Review

Search

Zappiti Signature

เมื่อพูดถึงMedia playerหรือเครื่องเล่นไฟล์ในระดับHigh-End ชื่อหนึ่งที่ต้องมีขึ้นมาก็คือZappiti และตอนนี้ได้เปิดตัวรุ่นใหม่ล่าสุดมาอีกสามรุ่นได้แก่Zappiti Signature ที่เป็นรุ่นสูงสุดราคาอยู่ที่ 100,000บาท รองลงมาจะเป็นZappiti Referenceราคา 50,000บาท และZappiti Neoในราคา 30,000บาท โดยในวันนี้จะมาพูดถึงรุ่นที่เป็นรุ่นใหญ่สุดหรือรุ่นเรือธงได้แก่ Zappiti Signatureว่าเครื่องเล่นไฟล์ที่มีสนนราคาระดับแสนบาทนั้นมีอะไรที่แจ่มบ้าง ติดตามได้เลยครับ #หมอเอก

แกะกล่องออกมาความรู้สึกแรกที่รับรู้ได้ก็คือตัวเครื่องหนักใช้ได้เลย ไม่ได้เบาหวิวเหมือนเครื่องเล่นไฟล์หลายตัวที่เป็นกล่องเล็กๆเบาๆ น้ำหนักแจ้งไว้อยู่ที่ 7.23Kg ส่วนขนาดของเครื่องมีขนาดใหญ่กว่ารุ่นเดิมZappiti Pro4K HDR Audiocomที่ผมใช้อยู่พอสมควร โดยจะมีขนาดอยู่ที่ 43x11x34.3cm

โดยความหนาที่เพิ่มขึ้นมานั้นเรื่องจากมีการวางตำแหน่งrackของHDDใหม่อยู่ในแนวดิ่ง ไม่ได้วางซ้ายขวาเหมือนรุ่นอื่น โดยZappiti Signatureตัวนี้สามารถรองรับHDDที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 40TB เรียกได้ว่าถ้าใส่พร้อมกันสองตัวก็สามารถเก็บข้อมูลภาพยนตร์Blu-raysได้เป็นพันๆเรื่องกันเลยทีเดียว นอกจากนี้ก็ยังสามารถเชื่อต่อกับExternal HDDเพื่อเก็บหนังเพิ่มเติมได้อีกด้วย

อุปกรณ์เสริมที่ให้มาภายในกล่องก็จะเป็นรีโมทที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนรุ่นก่อนหน้านี้, สายไฟที่มีขั้วแบบต่างๆ, เสาอากาศของWi-Fi, Bluetooth และตัวIR Extenderเพื่อขยายพื้นที่การรับข้อมูลIR ของตัวรีโมท

รูปร่างหน้าตาด้านหน้าก็ดูสวยงามแบบเรียบง่าย มีจอOLEDขนาดใหญ่ด้านซ้ายมือเพื่อบอกสถานะของเครื่องและไฟล์ที่กำลังเล่นอยู่ ด้านข้างก็จะเป็นปุ่มเปิดปิดเครื่องและUSB port ส่วนด้านขวาก็จะมีช่องต่อHeadphone outputแบบแจ็ค 6.35mm และUSB portอีกอันอยู่ฝั่งนี้

ด้านหลังของเครื่องจะมีช่องเชื่อมต่อ ที่สำคัญก็มีช่องต่อBalanced XLR/RCA Analog Output, Optical/Coaxial Input/Output, ช่องHDMI Input 1ช่อง, HDMI Output 2ช่องที่สามารถแยกสัญญาณภาพและเสียงออกจากกันได้ นอกจากนั้นก็จะเป็นช่องเชื่อมต่อข้อมูลแบบUSB 2.0, USB 3.1, USB TYPE-C

