Top Ten Home Theater Mistakes

เห็นชื่อหัวข้อบางคนอาจจะตกใจว่ามันถึงขนาดทำผิดกันเลยหรือ ความจริงเนื้อหาที่เอามาเขียนถึงไม่ได้มีความรุนแรงขนาดว่าต้องทำแบบนี้ต้องทำแบบนั้น ถ้าไม่ทำแล้วเสียงจากห้องHome theaterจะเสียไปเลย เพียงแต่ผมเห็นชื่อหัวข้อมันดูปังดี เผื่อคนที่ไม่ได้สนใจอ่านหาความรู้มากนักจะได้มีความรู้สึกอยากที่จะอ่านขึ้นมาบ้างชื่อเรื่องมันตื่นเต้นเร้าใจดี เนื้อหาที่ได้ก็รวบรวมมาจากในinternetบ้าง จากที่อ่านหนังสือ ที่เคยเรียนมา หรือได้จากประสบการณ์ที่เจอจริงๆ ลองมาติดตามกันดูว่าHome theater Mistakesทั้งสิบข้อมีอะไรกันบ้าง เลือกซื้อเครื่องReceiverไม่เผื่ออนาคต ไม่ว่าจะเลือกเป็นระบบที่แยกamplifierและpre-processor หรือรวมเป็นAVR, receiver อุปกรณ์ตัวนี้นับว่าเป็นอุปกรณ์หลักชิ้นหนึ่งในห้องhome theater เมื่อจะเลือกซื้อซักตัวเพื่อใช้งานสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของการรองรับระบบในอนาคตของreceiver ยกตัวอย่างง่ายๆเช่นเวลาซื้อมาตอนแรก เราคิดว่าช่องต่อHDMI inputs2-3ช่องก็น่าจะเพียงพอสำหรับตอนนั้น แต่พอมาใช้งานจริงๆปรากฏว่าอุปกรณ์ต้นทางเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นจากกล่องดาวเทียม, เคเบิลทีวี, เครื่องเล่นblu-rayที่บางทีอาจจะมีสองเครื่องเอาไว้ดูแผ่นblu-rayเครื่องหนึ่งอีกเครื่องเอาไว้ดูจากไฟล์, ไหนจะเล่นเกมส์จากgame console(s), กล้องvideo camera หรือแม้กระทั่งเป็นmonitorของเครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เอาแล้วสิช่องHDMIของเครื่องreceiverที่ซื้อมารองรับได้ไม่พอ อีกอย่างหนึ่งถ้าดูจากที่ผ่านมาช่วงสองสามปีreceiversมีการพัฒนาทั้งในเรื่องของการรองรับระบบเสียงimmersive sound และระบบภาพ 4K ซึ่งก็ต้องนำมาพิจารณาด้วยว่าเครื่องreceiversมีคุณสมบัติรองรับ หรือสามารถpass throughสัญญาณหรือเปล่า เพราะreceiverบางตัวก็ยังไม่สามารถผ่านสัญญาณ 4Kไปยังprojectorหรือทีวีได้ ต้องหาอุปกรณ์พวกexternal video processorเช่นscalerเพิ่มเพื่อแยกสัญญาณออกมาทำให้ยุ่งยากมากขึ้น ดังนั้นเมื่อจำเป็นต้องซื้อreceiver ก็ต้องแน่ใจก่อนว่าไม่เพียงแต่รองรับระบบเฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น แต่ในอนาคตเมื่อจำเป็นต้องเพิ่มอุปกรณ์บางอย่างหรือupgradeระบบเราจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนreceiver, AVR หรือpre-processorตัวใหม่ให้เสียเงินเพิ่มเติมอีก เลือกขนาดจอไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ก็ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมา และก็คงยังถกเถียงกันต่อไปเพราะความละเอียดของภาพก็พัฒนาขึ้นไปทุกวัน นักเล่นhome […]
Center Channel Speakers

