Review

Search

Barco Bragi CinemaScope

หลังจากได้โปรเจคเตอร์Barco BragiCS มา ผมก็ได้ทำการทดสอบร่วมเดือน วันนี้เลยจะมาเล่าให้ฟังว่าโปรเจคเตอร์ค่าตัวหนึ่งล้านสองแสนบาทที่มีชื่อเสียงระดับโลกนั้นมีอะไรที่โดดเด่นน่าประทับใจบ้าง ใครสนใจตามอ่านกันได้เลยครับ

พูดถึงโปรเจคเตอร์Barco หลายคนคงคุ้นเคยว่าเป็นโปรเจคเตอร์ระดับไฮเอนด์ อย่างผมเคยเข้าไปฟังสัมมนาเรื่องระบบโรงภาพยนตร์ในบ้านแบบDCI ที่งานCEDIA ( https://moraekhometheater.com/home/archive/2020/dci-home-cinema/ ) พอพูดถึงระบบภาพที่ใช้กับระบบDCI ผู้บรรยายได้กล่าวว่าห้องHome theaterระดับสุดยอดของcelebrity ดารานักแสดง ผู้กำกับของHollywoodที่ใช้ระบบการดูหนังแบบDCIส่วนมากแล้วใช้เครื่องโปรเจคเตอร์ของBarcoแทบทั้งนั้น อย่างเช่นMichael Bay ผู้กำกับชื่อดังจากหนังเรื่อง Armageddon, Transformers, Pearl Harbor etc. ที่บอกเลยว่าเชื่อมั่นในระบบโปรเจคเตอร์ของBarcoเนื่องจากคุณภาพของภาพ ความง่ายในการควบคุมและเรื่องของความสว่างของภาพที่เขาถึงกับบอกเลยว่า “Brightness is key”

สำหรับโปรเจคเตอร์Barco Bragiตัวนี้ใช้เทคโนโลยีกำเนิดภาพแบบSingle Chip DLP โดยใช้ชิป 0.9” DMD™ ให้ความละเอียดของภาพ 5,120×2,160pixel หรือบางคนเรียกว่า 5K UHD ตรงนี้ต้องขออธิบายเพิ่มเติมหน่อยเพราะหลายคนเคยได้ยินแต่หนังที่เป็นรายละเอียด 4K ทำไมมี5Kด้วย ซึ่งความละเอียด5Kก็คือความละเอียดของภาพแบบ4Kแล้วมีการขยายความยาวภาพจาก 4096pixelของ4Kไปเป็น 5120pixelโดยมีความสูงของภาพที่ 2160pixelเท่าเดิม ทำให้รองรับภาพAspect Ratio 2.37:1ได้เต็มตาทุกpixel เวลาฉายหนังที่มีอัตราส่วนภาพแบบ 2.35:1/ 2.39:1/ 2.40:1 หรือที่เรียกว่าCinemaScopeจะฉายได้เกือบเต็มจอไม่มีแถบสีดำบนล่างขนาดใหญ่ให้เกะกะ ได้ความสว่างของภาพเต็มๆ ไม่ต้องสูญเสียความสว่างไปกับpixelที่เป็นแถบสีดำบนล่าง เครื่องโปรเจคเตอร์ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบSolid State RGB LEDให้ความสว่างที่ 2,200ANSI Lumens ถึงตรงนี้หลายคนก็คงบอกว่า2,200Lumensก็ไม่น่าจะสว่างอะไรมากมาย แต่บอกไว้ก่อนครับว่าความสว่างแบบLEDนั้นมันไม่ธรรดาจริงๆ สำหรับรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆของเครื่องก็สามารถหาอ่านเพิ่มเติมในspecs sheetที่websiteของบริษัทได้

เปิดกล่องออกมาอุปกรณ์ก็ไม่มีอะไรมาก คู่มือก็แนะนำให้ไปloadอ่านในinternet สำหรับรีโมตก็จะมีขนาดใหญ่หนากว่ารีโมตที่ใช้โดยทั่วไปเล็กน้อย มีไฟเวลากดปุ่มทำให้สะดวกสำหรับการใช้งานในห้องhome theaterที่ปกติจะมืดอยู่แล้ว

