Room Tuning

ฉบับนี้นับเป็นฉบับที่ผมเขียนลงหนังสือครบรอบปี 12ฉบับพอดี ที่ผ่านมาก็มีเนื้อหาในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเสียงในห้องHome theater ว่าแล้วฉบับนี้ขอรวบยอดมาให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าที่เคยกล่าวมาทั้งหมดแล้วนี่ถ้าเราต้องการทำการปรับห้องดูหนัง(room tuning) อะไรบ้างที่มีบทบาทต่อเสียงในห้องHome theaterของเรา ผมจะบอกไว้เป็นเปอร์เซนต์เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆว่าอันไหนสำคัญมากอันไหนสำคัญรองลงมานะครับไม่ได้หมายความว่าทุกห้องจะเป็นตัวเลขเปอร์เซนต์แน่นอนเท่านี้ 70% คือตำแหน่งของลำโพงต่างและตำแหน่งนั่งฟัง เนื่องจากห้องhome theaterของเรามีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือให้เสียงออกมาใกล้เคียงกับต้นฉบับที่เขาบันทึกมาให้มากที่สุด ดังนั้นเราจึงต้องพยายามให้ลดการinteraction ระหว่างลำโพงกับผนัง หรือกับวัตถุต่างๆภายในห้อง เพื่อให้เสียงที่มันสะท้อนมาจากผนัง จากพื้นผิวต่างๆ ไม่ทำให้เกิดphase cancellationที่รุนแรงในตำแหน่งนั่งฟัง และก็ต้องพยายามลดปัญหาเรื่องStanding Wave หรือroom mode ซึ่งวิธีป้องกันที่ได้ผลที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ก็คือสัดส่วนความกว้าง ความยาว ความสูงของห้อง ดังที่ผมเคยเขียนไว้ในหนังสือVideophileฉบับปลายๆปีที่แล้วลองไปหาอ่านดูครับ 25% ที่มีบทบาทในห้องก็คือAcoustical Treatment โดยเฉพาะการแก้ปัญหาในเรื่องFirst Order Reflections จากผนังต่างๆ วิธีที่จะหาตำแหน่งFirst Reflectionsได้ง่ายๆก็คือการให้กระจกสะท้อนตำแหน่งtweeterของลำโพงว่าตำแหน่งกระจกอยู่ตรงไหนที่เวลาดูตรงตำแหน่งนั่งฟังหลักแล้วเห็นtweeterของลำโพงเราก็วางตัวAbsorptionไว้ตรงตำแหน่งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้First Reflectionsมีความรุนแรงและทำให้เกิดphase cancellation กับเสียงหลักที่ออกมาจากลำโพงมาหาตำแหน่งนั่งฟัง ส่วนที่เราสามารถใช้กระจกที่สะท้อนตำแหน่งของลำโพงได้นั้นก็เพราะว่าโดยปกติที่ความถี่ที่มากกว่า 400Hz ขึ้นไป คลื่นเสียงจะมีลักษณะทางPhysicsใกล้เคียงกับคลื่นแสง ที่มีการสะท้อนเหมือนกันแต่ถ้าความถี่ที่ต่ำกว่านี้คลื่นเสียงจะมีการเคลื่อนที่ไม่เหมือนคลื่นแสงแล้ว นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงขนาดของห้อง และreverb time ก็สามารถแก้ปัญหาเสียงเบสได้ โดยอาจจะใช้พวกBass Trapsต่างๆ ทั้งนี้ก็เพราะเสียงเบสมักจะเป็นปัญหาหลักๆของห้องHome theaterเกือบทุกห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่ไม่มีความสมมาตรกัน ส่วนอีก5%ก็คือ […]