และที่สำคัญส่วนด้านใต้เครื่องจะมีบอกหมายเลขTokenเอาไว้เพื่อนำไปregisterในตัวแอป Zappiti Video ทำCollectionปกของหนังแบบสวยๆได้ ก็ให้จดหรือถ่ายรูปเก็บเอาไว้ก่อนเพราะบางทีเมื่อนำไปวางบนชั้นหรือใส่ในrackแล้วจะยุ่งยากเอาเข้าเอาออกเพื่อมาดูรหัสตัวนี้อีก

ตารางนี้แสดงสรุปspecของZappitiแต่ละรุ่น จะเห็นได้ว่าในรุ่นใหม่สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาที่สำคัญคือสามารถรองรับภาพDolby Vision เนื่องจากเปลี่ยนไปใช้Processorเป็นRTD1619RD โดยจะรองรับprofilesของDolby Visionทั้ง P4, P5, P7 MELและFEL, P8 นอกจากนั้นก็ยังรองรับในส่วนภาพแบบ HDR10+ ด้วย ในส่วนของZappiti MagicPiexelที่เป็นเทคโนโลยีช่วยในเรื่องdynamics ความแน่นอนของสี contrastของภาพก็ได้ปรับปรุงใหม่เป็นรุ่นV3 จากตัวเดิมใช้รุ่นV2.5 สำหรับตัวAndroid ก็ปรับปรุงจากรุ่นเดิมที่เป็นVersion6.1 มาเป็นVersion 9.0 ทำให้การใช้งานมีความลื่นไหลและเสถียรมากขึ้นรวมถึงการใช้งานในส่วนของรีโมทที่ใช้งานดูก็ใช้งานได้ปกติไม่ติดขัดเหมือนรุ่นเก่าๆ

บางคนอาจจะคิดว่าเครื่องที่ใช้processorการประมวลผลภาพตัวเดียวกันแล้วภาพกับเสียงที่ออกมาจากเครื่องเล่นจะเหมือนๆกัน ความจริงแล้วส่วนประกอบอื่นๆในเครื่องก็มีผลต่อคุณภาพของภาพและเสียงได้มากกว่าที่เราคิด ยกตัวอย่างเช่นจอภาพแบบOLEDที่เกือบทั้งหมดในตลาดทีวี แผ่นจอOLEDผลิตมาจากแหล่งเดียวกัน แต่เมื่อนำไปประกอบเป็นทีวีแต่ละยี่ห้อ ใส่วงจร โปรแกรมประมวลผลที่ต่างกันเข้าไปก็ทำให้ภาพของทีวีOLEDของแต่ละยี่ห้อออกมาแตกต่างกันมาก ซึ่งตัวZappiti Signatureตัวนี้ที่ส่วนประกอบต่างๆล้วนเป็นอุปกรณ์คัดเกรดเอาแบบประเภทตัวTopมาทั้งนั้นอย่างเช่น JEC power connectorที่ใช้ในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ, ขั้วต่อaudioใช้ของNeutrikจากเยอรมัน, Philips diodes(NL), Nichion Audio Seriesและ Nippon Chemi-Con capacitorsของญี่ปุ่น, Vishay Roederstein และ WIMA capacitorsจากเยอรมัน เป็นต้น

Power SupplyของZappiti Signatureจะใช้แบบ R-Core ที่เด่นในเรื่องของความสะอาดของไฟฟ้า ลดnoiseและการเกิดของสนามแม่เหล็ก ให้ประสิทธิภาพการทำงานมากกว่าPower SupplyแบบToroidalที่คุ้นเคย โดยในเครื่องจะใช้ตัวR-Coreขนาดใหญ่แยกเป็นสองตัวสำหรับวงจรanalogหนึ่งตัว และวงจรdigitalอีกหนึ่งตัว