รูปร่างของเครื่องที่ยังไม่ได้ใส่เลน์ก็ประมาณนี้ ขนาดอยู่ที่ 45×48.2×25.5cm น้ำหนัก 21.5kg ใครจะแขวนก็ต้องดูเรื่องของฝ้ากับการยึดบนเพดานดีๆนะครับ เพราะน้ำหนักยี่สิบกว่าโลนี่ไม่น้อยเหมือนกัน

ด้านหลังของเครื่องก็จะมีช่องต่อ HDMI 2.0(HDCP 2.2), HDBaseT(HDCP 1.4-9Gbps)อย่างละช่อง DVI-D, Display Port(1.2)ให้มาอย่างละสองช่อง มีช่อง12G-SDIหนึ่งชุด นอกนั้นก็จะมีช่องต่อ RJ45, RS232, Remote Control(RC) และ USBอยู่ 3portอยู่ด้านหน้าหนึ่งช่องด้านหลังเครื่องอีกสองช่อง

ด้านข้างขวาของเครื่องจะมีหน้าจอLCDแบบสีขนาดใหญ่ และปุ่มกดkeypadสำหรับใครที่ต้องการควบคุมผ่านตัวเครื่องโดยตรง

เลนส์ที่ให้มาจะเป็นเลนส์แยกขนาดใหญ่ เนื่องจากว่าโปรเจคเตอร์Barcoจะพิถีพิถันในเรื่องเลนส์เป็นพิเศษ โดยเลนส์จะเป็นเลนส์แก้วระดับProfessional grade ออกแบบเพื่อใช้ในเครื่องโปรเจคเตอร์ดูหนังของBarcoโดยเฉพาะ ภาพที่ออกมามีการบิดตัวน้อย ลดการฟุ้งของแสง ทำให้ภาพที่ออกมามีคุณภาพของภาพสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเลนส์ที่ใช้สำหรับรุ่นนี้มีให้เลือกมากถึง6ขนาดเพื่อให้ได้ระยะที่เหมาะสมกับจอ เนื่องจากการออกแบบจะพยายามให้เกิดการzoomในเลนส์น้อยที่สุด ใครถ่ายภาพคงพอจะนึกออกว่าระหว่างเลนส์Fixed กับเลนส์Zoomที่เปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ ถ้าในราคาที่ใกล้เคียงกันเลนส์Fixedจะให้ภาพที่ออกมาดีกว่า ลักษณะเดียวกัน Barcoได้ออกแบบเลนส์ให้มีช่วงZoomน้อยที่สุดเพื่อให้ได้คุณภาพของภาพที่ออกมาสูงสุด อย่างกับเลนส์ที่ส่งมาทดสอบนั้นเป็นตัวที่long throwหน่อย Zoomภาพเข้าออกได้เพียงเล็กน้อย เมื่อวางไว้ด้านหลังห้องแล้วฉายลงบนจอStewart FireHawk G5อัตราส่วน 2.35:1 ขนาด 150”ก็ไม่เต็มจอซะทีเดียว เมื่อขยับโปรเจคเตอร์ไปจนเกือบสุดห้องประมาณหกเมตรกว่า ปรับค่าZoomจนสุดก็ยังได้แค่เกือบเต็มจอ ดังนั้นการใช้ในห้องhome theaterก็ต้องคำนวณเลนส์กับตำแหน่งวางโปรเจคเตอร์ให้สัมพันธ์กันพอดีจะได้เลือกเลนส์เพื่อให้ได้ภาพที่ออกมามีขนาดตามต้องการ

ประกอบเลนส์เข้ากับตัวเครื่องเรียบร้อยก็ได้เวลาเข็นเข้าไปทดสอบในห้องhome theater เนื่องจากเครื่องมีน้ำหนักมากเลยต้องใช้ดอลลี่ในการขนย้าย ก็ถือว่าสะดวกดี

ขึ้นวางบนชั้นแล้วดูหล่อ น่าเกรงขาม

เปิดเครื่องขึ้นมาด้านข้างขวาของเครื่อง จะมีจอLCDแบบสีขนาดใหญ่เพื่อบอกสถานะ ทำให้สามารถควบคุมเครื่องโดยใช้keypadข้างจอได้ ซึ่งก็จะเหมือนกับการควบคุมโดยใช้รีโมท เท่าที่ผมลองใช้งานดูการควบคุมเบื้องต้นใช้รีโมทก็พอได้แต่ถ้าจะทำการควบคุมในส่วนรายละเอียดที่ลึกขึ้นแนะนำให้ใช้การเชื่อมต่อผ่านสายLANจะสะดวกที่สุด