A/V Receiver and Pre Processor Set Up

พูดถึงทั้งเรื่องห้อง เรื่องการจัดวางลำโพง เรื่องการTreatmentในห้องมาแล้ว ฉบับนี้มาว่ากันต่อในเรื่องการปรับค่าต่างๆในA/V Receiver(ในที่นี้ขอเรียกย่อๆว่าAVRนะครับ) หรือบางคนอาจจะใช้พวกPre Processor(เรียกPre-Proละกัน) ร่วมกับ Power Amplifier ก็ใช้ได้เหมือนกัน เรื่องนี้ถ้าเป็นคนที่เล่นHome theaterมาบ้างแล้วก็อาจจะถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่รู้ๆกันอยู่ แต่ผมว่ายังมีบางคนที่อาจจะเริ่มเข้ามาศึกษาในเรื่องนี้ ยังไม่เข้าใจการปรับตั้งค่าต่างๆที่AVRมันมีอยู่มากมายเหลือเกิน บางทีSet upเสร็จเสียงก็ออกมาแปลกๆ หรือบางทีก็ไม่มีเสียงออกจากระบบเลย อ่านคู่มือก็ยังไม่ค่อยเข้าใจแถมคู่มือส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษเสียด้วย โดยผมจะพูดถึงFunctions ในเครื่องทั่วๆไปที่มีอยู่ในตลาดนะครับ แต่ละยี่ห้อก็อาจมีชื่อเรียกFunctionต่างๆกันออกไป รายละเอียดการปรับหัวข้อปลีกย่อยต่างๆก็อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง เอาเป็นว่าผมจะพูดถึงการตั้งค่าหลักๆที่พบในเครื่องทั่วไปละกัน นอกเหนือจากนี้ก็ค่อยไปหาอ่านเพิ่ม หรือสอบถามเพิ่มเติมเข้ามาได้ครับ เมื่อเราพูดถึง AVR หรือ Pre-Pro เราก็จะรู้ว่ามันเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากอีกตัวหนึ่งในระบบHome theater มันจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการควบคุมอุปกรณ์ในระบบ ทั้งการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ต้นทาง ลำโพง การแสดงผล เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าแล้วมาเริ่มกันที่การเชื่อมต่อเส้นสายต่างๆกันก่อนเลย ขั้นตอนแรกคือการต่อสายลำโพง โดยปกติทั่วไปเราจะต่อสายลำโพงสองเส้นที่เป็นขั้วบวก และขั้วลบจากหลังเครื่องAVR ไปยังลำโพงแต่ละตัว สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงสิ่งหนึ่งก็คือGaugeของสายลำโพง หรือขนาดความใหญ่ของสายลำโพง โดยเฉพาะถ้าเราต้องการเดินสายลำโพงที่ไกลๆ หรือลำโพงมีความต้านทานต่ำ ได้มีคำแนะนำในการเลือกGaugeของสายลำโพงให้เหมาะสมกับความยาวของสายลำโพง ค่าimpedanceของลำโพงไว้ดังตาราง โดยขนาดของสายจะใช้ค่ามาตรฐาน American wire gaugeหรือตัวย่อ AWG ยิ่งค่าAWGน้อยแสดงถึงสายลำโพงที่ใหญ่ขึ้นหนาขึ้น แต่ถ้าเป็นAWGที่มีค่ามากก็แสดงถึงสายที่มีขนาดที่เล็กลง […]

