เมื่อหลายเดือนก่อนทางบริษัทDeco2000ได้ส่งPre-Processorรุ่น Altitude 16-channel มาให้ผมทดสอบดูว่าImmersive Audio preamplifierที่เรียกได้ว่ามีระบบทันสมัยที่สุดตัวหนึ่งของโลกนั้นมีจุดเด่นตรงไหน การปรับค่า การSetupต่างๆนั้นยากหรือเปล่า แล้วนักเล่นทั่วไปจะสามารถปรับเองได้หรือไม่ ใครสนใจสามารถติดตามอ่านได้เลยครับ
แกะกล่องออกมาก็จะพบกับTrinnov Altitude16 โดยการออกแบบเป็น Minimalist designที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ด้านหน้ามีปุ่มหมุนแค่สองปุ่มเท่านั้นคือปุ่มด้านซ้ายมือที่เป็นปุ่มหมุนVolume และปุ่มด้านขวาสำหรับเลือกSource เท่าที่ลองหมุนก็ให้ความรู้สึกถึงความนุ่มนวลแม่นยำ
นอกนั้นก็จะมีปุ่มกดอีกนิดหน่อย โดยด้านซ้ายของแผงหน้าจะมีปุ่มPower Switch และปุ่ม Muteเพื่อปิดเสียงชั่วคราว ส่วนด้านขวาข้างๆปุ่มหมุนเลือกSourceก็จะมีปุ่ม Back, Select และปุ่มMenu
เนื้อโลหะของตัวถังจะเป็นแบบดำด้าน ทำให้ไม่เปื้อนง่ายเวลายกไปมา ตรงกลางด้านหน้าจะเป็นจอDisplayขนาดใหญ่ไว้บอกสถานะของเครื่องได้แก่ Output Levelว่ามีความดังเท่าไร, Audio Sync Statusว่ามีการเชื่อมต่อระบบเสียงที่รายละเอียดเท่าไร, Current Sourceว่าตอนนี้แหล่งกำเนิดเสียงมาจากต้นทางที่ช่องต่อไหน, Output Meterดูเสียงขาออกว่ากราฟเป็นแบบไหน, มีการใช้Optimizer Statusหรือระบบปรับเสียงในตัวเครื่องหรือไม่ และAudio Formatดูรูปแบบเสียงว่าDecodeออกมาส่งไปยังPower Amplifierหรือลำโพงแบบไหน ซึ่งเท่าที่ดูหน้าตาโดยรวมของเครื่องถือได้ว่าออกแบบได้ดีมีDesign เรียบหรูดูHi-Endตามแบบฉบับฝรั่งเศสเลยทีเดียว
Remoteที่ให้มามีขนาดพอดีมือ ผิวหน้าเป็นแบบโลหะจากน้ำหนักของRemoteให้ความรู้สึกถึงความแข็งแรง คงทน ตัวRemoteสามารถใช้ปรับค่าพื้นฐานได้เช่นระดับความดัง, เลือกSource, Format เสียง, การปรับเสียงที่ตั้งไว้แล้วเป็นต้น ส่วนการปรับตั้งค่าแบบละเอียดผมว่าเข้าไปตั้งค่าในTablet หรือคอมพิวเตอร์จะสะดวกกว่า
แผงด้านหลังมีช่องต่อXLR Analog Outputs 16ช่อง, ช่องInputs HDMI 7ช่องและOutputs HDMI 2ช่อง โดย Input 1-3/Output1 จะเป็นแบบHDMI 1.4 ส่วน Input 4-7/Output 2 จะเป็น HDMI 2.0 สำหรับภาพแบบ 4K/60p, high dynamic range(HDR10, HLG และDolby Vision),REC.2020, HDCR2.2 Anolog แต่HDMI inputทั้งหมดนี้ก็ยังสามารถเซ็ตเปลี่ยนแปลงในภายหลังได้ว่าinputไหนจะให้เป็นHDMI 1.4 inputไหนจะให้เป็น HDMI 2.0 และก็จะมี XLR Stereo Inputs balancedอีกหนึ่งช่อง RCA Stereo Input 1ช่อง รวมถึงช่องต่อไมค์เพื่อCalibrateที่จะเป็นหัว 5-pin XLRอีกหนึ่งช่อง, มีช่องInput แบบOptical 2ช่อง Coaxial 1ช่อง/Output Optical 1 , Coaxial 1 นอกจากนั้นก็มีช่องต่อมาตรฐานอื่นๆเช่น12V triggersที่มี 1in 4out, RS-232 serial port, ช่องต่อNetwork RJ45 Gigabit Ethernet, DVI/HDMI/VGA Video output ใช้เพื่อดูเมนูของเครื่องเวลาปรับ