การเชื่อมต่อเครื่องผ่านสายLANก็ทำได้ง่ายเพียงแค่เสียบสายที่ด้านหลังเครื่อง แล้วทำการกรอกIP Addressที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในวงLANเดียวกัน แค่นี้ก็สามารถทำการควบคุมเครื่องผ่านคอมพิวเตอร์ได้แล้ว

หน้าจอหลักของเครื่องโปรเจคเตอร์Barco Bragiก็จะเป็นแบบนี้ ส่วนรายละเอียดการทำงานในแต่ละหัวข้อก็ไม่ยากตรงไปตรงมา สามารถอ่านตามคู่มือได้เลย

หน้าตาของเมนูควบคุมเครื่องผ่านทางweb browserก็จะเป็นแบบนี้ ซึ่งจะมีรายละเอียดมากกว่าการควบคุมจากตัวเครื่องหรือควบคุมผ่านทางรีโมท เมื่อเปิดเครื่องมาผมก็ทำUpdate FirmwareและFactory Reset เปิดดูหนังทั่วไป ทำความคุ้นเคยกับเครื่อง รอให้เครื่องเบิร์นครบห้าสิบชั่วโมงก็เริ่มทำการCalibrateภาพ เพื่อให้ภาพที่ออกมามีความแน่นอนคงตัวตามมาตรฐาน

สำหรับโปรเจคเตอร์แบบlaser phosphor, RGB lasers และ LED ทางBarcoระบุมาเลยว่าต้องใช้meterวัดภาพแบบ Spectrophotometer(Spectroradiometer) ไม่แนะนำให้ใช้แบบColorimeterเนื่องจากSpectrophotometerมีความแม่นยำกว่า โดยตัวcolorimeterจะวัดแค่ปริมาณแสงสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน ในขณะที่spectrophotometerจะสามารถวัดได้ถึงความยาวคลื่นของสี และทางBarcoก็ยังระบุยี่ห้อ/รุ่นของmeterวัดภาพมาให้เลยว่าควรจะใช้รุ่นไหนบ้าง

Spectrophotometerที่ผมใช้เป็นยี่ห้อJeti แต่เป็นรุ่นspectraval 1511 ใหม่กว่ารุ่นSpecbosที่Barcoแนะนำ เลยนำมาใช้ในการทดสอบนี้ได้พอดี

ข้อดีของJeti spectraval 1511ที่ดีกว่ารุ่น specbos 1211-2ก็คือมีจอLCDเพื่อสามารถวัดสีจากวัตถุที่laserเล็งไว้ได้เลย ไม่ต้องผ่านคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมthird party แค่กดMeasurementค่าความสว่างและค่าสีของวัตถุนั้นๆก็จะโชว์ที่หน้าจอภายในไม่กี่วินาที แต่อย่างไรก็ตามข้อเสียของmeterแบบSpectrophotometerก็คือเรื่องของความช้าในการวัดและความแม่นยำบริเวณแสงที่น้อย ทำให้ในขั้นตอนการปรับภาพแบบLUT 3Dจึงต้องใช้Colorimeterทำprofileร่วมกับSpectrophotometerเพื่อความรวดเร็วและความแม่นยำสูงทั้งบริเวณแสงน้อยจนถึงแสงมาก

ขั้นตอนการปรับภาพของโปรเจคเตอร์Barco Bragiจะมีรายละเอียดต่างจากเครื่องทั่วไปบ้าง หลักการคร่าวๆก็คืออย่างแรกเข้าไปปรับค่าพื้นฐานทั้งค่าContrast, Brightness, Saturation, Gamma etc.ของโปรเจคเตอร์ในเมนู Imageก่อน เสร็จแล้วก็เข้าไปใส่ค่าแม่สีและความสว่างที่วัดได้จากSpectrophotometerในเมนูService/Native RealColor P7 โดยทางBarcoแนะนำว่าถ้าต้องการคุณภาพของภาพดีที่สุดควรจะทำแยกProfileกันระหว่างภาพแบบSDR(Rec.709) กับภาพHDR(DCI/P3) แต่ถ้าต้องการความสะดวกหรือเวลาน้อยก็ให้ทำเฉพาะHDR(DCI/P3)อย่างเดียวก็ได้ พอข้อมูลมาเป็นภาพ SDR(Rec.709)เครื่องก็จะจัดการปรับค่าต่างๆลงมาเอง แต่ความแม่นยำในเรื่องของความสว่างอาจจะไม่เท่ากับทำแยกprofileกัน

