรงภาพยนตร์ทั่วไปที่เราดูกันก็คงจะลดลงมากว่านี้แน่นอน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ในยุคเริ่มมีหนังแบบDVD ความละเอียดภาพแค่ 720pixelsออกมา แล้วลองฉายกับเครื่องเล่นโปรเจคเตอร์แบบCRTในห้องhome theater หลายคน(รวมถึงผม)ต่างมีความรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับภาพที่ออกมาที่ดูเหมือนว่ามีความคมชัดกว่าหนังเรื่องเดียวกันที่ดูจากโรงภาพยนตร์บางแห่งที่ฉายด้วยฟิล์ม35mm อย่างไรก็ตามก็ยังมีฟิล์มformatsอื่นๆอีกเช่น 70mm ที่เริ่มใช้กันตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1950’s ก็จะมีรายละเอียดของภาพมากกว่าฟิล์ม35mm ประมาณสามเท่าเนื่องจากฟิล์มที่กว้างมากขึ้น สำหรับฟิล์มในระบบIMAXที่ใช้ฟิล์ม 70mmและวางframeในแนวนอนก็จะมีความละเอียดมากกว่าฟิล์ม 35mm แปดเท่าตามขนาดของฟิล์มที่ใหญ่ขึ้น ส่วนเครื่องโปรเจคเตอร์ของIMAXเองก็จะถูกออกแบบให้เกิดweave, jitter และ flutterน้อยที่สุดเพื่อให้ภาพที่ออกมาสามารถถ่ายทอดรายละเอียดที่สูงมากที่สุดตามที่ฟิล์มได้บันทึกมา […]