Altitude16สามารถrender สัญญาณออกไปเป็น 16channels high-resolution 24/96 ที่เป็นแบบdiscreteหรือแยกกันอิสระ รองรับระบบเสียง3Dทั้งDolby Atmos, Auro-3D และ DTS:X Pro
Trinnovจะใช้ระบบ software-based platform สามารถupgrades firmwareของเครื่องให้ทันสมัยได้ตลอดเวลาส่งผลให้เครื่องมีความทันสมัยอยู่เสมอ เหมาะอย่างยิ่งกับโลกดิจิตอลที่มีการพัฒนาความสามารถของเครื่องอยู่เรื่อยๆ อย่างเช่นล่าสุดก็กำลังจะupgradeให้เครื่องสามารถรองรับDolby Core Universe Objects ทำให้เครื่องTrinnov Altitude สามารถแสดงกราฟฟิกของObjectsที่กำลังเคลื่อนไปมาในห้องตามตำแหน่งเสียง และตามเวลาที่mixมาจากstudio ผู้ชมก็จะได้รู้ว่าข้อมูลที่mixลงมาในตอนนั้นมีobjectsอะไรอยู่ตรงไหน และกำลังเคลื่อนที่อย่างไรบ้าง
หลังจากแกะกล่องเรียบร้อยก็ได้เวลายกเข้ามาทดสอบ ก่อนการตั้งค่าต่างๆก็ต้องทำการเชื่อมต่อเครื่องเข้ากับnetwork โดยใช้สายLANจากเครื่องต่อเข้าไปยังRouter ซึ่งการเชื่อมต่อของPre-processorเพื่อทำการcontrolตัวเครื่องนี้ถือว่าสะดวกมากเพราะสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งtablet, smartphone โดยใช้appที่ชื่อว่าVNC หรือการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบWINDOWS และ Mac OSผ่านทางโปรเกรมVNC Viewer และอีกวิธีก็คือต่อสายภาพVGA, สายMouse, สายKeyboardเข้าไปยังเครื่องTrinnovเหมือนเป็นCPUของคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้เช่นกัน
การทดสอบครั้งนี้ได้ทดสอบจากSourceจากหลายแหล่งทั้งจากเครื่องเล่นแผ่นOppo UDP-203, Pioneer UDP-LX800, Zappiti Pro 4K HDR Audiocom Cinema Edition, Apple TV 4K 64GB ทั้งที่ต่อตรงและต่อผ่าน Lumagen Radiance Pro 4446 18GhzการSetupก็เป็นการconfigเหมือนกับการใช้งานทั่วไปคือสัญญาณจากSourceเข้าในช่องInputแล้วOutputเป็นanalog audioส่งต่อไปยังลำโพงของMeyer Soundทั้งชุดที่เป็นลำโพงแบบActiveมีPower Amplifierในตัว โดยลำโพงMainจะเป็นรุ่นAcheron Designer, ลำโพงSurroundทั้งหมดเป็นรุ่นHMS-10 ส่วนลำโพงSubwooferใช้4ตัวเป็นรุ่นX-400C ซึ่งในบางช่วงของการทดสอบผมก็เปลี่ยนการconfigให้สัญญาณจากSubwoofer channelของTrinnov Altitude16มาเข้าDSP Galileo 408ของMeyer Soundเพื่อเป็นตัวควบคุมลำโพงX-400Cทั้ง4ตัวก่อน เพื่อเป็นการทดสอบเปรียบเทียบกัน