หลังจากนั้นก็เป็นขั้นตอนการปรับค่าสีให้ตรงกับที่วัดได้จริงโดยการนำเอาค่าที่วัดได้ในขั้นตอนแรกเข้าไปคำนวณในโปรแกรมExcelที่บริษัทให้มาทำการคำนวณColor Spaceที่จอภาพทำได้(achievable color gamut) นำค่านั้นมาเป็นค่าTargetแล้วทำการวัดค่าสีprimary+secondaryจริง แล้วลองเปลี่ยนค่าจริง+offsetทีละสีวัดอีกรอบ เปลี่ยนค่าไปเรื่อยๆให้ค่าใกล้เคียงกับtargetที่ตั้งไว้ที่ +/- 0.0005ทำไปจนครบทุกสี สำหรับค่าความสว่าง(Gain) ก็เอาค่าที่วัดได้จากขั้นตอนแรกไปใส่ในโปรแกรมที่ให้มาเช่นเดียวกัน แล้วนำค่าที่ได้เอามาใส่ในช่องของGain ขั้นตอนนี้อาจจะใช้เวลาหน่อยถ้าไม่คุ้นเคย แต่แอบบอกไว้ก่อนว่าทำขั้นตอนนี้สำเร็จเนี่ยภาพเป๊ะมาก

ภาพก่อนทำการปรับภาพ จะเห็นได้ว่าเครื่องโปรเจคเตอร์เครื่องนี้ถ้าเปิดขึ้นมายังไม่ได้ปรับภาพใดๆ ภาพก็จะติดโทนสีเขียวกับออกแดงนิดๆ

หลังจากทำการปรับภาพตามวิธีของBarcoจนเรียบร้อย จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาเยี่ยมยอดมาก

ค่าความคลาดเคลื่อนของสีหรือที่เรียกว่าdelta Eอยู่ในระดับที่น้อยมาก เฉลี่ยอยู่ที่0.57 มากสุดอยู่ที่1.45 ค่าแบบนี้ถือว่าใกล้เคียงกับจอที่เป็นจออ้างอิงทีเดียว สังเกตการSweepความอิ่มตัวของสีที่เข้าเป้าตั้งแต่ส่วนอ่อนมากจนถึงเข้มสุด ทั้งๆที่ตอนcalibrateนั้นใช้จุดอ้างอิงที่ส่วนเข้มสุดเพียงจุดเดียว แสดงถึงการมีlinearityของสีที่ดี เพราะโปรเจคเตอร์บางตัวปรับส่วนเข้ม ส่วนอ่อนก็หลุด ปรับอีกส่วนอีกส่วนก็หลุดในที่สุดก็ต้องเลือกเอาส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่โปรเจคเตอร์ตัวนี้ปรับแค่จุดอ้างอิงจุดเดียว จุดที่เหลือเข้าเป้าหมด

เช็คสีที่เห็นบ่อยโดยทั่วไปในภาพ ค่าDelta Eก็ยังเยี่ยม เฉลี่ย0.6 มากสุดอยู่ที่1.5 โดยเฉพาะบริเวณสีเนื้อนั้นขอบอกว่าเทพมาก

สำหรับความสว่างที่วัดได้จริงๆของโปรเจคเตอร์ตัวนี้ผมลองวัดแบบเต็มสูบ โดยเอา DCI Filter กับพวกโปรแกรม CMSออกหมด เปิดในโหมดNative Values ไม่น่าเชื่อว่าวัดความสว่างได้ถึง 41.46fL และเมื่อลองใส่DCI Filter, Brilliant Color Mode, CMS ค่าก็จะลดลงมาเหลือประมาณสามสิบกว่าFoot-Lambertขึ้นอยู่กับว่าปรับค่ามากขนาดไหน สว่างแค่นี้ถือว่าเหลือๆละครับสำหรับโปรเจคเตอร์ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงแบบLED โดยเฉพาะภาพแบบHDR(DCI/P3)ที่ต้องการความสว่างของภาพสูง