Hi-Fi DACก็ใช้ตัว ESS ES9038PRO ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับReference และเป็นผู้นำในเรื่องDACที่มีประสิทธิภาพสูง มีdistortionต่ำ ถูกออกแบบมาสำหรับเครื่องเล่นdigital music, การใช้งานในstudioบันทึกเสียงระดับมืออาชีพ, mixer consoles และใช้ในdigital audio workstations นอกจากนั้นก็ยังมีอุปกรณ์อีกหลายตัวที่Zappiti Signatureคัดมาเป็นพิเศษเพื่อใช้ในเครื่องเล่นซึ่งถ้าใครสนใจรายละเอียดมากกว่านี้ก็สามารถอ่านได้ในWebsiteของทางบริษัทเพิ่มเติมได้ที่ https://www.zappiti.com/zappiti-signature-dolby-vision

หลังจากแกะกล่องเรียบร้อยก็ได้เวลาทำการเชื่อมต่อสายด้านหลัง นำเครื่องไปวางในระบบที่ผมใช้อยู่เพื่อทำการทดสอบคุณภาพของเครื่องเล่นตัวนี้

เมื่อนำไปวางเทียบกับอุปกรณ์อื่นๆ ผมว่าตัวเครื่องมีการออกแบบได้เรียบหรู สวยงาม ดูมีดีไซน์ ไม่เสียชื่อว่าเครื่องมาจากประเทศฝรั่งเศส

เปิดเครื่องขึ้นมา หน้าจอแรกที่เจอก็สวยงามตามสไตล์Zappiti โดยตอนนี้สามารถเลือกรูปแบบการแสดงอยู่สามรูปแบบได้แก่แบบClassique Skinที่เป็นสีแดงคุ้นตา, Silver Skinจะเป็นสีออกเงิน และล่าสุดเป็นแบบAurora Skin โดยในรูปนี้เป็นรูปแบบAurora Skin ซึ่งสีสันดูสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ

การตั้งค่าต่างๆในตัวเครื่องก็จะคล้ายๆเดิมยกเว้นเพิ่มเติมขึ้นมาในส่วนของDolby Visionที่เลือกได้ว่าจะให้ส่งสัญญาณเป็นแบบมาตรฐานทั่วไปStandard Dolby Visionให้มีการประมวลผลในส่วนของจอภาพเอง หรือส่งแบบLow-latency Dolby Visionที่ตัวเครื่องเล่นจะทำการประมวลผลให้แล้วค่อยส่งสัญญาณไปยังจอภาพอีกที สำหรับรายละเอียดในเรื่องLow-latency Dolby Visionผมเคยเขียนไว้ละเอียดที่ https://moraekhometheater.com/home/review/2021/low-latency-dolby-vision/ ใครสนใจก็สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ครับ

ส่วนของHi-Fi audioสามารถSetupในส่วนของDACได้อย่างละเอียด ใครชอบเสียงแนวไหนแบบไหนก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบ

ในตัวเครื่องสามารถลงAppได้เหมือนกับเครื่องandroid box แต่เท่าที่ลองเล่นดูก็เล่นได้บ้างไม่ได้บ้าง บางอันเล่นได้แต่คุณภาพของภาพกับเสียงก็ไม่ดีเท่าไหร่ ผมว่าถ้าใครจะซื้อเครื่องนี้เพื่อมาเล่นAppต่างๆโดยเฉพาะอาจจะไม่คุ้ม

ในเรื่องของการทำปกหนังให้สวยงามและเป็นหมวดหมู่เท่าที่เคยเล่นเครื่องmedia playerมาหลายตัวผมต้องยกให้Zappitiเลย เนื่องจากสามารถทำปกหนังได้ง่ายดาย สวยงาม ทั้งยังสะดวกเมื่อเปลี่ยนเครื่องเล่นใหม่ โดยcollectionหนังที่เคยทำไว้ก็ไม่หายไปไหนเนื่องจากใช้ระบบการเก็บข้อมูลอยู่ที่ Zappiti Cloudเป็นAccountของตัวเอง ทำให้เมื่อเปลี่ยนเครื่องก็สามารถลงทะเบียนรหัสTokenเครื่องใหม่ในaccountเดิมของเรา แค่นี้ข้อมูลปกหนังทั้งหมดที่เก็บไว้ก็สามารถใช้กับเครื่องใหม่ได้เลยไม่ต้องเสียเวลาไปทำใหม่ และถ้าจะส่งเครื่องให้คนอื่นใช้ต่อ เราก็ทำการrelease Tokenประจำเครื่องเพื่อให้ผู้ใช้ใหม่สามารถนำเครื่องไปลงทะเบียนสร้างเป็นAccountใหม่ได้อีก