สิ่งที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของAltitude ก็คือเรื่องการปรับตั้งค่าอัตโนมัติ Trinnov’s Optimizer ที่เป็นเทคโนโลยีของทางTrinnovที่พัฒนามาเพื่อช่วยในการปรับให้ลำโพงและห้องสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม 4โดยจะมีการใช้ไมค์โครโฟนที่มีเดือยขึ้นมา 3แท่งเป็นตัววัดค่าparameterต่างๆของห้องและลำโพงแล้วจะทำการปรับแต่งเสียงที่ออกมาจากลำโพง ซึ่งไมค์ตัวนี้จะมีความไวและแม่นยำสูงมาก ดูได้จากหลังจากการวัดจะสามารถแสดงผลแบบ3มิติได้เลยว่าลำโพงแต่ละตัวอยู่ตำแหน่งตรงไหนในห้อง มีความสูงจากพื้นห้องเท่าไร เอียงทำมุมแบบไหนกับระนาบการนั่งฟัง
เมื่อทำการต่ออุปกรณ์ต่างๆเรียบร้อย ก็มาถึงการทำSetup wizardเพื่อทำการAuto-calibration ซึ่งก็จะมีการเลือกlayoutของห้องว่าห้องที่กำลังติดตั้งนั้นเป็นแบบไหนโดยจะมีให้เลือกรูปแบบการวางลำโพงต่างๆหรือสามารถกำหนดเองได้ ในห้องผมนั้นก็เลือกเป็นแบบDolby Atmos 7.1.4 เสร็จแล้วก็ไปใส่ขนาดของห้องและจอภาพว่ามีขนาดเท่าไร ในการเลือกค่าต่างๆก็จะมีรูปภาพสามมิติให้ดูเพื่อความสะดวกและให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่าระบบที่ใช้อยู่ในห้องนั้นเป็นแบบไหน
หลังจากนั้นก็มาถึงขึ้นตอนการตั้งcrossover ของลำโพงแต่ละตัวโดยใช้Trinnov’s comprehensive bass management system หรือระบบจัดการความถี่ต่ำ ซึ่งผมว่าBass managementของTrinnov Altitudeนั้นเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและปรับได้ละเอียดมาก เนื่องจากสามารถปรับได้ทุกchannelตามที่ต้องการได้เลย ยกตัวอย่างเช่นในสภาพบางห้องถ้าตัดความถี่ต่ำของลำโพงMainไปรวมกันที่Subwooferทุกตัว ปรากฏว่าพอฟังจริงๆแล้วความสมจริงในตำแหน่งเสียงความถี่ต่ำไม่ค่อยดี เราก็สามารถตัดความถี่ต่ำของลำโพงด้านขวาทั้งหมดของห้องไปยังSubwooferที่วางอยู่ด้านขวาของห้องก็สามารถทำได้ หรือต้องการตัดความถี่ต่ำของลำโพงAtmosที่อยู่ฝั่งขวาด้านบนไปให้Subwooferตัวที่อยู่มุมด้านขวาเพียงตัวเดียวก็สามารถทำได้อย่างไม่มีปัญหา หรือว่าพอตัดไปยังsubwooferที่อยู่มุมด้านขวาแล้วปรากฏว่าเสียงของลำโพงatmosมันไม่ค่อยกลืนกับเสียงของsubwooferเนื่องมาจากsubwooferวางอยู่ห่างจากลำโพงatmosเกินไป เราก็สามารถตัดความถี่ต่ำของลำโพงatmosบางส่วนไปยังลำโพงหน้าขวา ส่วนความถี่ต่ำที่ลึกมากเกินกว่าลำโพงหน้าขวาจะทำได้ก็ตัดไปให้subwooferไปอีกทอดก็ทำได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าBass managementของTrinnovตัวนี้สามารถพลิกแพลงปรับแต่งได้อย่างมากมาย เพื่อให้การจัดการความถี่ต่ำมีความเหมาะสมในแต่ละสภาพห้อง แต่ละสภาพacousticsมากที่สุด