โดยปกติแล้วโปรเจคเตอร์แบบlamp basedหรือlaser ทางBarcoแนะนำความสว่างไว้ SDR(Rec.709)= 20fL, HDR(DCI/P3)=40fL แต่สำหรับLED illumination sourceแล้วความสว่างที่แนะนำจะลดลงมาเหลือแค่ SDR(Rec.709)= 14fL, HDR(DCI/P3)=28fL เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Helmholz-Kohlrausch effect จะทำให้การรับรู้ความสว่างของLED sourceมากกว่าlight sourceแบบอื่นๆถึง 30% ดังนั้นทำให้ถึงแม้LEDใช้meterวัดค่าความสว่างได้เท่ากันกับlight sourceอื่น แต่ในการดูภาพจริงแล้วภาพจากLEDจะดูสว่างสดใสกว่า ซึ่งในการดูภาพจริงจากโปรเจคเตอร์ตัวนี้ผมก็รับรู้ได้ถึงความสว่างที่มากกว่าโปรเจคเตอร์ระดับความสว่าง2,200Lumensทั่วไป

ดูจากSpectral Power Distributionระหว่างLED illumination sourceของโปรเจคเตอร์Barco Bragi เทียบกับlight sourceแบบอื่นๆจะเห็นว่าความเข้มspectrumของแม่สีRGBนั้นเฉลี่ยสูงกว่าแบบอื่น และแสงจากLEDก็จะทำให้สายตามนุษย์รู้สึกว่าสีมีความสว่าง สด มากกว่าค่าที่วัดได้จริงๆอีกด้วย

สำหรับการปรับภาพแบบHDR PQ Curveนั้น Tone Mapping จะปรับได้จากค่าScreen Luminanceและ HDR boostในเมนูAdvanced setting/HDRซึ่งค่าที่ใส่ตรงนี้อาจจะตรงหรือไม่ตรงกับความสว่างจริงของเครื่องก็ได้ แนะนำให้ดูกราฟของEOTFร่วมกับดูภาพจริงในการปรับ

โดยค่าHDR Advanced settingร่วมกับการปรับค่าBrightness และ Contrastจะไปเปลี่ยนPQ Curve โดยตอนปรับก็ให้ดูภาพว่ามีclippingมากน้อยยังไงบ้าง ทั้งนี้พยายามเปลี่ยน PQ curveที่hard clippingให้มีความsmoothมากที่สุด

การลดค่าscreen luminanceก็จะทำให้ภาพมีความสว่างมากขึ้นแต่ก็จะทำให้เกิดclippingเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน การปรับก็ต้องพยายามให้เกิดclippingน้อยลง ถึงแม้ภาพอาจจะดูมืดลงเล็กน้อยแต่ก็จะได้รายละเอียดและสีสันต่างๆในส่วนที่เกิดclippingกลับคืนมาดังภาพขวามือ

จากการปรับHDR PQ Curveในเมนูของเครื่องโปรเจคเตอร์ ผลลัพธ์ก็จะออกมาประมาณนี้

หลังการปรับภาพความกว้างของเฉดสีในการแสดงภาพสูงถึง 99.6%ของ DCI-P3

เมื่อทำการปรับภาพเสร็จทั้งแบบ SDR(Rec.709)และHDR(DCI/P3) ก็ทำการตั้งชื่อแล้วsaveเป็นโปรไฟล์ตามต้องการ แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการปรับภาพตามวิธีของBarco

ปรับภาพเสร็จมาเริ่มต้นทดสอบภาพของจริงกันบ้าง เริ่มจากสารคดีAwaken(2518) ภาพScreen Shotเหล่านี้ผมถ่ายจากกล้องmirrorless ไม่ได้มีการตกแต่งสีภาพ ความละเอียดภาพอย่างใด มีแค่ปรับค่าความสว่างความืดให้พอดีตามภาพเท่านั้นนอกนั้นเอาตามค่ามาตรฐานของกล้องเลย ผลออกมาอย่างที่เห็นครับตอนที่ผมทดสอบเห็นภาพนี้ครั้งแรกคิดได้คำเดียวเลยว่า “มันต๊าชมาก” ทั้งสีสัน ความเป็นธรรมชาติ สีเนื้อ มันมาหมดเลย ทำให้คิดได้ว่าทำไมห้องระดับเทพๆจอใหญ่ๆทั้งหลายในต่างประเทศชอบใช้โปรเจคเตอร์ยี่ห้อนี้กัน

Tone mappingถือได้ว่าทำได้ดีทีเดียว ถึงแม้จะมีให้ปรับค่าได้ไม่มากเท่าไหร่ clippingบริเวณเปลวไปที่เป็นspecular highlight ก็ยังให้รายละเอียดของเปลวไฟได้ดี และไม่มีสีเพี้ยน

