Review

Search

BenQ W5800

BenQ ได้ออกโปรเจคเตอร์ตัวใหม่ล่าสุดที่เน้นในการดูหนังรุ่นW5800 ทำไมถึงต้องบอกว่าเหมาะสำหรับการดูหนัง การดูภาพยนตร์ ลองมาติดตามดูครับว่าโปรเจคเตอร์ตัวนี้มีอะไรพิเศษสำหรับคอดูหนังจอใหญ่กันบ้าง

ถ้าจำกันได้เมื่อห้าปีก่อนผมได้เคยรีวิวโปรเจคเตอร์BenQ W5700 ซึ่งเป็นโปรเจคเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานhome theaterโดยเฉพาะ ทำให้ตอนนั้นวงการโปรเจคเตอร์ตื่นเต้นกับโปรเจคเตอร์W5700มากเนื่องจากมีspecที่สูงและราคาไม่แรงมาก จนถึงตอนนี้ได้พัฒนามาเป็นรุ่นW5800ซึ่งผมต้องบอกว่ารุ่นใหม่นี้ได้มีการพัฒนาขึ้นจากตัวเดิมมากในทุกๆด้าน ทั้งรูปลักษณ์ภายนอกจนไปถึงเทคโนโลยีข้างในเครื่อง

แกะกล่องออกมาสิ่งแรกที่เห็นก็คือซองที่บรรจุผลการวัดค่าสีในห้องปฏิบัติการว่าโปรเจคเตอร์ตัวนี้ให้ภาพทั้งSDR และHDRได้ถูกต้องเที่ยงตรงตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ชมมั่นใจว่าภาพที่เห็นนั้นใกล้เคียงกับภาพที่คนทำหนังต้องการสื่อสารมากที่สุด ซึ่งจะมีค่าความเพี้ยนหรือค่าdelta Eเป็นตัวบ่งบอก โดยปกติถ้าค่าdelta Eมีค่าต่ำกว่า3 ก็ถือว่าเป็นการยากแล้วที่สายตามนุษย์ทั่วไปจะแยกความแตกต่างออก แต่ของBenQ W5800สามารถทำค่าDelta Eในห้องทดสอบเฉลี่ยได้ต่ำกว่า1 ซึ่งเท่าที่ผมเจอมา ก็จะเจออยู่ในพวกMastering Monitor, พวก Reference Monitor หรือพวกโปรเจคเตอร์ที่Hi-Endจริงๆถึงจะทำค่าต่ำอย่างนี้ได้

ข้างในกล่องก็มีตัวเครื่องโปรเจคเตอร์ สายไฟที่มีหัวแบบต่างๆ คู่มือ และรีโมท โดยรูปร่างของรีโมทก็เหมือนรีโมทโปรเจคเตอร์BenQทั่วไป เพียงแต่จะมีปุ่มFilmmaker Modeเพิ่มขึ้นมา

ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่กว่ารุ่นW5700เล็กน้อยแต่แบนกว่า ขนาดจะอยู่ที่ 52.5×39.2×14.5cm น้ำหนัก10.5Kg ก็ถือว่าน้ำหนักไม่มากเกินไปถ้าจะแขวนในห้องดูหนัง

โดยรอบเครื่องจะเป็นครีบระบายอากาศ โดยจะดูดอากาศจากด้านหน้าและด้านหลังเครื่อง แล้วถ่ายเทออกด้านข้างของเครื่องทั้งสองข้าง ซึ่งเท่าที่ผมทดสอบเครื่องนานๆก็ระบายอากาศได้ดีถึงแม้จะเป็นเครื่องเลเซอร์ที่มักจะมีความร้อนสูง และก็ไม่ได้ยินเสียงพัดลมระบายอากาศจนรู้สึกรบกวนการดูหนังแต่อย่างไร

ช่องต่อด้านหลังจะมีช่องHDMI 2.1สองช่อง โดยช่องHDMI-1รองรับระบบeARCเพื่อส่งสัญญาณmultichannel audioออกไปยังเครื่องเสียงชุดใหญ่ได้ มีช่องต่อUSB 2.0 เพื่อเล่นไฟล์และFirmware upgradeสองช่อง ช่องRS232เพื่อควบคุมเครื่อง ช่อง3D Sync ช่องLAN ช่องUSB Type-Bเพื่อservice และช่องต่อเสียงออกแบบopticalอีกหนึ่งช่อง