เมื่อมีการกำหนดค่าพื้นฐานต่างๆเสร็จแล้วก็เป็นการปล่อยเสียงpink noiseจากตัวเครื่องเพื่อให้ไมค์เก็บข้อมูลเสียงต่างๆมาประเมินตำแหน่งลำโพง ประเมินสภาพacoustics ประเมินเสียงที่ออกมาจากลำโพง เพื่อนำไปคำนวณ โดยขั้นตอนนี้ก็จะมีการแสดงผลให้เห็นเป็นสามมิติว่าได้วางตำแหน่งไมค์ได้ถูกต้องเหมาะสมหรือเปล่า เครื่องจะทำการปล่อยเสียงpink noiseสามครั้งในแต่ละลำโพง วนไปจนครบทุกลำโพง ซึ่งถ้าห้องไหนมีจำนวนลำโพงมากก็จะใช้เวลานานในการทำแต่ละรอบ เสร็จแล้วมาดูรูปตำแหน่งลำโพงถ้าพบว่าวางไมค์ไม่ได้ระนาบทำให้ก็ต้องปรับตำแหน่งไมค์ใหม่ให้อยู่ในแนวระนาบทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ก็ต้องยอมรับว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่กินเวลาพอสมควรเลยถ้าต้องการให้ข้อมูลที่ได้มีความแม่นยำสูงสุด แต่ผมมีเทคนิคเล็กน้อยในการวางไมค์นี้ก็คือขาตั้งที่ใช้จับไมค์ควรใช้ขาตั้งที่ดีมีความมั่นคงไม่โยกเยกหรือขยับไปมาได้ง่ายเพราะเพียงขยับเพียงนิดเดียวไมค์ที่มีความไวสูงของtrinnovก็จะจับได้หมด นอกจากนี้เวลาrunเสียงpink noiseควรจะให้เสียงดังมากกว่าความดังที่แนะนำไว้เนื่องจากบางห้องถ้าเสียงpink noiseไม่ดังพอก็จะทำให้เสียงจากการสะท้อนมากวนได้ง่ายกว่า และเวลาrun pink noiseก็ไม่จำเป็นให้เสร็จทุกลำโพงแล้วค่อยมาดูผล ทำแค่ลำโพงสามตัวหน้าเราก็จะเห็นจากกราฟฟิกสามมิติแล้วว่าไมค์ถูกวางไว้ได้ระดับหรือเปล่าถ้าดูแล้วไม่ได้ก็กดcancelแล้วค่อยปรับระดับไมค์อีกทีไม่จำเป็นต้องrunให้ครบทุกลำโพงเพราะจะทำให้เสียเวลามาก
เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยทุกลำโพงแล้วให้ลองมาเช็คในหน้าSummaryอีกรอบว่าค่าพื้นฐานต่างๆเช่นตำแหน่งลำโพง การตอบสนองของลำโพงมีความถูกต้องตามความเป็นจริงไหม ถ้ามีค่าใดค่าหนึ่งเพี้ยนก็ต้องมาหาสาเหตุ แก้ไข แล้วต้องRun pink noiseใหม่อีกครั้ง โดยตำแหน่งการวัดของไมค์ในห้องสามารถวัดได้หลายตำแหน่งเพื่อให้เครื่องคำนวณข้อมูลได้แม่นยำมากขึ้น ซึ่งเท่าที่ผมลองดูผมว่าอย่างน้อยควรทำไว้สองถึงสามตำแหน่งเพื่อป้องการการผิดพลาดจากAcousticsของห้องถ้าตำแหน่งไมค์แรกไปวางอยู่ในตำแหน่งที่acousticsไม่ดี นอกจากนี้ก็ยังสามารถเลือกweightน้ำหนักว่าต้องการให้ความสำคัญกับตำแหน่งไหนบ้างและคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์เทียบกับตำแหน่งอื่นๆ
Setup WizardของTrinnov สามารถวัดหาตำแหน่งลำโพงทั้งในแนวดิ่งและแนวระนาบได้อย่างแม่นยำ ทำให้รู้ได้ว่าตำแหน่งลำโพงที่ติดตั้งอยู่ในห้องนั้นมีความใกล้เคียงกับตำแหน่งลำโพงมาตรฐานมากน้อยขนาดไหน