Hard clippingของท้องฟ้าถูกปรับทำให้เกิดเป็นsmooth PQ curve

สีสัน รายละเอียด ดูเป็นธรรมชาติสมจริง

มาดูภาพยนตร์จริงๆกันบ้าง La La Land(2016) เรื่องนี้จำได้ว่าดูทีไรภาพเหมือนจะมีทั้งnoiseทั้งเกรนภาพ บางทีดูแล้วมันยุบยิบๆ จนนึกว่าน่าจะเป็นที่ต้นฉบับคงอัดมาเป็นแบบนี้ โดยเฉพาะท้องฟ้าของฉากเต้นA Lovely Night Sceneฉากนี้ แต่ปรากฏว่าพอมาดูกับโปรเจคเตอร์Bragi ทั้งnoiseทั้งเกรนที่เคยเห็นรำคาญตาหายไปเกือบหมด ดูแล้วน่าจะเป็นผลโดยตรงจากเลนส์ที่มีคุณภาพสูงและระบบการจัดการnoiseในเครื่องที่ทำให้ภาพดูเนียนขึ้น แต่ยังคงความคมของภาพอยู่ นอกจากหนังเรื่องนี้แล้วผมได้ลองดูกับหนังเก่าๆอีกหลายเรื่องที่เคยดูแล้วnoiseเยอะๆ ผลที่ได้ก็ออกมาดีเช่นเดียวกัน

ลองเท่านี้ไม่พอ ด้วยความอยากรู้ว่าภาพจะดีขึ้นอีกขนาดไหนถ้าใช้ร่วมกับ External Video Processor เพื่อทำการปรับภาพแบบ 3D LUT ซึ่งถ้าใครอยากทราบรายละเอียดการปรับภาพแบบ 3D LUT สามารถอ่านเรื่อง 3D LUTเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้ครับ https://moraekhometheater.com/home/archive/2021/advanced-3d-lut-calibration/ โดยตอนแรกผมได้นำcolorimeter Klein K-10Aมาทำprofileโดยใช้Jeti 1511เป็นตัวอ้างอิงในการวัดภาพ ส่วนExternal Video Processorใช้ madVR Envy Extreme โปรแกรมใช้ Calman Video Pro เป็นตัวทำ 3D LUT ที่ DCI-P3

ทำเสร็จผลออกมาตามรูปเลยครับ เกิดเป็นbandingบริเวณที่สีเข้มหรือบริเวณที่สว่างมาก(Posterization) ทำไมถึงเกิดขึ้นมาดูสาเหตุกัน