Acoustical Treatment

ฉบับนี้จะมาพูดถึงเรื่อง Acoustical Treatment ซึ่งก่อนที่จะเริ่มแก้ไขปรับปรุงAcousticsของห้อง อย่างแรกเราก็ต้องรู้ก่อนว่าปัญหาด้านAcoustic ที่เรามักจะพบบ่อยในห้องhome theaterมีอะไรบ้าง Reflections เป็นการสะท้อนของเสียงต่อพื้นผิวที่มีลักษณะแข็ง เช่น พื้น ประตู หน้าต่าง ผนังด้านต่างๆของห้อง โดยจะทำให้เสียงเกิดการก้องสะท้อน(flutter echo,excess ambience) โดยเฉพาะflutter echo ถ้าเราศึกษาเรื่องacousticsในห้องขนาดเล็ก คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้าใจในflutter echoซึ่งมันก็คือการที่คลื่นเสียงภายในห้องมีการสะท้อนกลับไปมาระหว่างพื้นที่ที่ขนานกันสองข้าง จะทำให้เสียงออกมาในลักษณะค่อนข้างสด เสียงแหลมจะเพี้ยวฟ้าว หรือเรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “bright” หรือบางทีก็เรียกว่า “Zingy sound” เสียงนี้มันก็จะไปกระทบกับความsmoothของคลื่นเสียง ทำให้toneของเสียงมีการเปลี่ยนแปลงไป การเช็คflutter echoes ก็ไม่ยากอะไรใช้การตบมือหลายๆจุดในห้องhome theater แล้วฟังดูเสียงecho ของมันถ้ามีอาการเสียงที่เป็นZingy sound ก็แสดงว่าน่าจะมีปัญหาเรื่องflutter echo แต่ตอนฟังเราต้องนั่งฟังตรงตำแหน่งที่ดูหนังนะครับ(primary seat) ไม่ได้ให้ตบมือแล้วฟังตรงนั้นเลย ง่ายๆเราก็หาเพื่อนอีกคนตบมือในตำแหน่งต่างๆของห้อง เราก็นั่งฟังตรงจุดที่เป็นตำแหน่งนั่งดูหนังหลักได้ การใช้Acoustic treatment รวมกันระหว่าง absorption และ diffusion ส่วนมากก็จะสามารถแก้ไขflutter echoes แบบนี้ได้ หรือไม่บางทีการใส่เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ […]

Acoustical Goals

อย่างที่เรารู้กันอยู่แล้วว่าวัตถุประสงค์ของห้องHome theater ตามแนวทางของ THX, HAA หรือแม้กระทั่งของCEDIA จะมีแนวทางเหมือนกันคือ ต้องการเปลี่ยนห้องในบ้านให้ได้รับประสบการณ์เสียงใกล้เคียงกับในห้องสตูดิโอที่ทำภาพยนต์ เหมือนกับว่าเมื่อผู้กำกับเรื่องนั้นๆมาดูแล้วบอกว่า นี่แหละหนังที่ผมทำ ผมต้องการสื่อสารกับคนดูให้ได้อย่างนี้ คนดูควรจะได้ยินเสียงอย่างนี้ ซึ่งการที่เราจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้เราก็ต้องมีความเข้าใจก่อนว่าAcoustical Goals คืออะไรและ บรรทัดฐานมันมีอะไรบ้าง อย่างแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่าการที่เราจะทำให้ระบบเครื่องเสียงของเรามีเสียงตามเป้าหมายนั้นมันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยร่วมกันทั้ง อุปกรณ์ต่างๆ, การจัดวาง, การcalibration และห้อง โดยห้องจะมีบทบาทที่สำคัญมากและในบางห้อง ห้องก็อาจจะมีบทบาทสำคัญมากที่สุดในระบบเสียง หลักเกณฑ์ที่มักจะใช้เป็นตัวประเมินระบบเสียงในห้องHome theater มีดังนี้ Clarity Focus Envelopment Dynamics Smooth frequency response Seat-to-seat consistency เรามาเริ่มกันที่Clarity กันก่อนเพราะถือว่าเป็นAcoustical goal หลักของเสียงในห้องHome theater การที่จะได้มาซึ่งClarity ที่ดีนั้นมันต้องประกอบขึ้นมาจากข้ออื่นๆที่กล่าวมาทั้งหมดคือ Focus, Envelopment, Dynamics, Smooth frequency response และ Seat to seat consistency ที่Clarityมีความสำคัญก็เพราะว่ามันทำให้เสียงพูดคุยของนักแสดงมีความชัดเจนไม่คลุมเคลือ เมื่อได้ฟังเพลงก็เข้าใจว่าเนื้อร้องพูดถึงอะไร […]

