madVR

madVRเป็นExternal Video Processorที่ใช้ในการปรับแต่งภาพ มีจุดเด่นในเรื่องของการทำDynamic Tone Mapping และ LUT3D ให้กับจอภาพทุกประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจอที่มีความสว่างไม่มากพอสำหรับการแสดงภาพHDR มาดูกันว่าเครื่องmadVRตัวนี้จะมีประสิทธิภาพสมกับเป็นvideo processor ที่กำลังมาแรงสุดในตอนนี้หรือเปล่า ใครสนใจติดตามอ่านต่อไปได้เลยครับ ผมเคยได้ลองmadVRตั้งแต่ยังไม่ได้ออกขายอย่างเป็นทางการ เป็นตัวทดสอบที่ทางบริษัทส่งมาให้ลองก่อนที่จะเปิดขายจริงเมื่อหลายเดือนก่อน ซึ่งเท่าที่ลองตอนนั้นก็รู้สึกตื่นเต้นในระดับหนึ่งเมื่อเห็นประสิทธิภาพขั้นต้นของเครื่องแต่การลองในครั้งนั้นยังไม่ได้ลองแบบละเอียดลงลึกมาก จนมาถึงเมื่อหลายอาทิตย์ก่อนทางบริษัทDECO2000 ได้ส่งmadVRตัวจริงที่ใช้ในการจัดจำหน่ายส่งมาให้ผมได้ทดลองใช้แบบเต็มที่เพื่อดูประสิทธิภาพขีดสุดของเครื่องว่าเครื่องvideo processorตัวเก่งที่กำลังมาแรงในตลาดทั่วโลกตัวนี้จะเยี่ยมขนาดไหน สำหรับmadVRที่ส่งมานั้นเป็นmodelที่เรียกว่าEnvy มีอยู่2รุ่นคือ madVR Envy Pro สนนราคาอยู่ที่ 300,000บาท ส่วนรุ่นใหญ่ตัวtopคือรุ่น Extremeราคาจะอยู่ที่ 500,000บาท สำหรับทั้งสองรุ่นสิ่งที่ต่างกันในเรื่องของประสิทธิภาพเครื่องที่เร็วขึ้นสามารถคำนวณข้อมูลมากๆได้ดีกว่า เช่นสามารถUpscalingภาพได้ถึงระดับ 8K60 และรองรับการทำDynamic Tone Mapping(DTM)ได้ถึง4K60HDRอย่างไม่มีปัญหา ในขณะที่ตัวProก็สามารถทำDTM 4K60HDRได้เช่นกันแต่ความรวดเร็วความsmoothอาจจะไม่เท่าตัวExtreme นอกจากนั้นก็ในเรื่องfunctionการใช้งาน Featureต่างๆที่ตัวExtremeจะจัดมาเต็มที่กว่า ซึ่งในรายละเอียดทั้งหมดในเรื่องของHardware คุณสมบัติต่างๆของทั้งสองรุ่น ลองดูในตารางเปรียบเทียบได้ รูปร่างภายนอกก็ต้องว่ามันก็คือcaseคอมพิวเตอร์ดีๆนี่เอง ไม่มีการตกแต่งอะไรมากนัก ด้านหน้าเป็นแผ่นโลหะด้านสีดำ ส่วนด้านข้างและด้านบนจะเน้นไปที่ช่องพัดลมระบายอากาศที่มีอยู่หลายช่อง แสดงถึงในขณะทำงานคงต้องมีการประมวลผลมากทำให้เกิดความร้อนขึ้นจึงต้องทำไว้หลายช่อง เท่าที่ฟังดูเสียงพัดลมถือว่าเบาไม่รบกวนการดูหนัง สงสัยคงรู้ว่าต้องเอาไว้ในห้องhome theaterที่ต้องการความเงียบ เลยเลือกใช้อุปกรณ์และออกแบบให้ระบบระบายอากาศมีความเงียบกว่าคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป เนื่องจากเป็นเครื่องแบบcomputer base ช่องต่อด้านหลังเครื่องดูก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ดีๆนี่เอง ไม่มีอะไรพิเศษ […]

HDRกับโปรเจคเตอร์ในปัจจุบัน(2020)