เริ่มต้นทดสอบเรื่องของเสียงจากแผ่นBlu-ray เพลงของSasan Wong ในอัลบัม My Live Storiesที่คุ้นเคยกันก่อน โดยใช้เสียงในระบบ DTS-HD Master Audio 96kHz/24Bit

น้ำเสียงแรกที่จับได้จากการฟังเมื่อเทียบกับเครื่องเล่นตัวอื่นๆที่ผมใช้อยู่คือเสียงที่ออกมามีความอวบอิ่มกว่า น้ำหนักเสียงทำได้ดีมาก ความถี่ต่ำรายละเอียดเสียงต่างๆไม่ขาดตกบกพร่อง ฟังแล้วมีความลื่นไหล ให้อารมณ์ความเป็นดนตรี เสียงร้องของนักร้องมีความเปิด ฟังออกได้ชัดเจนไม่อู้อี้ ส่วนภาพในแผ่นนี้ที่ต้นทางเป็น1080p เมื่อทำการUpscaleเป็น 4K พบว่าภาพมีรายละเอียดชัดเจน พวกartifactsต่างๆที่เกิดจากการupscaleเช่นภาพออกมาเป็นpixel,banding, posterizationหรือความเพี้ยนของสีก็พบได้น้อย ก็คงจะเป็นผลมาจากVS10 Video Processingในชิปประมวลผลที่ทำการupscaleให้คุณภาพของภาพดีขึ้น

สิ่งที่อยากทดสอบมากสำหรับZappiti Signatureตัวนี้ก็คือภาพแบบDolby Visionซึ่งนับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่เพิ่มเข้ามาจากรุ่นเดิม จึงได้ทำการต่อภาพผ่านตัวHD Furyก่อนที่จะส่งข้อมูลDolby Visionไปยังโปรเจคเตอร์ และท้ายที่สุดก็ได้ลองทดสอบการต่อผ่านExternal Video Processorว่ามีปัญหาในการส่งสัญญาณข้อมูลหรือมีความผิดพลาดในส่วนของการเข้ากันของEDIDหรือไม่อย่างไร

ทดสอบจากภาพยนตร์เรื่อง 007 No Time to Die ที่มีต้นฉบับมาเป็นระบบภาพแบบDolby Vision และระบบเสียงDolby Atmos โดยในรูปนี้เป็นหน้าปกที่ทำโดยZappitiจะเห็นได้ว่าทำได้สวยงาม และยังสามารถแก้ไขข้อมูลรายละเอียดต่างๆของหนังได้ตามต้องการ

ไฟล์ที่เป็นISO หรือBDMV(DVD, Blu-ray, 4K UHD)สามารถเล่นเมนูของหนังได้เช่นเดียวกับเล่นจากแผ่น

ข้อมูลMetadata HDRของหนังส่งมาครบถ้วน ทั้งMax CLL/Max FALL

เปิดดูได้เรียบร้อยสำหรับระบบภาพแบบ12bit Low Latency Dolby Vision และลองกับไฟล์อีกหลายประเภททั้งmkv, mp4, TS, M2TS พบว่าสามารถเล่นได้ปกติ ไม่มีปัญหาติดขัดอะไร