ผมยังจำได้ว่าตอนที่เรียนClass THX กับอาจารย์ John Dahlที่ตอนนั้นเป็นDirctor of Education THX (ตอนนี้เกษียณไปแล้ว) จะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่อาจารย์ให้นักเรียนเข้าไปฟังตามห้องโชว์เครื่องเสียงของงานChina Audio&Video Integration Technology Expo(CIT) ที่มีอยู่หลายสิบห้องแล้วกลับมาDiscussกันว่ามีประเด็นน่าสนใจอะไรบ้างในแต่ละห้อง ซึ่งประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือJohn Dahl ได้ถามนักเรียนว่าห้องแสดงHome theaterห้องไหนที่ถือว่ามีข้อบกพร่องจุดใหญ่ที่สุด นักเรียนก็ทำการเดาต่างๆนาๆ บ้างก็บอกติดตั้งผิดบ้าง ตำแหน่งนั่ง ตำแหน่งลำโพงผิดบ้าง เซตค่าconfigurationผิดบ้างฯลฯ ในที่สุดJohn Dahlก็บอกว่าห้องที่ผิดหลักconceptของhome theaterในมุมมองTHXมากที่สุดคือห้องที่ไม่มีลำโพงCenter เพราะสำหรับTHXนั้น ลำโพงที่THXให้ความสำคัญมากที่สุดในระบบhome theaterก็คือลำโพงCenter เนื่องจากว่ากว่า 85% ของเสียงพูดและเสียงspecial effects ต่างๆออกจากลำโพงCenterนี้ ซึ่งในแผนภาพที่เป็นPatternห้องmixเสียงมาตรฐานTHX เห็นได้ว่าเสียงCenterไม่ได้มีเฉพาะเสียงพูด แต่จะมีทั้งเสียง effects, เสียงดนตรี เสียงambience ต่างๆ โดยนอกจากจะเป็นหลักในเสียงพูดแล้วยังเป็นลำโพงตัวสำคัญทำหน้าที่เสริมเสียงจากลำโพงคู่หน้าให้ดีขึ้น และมีจุดsweet spotให้กว้างเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อให้เกิดการเข้ากัน(matching)ของลำโพง 3ตัวหน้าคือ left center และright (LCR) ที่ดีที่สุดหรือในอุดมคติลำโพงทั้งสามตัวต้องเหมือนกัน มีการเรียงตัวของกรวยลำโพงต่างๆเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงห้องhome theater […]
9 Basic Subwoofer Concepts

เรื่องของเสียงความถี่ต่ำเป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในงานMulti Channels ทั้งดูหนัง หรือฟังเพลง เพราะถ้าเสียงเบสผิดปกติไม่ว่าจะboomy หรือเบสบางส่วนขาดหายไป มันก็จะส่งผลต่ออรรถรสอย่างมาก มิหนำซ้ำการจะซื้อSubwooferรุ่นแพงๆ แล้วเอามาวางในห้องเพื่อจะให้เสียงความถี่ต่ำที่ลึกๆออกมาดีเองเลยโดยอัตโนมัตินั้นเป็นไปได้ยาก การทำให้เสียงความถี่ต่ำที่มีคุณภาพว่าไปก็คงเหมือนกับการซื้อบ้านแหละครับ ส่วนที่สำคัญก็คือทำเล ทำเล….และก็ทำเล ถึงตัวบ้านจะมั่นคงแข็งแรง วัสดุใช้ของดี ตกแต่งดี หรูขนาดไหน แต่บ้านดันไปอยู่ในสถานที่อับ ไม่มีทางเข้าทางออก ก็ถือว่าเป็นบ้านที่ไม่ดี ลำโพงchannels Mainอื่นๆอาจจะไม่seriousในเรื่องตำแหน่งเท่าไร และก็มีมาตรฐานให้อยู่แล้วว่าให้วางในช่วงประมาณตำแหน่งไหนได้บ้างถึงจะให้เสียงดี แต่สำหรับSubwooferไม่ได้เป็นแบบนั้นเสียทีเดียว ในบทความฉบับนี้ก็จะพูดถึงพื้นฐานเรื่องความถี่ต่ำและSubwoofer รวมถึงtips เทคนิคต่างๆในการจัดวางSubwooferให้เหมาะสมในห้องของเรา