โปรเจคเตอร์BenQ W5800เปิดตัวมาในราคา 179,000บาท สำหรับคุณสมบัติเด่นก็ได้แก่เป็นโปรเจคเตอร์ที่สามารถแสดงความละเอียดได้ในระดับ4K ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบLaser light sourceที่ให้ความสว่างถึง 2600ANSI Lumens สามารถแสดงสีได้100%ของความกว้างสีDCI-P3 รองรับระบบภาพ HDR10, HLG(Hybrid Log Gamma) และ ระบบHDR10+ ซึ่งHDR10+จะส่งข้อมูลmetadataแบบไดนามิกเพื่อปรับความสว่าง สี ความเข้มสี และคอนทราสของภาพทีละเฟรมภาพตามที่คนทำหนังเขาใส่เข้ามา

W5800เลือกใช้เลนส์กระจกทั้งหมด14ชิ้น 7กลุ่ม เคลือบด้วยวัสดุการกระจายตัวต่ำ สามารถปรับตัวเลนส์แบบMortorizedทั้ง 2D Lens shift +-50%แนวตั้ง และ+-21%แนวนอนทำให้ไม่สูญเสียรายละเอียดเหมือนDigital lens shift มี2D Keystone และ Zoom Mortorized 1.6เท่า

การที่มีZoomถึง 1.6เท่าและแสงสว่างที่สูงทำให้โปรเจคเตอร์BenQ W5800สามารถฉายภาพขนาดใหญ่ได้ถึง150-200นิ้ว โดยวางโปรเจคเตอร์ห่างจากจอเพียงแค่ 5-6.7เมตรเท่านั้น ทำให้มีความยืดหยุ่นในการจัดวางมากขึ้น

นอกจากนั้นเพื่อให้ได้ภาพที่ถูกต้องและคุณภาพที่ดีที่สุด ทางBenQก็ได้พัฒนาHDR-PRO แบบLCE(Local Contrast Enhancer) เพื่อแบ่งภาพออกเป็นโซนมากกว่าพันโซนและปรับแกมม่าของแต่ละโซนให้เหมาะสมอย่างอิสระ จึงทำให้ภาพที่ออกมามีTone Mappingที่เหมาะสม ได้รายละเอียดสมบูรณ์แบบแม้ในเงามืด และส่วนที่สว่างมากๆ

เมื่อแกะกล่องโปรเจคเตอร์เสร็จแล้วก็ได้เวลาติดตั้งและทดสอบ โดยได้วางโปรเจคเตอร์บนชั้นห่างจากจอภาพ 5.5เมตร จอภาพที่ใช้ทดสอบเป็นจอStewart FireHawk G5 เกนภาพ1.1 ฉายในอัตราส่วนภาพ 16:9 ที่120นิ้ว

เมื่อเปิดเครื่องก็ทำการsetupเครื่องให้พอดีกับจอภาพซึ่งทำได้อย่างง่ายดายทั้งการShift การZoom การFocusเนื่องจากเป็นระบบแบบmotorizedทั้งหมด เสร็จแล้วผมก็ทำการกดปุ่มFactory Defaultเพื่อปรับค่าทุกอย่างเหมือนกับออกมาจากโรงงานก่อนเริ่มทำการทดสอบ เปิดภาพแรกออกมาสิ่งที่เป็นfirst impressionของผมก็คือความสว่าง ความคมชัด และภาพout of the boxที่ทำได้สวยมาก แถมยังมีFilm maker modeเพื่อให้ภาพยนตร์ที่ดูมีความสมจริงใกล้เคียงกับภาพต้นฉบับที่ผู้กำกับต้องการมากที่สุด สำหรับโปรเจคเตอร์ตัวนี้ใช้งานมาแล้ว284ชั่วโมงก่อนมาถึงผม ทำให้ไม่ต้องมีการburn inมากมาย ลองเล่นกับเครื่องเล่นนิดหน่อยเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องสามารถทำงานได้ปกติก็ทำการทดสอบต่อไปได้เลย

อุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบก็ใช้ตัววัดSpectrophotometerของJetiรุ่นspectraval1511 ทำprofileให้ColorimeterของKleinรุ่นK-10A ใช้Murideo Seven-G 8Kเป็นPattern Generator โปรแกรมใช้Calman Video Proของportrait displays