ก่อนอื่นต้องอธิบายหลักการของการใช้External Video Processorก่อน เนื่องในปัจจุบันExternal Video Processorไม่ว่าจะเป็นmadVR หรือ Lumagenได้ถูกนำมาใช้เพื่อทำเป็นdynamic tone mappingให้กับภาพแบบ HDR ดังนั้นจึงต้องมีการbypassโปรแกรมCMSหรือfilterต่างๆที่อยู่ในเครื่องโปรเจคเตอร์ รวมถึงการทำtone mappingทุกอย่างในเครื่องเพื่อให้ตัวExternal Video Processorเป็นตัวทำtone mappingแทน เพราะถ้าเมื่อไหร่ทำtone mappingซ้อนกันจะทำให้เกิดartifactต่างๆ ข้อดีของการbypassค่าเหล่านี้อีกอย่างหนึ่งก็คือทำให้ภาพมีความสว่างมากขึ้น(ฟังก์ชันนี้เหมาะกับพวกหิวแสงมาก 555) การทำtone mappingของภาพแบบHDRก็จะดีขึ้นเนื่องจากวงจรการทำtone mappingของvideo processorจะเป็นแบบdynamic tone mappingคำนวณกันเฟรมต่อเฟรม เก่งกว่าที่อยู่ในเครื่องโปรเจคเตอร์และมีความยืดหยุ่นสามารถปรับค่าได้มากกว่าในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งยังสามารถทำการปรับภาพแบบ 3D LUTเพื่อให้ได้ภาพใกล้เคียงกับmastering mornitorมากที่สุด อย่างในโปรเจคเตอร์Barco Bragiตัวนี้การbypassวงจรภาพนั้นทำได้ง่ายดาย โดยที่เมนู Connector setting/HDMI ก็ไปตั้งค่าColor primariesเป็นUncorrected แล้วไปเลือกตรงเมนูเลนส์DCIเป็นout เท่านี้วงจรปรับภาพ การใส่filterต่างๆภายในเครื่องโปรเจคเตอร์ก็จะถูกbypassทั้งหมด แต่อย่าลืมว่าการเอาFilterที่อยู่ในเครื่องโปรเจคเตอร์ออก ส่วนมากแล้วจะทำให้colorspaceของสีลดลงด้วย อย่างในกรณีนี้พอเอาDCI Filterในโปรเจคเตอร์ออก ก็จะทำให้colorspaceของภาพที่ปกติจะเกือบเต็ม DCI-P3 หดลง เมื่อใช้โปรแกรมCalmanทำ3D LUT ตัวโปรแกรมไม่มีFeatureเกี่ยวกับการทำLUTมากนักจึงทำให้เกิดความผิดเพี้ยนบริเวณของที่target colorspaceมันกว้างกว่าความสามารถที่โปรเจคเตอร์จะทำได้ ทำให้เกิดการคั่งของสีบริเวณขอบของcolorspaceเหล่านี้ ผลลัพธ์ก็คือเป็นbandingหรือเกิด Posterizationของสีดั่งที่เห็น วิธีการแก้ไขถ้าจะใช้โปรแกรมCalmanก็คือต้องลด Target colorspaceตอนทำลงจาก DCI-P3 เป็น Rec.709 ซึ่งการลดแบบนี้บางทีก็อาจจะทำให้เกิดundersaturationของสีได้เช่นกันในบางสถานการณ์ แต่ถ้ายังอยากจะทำที่DCI-P3ก็ต้องเปลี่ยนโปรแกรมไปใช้โปรแกรมColourSpaceแทนเนื่องจากมีความยืดหยุ่น และมีFunctionในการทำ 3D LUTหลายรูปแบบมากกว่า

ดังนั้นผมจึงได้เปลี่ยนไปใช้โปรแกรม ColourSpaceเพื่อทำ 3D LUTอีกครั้งหนึ่ง

อย่างในเมนูLUT Generation ก็มีให้เลือกว่าจะเอาแบบ Fit Spaceเพื่อให้พอดีกับColor spaceที่ขาดไปไหม หรืออาจจะเลือกเป็นPeak Chroma, Peak Luma, Hybrid ในสถานการณ์ที่ต่างไป ซึ่งโดยปกติผมจะเลือกทำทุกแบบแล้วเก็บไว้ต่างprofileกัน เมื่อมาดูภาพจริงอีกทีค่อยเลือกเอาตัวที่ให้artifactของภาพต่ำที่สุด

อย่างในภาพนี้แสดงภาพก่อนและหลังการทำ3D LUTของจอBarco Bragi จุดสีเขียวจะแสดงถึงว่าค่าdelta Eมีค่าต่ำใกล้เคียงมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นสีแดง แสดงว่าจุดสีตรงนั้นเพี้ยนไปจากมาตรฐาน ส่วนหางสีขาวเป็นทิศทางที่เพี้ยนจากจุดมาตรฐาน ภาพแรกจะเห็นได้ชัดเลยว่าสีจริงๆของโปรเจคเตอร์ได้หดลงจากDCI-P3 ที่เป็นสามเหลี่ยมอันใหญ่(target) ตรงบริเวณขอบพวกนี้แหละที่ทำให้เกิดการคั่งของสีหลังจากการทำ 3D LUTแล้ว

ส่วนอันนี้เป็นภาพสามมิติที่นอกจากจะบอกตำแหน่งสีตามCIE Diagramแกนx แกนyแล้ว ก็ยังบอกถึงความสว่างที่เป็นแนวแกนZด้วย ก็จะเห็นว่าหลังจากทำ3D LUT จุดแดงมีหางกลายเป็นจุดเขียวเกือบหมดยกเว้นบริเวณขอบ แสดงให้เห็นว่านอกจากตำแหน่งของสีที่ถูกต้องหลังการทำLUT 3Dแล้ว ความสว่างของสีก็ถูกต้องด้วยเช่นกัน

สำเร็จเรียบร้อยสวยงามครับสำหรับการทำ3D LUTที่colorspace DCI-P3ด้วยโปรแกรม ColourSpace