Home Theater Speaker Configuration(ต่อ)

เมื่อฉบับที่แล้วได้พูดถึงการวางลำโพงตามมาตรฐาน ITU(International Telecommunications Union) สำหรับSurround Sound Production ทั้งแบบ 5.1 และ7.1 พูดถึงการนำไปดัดแปลงให้เหมาะสมในห้องHome Theater โดย Consumer Electronics Association(CEA) และ Custom Electronic Design & Installation Association(CEDIA) ได้กล่าวถึงรูปแบบการวางลำโพงโดยเน้นที่ลำโพงSurround ไปบ้างแล้ว คราวนี้มาต่อในลำโพงFrontและCenterบ้าง เริ่มจากลำโพงซ้ายและขวาก่อน อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าลำโพงซ้ายและขวาเมื่อเรามองในแนวระนาบ ลำโพงควรจะต้องทำมุมประมาณ 45-60องศา กับCenter line โดยเมื่อเทียบกับขนาดของจอภาพแล้วก็ควรจะเหมาะสมกัน ไม่ควรอยู่ห่างกันเกินไป เพื่อให้Sound field มีความต่อเนื่องกันจากด้านซ้ายไปตรงกลางและไปด้านขวา ส่วนในแนวดิ่งลำโพงก็ควรจะมีระดับของตัวลำโพงขับเสียงแหลมหรือtweeter อยู่ในระดับหู หรือสูงกว่าหูเล็กน้อย ในStudio ลำโพงด้านหน้าทั้งleft center และ right channels หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า LCR ส่วนมากจะใช้ลำโพงเหมือนกัน วางไว้หลังจอที่มีรูพรุนเพื่อให้เสียงผ่านได้ (Acoustically transparent perforated screen) แต่ในห้องHome […]

Home Theater Speaker Configuration

จากฉบับที่แล้วในเรื่อง Immersive Sound ได้มีเพื่อนหลายๆท่านบอกว่าไม่ต้องพูดไปไกลถึง Dolby Atmos หรือ Auro 3Dเลย แค่ 5.1 หรือ 7.1 ยังไม่รู้ว่าจะวางลำโพงตรงไหนเลย ผมเลยถือโอกาสฉบับนี้กลับมาพูดถึงพื้นฐานการวางตำแหน่งลำโพง 5.1 และ 7.1 ในห้อง Home Theater เพราะว่าวัตถุประสงค์ของห้องดูหนังของเราคือพยายามให้เสียงที่ได้ใกล้เคียงกับเสียงที่ได้ในห้อง production studio ดังนั้นเราควรจะต้องเข้าใจหลักการSetup ในStudioก่อนเพราะว่าการSetup ห้องHome Theater ของเราอาจจะมีส่วนที่ต่างจากห้องStudio บ้างตามสภาพแวดล้อม หรืออุปการณ์ต่างๆที่ไม่เหมือนกันแต่ผลลัพธ์ที่ออกมาเราต้องการเสียงที่ใกล้เคียงกันที่สุด การจัดวางลำโพงใน Post Production Studio ปกติโดยทั่วไปจะใช้มาตรฐานตาม ITU หรือชื่อเต็มๆคือ International Telecommunications Union โดย ITU ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับSurround Sound Production ที่ชื่อว่าITU-R BS.775-2เพื่อใช้ในงานด้านPost Production ในโรงภาพยนต์ หรืองานสื่อสารสนเทศต่างที่เกี่ยวของกับSurround Sound เขาได้ทำการศึกษาโดยใช้ลำโพงกว่ายี่สิบตัววางไว้ในตำแหน่งต่างๆในห้องanechoic room หรือห้องไร้เสียงสะท้อนเพื่อจะหาตำแหน่งที่ดีที่สุดในการวางตำแหน่งของลำโพงแล้วจึงนำผลที่ได้มาเป็นมาตรฐานในการกำหนดตำแหน่งลำโพงทั้ง […]