สิ่งแรกที่อยากรู้ก็คือก็คือความสว่าง ว่าโปรเจคเตอร์ตัวนี้วัดในmodeต่างๆแล้วความสว่างยังคงดีอยู่ไหม ผมจึงเริ่มทำการวัดค่านี้เป็นสิ่งแรกเลย ซึ่งระบบภาพแบบ Rec.709 SDR ในmodeต่างๆวัดได้ดังนี้ Bright modeวัดได้ 43fL, Bright Cinema 33.2fL, Film maker mode 33.9fL, Cinema 33.8fL, User 31.2fL ส่วนในระบบภาพHDR mode HDR10วัดได้ 31.7fL และ Film maker mode(HDR) วัดได้ 31.4fL ซึ่งถือว่าสว่างมากสำหรับโปรเจคเตอร์ในระดับนี้ และเมื่อเปลี่ยนmodeเป็นmodeชนิดต่างๆสังเกตได้ว่าความสว่างก็ไม่ได้ลดลงมากนักเนื่องจากไม่มีการใช้filterในการเปลี่ยนmode เท่าที่ดูผมว่าความสว่างขนาดนี้ร่วมกับเทคโนโลยีกำเนิดภาพแบบDLP ก็สามารถฉายภาพขนาด200นิ้วได้สบาย

สำหรับการcalibrationผมใช้film maker modeที่ normal color temperatureเนื่องจากมีค่าใกล้เคียงมาตรฐานที่สุด โดยในกราฟก็จะเห็นได้ว่าถึงแม้โปรเจคเตอร์ที่มีการcalibrateจากโรงงานมาดีแล้วแต่เมื่อมาเจอสิ่งแวดล้อมที่ต่างออกไปจากห้องทดสอบมาตรฐานของโรงงาน ทั้งจอภาพ ตำแหน่งของภาพที่อาจจะต้องมีการปรับเลนส์ สิ่งแวดล้อมผนังห้องพื้นห้องที่ไม่ได้มีสีเป็นสีกลาง ก็จะทำให้ค่าที่ปรับมาแล้วต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับสภาพห้องที่กำลังรับชมอยู่ให้ได้ใกล้เคียงมาตรฐานเหมือนเดิม อย่างการวัดในห้องผมก็จะเจอว่ามีค่าสีฟ้าที่สูงเกินมาตรฐานในIREสูงๆ ส่วนสีอื่นเกือบเป็นปกติ การปรับก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรแค่ลดเกนสีฟ้าลงมาก็ทำให้ค่าดีขึ้นมาก และเมื่อปรับเสร็จค่าdelta Eเฉลี่ยอยู่ที่ 1.13 ซึ่งก็ถือว่าใกล้เคียงมาตรฐานมากแล้ว

การครอบคลุมสีของDCI-P3หลังจากcalibrateแล้วจะลดเหลือ 97.6% ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่เวลาcalibrateสีแล้วความกว้างของสีที่ทำได้ก็จะลดลงบ้างเล็กน้อย

คราวนี้มาดูจากภาพยนตร์จริงๆกันว่าภาพออกมาเป็นยังไงบ้าง ข้อดีที่ผมชอบอย่างแรกเลยของโปรเจคเตอร์เลเซอร์ที่สว่างก็คือสามารถเปิดไฟดูcontentต่างๆได้เหมือนกับทีวีปกติ เปิดปิดเครื่องได้รวดเร็ว สามารถดูได้นานๆไม่ต้องคอยกังวลเรื่องความเสื่อมของแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า20,000ชั่วโมง อย่างในห้องผมเปิดไฟทุกดวงรวมถึงไฟดาวน์ไลท์ที่อยู่หน้าจอภาพก็ยังสามารถดูapple TVได้อย่างไม่มีปัญหา ดูcontent ดูYouTubeร่วมกับทำงาน ทำกิจกรรมอย่างอื่นไปด้วยก็ได้

ที่ชอบอีกอย่างหนึ่งก็คือเครื่องรองรับระบบภาพแบบHDR10+ ทำให้ได้รายละเอียดทั้งในส่วนพื้นที่สว่างและมืดของเนื้อหาตามข้อมูลเมตาดาต้าแบบไดนามิก เหมือนกับต้นฉบับที่ผู้สร้างได้ทำขึ้นมาในทุกๆฉาก