ภาพหลังทำ 3D LUT มีความสว่างของภาพมากขึ้น ทำให้ภาพHDR มีความเจิดจรัสสวยงามมาก

สีสัน contrastของภาพHDR มีความเข้มข้นขึ้น ใครที่บอกว่าภาพจากเทคโนโลยีDLPสีไม่สะใจนั้นให้มาดูโปรเจคเตอร์Barco Bargi + ปรับด้วย madVRครับ

ความถูกต้องแม่นยำของจุดสีที่ได้จากการทำ3D LUTร่วมหมื่นจุด ทำให้ความเพี้ยนของสีนั้นน้อยมาก ภาพที่ออกมาจึงมีความถูกต้องใกล้เคียงกับสีจากmastering mornitorในห้องgradingสีที่coloristทำงาน

โปรเจคเตอร์Barco Bragiตัวนี้ถือได้ว่าเป็นโปรเจคเตอร์ในระดับไฮเอนด์ อุปกรณ์ที่ใช้ วัสดุ โครงสร้าง รวมถึงตัวเลนส์เป็นอุปกรณ์คัดเกรดมาอย่างดี ออกแบบมาเพื่อใช้งานดูหนังภายในบ้านโดยเฉพาะ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า 50,000 ชั่วโมง เนื่องจากเลนส์มีคุณภาพจึงทำให้contrast ความคม การแสดงรายละเอียดของภาพ ทำได้ดีมากแม้กระทั่งในภาพที่มีแสงน้อย ภาพที่ออกมาให้ความสว่างของภาพสูง การใช้เทคโนโลยีแบบ Single Chip DLP ที่รองรับความละเอียดระดับ 5,120×2,160pixel ร่วมกับแหล่งกำเนิดแสงแบบ RGB LEDยิ่งส่งเสริมทำให้ความสว่างสดใสของภาพและสีในภาพยนตร์ดีขึ้น ความแม่นยำและความถูกต้องของสีนั้นทำได้อยู่ในระดับจอภาพที่เป็นreference monitor โปรเจคเตอร์ตัวนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใครที่ชื่นชอบภาพแบบDLP ใช้จอภาพขนาดใหญ่ ต้องการภาพที่มีความสว่างสูง ไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณและต้องการภาพที่ออกมามีคุณภาพสูงสุด โปรเจคเตอร์Barco BragiCSใช่คำตอบแน่นอน ยังไงหาโอกาสลองสัมผัสภาพของโปรเจคเตอร์ตัวนี้ที่ได้Calibrateตามมาตรฐานเต็มที่ซักครั้งแล้วคุณจะได้คำตอบว่า“Brightness is key”นั้นจริงอย่างที่Michael Bayพูดไว้หรือไม่ ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางบริษัท DECO2000 ที่ส่งโปรเจคเตอร์ Barco Bragi CSตัวนี้มาให้ทดสอบด้วยครับ

Facebook
Twitter
Email
ดาวน์โหลดบทความ Barco Bragi CinemaScope (PDF)
Picture of ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

ทพ. พงศ์ทิพจักร์ เชื้อเจ็ดองค์

หมอเอก หมอฟันผู้มีความหลงไหลชื่นชอบในเรื่องHometheater/Homecinema ด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเสียงและภาพในห้อง Hometheater จริง ๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร เลยลงทุนไปเรียนหลายสถาบันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น THX, HAA, ISF, CEDIA, PVA, Meyer Sound Training, Smaart Training นอกจากนี้ก็เคยเข้าไปสัมผัสห้องสตูดิโอ และโรงภาพยนตร์ระดับมาตรฐานของโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Stag theater, Kurasawa Dubbing Stage, Skywalker Sound Studio ของ Lucasfilm/ Pearson Theater,Bear’s Labของ Meyer Sound/ Dolby Cinema™ โดยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มานั้นก็ได้นำมาเขียนเป็นบทความลงนิตยสาร และทำสื่อมัลติมีเดียออนไลน์เป็นเวลาหลายปี ตอนนี้ก็ได้นำบทความสื่อต่าง ๆ รวมถึงบทความใหม่ ๆ คลิปวิดีโอใหม่ ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตมารวบรวมกันไว้ที่ website นี้ เพื่อให้ใครที่สนใจในเรื่องของ Hometheater เอาไว้เสริมความรู้ และเผื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะพบเจอในการเล่นเครื่องเสียงของแต่ละท่านได้