HT pro workshop @ BAV2016

ขณะกำลังนั่งเขียนบทความนี้ผมพึ่งกลับมาจากงานBAV Hi-End show 2016 ที่ห้องKrungthep4 ชั้น9 โรงแรมแลนด์มาร์ค โดยงานนี้ผมและเพื่อนๆในกลุ่มFacebook fan page “Home Theater Pro Thailand” มีความตั้งใจที่จะจัดเป็นการสัมนาร่วมกับการแสดงภาพและเสียงเพื่อให้ความรู้กับผู้ที่เข้าร่วมชมงาน ซึ่งตรงกับความตั้งใจของทางคุณนาวีและกองบรรณาธิการของหนังสือAudiophile/Videophile ที่อยากทำอะไรใหม่ๆและมีประโยชน์ให้กับผู้สนใจในเรื่องของHome theater ในฉบับนี้ผมจึงได้นำเอาภาพบรรยากาศการสัมนาร่วมกับประสบการณ์ในการsetupห้องที่จัดแสดงมาฝากว่ามีอะไรน่าสนใจบ้างในการcalibrationห้องลักษณะนี้ หลังจากทราบว่าจะมีงานสัมนาเกี่ยวกับHome theaterในงานเครื่องเสียงใหญ่ระดับประเทศ ผมก็ได้ขอความร่วมมือจากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆที่รู้จักคุ้นเคยกันในวงการ ซึ่งทุกท่านก็ตอบรับด้วยความเต็มใจ ถึงแม้ว่าจะมีงานประจำที่หนักอยู่แล้วก็ยังแบ่งเวลามาช่วยกัน โดยมีการนัดหมายประชุมกันหลายครั้ง Updateความคืบหน้าของงานกันอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลาร่วมหลายๆเดือนก่อนงานสัมมนา ตอนแรกก็วางแผนกันว่าจะเข้าไปดูสถานที่จริงก่อนว่าสภาพห้องเป็นแบบไหนจะได้เตรียมความพร้อมได้ดีขึ้นถ้ามีอะไรขาดเหลือในวันงาน แต่ห้องที่ใช้จัดสัมมนานี้เป็นห้องประชุมที่มักไม่ค่อยว่างเนื่องจากต้องใช้งานตลอด ทำให้ไม่สามารถเข้าไปเห็นห้องก่อนได้ ก็เลยต้องเลยตามเลยเจอกันวันงานละกัน แต่จากข้อมูลคร่าวๆก็พอทำให้ทราบได้ว่าขนาดห้องจะเป็น 7.7x17x2.65 เมตร ตรงกลางเป็นฝ้าหลุมสูง3เมตร…..ใช่ครับไม่ต้องตกใจ 7.7×17เมตร(เพราะผมตกใจแล้วหลายรอบ555) ขนาดประมาณ 3-4เท่าของห้อง home theaterปกติในบ้านได้ นอกจากนั้นยังพอมีข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ที่เคยใช้ห้องนี้ในการจัดงานครั้งก่อนๆให้หนักใจเล่นเพิ่มขึ้นอีกว่าห้องนี้กินเบสมาก และเนื่องจากใช้เป็นห้องประชุมเป็นหลักโครงสร้างต่างๆก็ไม่ได้เตรียมไว้สำหรับเสียงที่หนักๆเตรียมพบกับสภาพฝ้าสั่นได้เลย ได้ฟังแค่นี้ทีมงานก็เอามือก่ายหน้าผากกันได้ละ เมื่อมาถึงวันงานจริงผมเดินทางจากอุดรมาถึงกรุงเทพตั้งแต่เช้าเข้ามาถึงที่โรงแรมแลนด์มาร์คก็สายๆสภาพห้องที่เจอก็ยังเป็นห้องประชุมอยู่เนื่องจากห้องพึ่งเสร็จจากงานหมาดๆโต๊ะเก้าอี้ยังจัดเป็นห้องประชุมอยู่ ดีว่าทางโรงแรมได้จัดเตรียมพนักงานไว้เพื่อจัดเตรียมสถานที่ต่างๆแล้ว เลยไม่ต้องออกแรงเองไม่อย่างงั้นคงได้ออกกำลังกายกันตั้งแต่เช้าแล้ววันนั้น และเนื่องจากเป็นห้องที่มีความยาวมากเลยต้องหาอะไรมากั้นไว้ส่วนหนึ่งเพื่อให้ห้องดูเป็นสัดส่วนมากขึ้น ไม่ดูโหรงเหรงเกินไปถ้าคนเข้ามาไม่มากผมเลยหาวัสดุแถวๆนั้นเป็นโครงเหล็กร่วมกับผ้าปิดไว้ซึ่งตรงนี้คงไม่ได้ช่วยในเรื่องเสียงเท่าไร่เพียงแต่ต้องการทำให้ห้องดูเป็นสัดส่วน เพราะยังไงเสียงความถี่ต่ำก็ต้องอยู่ในVolumeของห้องทั้งหมดอยู่แล้วไม่สามารถกั้นได้นอกจากทำผนังแบบแข็งแรงถาวรกั้นไว้ เมื่อได้ขนาดห้องคร่าวๆก็พอทำนายได้ว่าห้องนี้ความสำคัญเรื่องroom modeจะลดลง ไม่เหมือนในห้องเล็กๆ ถ้าใครได้เข้าฟังการสัมมนาเรื่องเสียงคงพอนึกออกว่าผมได้พูดถึงกราฟของmodal […]