ภาพที่ออกมานั้นให้คุณภาพของภาพที่โดดเด่นมาก ความเนียนของสียอดเยี่ยมเนื่องจากเป็นระบบภาพแบบ12bit ไม่พบภาพที่เป็นชั้นๆหรือbandingของสี ภาพมีรายละเอียดดีทั้งในส่วนมืด และส่วนที่สว่าง การไล่ของแสงและเงาทำได้เป๊ะส่งผลให้ภาพดูมีมิติความลึก สำหรับเสียงแบบDolby Atmosให้เสียงที่มีความต่อเนื่อง การแยกรายละเอียดเสียงดีทั้งความถี่ต่ำและความถี่สูง เสียงพูดชัดเจนมีความใหญ่อลังการ ความถี่ต่ำโดดเด่น เสียงเบสอิ่มได้ความหนาแน่นผมว่าถ้าใครมีชุดhome theaterที่เสียงฟังแล้วออกแนวบางไปหน่อยลองใช้เครื่องเล่นตัวนี้น่าจะทำให้เสียงได้น้ำได้เนื้อมากขึ้น

สำหนังที่เป็นระบบHDR10+ ตอนนี้เหมือนว่าจำนวนหนังยังออกมาไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ ซึ่งเท่าที่หามาลองทดสอบดูกับหนังที่เป็นระบบภาพแบบHDR10+ พบว่าก็ยังให้คุณภาพของภาพที่ดี แต่ถ้าเทียบกับDolby Visionผมว่าภาพแบบDolby Visionมีสีสันที่ดูอิ่มและให้ความเนียนของภาพดีกว่า

มาถึงการทดสอบการทำงานร่วมกับExternal Video Processorเพื่อทำการรีดประสิทธิภาพของภาพออกมาให้มากที่สุดจากการทำ 3D LUTและDynamic Tone Mapping(scene by scene)จากตัวเครื่องvideo procesor ผมได้ทดสอบกับทั้งตัวMadVR Envy Extreme และ Lumagen Radiance Pro4444 (จากในรูปจะเอามาจากLamagen) แต่โดยหลักการในการปรับภาพของทั้งสองเครื่องจะเหมือนกันคือข้อมูลภาพ 4K HDRของหนังจะถูกเปลี่ยนไปเป็น 4K SDR ดูจากinfoของหน้าจอก็จะเห็นFormatของภาพเปลี่ยนจากInputที่เป็นHDR2020 ไปเป็นOutputแบบSDR2020 ก็คือการแปลงข้อมูลMetadataด้านความสว่างEOTFของหนังที่จะระบุมาเป็นnitเลยว่าแต่เรื่องหรือแต่ละฉากมีความสว่างอยู่เท่าไหร่ มาเป็นค่าGammaที่อ้างอิงจากความสว่างสูงสุดและความมืดต่ำสุดของเครื่องโปรเจคเตอร์ว่าเครื่องมีความสามารถทำความสว่างได้อยู่เท่าไหร่ หลังจากนั้นเครื่องvideo processorก็จะทำการสร้างDynamic Tone Mappingแบบฉากต่อฉากเพื่อให้สีและความสว่างของภาพเหมาะสมกับโปรเจคเตอร์ตัวนั้นๆ แล้วจึงส่งข้อมูลไปในรูปแบบSDRไปยังโปรเจคเตอร์เพื่อตัดการใช้งานtone mappingในเครื่องออกไปให้ใช้tone mappingจากvideo processorแทน(ข้อมูลด้านรายละเอียดภาพ และข้อมูลสีของภาพยังอยู่เหมือนเดิม) วิธีการนี้บางทีก็เรียกกันว่า”HDR in a SDR container” วิธีการลักษณะแบบนี้ในอนาคตน่าจะเห็นกันเยอะขึ้นที่ตัวคอมพิวเตอร์, gaming console หรือ set-top boxสามารถทำเรื่องของtone mappingเองแล้วส่งไปที่จอภาพอย่างที่เรียกกันว่าSource-Based Tone Mapping(SBTM) โดยจะมีการส่งสัญญาณข้อมูลไปบนสายแบบHDMI2.1a(ขอย้ำอีกทีว่าเป็นHDMI2.1a นะไม่ใช่HDMI2.1ธรรมดา แบบนี้ต้องขอบ่นเลยว่าสายHDMI2.1ยังไม่ทันมาเลยยังมีHDMI2.1aมาอีก555) ใครสนใจในเรื่องนี้ถ้าในอนาคตมีความชัดเจนเห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาก็จะนำมาเล่าให้ฟังอีกทีครับ