แต่คงไม่ลงไปลึกมากนักเพราะเรื่องเหล่านี้ผมเคยพูดอย่างละเอียดและเจาะลงไปในแนวลึกในบทความเล่มเก่าๆมาหลายฉบับแล้วใครสนใจ สามารถหาซื้อนิตยสารAudiophile/Videophileฉบับย้อนหลัง หรือหาอ่านได้ในFacebook fan pageของhome theater pro Thailand, webของ thaidvd.net, htg2.net โดยจะมีเนื้อหาเล่มเก่าๆที่ผมเคยเขียนไว้ในหนังสือAudiophiles/Videophiles ตั้งแต่ฉบับแรกเมื่อร่วมสามปีก่อน 1.มาเริ่มจากพื้นฐานของตำแหน่งนั่งฟังกันก่อน ตำแหน่งนั่งฟังหลักหรือmoney seatที่ฝรั่งเรียกกัน มันไม่ควรอยู่ตรงกึ่งกลางห้อง เพราะเมื่อเราดูจากรูป room modeของห้องทั้งมองจากด้านหน้า และมองจากด้านข้างจะเห็นว่ามันเป็นตำแหน่งที่เป็นpeakและ dipของmodeต่างๆ มันทำให้การตอบสนองต่อความถี่ต่ำไม่สม่ำเสมอ บางความถี่ถูกเสริมให้ดังขึ้น บางความถี่ถูกหักล้างให้เบาลงกว่าความถี่อื่นๆ แต่ถ้าสังเกตดีๆเมื่อมองจากมุมมองด้านข้างของห้องจะเห็นได้ว่ามีอยู่สองตำแหน่งที่เหมาะสม ตำแหน่งแรกคือประมาณ 3/5ของความยาวของห้อง ส่วนตำแหน่งที่สองจะอยู่หลังต่อ […]
4K Ultra HD System review

ช่วงที่ผ่านมาผมก็ได้สั่งเครื่องเล่น 4K ที่เปิดตัวมาใหม่ล่าสุดของOppo รุ่น UDP-203จากทางร้านขอนแก่นไฮไฟ ซึ่งเฮียสมชายเจ้าของร้านเลยได้จัดส่งเครื่องเล่นโปรเจคเตอร์ที่รองรับ 4K ของBenq รุ่น w11000 รวมทั้งสายHDMI Wire World รุ่น Starlight7 มาพร้อมกันเพื่อมั่นใจว่าสัญญาณภาพ 4K มาแบบไม่ขาดตกบกพร่อง ให้ผมได้ทดสอบประสิทธิภาพและลองปรับภาพดู ผมเลยเอาประสบการณ์ที่ได้ลองเล่นภาพ4K แบบเต็มระบบมาเล่าสู่กันฟังว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง ถ้าพูดถึง 4K กับ Ultra HDบางคนอาจจะนึกว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ความจริงแล้วทั้งสองสิ่งจะต่างกันที่จำนวนpixelที่ไม่เท่ากัน แต่ถ้าจะเอาคร่าวๆก็ถือว่าใกล้เคียงกันที่หมายถึงความละเอียดระดับ 4เท่าของFull HD 1080p เอาเป็นว่าในบทความนี้ผมหมายถึงสิ่งเดียวกันจะได้ไม่สับสนนะครับ ซึ่งตอนนี้ก็นับได้ว่าทั้งเครื่องเล่นที่รองรับภาพระบบ 4K ออกมาสู่ตลาดผู้บริโภคให้เลือกมากขึ้น รวมทั้งแผ่นหนังที่เป็น 4K ก็เริ่มทยอยวางตลาด หนังHollywoodใหม่ๆ เวลาออกมาขายเป็นแผ่นBlu-ray ตอนนี้ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ออกมาเป็นแผ่นComboรวมแผ่น 4K และ Blu-rayปกติ มาในกล่องเดียวกันเลย แถมราคายังไม่ได้สูงต่างจากแผ่นBlu-rayปกติแผ่นเดียวไปเท่าไร จึงเป็นโอกาสดีของหลายคนที่ได้จดจ้องมานานจะอัพระบบขึ้นไปเป็น4K มีโอกาสได้สัมผัสภาพที่มีรายละเอียดระดับ 4Kเสียที เริ่มจากBenq w11000 ที่ได้ชื่อว่าเป็นprojectorใช้ชิปDMDของDLP ความละเอียดระดับ4K ตัวแรกของโลกที่ได้การรับรองเรื่องภาพจากTHX โดยชิปที่ใช้จะเป็นตัวใหม่ล่าสุดของTexas […]
What’s new in home theater2017?

ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีปีใหม่2560และขออวยพรปีใหม่ให้ท่านผู้อ่านทุกท่านโชคดีมีชัยกันถ้วนหน้าตลอดปีนี้ครับ สำหรับเนื้อหาบทความในฉบับนี้เริ่มต้นปีก็ขอพูดถึงแนวโน้มเทคโนโลยีภาพและเสียงสำหรับปีนี้กันว่าจะไปในทิศทางไหนบ้าง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเดี่ยวนี้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากว่าเครื่องจักรกล คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆสามารถประดิษฐ์ได้เร็วขึ้นแบบก้าวกระโดดเป็นกราฟexponentialเลย ซึ่งจะต่างจากมนุษย์ที่ตามธรรมชาติจะเป็นไปในแบบlinearเสียมากกว่า ทั้งนี้ก็เพราะคอมพิวเตอร์ต่างๆล้วนใช้การคิดคำนวณจากprocessor หรืออุปกรณ์ตัวใหม่เพื่อพัฒนาตัวใหม่กว่า ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ตัวดั่งเดิมตั้งแต่แรกในการพัฒนาตัวใหม่ๆ ทำให้ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าอีกหน่อยก็อาจจะถึงวันที่เครื่องจักรกล คอมพิวเตอร์ต่างๆสามารถคิดได้ฉลาดกว่ามนุษย์ เหมือนในภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่ใช้plotนี้เอาไปสร้างเป็นภาพยนต์ขึ้นมา ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบนี้เราก็คงต้องรู้ทันเทคโนโลยีเหล่านี้แต่คงไม่ต้องถึงกับใช้มันทั้งหมดเพียงแค่รู้ที่มาที่ไป หลักต่างๆ จะได้ใช้ประกอบในการตัดสินใจเมื่อต้องซื้อหาเทคโนโลยมาใช้จริงๆจะได้ไม่ถูกเทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านี้หลอกเอา สำหรับในส่วนเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับHome theaterและแนวโน้มในปีนี้จะเป็นยังไงนั้นขอเริ่มจากเรื่องของจอแสดงภาพก่อน ถ้ายังจำกันได้ประมาณเจ็ดถึงแปดปีก่อน James Cameronได้นำเสนอภาพยนต์สามมิติเรื่องAvatar ที่ไม่ต้องอาศัยแว่นสามมิติแบบ สีน้ำเงินข้างหนึ่ง สีแดงข้างหนึ่งอีกต่อไป ตอนนั้นทำให้วงการจอภาพในบ้านต่างหันไปให้ความสนใจกับภาพสามมิติกันยกใหญ่ จอภาพที่ใช้ในบ้านไม่ว่าจะเป็นจอทีวี หรือจอโปรเจคเตอร์ต้องมีfunctions ภาพสามมิติอยู่ด้วย แต่เทคโนโลยีนี้ก็นับว่าหมดความนิยมลงไปในห้องhome theaterอย่างรวดเร็ว อาจจะเพราะในเรื่องของแว่นตาที่ยังคงต้องสวมอยู่เพื่อให้เกิดภาพสามมิติ หรือเรื่องของดูแล้วรู้สึกปวดตา ปวดหัว อุปกรณ์ที่ต้องซื้อเพิ่ม รวมทั้งข้อจำกัดในเรื่องของหนังต่างๆที่ออกมาเพื่อฉายในบ้านหรือในห้องhome theaterยังออกมาไม่มาก ถึงแม้ภาพยนตร์เรื่องนั้นๆฉายในโรงภาพยนต์เป็นระบบสามมิติแต่เวลาออกเป็นแผ่นblu-rayจริงๆก็ไม่มีแบบสามมิติมาให้ แต่ก็นับว่าหนังสามมิติก็ยังไม่ได้หายไปจากตลาดภายในบ้านเลยทีเดียว ในปัจจุบันก็ยังมีจอภาพที่รองรับสามมิติและภาพยนตร์ที่ออกมาในระบบสามมิติอยู่บ้างถึงแม้ไม่ได้มากนักเหมือนอดีตสี่ห้าปีที่ผ่านมา จอทีวีหรือโปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ๆบางรุ่นก็ยังคงมีระบบสามมิติออกมา ถึงแม้จะไม่ใช่จุดเด่นหลักแต่ก็เอาไว้เสริมมากกว่า พอจะรู้ไหมครับว่าเมื่อปลายปีที่แล้วมีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งออกมาชื่อว่าBilly Lynn’s Long Halftime Walk ที่กำกับโดยAng Leeผู้กำกับมือระดับOscar หนังเรื่องนี้มีสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับด้านภาพหลายอย่าง รวมทั้งมีการใช้เทคนิคใหม่ในการทำให้เกิดภาพสามมิติ โดยจะฉายในโรงDolby Cinemas ที่เป็นโปรเจคเตอร์ระบบ 6P(six-primary) มีแสงlaserแม่สีหลักแดง เขียว […]
Blu-ray Re-recording

หลายฉบับที่ผ่านมามีเนื้อหาวิชาการเรื่องภาพและเสียงมาเยอะแล้ว มาฉบับนี้ฉบับส่งท่ายปีเก่าเลยขอเปลี่ยนบรรยากาศพาไปชมห้องStudioของต่างประเทศกันบ้าง ที่เอามาเล่าให้ฟังในวันนี้เป็นห้องของSound Postproduction Companyแห่งหนึ่งในอเมริกา ห้องนี้มีจุดที่น่าสนใจตรงไหนบ้าง ทำไมผมเอามาให้ดู ลองติดตามกันครับ ห้องนี้เป็นห้องStudio AของFormosa Group ที่เป็นบริษัทให้บริการในด้านPost-Production Soundสำหรับงานภาพยนตร์ เกมส์ งานโทรทัศน์Broad castต่างๆ ฟังชื่อบริษัทก็คงไม่คุ้นหูเท่าไร แล้วห้องนี้มันน่าสนใจตรงไหนทำไมผมถึงเอามาให้ดูกัน… อย่างแรกที่ต้องบอกว่าบริษัทFormosa Groupเป็นบริษัทที่ทำงานด้านเสียงทั้งงานด้านRecording, re-recording, Editing, re-editing, Mixing, remix, Mastering, remastering รวมทั้งเป็นSound Supervisionให้กับภาพยนตร์ชื่อดังๆ หรือภาพยนต์รางวัลดีเด่นด้านเสียงมาหลายเรื่อง ผลงานที่ออกมาล่าสุดที่คุ้นๆกันก็เช่น Star Trek Beyond, The Conjuring2, Batman V. Superman dawn of justice, The Revenant, JohnWick1-2 หรือแม้กระทั่งหนัง6รางวัลOscarที่เป็นรางวัลด้านSound Editing, Sound Mixingอย่างMad Max: Fury Road เหล่านี้ล้วนก็มีชื่อของFormsa Groupเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วที่ต้องเป็นห้องStudio […]
Tuningsmallroom

หลังจากสองฉบับที่แล้วได้พูดถึงเรื่องหนักๆของphase ฉบับนี้ก็ขอเปลี่ยนบรรยากาศมาพูดถึงการปรับเสียงในห้องจริงๆกันบ้างเพราะพื้นฐานที่ต้องใช้ในการปรับเสียงต่างๆผมก็กล่าวถึงพอสมควรในฉบับเก่าๆตั้งแต่ผมเริ่มเขียนบทความมาเกือบๆสองปีแล้ว เพราะหลักในการCalibrateทั่วไปผมก็ใช้หลักการที่เคยพูดถึงมาประยุกต์ ผสมผสาน ในแต่ละห้องhome theater โดยมีวัตถุประสงค์พยายามลดความเพี้ยนของเสียงต่างๆเพื่อให้ห้องนั้นๆมีเสียงได้ใกล้เคียงกับเสียงที่มาจากต้นฉบับตามที่ผู้กำกับหรือคนทำหนังอยากให้เราได้ยินมากที่สุด ในฉบับนี้ผมได้มีโอกาสไปปรับเสียงที่ห้องคุณธรรมนูญ ก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกลเป็นนักเขียนหลักและกองบรรณาธิการของหนังสือAudiophile/Videophileของเรานี่เอง