Professional Room Tuning Process:

เคยมีหลายคนสงสัย และถามผมเข้ามาว่าแล้วการCalibration หรือ Room Tuning ในห้องHome theater, ห้องฟัง2channels หรือแม้กระทั่งในห้องpost productionจริงๆ ระดับมืออาชีพของต่างประเทศเขาทำอย่างไรบ้าง ฉบับนี้ผมเลยนำเอาบทสัมภาษณ์ของBob Hodas ที่เป็นAcousticianชื่อดังของอเมริกามาให้ได้อ่านกันว่าเขามีขั้นตอนหรือสิ่งไหนที่น่าสนใจบ้างในส่วนของการtuning system แล้วทำไมถึงต้องเป็นBob Hodas? เอ่อนั่นน่ะสิเขาเป็นใครมาจากไหนเก่งยังไง…. คำตอบก็คือก็เพราะว่าเขาเป็นคนที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในเรื่องนี้อย่างมากมาย เคยtuning ห้องRecording & Mastering Studios, Post Production/Multimedia, Home Theater/Audiophile Stereo, ห้องของComposers/Songwriters, Studio Designers, Project/Private Studios, Remote Trucksมากกว่า1,000ห้องทั่วโลก เช่นห้องของDavid Pensado Mixer, Trick Stewart producer, Danny Elfman นักแต่งเพลง, ศิลปินอย่างStevie Wonder ,ห้องดังๆที่ผลิตผลงานมากมายไม่ว่าเป็น Sony Music Entertainment, Abbey Road Mastering, Record […]
Magic Sound vs. Natural Sound

ถ้าพูดถึงคำที่ได้ยินบ่อยในวงการเครื่องเสียง คำหนึ่งก็คงคือคำว่าเสียงธรรมชาติ(Natural Sound) คำนี้เรียกได้ว่าถ้าได้ยินแล้วดูเหมือนมันมีพลังอยู่ในตัว สามารถใช้ตัดสินเครื่องเสียง หรือใช้วัดทุกสิ่งทุกอย่างในวงการเครื่องเสียง ไม่ว่าจะเป็นในวงการAudiophile, งานPublic Address(PA) หรือแม้กระทั่งในhome theater ต่างถือว่าคำนี้เป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์ล่วงละเมิดมิได้ ทำให้ผมคิดอยู่เหมือนกันว่าถ้าผมเขียนถึงเรื่องนี้ ผมกำลังทำตัวเป็นนักข่าวSpotlightเหมือนในหนังเรื่องSpotlightหรือเปล่าที่กล้าหาญเข้าไปทำข่าวเกี่ยวกับคดีล่อลวงเยาวชนของนักบวชในศาสนาซึ่งเป็นบุคคลน่าเคารพของคนในชุมชน แบบนี้ต้องตอบแบบในภาพยนต์หรือเปล่าที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นMarty Baron(แสดงโดยLive Schreiber) บอกกับพระคาร์ดินัลLaw(Len Cariou)ว่า”สื่อจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ต้องโดดเดี่ยวตัวเองไม่อยู่ใต้อิทธิพลใดๆถึงจะทำงานได้เต็มที่” อันนี้ผมเปรียบเทียบเล่นๆให้สนุกๆกันนะครับ555 ความจริงที่ผมกล่าวถึงในวันนี้จะเป็นเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับhome theaterเท่านั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับ2ChannelsหรืองานPAคงไม่ได้กล่าวถึงเพราะผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องAudiophileซักเท่าไรครับ ถ้ามีคำถามขึ้นมาว่าเสียงไหนดีกว่ากันระหว่างเสียงแบบธรรชาติไม่ปรุงแต่งใดๆ กับเสียงที่ต้องผ่านขบวนการทางไฟฟ้าอิเลคโทรนิคเพื่อขยายเสียง ทุกคนก็ต้องตอบว่าเสียงแบบธรรมชาติแน่นอนเพราะโดยส่วนมากเราต้องเคยมีประสบการณ์สุดแย่กับระบบขยายเสียงของลำโพงตามงานวัด