ในบทความทดสอบอุปกรณ์MadVRที่เป็นExternal Video Processorผมได้กล่าวไว้ว่าโปรเจคเตอร์ที่ใช้ในบ้านหรือใช้ในห้องHome theaterโดยทั่วไปนั้นไม่เหมาะกับภาพแบบHDRตรงๆ จะต้องมีการทำTone Mapping หรือมีการทำเป็นSDR in HDR containerมากกว่า ในเรื่องนี้มีหลายท่านสงสัยและอยากรู้มากขึ้นว่าทำไมภาพแบบHDRที่ใช้กันโดยทั่วไปในจอทีวี flat panelต่างๆ ถึงไม่เหมาะสมกับจอโปรเจคเตอร์ สิ่งหนึ่งที่อาจจะพอเดาได้ก็คือว่าจอโปรเจคเตอร์มีความสว่างไม่มากก็คงไม่เหมาะกับภาพแบบHDRแต่ในรายละเอียดนอกจากนี้แล้วยังมีอะไรอีกไหม ใครสนใจติดตามอ่านกันได้เลยครับ #หมอเอก ก่อนจะพูดเรื่องของHDR และ SDRผมเลยจะขอพูดถึงพื้นฐานในเรื่องของความสว่างและการมองของมนุษย์เป็นพื้นฐานก่อนเพื่อจะทำให้เห็นภาพของHDRและSDRมากขึ้น สายตาของมนุษย์เราสามารถรับค่าcontrast ratioหรือจากส่วนมืดสุดไปส่วนที่สว่างที่สุดได้ถึง 1,000,000:1 แต่เดี๋ยวก่อนนะครับบางคนคิดว่าเราสามารถมองภาพได้contrast ratioได้กว้างขนาดนั้นเลยจริงๆ ความจริงแล้วค่านี้เป็นค่าที่ความสามารถสูงสุดของสายตามนุษย์ในแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกันไม่ได้หมายถึงในการมองภาพเพียงครั้งเดียว เพราะว่าในการมองภาพพร้อมๆกันในครั้งเดียวกันนั้นสายตาของมนุษย์จะสามารถเก็บcontrastได้แคบลงและคงที่ตลอดแค่ประมาณ 10,000:1 เท่านั้น ไม่สามารถเก็บcontrastได้พร้อมกันทั้ง 1,000,000:1 และการรับรู้contrastของภาพก็ต้องอาศัยเวลาเพื่อให้มีการปรับสายตาด้วยในการมองภาพที่มีความสว่างไม่เท่ากัน เช่นถ้าเรากำลังมองภาพออกไปนอกหน้าต่างที่มีความสว่างมากและเมื่อหันกลับมามองภาพภายในห้องที่มืดกว่า สายตาของมนุษย์เราต้องใช้เวลาปรับหลายนาทีกว่าจะสามารถรับรู้รายละเอียดที่อยู่ในส่วนมืดของห้องได้ และในทางกลับกันเมื่อกำลังมองภาพในห้องที่มืดแล้วกลับไปหาในส่วนที่สว่างกว่ามากๆสายตาของมนุษย์ก็ต้องใช้เวลาในการปรับเพื่อให้สามารถมองภาพในสิ่งแวดล้อมที่สว่างนั้นได้แต่เวลาที่ใช้ในการปรับจากการมองในจุดมืดไปในจุดที่สว่างกว่าจะใช้เวลาน้อยกว่าคือประมาณหลักสิบวินาที ไม่ได้ใช้เวลาเป็นนาทีเหมือนจากจุดสว่างไปยังส่วนมืด การดูทีวีที่จอขนาดเล็กมีองศาการดูประมาณ 5-15องศาในห้องที่มืด โดยธรรมชาติสายตาของมนุษย์จะไม่สามารถปรับcontrastแยกเป็นส่วนๆได้ ทำให้contrastที่สายตารับได้ไม่เต็มที่เพราะมีทั้งส่วนที่มืดมากและสว่างมากอยู่พร้อมกัน ในสิ่งแวดล้อมแบบนี้การที่จะทำให้สายตาเก็บcontrastเต็มที่จากภาพHDRก็คือต้องเพิ่มองศาการดูมากกว่า 45องศาก็จะทำให้การรับรู้contrastจากภาพHDRในจอทีวีได้มากขึ้นและไม่เกิดการเมื่อยล้าของสายตาที่ต้องจ้องมองภาพจากจอที่สว่างในสิ่งแวดล้อมที่สภาพแสงมืดมีความแตกต่างจากภาพในจอมากเกินไป หรือไม่ก็ต้องทำให้สิ่งแวดล้อมรอบๆจอภาพไม่มืดสนิทสังเกตุดูได้จากห้องpost productionที่coloristใช้ในการปรับแต่งสีของภาพจะไม่ได้มืดสนิท แต่จะมีแสงสว่างบ้างเล็กน้อยรอบจอภาพเพื่อไม่ให้สายตาล้าเกินไปและให้การตอบสนองต่อcontrastของภาพได้ดีขึ้น diagramนี้ถูกนำเสนอออกมาตอนมีการพูดถึงเรื่องของภาพแบบHDRว่าดีกว่าภาพแบบSDRยังไงในช่วงแรกที่ภาพแบบHDRกำลังบูม เพราะขณะนั้นจอภาพทุกอย่างที่ออกมาต้องเป็นHDR แต่เชื่อไหมครับdiagramนี้มีหลายอย่างที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ทำให้คนดูdiagramนี้เข้าใจผิด อย่างแรกคือสายตามนุษย์ไม่สามารถเก็บcontrastได้มากกว่า 10,000:1 ในการมองภาพพร้อมกันได้อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่diagramบอกว่าการมองHDRสายตามนุษย์สามารถรับรู้contrastได้ถึง 0.0005-10,000 cd/m2 […]