ผมได้รับการติดต่อจากคุณธรรมนูญมานานจนลืมไปแล้วว่าถ้ามีโอกาสจะมาปรับเสียงให้ที่ห้อง แต่เนื่องจากภาระกิจงานประจำของผมที่ต้องรับผิดชอบ แถมยังมีคนติดต่อเข้ามามากมายเพื่อให้ไปปรับเสียงปรับภาพให้จนบางทีก็ลืมไปว่าเคยพูดกันไว้ ใจจริงผมก็อยากไปปรับให้กับทุกๆท่านที่ติดต่อเข้ามาแต่ติดด้วยเรื่องเวลาและการเดินทางนี่แหละครับ บางครั้งเจ้าของห้องอาจจะรอนานนิดหนึ่งกว่าจะมีโอกาสได้ไปปรับให้ จนตอนนี้บางห้องเริ่มงอนผมไปแล้วครับ ฮ่า ฮ่า บ้านคุณธรรมนูญอยู่แถบๆชานเมือง ผมลงเครื่องบินที่สุวรรณภูมิช่วงเย็นๆกว่าจะฝ่าดงรถติดไปถึงก็เกือบๆทุ่มแล้ว โดยในวันนั้นมีเพื่อนๆพี่ๆน้องๆหลายท่านจากFacebook Page Home Theater Pro Thailand ได้เข้ามาช่วยในการปรับเสียงด้วย ทั้ง พี่ชวิน (HAA calibrator) คุณนัท (ISF calibrator) คุณหมอจเร (HAA calibrator) อาจารย์พิชาติ พี่วินัย ก็ได้มาร่วมด้วยช่วยกันยกข้าวยกของเครื่องอุปกรณ์เครื่องเสียง ซึ่งกว่าจะมาถึงครบก็ใช้เวลากันพอสมควรเพราะบางคนก็หลงไปหมู่บ้านข้างๆบ้าง ไปเรียกเจ้าของบ้านแล้วหน้าตาไม่คุ้นเหมือนที่เคยเห็นในหนังสือ เลยต้องโทรถามกันให้วุ่น คุณธรรมนูญก็ได้บอกไว้ก่อนว่าห้องฟังที่บ้านนั้นขนาดไม่ใหญ่นะจะเข้ามาอยู่กันได้หมดหรือ สัดส่วนห้องจะอยู่ที่ราวๆกว้าง 2.9เมตร ยาว 4เมตร สูง 2.75เมตรเท่านั้น แต่วันนั้นในที่สุดก็เข้าไปอยู่ได้ครับแต่ต้องยกเก้าอี้บางตัวออกก่อน มาถึงคุณธรรมนูญได้พูดถึงประวัติห้องนี้ว่าเมื่อก่อนตรงนี้จะเป็นส่วนของที่จอดรถแล้วค่อยมาทำเป็นห้องHome theater โดยให้บริษัทรับจ้างทำห้องมาทำโดยเฉพาะ แต่เมื่อปี พ.ศ.2554ก็ต้องเจอกับน้ำท่วมใหญ่ทำให้ห้องทั้งห้องเสียหาย […]
THX® Professional Video Systems Calibration PartII

หลังจากฉบับที่แล้วผมได้พูดถึงBlack Level และ Contrast Ratio ในการปรับภาพแบบTHXไปแล้ว มาถึงฉบับนี้ขอมาต่อในอีกสามหัวข้อที่เหลือคือเรื่องของสี การปรับสีต่างๆ รายละเอียดที่แสดงอยู่ในภาพ และเรื่องของแหล่งข้อมูลต่างๆ แต่คงจะเน้นเรื่องของสีและการcalibrateในส่วนของสีเป็นหลักส่วนอีกสองหัวข้อที่เหลืออาจจะมีเสริมเล็กน้อยเนื่องจากเคยพูดถึงบ้างแล้วในบทความฉบับก่อนๆ ก่อนหน้าที่จะเข้าไปถึงเนื้อหาในเรื่องการปรับสีก็คงต้อง พูดถึงพื้นฐานของCIE 1931 Diagramกันก่อน พูดถึงชื่อก็อาจจะไม่คุ้นหู แต่พอเห็นภาพก็คงคุ้นตาขึ้นมาเพราะจะเห็นได้ทั่วๆไปในแผ่นโฆษณาหรือBrochure เครื่องแสดงภาพต่างๆไม่ว่าจะเป็นTV, Projector ถ้าดูคร่าวๆCIE Diagramก็จะเป็นรูปคล้ายๆครีบปลาฉลามหรือshark-fin ซึ่งเจ้าครีบปลาฉลามตัวนี้แหละจะหมายถึงสีสันต่างๆที่สายตามนุษย์โดยทั่วไปสามารถเห็นได้ทั้งหมด ครีบปลาฉลามจะแสดงอยู่บนแกนที่เป็นแกนxและy ด้านบนจะเป็นสีเขียวมีเนื้อที่เยอะหน่อย