งานประจำปีต่างๆที่ดังจุกอกจนหายใจไม่ออก หรือเสียงแหลมที่แสบเข้าไปถึงรูหูด้านใน แต่ถ้ามองถึงในอีกแง่หนึ่งแล้วเสียงที่ถูกเรียกว่าเป็นเสียงจากธรรมชาติหรือเสียงจริงต่างๆกลับถูกจำกัดอยู่ในวงแคบมากๆเช่นSymphony music ใน Symphony hallที่มีAcousticsทำให้เกิดharmonyได้สมบูรณ์แบบและมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก หรือในOperaที่อยู่ในOpera house หรือแค่เฉพาะการพูดประชุมในห้องขนาดเล็กๆเท่านั้น ซึ่งถือว่าส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยมากๆเมื่อเทียบกับระบบที่เป็นunnatural sound ก็ทำให้น่าสงสัยขึ้นว่าถ้ามันดีจริงทำไมมันถึงถูกใช้น้อยจัง วิธีง่ายๆที่จะทดสอบก็คือเวลาไปดูคอนเสิร์ตหรือการแสดงบนเวทีเราก็ลองปิดลำโพงเลย…. รับรองไม่กี่วินาทีต่อมาเราต้องบอกว่าจริงๆแล้วเราไม่ต้องการnatural sound เพราะว่าเสียงที่มาจากเวทีมันอยู่ไกลมากฟังไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจเลยว่านักร้องร้องอะไร นักแสดงพูดอะไร กระซิบอะไรกัน อ้าวคนนั่งรอบๆเราก็ขยันแย่งกันไอจริงๆ อีกคนก็คุยวิจารณ์ คุยโทรศัพท์กัน อีกอย่างหนึ่งอย่าลืมด้วยว่าถ้าไม่มีลำโพง นักแสดงเองก็จะกลายเป็นhuman speakerก็ต้องพยายามตะเบ็งเสียงให้ดังๆเข้าไว้เพื่อให้แน่ใจว่าคนที่อยู่ด้านหลังสุดหรือผู้ชมที่อยู่ไกลที่สุดได้ยิน ซึ่งมันก็ไม่ใช่เสียงที่มนุษย์เราคุยกันตามปกติหรือกระซิบกันตามธรรมชาติอยู่ดี ดังนั้นเราจึงพูดได้ว่าในโรงภาพยนต์ ห้องhome […]
Understanding Phase

PART 2 Fundamental of Phase หลังจากในฉบับที่แล้วผมได้พูดถึง Time & Phase Alignment for Home Theater ให้พอเห็นภาพในหลักการเรื่องของphaseเพื่อใช้ในการปรับเสียงห้องHome Theaterของเรา เนื้อหาก็อาจจะยากไปบ้างแต่ถ้าเราได้ลองอ่านทำความเข้าใจไปทีละนิด คืออาจจะไม่จำเป็นต้องเข้าใจทั้งหมดเราก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพิ่มประสิทธิภาพเสียงในห้องHome Theaterของเราได้ ไหนๆก็ไหนๆละขอเล่าต่อในเรื่องPhaseให้จบพื้นฐานจะได้ต่อยอดฉบับที่แล้วให้เข้าใจเรื่องของphaseว่ามันมีที่มาที่ไปยังไง สำคัญอย่างไร ในอดีตถ้าพูดถึงการวัดเสียงเราก็คงคุ้นเคยกับ การวัดแบบRTA ซึ่งก็คือการวัดระดับความดัง amplitude ในแต่ละความถี่ที่แบ่งเป็นOctaveตามลักษณะการได้ยินของมนุษย์ นับว่าเป็นการวัดแบบง่ายๆและเข้าใจได้ทันทีว่าความถี่ที่Octaveนี้มีระดับความดังขนาดไหน ต่อมาเริ่มมีการคิดถึงว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นมันมีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวด้วย คือนอกจากมันจะเป็นเรื่องของความถี่หรือfrequency domainมันยังเป็นเรื่องของtime domain จึงได้ใช้หลักการแปลงรูปแบบทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่าFast Fourier Transform(ฟาสต์ฟูริเยทรานสฟอร์ม)ที่เราจะเรียกกันติดปากว่าFFT แยกเสียงที่ได้ยินในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ(Time domain) ให้มีการกระจายความดังของเสียงในแต่ละความถี่(Frequency Domain)ออกมาจึงทำให้สามาถวิเคราห์ความถี่เสียงได้แม่นยำมากขึ้นกว่าRTA