Immersive Sound for Home Theater

ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีปีใหม่ชาวVideophile ทุกท่านก่อนนะครับ เริ่มปีใหม่ผมก็อยากนำเรื่องใหม่ๆในห้อง Home Theater บ้างจะได้ดูทันสมัยเหมือนเขา นั่นก็คือระบบเสียงที่เรียกว่าImmersive Sound หรือบางคนก็เรียกว่าเป็นระบบเสียงแบบ 3D ที่เรียกแบบนี้ก็เพราะเป็นระบบเสียงแบบที่มีทั้ง 3แกน คือนอกจากจะมีแกน X ที่เป็นเสียงStereo ซ้ายขวาตรงจอภาพ มีแกน Y ที่มีความลึกเข้ามาจากจอภาพถึงด้านหลังห้องทำให้เกิดเป็นเสียงSurround แล้วก็ยังมีแนวแกน Z ที่ทำให้เสียงอยู่ในระนาบสูงต่ำเพิ่มเข้ามาด้วย จึงส่งผลให้เสียงล้อมรอบตัวเรามากขึ้นกว่าเดิม ตอนนี้ที่ได้ยินบ่อยๆก็เช่น Auro-3D® จาก Barco บริษัทที่เราคุ้นเคยชื่อกับการผลิตProjector อีกอันจากDolbyคือ Dolby Atmos® ส่วนDTS® ก็ได้ส่งเจ้าDTS® UHD เข้าประกวดกับเขาด้วย แต่จนถึงเวลานี้ยังไม่เห็นอุปกรณ์Hardware หรือSoftware ใดๆออกมาจากทางฝั่งDTS® ถ้าผมเป็นกรรมการคงจะตัดสิทธิ์ละ เขียนใบสมัครช้าเกินไปหน่อย มาดูที่ฝั่ง Auro-3D® กันก่อน ระบบนี้คิดค้นโดย Wilfried Van Baelen ที่เป็นทั้งผู้ก่อตั้ง และCEO ของ Galaxy Studioและ Auro Technologies จากประเทศเบลเยี่ยม […]

S B I R

พูดถึง Room Mode มาหลายฉบับละ วันนี้ขอพูดถึง Acoustic distortionอีกแบบหนึ่งที่ชื่อว่า Speaker-Boundary Interference Response หรือจะเรียกสั้นๆว่า SBIR ก็ได้ เจ้าตัวSBIR มันเกิดขึ้นจากการที่คลื่นเสียงที่สะท้อนจากผนัง(indirect sound) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสะท้อนครั้งแรก(1st reflection) ไม่ว่าจะจากพื้น เพดาน ผนังด้านต่างๆ แล้วกลับมารวมกับคลื่นเสียงตรงๆจากลำโพง(direct sound) ในที่นี้จะเน้นที่สะท้อนจากผนังด้านหลังเพราะมักเจอว่าเป็นปัญหาบ่อยๆ และเห็นภาพได้ชัดเจน จุดที่มันจะเป็นปัญหาก็คือเมื่อสะท้อนจากผนังด้านหลังลำโพงกลับมาแล้ว phase ของคลื่นเสียงมันอยู่ตรงข้ามกันพอดี(Out of Phase) หรืออยู่ที่ 180องศา จึงเกิด phase cancellation ขึ้น ผลที่ตามมาก็คือ dipsหรือnotch ที่บางทีอาจรุนแรงถึง 6-25dB ขึ้นอยู่กับ Amplitude กับ phase ของdirect sound กับ indirect soundนั้นๆ นอกจากนี้ยังพบว่าSBIR ส่วนมากจะอยู่บริเวณความถี่ต่ำ จนถึง midrange ซึ่งจะต่างจาก Standing […]