ด้านขวาจะเป็นสีแดงพื้นที่รองลงมา ส่วนด้านล่างค่อนมาด้านซ้ายจะเป็นสีน้ำเงินกินเนื้อที่น้อยที่สุดในบรรดาสีหลักหรือprimary colorทั้งสามสีคือสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน แต่ความจริงแล้วCIE Diagramมันไม่ได้มีแค่สองมิติมันมีส่วนของแกนZอยู่ด้วยเพียงแต่ส่วนมากเขาไม่แสดงให้เห็นกัน ถ้ามองเข้าในในครีบปลาฉลามนี้บางทีก็จะมีรูปสามเหลี่ยมซ้อนอยู่ด้านใน ตัวนี้แหละที่เรียกว่าColor Gamut(กามุท) มันก็จะแสดงถึงช่วงความกว้างของสีทั้งหมดที่จอภาพนั้นๆสามารถแสดงออกมาได้ หรือสามารถแสดงถึงช่วงของสีมาตรฐานที่ใช้เป็นตัวอ้างอิงในการปรับภาพ เช่นในปัจจุบันเราใช้ Rec. 709 Color Gamut มันก็จะหมายถึงตามมาตรฐานสีขาวหรือD65ค่ามันก็จะอยู่ที่ตำแหน่งx.313y.329 ตำแหน่งของสีหลัก(Primary Color)ทั้งสามคือแดง เขียว น้ำเงิน ก็จะอยู่บนกราฟที่ตำแหน่งต่างๆเช่น สีแดงตำแหน่งของสีแดงที่ถูกต้องก็จะอยู่ที่ x.640 y.330, สีเขียวx.300 y.600, สีน้ำเงิน x.150 y.060 […]
THX® Professional Video Systems Calibration at Singapore

เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับการปรับภาพในหัวข้อ THX® Professional Video Systems Calibration ที่ประเทศสิงคโปร์ เลยถือโอกาสนี้นำเอาประสบการณ์ความรู้ต่างๆที่ได้จากการเรียนมาแบ่งปันพี่ๆน้องๆชาวหนังสือAudiophile/Videophileกันนะครับ อาจารย์ที่สอนในclassนี้ก็คือ Gregg Loewen เป็นอาจารย์ที่สอนปรับภาพของทาง THX คนเดียวที่ยังทำการสอนอยู่ ส่วนผู้ที่สนับสนุนในclassนี้ก็เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงด้านภาพหลายท่านไม่ว่าจะเป็นStacey SpearsจากSpears & Munsilคนที่ทำแผ่นบลูเรย์ Spears & Munsil HD Benchmark and Calibration Discที่เราชอบใช้ในการปรับภาพ, Dr.Michael Rudd กับ Patrick Dunn วิศวกรด้านภาพจาก THX , John Dahl อดีตdirector of education ของ THX Ltd.อาจารย์ด้านการปรับเสียงของผมที่ผมเคยเรียนการปรับเสียงของTHX เมื่อหลายปีก่อน แต่ตอนนี้รู้สึกว่าจะRetiredไปแล้ว อีกคนก็คือ Michael Chen กูรูด้านการปรับภาพที่มีเนื้อหาสอนปรับภาพแบบonline ใครสนใจลองSearchเข้าไปที่http://www.tlvexp.ca/ นับว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ในการปรับภาพอีกแห่งหนึ่งบนinternet ส่วนอาจารย์ที่มาสอนในคราวนี้Gregg Loewenนับว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในวงการภาพอย่างมากมาย ทำงานด้านการปรับภาพไม่ว่าจะเป็นจอProjector […]
Home Theater vs. Cinema Audio