ปัจจุบันวิศวกรได้พัฒนาการวัดเสียงFFTจากเดิมที่วัดได้แค่channelเดียวให้สามารถมีการเปรียบเทียบกันสองchannels ที่เรียกว่าDual Channel FFT โดยบางคนก็อาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าTransfer Function ทำให้เราสามารถเปรียบเทียบสัญญาณจากต้นกำเนิด(reference)และสัญญาณปลายทาง(measurement)ได้ว่ามีlevel,phase,timeและcomplex frequency response เหมือนหรือแตกต่างกันกับต้นฉบับอย่างไร นับว่าเป็นการวัดเสียงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบันเพราะนอกจากจะรู้ว่าเสียงที่เราได้ยินมีความผิดเพี้ยนตรงไหนบ้างแล้วเนื่องจากมันมีตัวเปรียบเทียบจากต้นฉบับ การวัดแบบTransfer functionจึงไม่ได้รับผลกระทบจากnoiseของระบบ(noise immunity)แต่อย่างใด และเพราะว่ามันมีreference channelนี่แหละเลยทำให้การวัดแบบtransfer functionมีข้อดีที่บอกได้ว่าเสียงที่เราฟังอยู่มันเหมือนหรือต่างจากที่เขาบันทึกมามากขนาดไหนโดยสามารถดูได้จากค่าCoherenceที่จะบอกเป็นเปอร์เซนต์ของความเหมือนกันระหว่างreference และ […]
Understanding Phase

PART 1: Time & Phase Alignment for Home Theater เขียนออกมาว่ามีPart1 แต่ความจริงก็ไม่รู้จะมีPart2,3….ต่อไปเรื่อยๆอีกหรือเปล่า555 เพราะเรื่องPhaseนี้ค่อนข้างเป็นวิชาการและน่าเบื่อถ้าเราไม่ได้สนใจมันมากนัก ความจริงผมมีความคิดที่จะเขียนเรื่องphaseมานานแล้ว ปํญหาอยู่ที่เนื้อหาที่ยาก และซับซ้อนกลัวว่าเขียนมาแล้วจะยิ่งทำให้งงกัน อย่างไรก็ดีสืบเนื่องจากเนื้อหาที่ผมเคยเขียนในฉบับเดือนกรกฎาคม2558 Vol.19 No.221 เรื่องRoom Tuning ก็ได้มีหลายคนสงสัยเรื่องการหาค่าDistance ของลำโพงต่างๆในงานhome theater ว่าทำไมผมถึงแนะนำให้ใช้ตลับเมตรวัดเอา ใช้วิธีอื่นได้ไหม ผมก็เลยคิดว่าคงต้องมาพูดในเรื่องนี้ต่อเนื่อง แต่ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้มันต้องอาศัยองค์ความรู้ในเรื่องphaseมาร่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉบับนี้ผมเลยจะเขียนในเรื่องTime & Phase Alignment สำหรับใช้ในห้องHome theater ซึ่งที่เขียนฉบับนี้ไม่ใช่พื้นฐานเรื่องphaseทั้งหมด แต่เป็นแบบที่ประยุกต์นำไปใช้ในห้องhome theater เพราะถ้าผมเริ่มพูดจากพื้นฐานมันคงน่าเบื่อและก็ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้จริงๆได้อย่างไร แต่ถ้ามีคนสนใจก็ค่อยไปกล่าวถึงทฤษฎีพื้นฐานเบื้องต้นในPart ต่อๆไปอีกทีถ้ามีโอกาส ว่าแล้วขอเพลงประกอบสตาร์วอร์ด้วยจะได้น่าตื่นเต้นหน่อย…. การตั้งค่าdistanceในAVRหรือ Pre-processor เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในHome theater system tuning ซึ่งการใส่ค่าdistanceไปว่าลำโพงแต่ละตัวอยู่ห่างตำแหน่งนั่งฟังเท่าไร่ก็คือการใส่ time delayเข้าไปเพื่อให้เกิดการหน่วงสัญญาณคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงคือลำโพงต่างๆหลายๆchannel จะได้มาถึงจุดนั่งฟังที่มีความถูกต้องเหมาะสม ไปด้วยกันหรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า align กัน โดยถ้าเวลามีความถูกต้องสัมพันธ์กันก็จะเรียกว่า”time alignment” […]