ซึ่งถ้าแหล่งข้อมูลที่เล่นนั้นเป็นแบบHDR10+ เราจะไม่สามารถเปลี่ยนPicture Modeไปเป็นmodeอื่นได้ เนื่องจากว่าmodeนี้ถือได้ว่ามีความถูกต้องของภาพใกล้เคียงกับต้นฉบับที่สุดแล้ว แต่ก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนค่าพื้นฐานภาพต่างๆในmodeนี้ได้อยู่

ในส่วนของภาพยนตร์ที่เป็นHDR10+ ก็แสดงภาพทั้งในส่วนสว่างและส่วนมืด รายละเอียดของสีสันต่างๆ ได้อย่างแม่นยำตามdynamic metadataที่ผู้กำกับ หรือdirectorใส่เข้ามา

ส่วนถ้าเป็นภาพแบบHDR10 หรือ SDR ก็สามารถใช้Filmmaker Modeเพื่อรักษาความสมจริงของภาพให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุดได้เช่นกัน

ภาพที่มีความสว่าง สีสันสดใส นี่ต้องถือว่าเป็นSignatureของเทคโนโลยี DLPเลย เนื่องจากใช้หลักการของการสะท้อนกระจกเล็กๆในการกำเนิดภาพ

รายละเอียดของทั้งส่วนมืดและส่วนสว่างทำได้แม่นยำ มีรายละเอียดครบถ้วน เนื่องจากใช้อัลกอริธึมLCE(Local Contrast Enhancer) ที่มีการแบ่งภาพออกเป็นโซนและวิเคราะห์ปรับความสว่าง ความมืดแยกกันแต่ละโซนเลย

ยิ่งถ้าเป็นภาพยนตร์แบบ 24เฟรมต่อวินาที(fps) ผมแนะนำอย่างยิ่งให้ใช้เป็นFilmmaker Mode เพราะนอกจากจะมีความแม่นยำของสี คอนทราสต์ ความสว่างของภาพตรงตามที่ผู้กำกับต้องการแล้ว ภาพเคลื่อนที่ก็ทำได้อารมณ์เดียวกับฟิล์มโดยแทบจะไม่มีJudder หรืออาการกระตุกให้เห็นแต่อย่างใด

ความคมชัดของโปรเจคเตอร์BenQ W5800ทำได้ยอดเยี่ยมมาก เรียกว่าชัดจนเห็นไรขนบนใบหน้านักแสดงกันเลยทีเดียว

เรื่องความสดของสีนี่ต้องยกให้chip DMD ยิ่งมาพร้อมกับ100% ของDCI-P3และRec.709 ทำให้แสดงสีที่แม่นยำเพื่อถ่ายทอดภาพได้อย่างสมจริงตามที่ผู้กำกับได้จินตนาการไว้

หลังจากได้ทดลองใช้งานโปรเจคเตอร์BenQ W5800 ต้องบอกว่าโปรเจคเตอร์ตัวนี้มีจุดเด่นหลายอย่าง ทั้งการติดตั้งที่ง่าย ความสว่างสูง สีสันสดใส มีความแม่นยำของสีแบบว่าout of the boxออกมาก็ภาพดีเลย การรองรับระบบภาพที่เล่นได้หลากหลาย คุณภาพของภาพที่ออกมาโดยเฉพาะภาพจากภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็นภาพแบบHDR หรือSDRทำได้ดีมาก ความดำของภาพทำได้ดีกว่ารุ่นเดิมแต่ก็ยังไม่ถึงกับดำลึกมากเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีกำเนิดภาพแบบอื่น ส่วนrainbow effectผมเห็นบ้างแต่ก็น้อยมากไม่รบกวนการดูหนังแต่อย่างไร โดยรวมแล้วโปรเจคเตอร์BenQ W5800เป็นโปรเจคเตอร์ที่คุณภาพคับแก้ว ถ้าเทียบในราคาใกล้เคียงกันตอนนี้ผมว่าโปรเจคเตอร์ตัวนี้สู้กับทุกตัวได้ในตลาด เพียงแต่ว่าจะชอบสีสันแนวภาพในลักษณะDLPหรือเปล่า ยังไงก็ลองไปหาชมภาพจริงๆของโปรเจคเตอร์ตัวนี้กันดูก่อนตัดสินใจ ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางBenQ Thailand ที่ได้ส่งโปรเจคเตอร์BenQ W5800มาให้ทดสอบในครั้งนี้และถ้าใครต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมของโปรเจคเตอร์ตัวนี้สามารถเข้าไปที่ https://bit.ly/3BmBG6Z ได้เลยครับ

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ BenQ W5800 (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้