ข้อมูลreportการทำ3D LUTโดยโปรแกรมColourSpace ของโปรเจคเตอร์JVC X9900BEที่ใช้ในการทดสอบ แต่ที่เห็นจุดสีเขียวไม่ได้เยอะกับค่าDeltaEไม่ได้ต่ำมากก็เนื่องจากว่าTarget Colour Spaceผมใช้ Rec.2020 (ถ้าใช้เป็นP3 สีที่ออกมาจะจืดกว่าความเป็นจริง) และเนื่องจากเป็นโปรเจคเตอร์ที่มีอายุการใช้งานเกือบสามพันชั่วโมงยังไม่ได้เปลี่ยนหลอด ความสว่างอยู่แค่ประมาณ 50nits ดังนั้นตัวเลขผลในการทำ3D LUTของ HDR in a SDR containerคงไม่ได้เป๊ะมาก แต่ถ้าได้ดูจากภาพจริงหลังจากการปรับ3D LUTและตั้งค่าเป็นDynamic Tone Mappingแล้วภาพHDRดีขึ้นเยอะมาก

ก็อย่างที่ผมเคยบอกว่าภาพแบบHDRนั้นไม่เหมาะสำหรับโปรเจคเตอร์ในปัจจุบัน อย่างหนังเรื่องMad Max: Fury Road ที่ใส่ความสว่างของภาพมาสูงถึงเกือบๆ10,000Nits แต่คิดดูว่าโปรเจคเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ในท้องตลาดปัจจุบันทำความสว่างได้แค่ระดับ 70-80Nits รวมถึงColor Gamutใส่มาในหนังที่กว้างมากกว่าสีที่โปรเจคเตอร์จะแสดงได้ ดังนั้นTone Mappingในเครื่องโปรเจคเตอร์ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะแสดงภาพที่มีความสว่างมากๆและความกว้างของเฉดสีที่กว้างมากอย่างถูกต้องโดยไม่มีความเพี้ยน

ในเครื่องExternal Video Processor จะมีFunctionเพื่อไว้ปรับในส่วนของDynamic Tone Mapping(DTM)หลายอย่าง ซึ่งDTMพวกนี้มีความยืดหยุดและมีประสิทธิภาพมากกว่าที่อยู่ในโปรเจคเตอร์มาก ไม่ว่าจะโปรเจคเตอร์รุ่นTopขนาดไหนเท่าที่ผมเคยดูเคยเล่นมา ยังไงfunctionที่ใช้ในDTMก็ยังไม่สู้video processorเหล่านี้ นี่ไม่นับความสามารถในการทำ3D LUTซึ่งในตัวโปรเจคเตอร์ไม่สามารถทำได้เอง อย่างDTMก็สามารถปรับได้ทั้งส่วนจุดCrossover Pointว่าต้องการให้MaxCLLอยู่ที่เท่าไหร่, ต้องการให้เกิดclippingของภาพสว่างสุดในDTMที่จุดไหน(DTM Pad), สัดส่วนความสว่างสุดในฉากมืดต้องการอยู่ที่เท่าไหร่(Low Ratio), รูปร่างและความโค้งของTone mappingในขณะที่เกิดclippingจะให้เป็นยังไง(Shape, Tran) หรืออย่างในภาพแสดงการปรับในส่วนของDesaturate เพื่อปรับลดความเข้มของสีในจุดที่มีความสว่างมากเพื่อให้สีของภาพที่ออกมาใกล้เคียงกับสีที่เรารับรู้ในการมองวัตถุที่สว่างมาก อย่างเช่นในหนังเรื่อง Mad Max: Fury Road ในฉากระเบิดต่างๆจะใส่ความสว่างมาในระดับ3500nits ทำให้โปรเจคเตอร์ความสว่างระดับ50nitsแสดงสีที่มีความเข้มของสีไม่เท่ากับความเป็นจริง การปรับตรงค่าDeSatก็จะทำให้ตรงบริเวณสว่างมากๆมีความสมจริงมากขึ้น อย่างภาพตัวอย่างสองภาพบนเป็นการoff/autoค่าDeSatไว้จึงทำให้ยังเห็นการเกิดclippingตรงบริเวณที่สว่างมาก แต่เมื่อปรับมาเป็นLow,Highการเกิดclippingตรงบริเวณนี้ก็ดูดีขึ้น