HAA class in Bangkok

เมื่อต้นเดือน ธันวาคม ปีที่ผ่านมา ทางHAA หรือ ชื่อเต็มๆคือ Home Acoustics Allianceสถาบันสอนปรับเสียงของห้องHome Theaterได้มาเปิดคอร์สในเมืองไทยเป็นครั้งแรกที่บริษัทDeco2000 งานนี้ได้มีมือset upเครื่องเสียง นักเล่นhome theater เจ้าของกิจการ ร้านค้าต่างๆในเมืองไทยให้ความสนใจและลงทะเบียนเรียนกันมากมาย รวมทั้งเพื่อนบ้านใกล้ๆเราทั้งชาวฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย หรือขนาดไกลถึงอินเดียก็มาเรียนคอร์สนี้ด้วย ผมก็ได้ลงทะเบียนเรียนด้วยสองวัน เพื่อรื้อฟื้นความรู้เก่าๆที่เคยเรียนเมื่อหลายปีมาแล้ว โดยเฉพาะความรู้เพิ่มเติมกับระบบเสียงImmersive Soundที่พึ่งเข้ามาใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Dolby Atmos, Auro3D หรือล่าสุด dts:X ว่าระบบเสียงเหล่านี้มีconcept ในการtuning ต่างจากแบบเดิมๆบ้างไหม เนื่องจากว่าในสมัยที่ผมเคยเรียนHAA,THXที่เมืองจีนเมื่อหลายปีก่อนระบบเสียงเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้นมา การเรียนในสมัยนั้นอย่างเก่งก็จะมีอยู่แค่ระบบ 7.1Channelsแค่นั้น ในฉบับนิตยสารAudiophile/Videophile ฉบับนี้ผมเลยจะเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับ บรรยากาศในห้องเรียนที่เมืองไทยว่าเป็นอย่างไรบ้าง รวมทั้งจะสอดแทรกความรู้ในการปรับHome theaterให้กับท่านผู้อ่านไปด้วย เผื่อท่านผู้อ่านจะสามารถนำไปใช้กับเครื่องเสียงชุดHome theaterที่บ้านได้ เพราะบางทีบางท่านก็ไม่สามารถจ้างช่างจากHAAไปปรับให้ได้ หรือบางท่านอาจจะชอบการปรับแต่งเองมากกว่าเพราะได้ความรู้และสนุกในการปรับแต่งtuningไปด้วย ว่าถึงHAAเขาก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพของการติดตั้งและปรับแต่งห้องHome theaterโดยอาศัยหลักการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้เสียงที่ดีและถูกต้องตามมาตรฐานสากล โดยกระบวนการของHAAก็คือการtraining หรือสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติโดยเมื่อนักเรียนจบคอร์สไปแล้วสามารถนำไปประยุกต์ปรับในห้องhome theaterแบบต่างๆได้ การมาเปิดcourseในเมืองไทยเป็นครั้งแรกนี้DirectorของHAA Gerry LeMayได้มาสอนเองรวมทั้งนำstaffมาร่วมด้วยอีกคนคือMax Lee แมกซ์คนนี้เก่งมาก รับทั้งสอนทั้งแปล […]
VIDEO TECHNOLYGIES 2

ฉบับที่แล้วได้พูดถึงหลักการ การแสดงภาพของสื่อแสดงภาพแบบต่างๆ ได้แก่ CRT LCD PDP Quantum-Dot ใครยังไม่ได้ได้อ่าน ลองหาอ่านได้ตามนิตยสารฉบับเดือนที่แล้ว เผื่อจะได้พอทราบแนวคิดพื้นฐานการออกแบบจอภาพตั้งแต่แรกๆ ส่วนฉบับนี้ก็จะมาต่อในเรื่องเทคโนโลยีของการแสดงภาพในแบบอื่นๆที่เหลือซึ่งได้แก่ OLED LCoS DLP Laser มาเริ่มกันจากเทคโนโลยีใหม่อีกตัวที่เริ่มคุ้นเคยชื่อกันแล้วตามโฆษณาขายจอทีวีว่าOLED ซึ่งชื่อเต็มๆของมันคือ Organic Light-Emitting Diode หรือชื่ออย่างเป็นทางการของมันจะเรียกสั้นๆว่าOEL(organic electro-luminescent)แต่ในชีวิตจริงเรามักจะคุ้นกับO-L-E-Dเสียมากกว่า