เมื่อทำการปล่อยสัญญาณpink noiseเสร็จเรียบร้อย Trinnovก็จะแสดงผลการวัดออกมาอย่างละเอียด โดยในส่วนFrequency Domain ก็จะแสดงระดับหรือlevelของลำโพงทั้งหมดว่าก่อนและหลังใส่filterนั้น ผลออกมาเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ก็ยังสามารถเลือกแสดงเฉพาะลำโพงแต่ละตัว หรือเลือกเฉพาะกลุ่มของลำโพงก็ได้
ในส่วนของTime Domainที่ Trinnov’s Optimizerได้ให้ความสำคัญในการปรับและใส่filterต่างๆเพื่อให้ลำโพงแต่ละตัวทำงานประสานกันเพื่อให้ในระบบมี Phase offset และ Time offsetน้อยที่สุด โดยจะมีการคำนวณและใส่filter เข้าไปทั้งในส่วนของPhase Delay, Group Delay, Impulse Response
Advanced Settingsจะเป็นการตั้งค่าfilterที่ใช้ ซึ่งถ้าใครศึกษาในเรื่องของDSPก็คงจะรู้ว่าfilterที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะมีอยู่ 2แบบคือFIR(Finite impulse response) และ IIR(Infinite impulse response) สำหรับFIRจะทำให้เกิดphase shift น้อยกว่าแต่จะต้องใช้พลังงานในการคำนวณมากกว่า รวมถึงในความถี่บางความถี่อาจจะไม่เหมาะสมทำได้ไม่ค่อยดีหรือทำไม่ได้เลย โดยAdvanced Settingsนี้จะเป็นการกำหนดตั้งค่าต่างๆของFIRและIIR แต่ถ้าใครยังไม่เข้าใจในส่วนนี้ก็สามารถข้ามไปได้แล้วค่อยให้ช่างปรับเสียงโดยตรงที่ผ่านการอบรมของTrinnovมาปรับจะดีกว่า เพราะการปรับค่าต่างๆเหล่านี้ถ้าปรับไม่เป็น ไม่รู้ว่าถ้าปรับค่านี้แล้วจะมีผลต่อเสียงอย่างไรบ้างก็มักจะทำให้เสียงที่ออกมาแย่มากกว่าเสียงดี
สำหรับผมแล้วส่วนที่เป็นhighlightอีกอย่างหนึ่งของTrinnov Altitudeก็คือในเรื่องTarget curveที่powerfulมากๆ ผมเคยลองใช้target curveของเครื่องpre-processorอยู่หลายเครื่อง พบว่าบางเครื่องก็work บางเครื่องก็ไม่workปรับกราฟยังไงเสียงก็ยังเหมือนเดิมจนบางทีก็งงๆอยู่ว่าให้มาทำไม แต่ในเครื่องนี้ถือว่าปรับcurveยังไง เสียงก็ออกมาตามที่ปรับจริง ทั้งยังมีoptionให้เลือกว่าสามารถปรับแยกลำโพงแต่ละตัว แต่ละกลุ่มลำโพง หรือให้ปรับในแต่ละช่วงความถี่โดยเลือกในExcursion Curve ก็ได้ เรียกว่าสามารถCustomizeการปรับได้ละเอียดตามที่ต้องการเลย เมื่อปรับเสร็จก็สามารถเลือกSaveไว้เป็นค่าpresetsในแต่ละtarget curveไว้เทียบกันได้หลายสิบpresetsเอาไว้เลือกตามใจชอบ
Target Curveที่ใช้ในห้องทดสอบนี้ก็จะใช้ MorAek’s (หมอเอก) Curve ครับ!!!!!! ไม่ต้องแปลกใจว่ามันมีด้วยหรือ555 ในส่วนของTarget Curveเอาไว้มีโอกาสผมจะเล่าให้ฟังอย่างละเอียดอีกทีว่าการEQเสียงในระบบHome Theaterต้องทำเป็นFlatเท่านั้นหรือไม่…เพราะอะไร แล้วถ้าไม่Flatต้องปรับTarget Curveแบบไหนถึงจะเสียงดี แล้วพวกX-curve, room curve, house curve รวมถึงMorAek’s Curveจะใช้ตอนไหน อย่างไร เพื่ออะไร? เพราะเรื่องเหล่านี้ถ้าพูดถึงในนี้จะยาวมาก เอาไว้มีโอกาสคงได้เขียนถึงหรือบรรยายให้ฟังกันแบบละเอียดอีกที ติดตามกันต่อไปนะครับ