Standingwave 3

ดังที่กล่าวมาในตอนก่อนๆนี้ว่ามีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเสียงอย่างมากในห้องHome theater ทั้งขนาดห้อง ตำแหน่งลำโพง โครงสร้างผนัง รวมทั้งตำแหน่งนั่งฟัง คราวนี้เราลองมาดูกันว่าroom mode ของห้องมีผลต่อตำแหน่งที่เราจะนั่งฟังอย่างไรบ้าง ยังพอนึกภาพ 1st axial mode จนถึง 4th axial mode ออกไหมครับ ถ้าเรามองในส่วนด้านยาวของห้องก็จะเป็นดังรูป จะเห็นได้ว่าตรงกึ่งกลางของห้องเป็นตำแหน่งที่ไม่ดีเพราะเราจะเจอกับตำแหน่งที่เป็นpeakของsecond mode กับ fourth mode(modeที่เป็นเลขคู่) และเป็นdip ของ first mode กับ third mode(modeที่เป็นเลขคี่) แน่นอนมันจะทำให้การตอบสนองต่อความถี่ต่ำไม่สม่ำเสมอ บางความถี่ดังขึ้นบางความถี่หายไปซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นในห้องHome Theater เช่นเดียวกับตำแหน่งชิดผนังเป็นตำแหน่งที่เป็นpeakของทุกmodeก็จะทำให้เกิดเสียงเบสมากเกินไปในเกือบทุกความถี่ที่เป็นroom modeของห้องนั้นๆ ดังนั้นเราจะสังเกตเห็นได้ว่ามีอยู่สองตำแหน่งที่เหมาะสม ตำแหน่งแรกคือประมาณ 3/5ของความยาวของห้อง ส่วนตำแหน่งที่สองจะอยู่หลังต่อsecond modeนิดหน่อย หรือประมาณหลังต่อ 3/4ของความยาวของห้องเล็กน้อย สองตำแหน่งนี้เลยเป็นตำแหน่งยอดนิยมถ้าเราต้องการทำที่นั่งฟังสองแถว แต่ถ้าเราต้องการแถวเดียวก็เลือกตำแหน่งไหนก็ได้ การทำนายแบบนี้มันยังช่วยประหยัดเวลาถ้าเราใช้เครื่องมือพวกSpectrum Analyzerในการหาตำแหน่งนั่งฟังเพราะจะช่วยไกด์ตำแหน่งที่ดีได้ง่ายขึ้น ซึ่งตำแหน่งนั่งฟังที่มีsmooth frequency response ก็มักจะอยู่บริเวณนี้ไม่ค่อยหนีจากนี้ไปสักเท่าไหร่ถ้าห้องเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉากตามปกติและมีผนังขนานกันทุกด้าน ในส่วนด้านกว้างก็เช่นเดียวกันกับในส่วนของความยาวของห้อง ตำแหน่งนั่งฟังตรงกลางก็จะเป็นตำแหน่งที่มีปัญหาในเรื่องroom modeอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ดังรูป มาถึงตรงนี้ทุกคนก็ต้องสงสัยละว่า […]

Standingwave 2

ต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว ฉบับนี้ผมจะเขียนถึงการวาง Subwoofer ในห้อง Home theater ใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความเรื่อง Standing Wave ในฉบับที่แล้วคงจะต้องหามาอ่านก่อนเพื่อจะได้เป็นความรู้พื้นฐานจะได้ง่ายในการทำความเข้าใจ โดยเฉพาะรูปของ Harmonic1 ถึง 4 ที่จะเกิดdip และpeak แต่ผมมีเทคนิคง่ายๆในการจำคือ ถ้าเป็น first mode หรือ harmonic ที่1 ให้นึกถึงภาพ dip ที่จะตกอยู่ตรงกลางห้องจุดเดียว แต่ถ้าเป็น 2nd mode ก็จะมี dip ตกอยู่ 2 ส่วนที่ 1/4 และ 3/4 ของความยาว ถ้าเป็น 3rd mode ก็จะมี dip ตกอยู่ 3 จุดคือที่ 1/6 , 1/2 และ 5/6 ของห้อง เช่นเดียวกันกับ 4th mode […]