หลักการคร่าวๆก็คือจะใช้เทคโนโลยีที่สารอินทรีย์จะเปล่งแสงได้เองเมื่อรับพลังงานไฟฟ้าเข้าไป(organic light-emitting diode technology) ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จึงไม่ต้องการพึ่งพาไฟด้านหลัง(backlighting)เหมือนเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งก็จะคล้ายๆกับจอพลาสมาที่ไม่ต้องการแสงจากทางด้านหลังเหมือนกันเพราะแต่ละpexelสามารถเปล่งแสงได้ด้วยตัวของมันเอง มันจึงทำให้จอOLEDนี้มีความดำที่ดีเนื่องจากเมื่อไม่ต้องใช้pixelไหนก็สามารถปิดกระแสไฟตรงนั้นได้เลยทำให้ไม่มีแสงออกมา เพราะบางทีการใช้ไฟที่ส่องมาจากด้านหลังอาจมีแสงเล็ดลอดออกมาได้ถึงแม้จะทำการปิดpixelนั้นๆแล้ว ดังนั้นจอOLEDมันจึงมีcontrast ratiosที่สูงมากทำให้ภาพมีความสวยงาม นอกจากนี้แล้วมันยังทำให้การตอบสนอง(response rate)ของจอประเภทนี้ทำได้รวดเร็ว สีสันมีความแม่นยำสูง ข้อดีอีกอย่างคือสามารถทำจอOLEDได้บางมากๆเนื่องจากตัวโครงสร้างของวัสดุอินทรีย์ที่ใช้มีโมเลกุลขนาดเล็กมาก(OLEDs,AMOLEDs) มีความหนาแค่ประมาณ 100-500นาโนเมตร คิดง่ายๆก็บางกว่าเส้นผมมนุษย์หลายร้อยเท่า มันจึงพัฒนาเพื่อทำเป็นจอที่มีความบางระดับแผ่นฟิล์ม สามารถดัดโคงงอได้ หรือทำเป็นจอบางๆใสๆเหมือนในหนังที่เราเห็นบ่อยๆว่าเวลาจะแสดงความทันสมัยเขาจะใช้จอแบบใสๆกัน ในปัจจุบันเทคโนโลยีOLEDนี้ได้เริ่มนำมาใช้มากขึ้นในการทำจอที่มีสีสันในขนาดเล็กๆเช่นในหน้าจอวิทยุติดรถยนต์ หน้าจอกล้องดิจิตอล หน้าจอโทรศํพท์มือถือเป็นต้น เพราะนอกเหนือจากข้อดีข้างต้นแล้วมันยังกินไฟน้อย สามารถให้มุมของการมองที่กว้าง(wide viewing angle)อีกด้วย แต่ไม่ใช่ว่าOLEDจะดีไปเสียหมด มันก็ยังมีปัญหาสำหรับโทคโนโลยีนี้อยู่โดยเฉพาะในเรื่องของ OLEDสีน้ำเงินที่มีอายุการใช้งานน้อยแค่ประมาณพันกว่าชั่วโมงเท่านั้นในขณะที่ OLEDสีแดงและสีเขียวมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 10,000-40,000ชั่วโมงกันเลยทีเดียว มันจึงส่งผลให้อายุการใช้งานของจอประเภทนี้สั้น […]
Video Technologies

ในปัจจุบันเทคโนโลยีจอแสดงภาพได้ก้าวหน้าพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย การที่เรารู้ทันเทคโนโลยี เข้าใจพื้นฐานของจอแสดงภาพแต่ละแบบนั่นเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยในการตัดสินใจในการเลือกใช้ เลือกซื้อจอภาพแบบต่างๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่เราต้องการ ก่อนอื่นต้องอธิบายถึงลักษณะของการแสดงภาพแบบต่างๆก่อน โดยถ้าจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆสำหรับชนิดของการแสดงภาพที่ใช้ในงานhome theaterหรือใช้ในบ้านจะได้เป็นสามประเภทใหญ่ๆคือ Front Direct View Front Projection Rear Projection Front Direct View หมายถึงการแสดงภาพจากจอแสดงภาพที่มีแหล่งกำเนิดแสงและภาพออกมาเข้าสู่ตาเราโดยตรง หรือมันก็คือจอทีวีต่างๆที่เราดูกันอยู่ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นจอLCD, จอพลาสมา(PDP direct view), จอทีวีรุ่นเก่าที่บางทีเรียกว่าจอแก้ว(CRT direct