Excursion Curve ให้เลือกได้ว่าต้องการให้การปรับTarget Curveนั้นในช่วงความถี่ไหนบ้าง และปรับอยู่ในช่วงระดับLevel กี่dB เช่นถ้าเราเห็นว่าความถี่สูงของลำโพงในระบบนี้ดีมากแล้วไม่อยากให้ Trinnov’s Optimizer เข้าไปปรับแก้หรือใส่filterใดๆหลังความถี่ 10K Hz เราก็เลือกในส่วนสีเขียวให้แคบลงไปที่0ในความถี่10Kขึ้นไป เมื่อทำแบบนี้เครื่องก็จะไม่ใส่filterหรือเข้าไปแก้ค่าใดๆในส่วนของความถี่ตั้งแต่ 10Kขึ้นไป ปล่อยให้เสียงออกไปตามสัญญาณต้นฉบับนั่นเอง
อุปกรณ์อีกอย่างที่ช่วยผมในการEQ ปรับTarget Curveให้เสียงที่ออกมาใกล้เคียงกับเสียงที่เป็นมาตรฐานหรือเสียงในStudioที่ทำเสียงมาก็คือหูฟังIn-ear headphoneของEtymotic รุ่น ER4SR ที่เป็นหูฟังระดับreferenceใช้ในงานstudio, post production etc. ซึ่งผมเห็นSound Engineerหรือ Sound calibratorมืออาชีพในต่างประเทศก็ใช้เพื่อเป็นเสียงอ้างอิงกันหลายคน
โดยผมจะใช้หูฟังตัวนี้ฟังเสียงทั้งจากเสียงpink noiseและเสียงเพลงต่าง เทียบกับเสียงที่ออกมาจากระบบลำโพงผ่านacousticsของห้อง แล้วทำการปรับแก้target curveให้เสียงออกมาใกล้เคียงกับเสียงที่ได้ฟังจากในหูฟังอีกที ที่นักปรับเสียงหลายคนใช้หูฟังตัวนี้เนื่องจากว่าเป็นหูฟังที่ให้ค่าการตอบสนองความถี่ได้เที่ยงตรงในทุกย่านความถี่ ด้วยความที่ใช้driverเพียงตัวเดียวในการขับเสียงจึงไม่มีปัญหาcrossover pointของdriverต่างๆที่ไม่สม่ำเสมออาจจะทำให้เสียงตรงตำแหน่งcrossover มีความเพี้ยน เช่นอาจจะดังขึ้นกว่าปกติ หรือเบากว่าปกติ รวมถึงเป็นหูฟังที่สอดเข้าไปในear canalที่ลึกกว่าหูฟังทั่วไปทำให้ต้นกำเนิดเสียงอยู่ใกล้กับอวัยวะรับรู้เสียง ความเพี้ยนที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมจึงเกิดขึ้นน้อย หูฟังตัวนี้จึงให้เสียงที่มีความเที่ยงตรงมีความเพี้ยนของเสียงน้อยที่สุด
นอกจากการใช้Trinnov Optimizerล้วนๆแล้ว ผมก็ยังได้ทดสอบการใช้Optimizerร่วมกับการManual Calibrationในส่วนของSubwoofer/Main channels โดยการใช้DSP Meyer Sound Galileo408เพื่อควบคุมลำโพงของMeyer Soundเอง ซึ่งก็พบว่าทำได้อย่างไม่มีปัญหาติดขัด สามารถกำหนดการตั้งค่าและปรับค่าต่างๆได้ตามปกติ
microphone แบบmultiplexerของเครื่องมือHAA ร่วมกับ microphone ของEarthworksใช้วัดในโปรแกรมSmaart8 เพื่อทำmanual calibrationร่วมกับTrinnov Optimizer