ในฉบับนี้ลองมาทำความเข้าใจกันหน่อยว่าเสียงจากห้องHome Theaterนั้น เมื่อเทียบกับเสียงจากในโรงภาพยนต์ที่มีขนาดใหญ่หรือเสียงจากในconcert hallขนาดใหญ่ๆ ว่ามันมีข้อเหมือนข้อแตกต่างอย่างไรกันบ้าง แล้วถ้าต้องการทำให้ห้องดูหนังฟังเพลงของเรามีเสียงออกมายิ่งใหญ่สมจริงเหมือนกับการชมในโรงภาพยนต์หรือการแสดงดนตรีสดจริงๆจะเป็นไปได้ไหม มันมีข้อจำกัดตรงไหนทางacousticsของเสียงบ้าง วันนี้ลองมาดูกัน ถ้าจะพูดถึงเรื่องนี้ก็คงเริ่มต้นไปกันที่เรื่องของStereoกันก่อน ต้องยอมรับว่าในยุคสมัยของผมเติบโตมาก็มีเครื่องเสียงที่เป็นแบบstereoอยู่ในตลาดแล้ว จำได้ตอนเด็กๆเวลามีโฆษณาที่เกี่ยวกับเรื่องของเสียงก็มักจะมีคำบ่งบอกสรรพคุณเติมท้ายขึ้นมาว่า”ระบบเสียงStereo” ให้ดูน่าสนใจ จนมาถึงในปัจจุบันเสียงstereoก็ยังใช้กันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะฟังเพลงในห้องนั่งเล่น ห้องนอน ในหอพัก เราก็ชอบฟังเป็นแบบstereo เพราะมันให้ความรู้สึกว่าเสียงมันมีมิติสมจริง โดยเฉพาะในAudiophileที่ถือว่าเรื่องของstereo imageหรือphantom image มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆในการฟังเลย ยิ่งได้ถ้าเคยได้เข้าไปดูคอนเสิร์ตศิลปินที่ชื่นชอบพร้อมกับระบบเสียงที่ดีในconcert hall ทำให้มีอารมณ์ร่วมไปกับบทเพลงอยู่บนเวที บางทีก็อยากจะยกการแสดงสดนั้นมาไว้ในห้องฟังของเราเลยทีเดียว ความจริงแล้วเสียงที่ได้ยินจากการแสดงสดไม่ว่าจะเป็นconcert hall, arena, stadium ฯลฯ มันมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต่างจากการได้ยินเสียงภายในห้องฟังเล็กๆ การที่เราคิดว่าจะใช้การย่อส่วนให้เล็กลงเหมือนเอาไฟฉายโดเรมอนฉายให้เสียงจากคอนเสิร์ตขนาดใหญ่ๆมาอยู่ในห้องเพื่อให้เราได้รับประสบการณ์เสียงเหมือนอยู่ในโถงใหญ่ๆนั้นมันมีข้อจำกัดอยู่มาก แค่คิดว่าห้องก็เล็กลงลำโพงก็ขนาดเล็กลงไม่ใหญ่เหมือนลำโพงที่อยู่ในคอนเสิร์ตเราก็น่าจะย่อส่วนเสียงมันลงมาได้นะ…แต่เดี๋ยวก่อนลองมาดูว่าจริงๆแล้วมันมีตรงไหนที่แตกต่างกันบ้าง เริ่มจากในห้องฟังภายในบ้าน การmixเสียงเพลงแบบstereoก็จะถูกmixให้เสียงเพลงจากวงดนตรีส่วนมากอยู่แค่ระหว่างด้านหน้า ตรงเส้นระหว่างลำโพงซ้ายลากไปยังลำโพงด้านขวา บริเวณอื่นๆนอกเหนือจากนี้ก็ไม่มี แต่ในคอนเสิร์ตจริงๆเสียงจะมาจากจุดpin pointเล็กๆ และจะโอบล้อมเราด้วยเสียงก้องจากการสะท้อนไปมาอย่างมากมายของเสียง(complex reverberation) ที่มาจากทุกทิศทาง เราอาจจะคิดว่าความแตกต่างแบบนี้อาจจะน้อยลงไหมถ้าใช้เทคโนโลยีในการออกแบบลำโพงช่วยเพราะในปัจจุบันการทำลำโพงรุ่นใหม่ๆก็ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก ยิ่งในปัจจุบันการใช้หูฟังได้เพิ่มมากขึ้นอย่างมากมาย มันเป็นไปได้ไหมที่จะทำให้เราได้รับประสบการณ์เสียงแบบที่ฟังอยู่ในคอนเสิร์ตไปอยู่ในทุกๆที่ ที่เราต้องการ ซึ่งตรงจุดนี้ปัญหาสำคัญที่ยังขัดขวางไม่ให้ทำสำเร็จตอนนี้คือเรื่องของ Physics Laws และ Psychoacoustics แถมlaws of physicsก็เป็นอะไรที่ขอยกเว้นก็ไม่ได้ด้วยเพราะเจ้าของเขายังไม่มีกำหนดการเปลี่ยนlawsนี้ […]