view) หรือไม่ว่าจะเป็นจอรุ่นใหม่ๆอย่างจอOLED เหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะการแสดงภาพที่เราเรียกว่าFront Direct View ส่วนFront Projectiontจะเป็นการแสดงภาพที่แหล่งกำเนิดภาพจะอยู่ด้านหน้าของจอ การแสดงภาพแบบนี้ก็ได้แก่พวกProjectorsต่างๆที่เรานิยมใช้ในห้องHometheater และอันสุดท้ายคือRear Projection การแสดงภาพแบบนี้แหล่งกำเนิดภาพจะอยู่ด้านหลังของจอภาพซึ่งการแสดงภาพแบบนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมในปัจจุบันแล้ว มาดูถึงข้อดีข้อเสียของการแสดงภาพแบบต่างๆ Front Direct Viewหรือจอทีวีต่างๆข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดคือติดตั้งง่าย แค่เอาทีวีมาวางตรงชั้นหรือแขวนก็เรียบร้อยแล้ว สามารถดูภาพได้เลยส่วนภาพที่ได้ก็จะมีความสว่างชัดเจน จึงทำให้แสงรอบๆข้างในห้องมีผลต่อจอประเภทนี้น้อยไม่ว่าจะเป็นห้องที่ควบคุมแสงได้ดีอย่างในห้องDedicated home theaterหรือในห้องนั่งเล่นที่มีแสงสว่างค่อนข้างมาก นอกจากนี้ถ้าติดตั้งทีวีจอแบนไว้บนผนังโดยไม่เห็นสายรกรุงรังก็จะทำให้ดูสวยงามเหมือนมีภาพถ่ายอยู่บนผนังเลยทีเดียว แต่ข้อเสียก็คือจอประเภทนี้ถ้ามีขนาดเป็นร้อยๆนิ้วจะหาได้ยากและราคาสูงมาก อาจจะสูงหลายล้านบาทอย่างกับจอภาพของVizioตัวล่าสุดที่มีขนาดใหญ่ถึง120นิ้ว และมีราคาสูงถึงหลายล้านบาททีเดียว จุดอ่อนอีกอย่างของจอประเภทนี้คือทำให้มีความรู้สึกเหมือนดูทีวีมากกว่าดูหนังในโรงภาพยนต์เมื่อเทียบกับจอพวกFront Projection นอกจากนี้ก็อาจมีปัญหาเล็กๆน้อยอย่างเช่นปัญหาด้านมุมมองที่ไม่กว้างพอทำให้เวลาเรามองดูจอทีวีจากทางด้านข้างๆจะทำให้คุณภาพของภาพลดลงไปอย่างมาก ทั้งแสง ทั้งสีและรายละเอียดของจอผิดเพี้ยนเมื่อเทียบกับการดูตรงๆจากหน้าจอ หรือปัญหาการที่จอเป็นรอยไหม้Burn-inค้างไม่หายเมื่อภาพเปลี่ยนไปเนื่องจากเปิดภาพเดิมทิ้งไว้นานๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตจอภาพก็ได้พัฒนาเพื่อแก้ไขได้ดีขึ้นมากแล้ว […]
Adjustments in Video Calibration

หลังจากในฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงความจำเป็นในการปรับภาพว่าทำไมเราถึงต้องมีการปรับภาพ และภาพที่ดีควรเป็นอย่างไร ฉบับนี้ผมจะมาพูดต่อในเรื่องว่าแล้วอะไรบ้างที่เป็นส่วนสำคัญและเป็นวัตถุประสงค์ในการปรับภาพของเราบ้าง 1.อย่างแรกที่เราต้องคำนึงถึงก็คือ การประเมินสภาพสิ่งแวดล้อมของจอทีวี หรือจอโปรเจคเตอร์ที่เราจะต้องปรับว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีแสงเป็นอย่างไร เพราะอย่างที่เคยบอกไว้ในฉบับที่แล้วว่าแสงของสิ่งแวดล้อมจะมีผลอย่างมากต่อคุณภาพของภาพ และความสบายตาเวลาดู ถ้าแสงของสิ่งแวดล้อมควบคุมไม่ได้เช่นมีแสงส่องเข้าตาตรงๆหรือมีการสะท้อนของแสงอย่างมากจากผนัง เพดานและพื้น ก็จะทำให้การรับรู้แสงผิดไปโดยเฉพาะระดับสีดำหรือที่ได้ยินเรียกบ่อยๆว่าblack level ดังนั้นถ้าเราเจอสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ค่อยดีแบบนี้เราก็คงต้องปรับภาพแล้วบันทึกการปรับไว้เป็น2mode ทั้งสำหรับกลางวันที่มีแสงจ้าค่าหนึ่ง ส่วนในตอนกลางคืนที่แสงค่อนข้างควบคุมได้ดีก็ปรับไว้อีกค่าหนึ่ง 2.