กราฟFFTแสดงผลการทำManual CalibrationของลำโพงSubwooferก่อนแล้วทำการใช้Trinnov Optimzer ภายหลังโดยกำหนดค่าExcursion Curveตัดการทำงานในส่วนของความถี่ต่ำออกไปให้ใช้การทำงานของGalileo 408อย่างเดียว ทำให้กราฟที่ได้มีความSmooth และได้ตามTarget Curveที่ตั้งไว้
หลังจากทำการCalibrationเครื่องเป็นที่เรียบร้อยก็ได้เวลามาฟังเสียงจริงกันบ้าง ต้องบอกว่าเสียงที่ออกมาสิ่งแรกที่โดดเด่นของpre-processorตัวนี้คือเรื่องเสียง Immersive Soundที่ให้เสียงโอบล้อมตัวแบบสามมิติเป็นbackgroundและมีเสียงของวัตถุที่ชัดเจนวิ่งไปมาในห้องเหมือนมีวัตถุจริงๆอยู่ในห้องนั้น การเชื่อมกันต่อเนื่องของเสียงในลำโพงต่อลำโพงนั้นทำได้แบบแนบเนียนถึงแม้ในห้องนี้ใช้ลำโพงในระบบ7.1.4ไม่ได้วางลำโพงมากเหมือนในระบบใหญ่ๆก็ตาม เมื่อได้ลองหนังเรื่องMidway ฉากที่มีเครื่องบิน บินวนอยู่รอบหัวหรือบินวนเวียนพร้อมทิ้งระเบิดลงมา เสียงเครื่องบิน เสียงลูกระเบิดที่แหวกอากาศออกไป ให้ความรู้สึกถึงความเป็นObject Baseวิ่งไปมา นอกจากนี้การทำOptimizeโดยใช้เรื่องของtime domain เข้ามาคำนวณทำให้time offsetเสียงความถี่ต่างๆมีค่าน้อยเสียงความถี่ต่ำจึงมีความแน่นกระชับฉับไวและเดินทางมาถึงพร้อมกับเสียงความถี่ย่านอื่นๆ ส่วนFocusและทิศทางของเสียงทำได้ยอดเยี่ยมอย่างกับฉากต้นเรื่องของแผ่น 4K Finding Nemo ที่นำมาRemakeใหม่ ฉากพ่อปลาและลูกปลาว่ายน้ำพูดกัน เสียงพูดก็จะไปซ้ายขวาหน้าหลังตามตำแหน่งของภาพอย่างแม่นยำ นอกจากนี้น้ำเสียงโดยรวมของระบบก็จะเป็นไปตามtarget curveแบบตรงไปตรงมาทำให้สามารถปรับเสียงได้ตามความต้องการได้โดยง่ายไม่ยุ่งยากที่ต้องเสียเวลาเข้าไปปรับส่วนของEQแยกในแต่ละลำโพง
ถ้าพูดถึงเสียงแบบ3D หรือImmersive Sound ต้องบอกว่าTrinnovถือได้ว่าเป็นบริษัทแรกเริ่มที่ได้ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาระบบเสียงเหล่านี้ไม่ว่าจะในส่วนของmicrophoneในระบบ3D จนไปถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในระบบเสียงเหล่านี้ โดยมีอุปกรณ์ตัวเด่นของบริษัทได้แก่Trinnov Altitudeตัวนี้ที่มีความล้ำสมัยอยู่ในระดับแนวหน้าของImmersive Audio preamplifierในปัจจุบัน นอกจากนี้ทางบริษัทTrinnovก็ยังมีการพัฒนาคุณสมบัติต่างๆต่อยอดขึ้นไปอีกตลอดเวลา เพื่อทำให้เสียงแบบImmersive Soundจากภาพยนตร์นั้นเข้าไปอยู่ในบ้าน ในห้องHome Theaterได้อย่างไร้ที่ติ ดังคำของบริษัทที่บอกว่า “Trinnov Audio constant focus in this field of research has allowed us to develop the most advanced, innovation, powerful and scalable 3D AV Preamplifier ever manufactured.”