ซึ่งในหนังเรื่อง Mad Max: Fury Roadจะเห็นได้ว่ามีฉากระเบิด ฉากเปลวไฟที่ใส่ความสว่างกันมาเยอะมาก ถ้าปรับค่าDynamic Tone Mappingไม่เหมาะสมก็จะทำให้ฉากเหล่านี้ออกเป็นสีแดงสีแสดกันหมดดูแล้วไม่สมจริงดูขัดตา

หรืออีกตัวอย่างหนึ่งของMad Max: Fury Road ที่เวลา 0:28:29 ฉากนี้มีการถกเถียงกันมากมาย เป็นฉากที่มีรถปิ๊กอัพระเบิดกลางอากาศ เมื่อเปิดดูกับโปรเจคเตอร์จะเห็นเป็นสีแสดเยอะมาก โดยหลายคนได้ออกความเห็นว่าในชีวิตจริงมันควรจะมีสีเหลืองมากกว่าที่เห็นโดยการปรับค่าDeSatก็จะทำให้บริเวณที่ระเบิดมีสีเหลืองมากขึ้น ซึ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างในการปรับค่าของDTMของExternal Video Processorว่าปรับได้ละเอียดขนาดไหน และก็อย่างที่บอกว่ายังมีอีกหลายค่าของDynamic Tone Mappingที่สามารถปรับได้จะพูดให้ครบนี่ต้องทำเป็นบทความได้อีกชุดหนึ่งเลยครับ

หลังจากปรับ3D LUTและDynamic Tone Mappingแล้วภาพที่ได้มีสีสัน contrast ความสว่างของภาพดีขึ้น ความถูกต้องของสีมีมากขึ้นกว่าการใช้Static Tone Mappingในเครื่องโปรเจคเตอร์เอง ตัวZappitiก็สามารถส่งข้อมูลมายังตัวExternal Video Processorได้อย่างครบถ้วน รวดเร็ว ถูกต้องทั้งข้อมูลภาพแบบHDR10ธรรมดา, HDR10+, Dolby Vision โดยไม่พบปัญหาความไม่เข้ากันของเครื่องแต่อย่างไร

หลังจากที่ได้ทดสอบเครื่องMedia PlayerของZappiti Signatureต้องบอกว่าเป็นเครื่องเล่นที่ครบเครื่องมากที่สุดในตอนนี้ ไม่ว่าในเรื่องของคุณภาพของภาพและเสียงที่ออกมา ความสวยงามของหน้าจอ ความลื่นไหลในการเล่น เรียกได้ว่ามาพร้อมเลยทีเดียวสำหรับตัวนี้ ซึ่งถ้าใครต้องการเครื่องเล่นไฟล์หนังที่มีคุณภาพสูงและไม่เกี่ยงเรื่องราคาค่าตัว ผมว่าZappiti Signatureคือคำตอบสำหรับนาทีนี้ ต้องขอขอบคุณทางบริษัท DECO2000ที่ส่งZappiti Signatureตัวนี้มาให้ทดสอบด้วยครับ

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ Zappiti Signature (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้