ต้องเช็คการปรับค่าจากแหล่งกำเนิดต้นทางจนมาถึงปลายทางคือทีวีหรือโปรเจคเตอร์ ว่ามีการปรับได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกัน สายที่ต่อภาพไม่ว่าจะเป็นสาย component video, สายRGB สาย DVI หรือสาย HDMIมีการต่อไว้อย่างถูกต้อง ซึ่งในปัจจุบันนี้การส่งภาพจากต้นทางที่เป็นhigh-bandwidth เพื่อแสดงผลปลายทางที่เป็นHigh Definition Videoไม่ว่าจะเป็น2K, 4K ก็คงต้องใช้สายdigital HDMI อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะนอกจากมันจะส่งข้อมูลภาพจากแหล่งต้นทางแล้ว บางทีมันยังต้องขนส่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ของภาพยนต์,หนังseries,รายการทีวีต่างๆ โดยที่เราต้องให้ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งในปัจจุบันก็คือ HDCP หรือชื่อเต็มๆคือ High-bandwidth Digital Content Protection มันเป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสสัญญาณสำหรับสายHDMIที่พัฒนาโดยIntelซึ่งจะมีการใส่รหัสเข้าไปในสัญญาณด้วย เมื่อมีการส่งสัญญาณภาพจากเครื่องเล่นภาพแบบต่างๆเขาไปยังAVR หรือPre-Processor ออกไปยังจอภาพ มันก็จะมีสัญญาณส่วนหนึ่งส่งย้อนกลับมาเพื่อre-check กับแหล่งต้นทางว่ามีการเข้ารหัสและถอดรหัสอย่างถูกต้อง ลองนึกภาพง่ายๆก็เหมือนกับการshack hand เมื่อมีคนยื่นมือมาเราก็จะจับมือเพื่อshack handกันนะว่าเราเข้าใจกัน แต่ถ้าไม่เข้าใจกันหรือสื่อสารไม่ตรงกันก็ไม่มีการจับมือกัน สัญญาณภาพก็จะขาดหายไป ในปัจจุบันHDCPหรือการshack […]
Video Calibration

หายหน้าหายตาไปหลายเดือนเนื่องจากว่าผมได้ไปเรียน เทคนิคการปรับภาพกับ ISF หรือชื่อบริษัทเต็มๆ Imaging Science Foundation Inc. ที่มาเปิดคอร์สสอนในเมืองไทยเป็นครั้งแรก โดยครั้งนี้ Joel Silver ผู้ก่อตั้งและเป็นPresident ได้นำทีม พร้อมทั้งอุปกรณ์ครบครันมาเอง งานนี้ต้องมอบเครดิตให้กับบริษัทAVProStoreและDECO2000 ผู้จัด ทั้งนี้ยังมีบริษัทจอDNPเป็นผู้ให้การสนับสนุนที่ได้นำคอร์สดีๆเข้ามาสอนในบ้านเราบ้าง เห็นว่าปลายปีนี้ก็จะมีหลักสูตรHAA(Home Acoustics Alliance Training)เข้ามาเปิดสอนด้วย ใครสนใจลองเข้าไปหาข้อมูลใน WebsiteของAVProStoreได้แต่อาจจะต้องรีบกันหน่อยเพราะรับจำนวนจำกัดครับ ถ้าศึกษาเรื่องภาพในห้อง Home theaterมาบ้าง ก็คงคุ้นเคยกับชื่อISF ซึ่งเขาจะทำงานเกี่ยวกับมาตรฐานด้านภาพในอุตสาหกรรม สื่อแสดงภาพต่างๆไม่ว่าจะเป็น ทีวี, Projector, Video Processors, กล่องดาวเทียม(ในต่างประเทศ), Video cards, รวมถึงจอแสดงภาพด้วย บางทีเราก็จะเห็นสัญญาลักษณ์เครื่องหมายการค้าของISF ตามเครื่องเล่นต่างๆไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อดังๆที่คุ้นเคยต่างๆ หรือบางยี่ห้อที่บ้านเราไม่มีขายก็มักจะมีชื่อ ISF เข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องการปรับภาพให้ได้ตามมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น AMD, Anthem, BenQ, DNP, DVDO, Epson, InFocus, Herma Novares, Integra, JVC, […]