Phase Problems

เมื่อหลายปีก่อนผมได้เคยพูดถึงเรื่องของPhase และ Time Alignment ไว้ในนิตยสารVideophile แบบละเอียดใครสนใจก็ลองไปหาอ่านฉบับย้อนหลังดูได้ ฉบับนี้ก็จะพูดต่อยอดไปถึงปัญหาของPhaseหรือTime Alignmentว่าในทางปฏิบัติมันจะทำให้เกิดความผิดปกติต่อเสียงอย่างไรบ้างในห้องHome Theaterหรือในห้องฟังที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ก่อนอื่นก็คงต้องทำความเข้าใจกันก่อนถึงคำว่าPhase AlignmentและTime Alignment ซึ่งบางคนก็ยังสับสนกันว่าสองคำนี้มีความหมายเหมือนกันหรือคือคำคำเดียวกันใช้แทนกันได้ แต่ความจริงแล้วสองคำนี้มีความหมายต่างกัน จากคำว่าalignซึ่งในที่นี้จะหมายถึงไปด้วยกันหรือเข้ากันกัน โดยถ้าเวลามีความถูกต้องสัมพันธ์กันก็จะเรียกว่า”time alignment” และถ้ามีความเข้ากัน ตรงกันในเรื่องของphaseก็จะเรียกว่า”phase alignment” ทั้งสองสิ่งนี้มีความสัมพันธ์กันแต่มีพื้นฐานและการนำไปใช้ที่แตกต่างกัน Time alignmentหมายถึงการตรงกันในเรื่องเวลาของสัญญาณคลื่นเสียง เช่น เสียงจากลำโพงทั้งสองมาถึงพร้อมกันที่ตำแหน่งนั่งฟังในเวลา 14 milliseconds(ms)ก็หมายถึงเสียงจากลำโพงทั้งสองมีtime alignmentต่อกัน ส่วนPhase alignmenจะแสดงถึงความเข้ากันของตำแหน่งphase ของสัญญาณคลื่นเสียงทั้งสองคลื่นโดยphaseของเสียงจะสื่อมาจากตำแหน่งองศารอบๆวงกลม360องศา เช่น คลื่นเสียงทั้งสองเมื่อมาถึงจุดนั่งฟังจะมีค่าphaseของเสียงอยู่ที่ 90องศาเท่ากันก็แสดงว่าสัญญาณคลื่นเสียงทั้งสองมีphase alignmentต่อกัน PhaseและTime จะมีผลต่อเสียงที่มนุษย์เราได้ยินเป็นอย่างมาก แต่ก่อนที่จะพูดถึงในทฤษฎีว่ามันมีความสำคัญ มีผลอย่างไรต่อเสียงบ้างถ้าPhase กับ Timeไม่เข้ากันหรือไม่สัมพันธ์กันลองมาเริ่มกันที่ภาคปฏิบัติให้ได้เห็นภาพกันก่อนจะได้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น โดยวันนี้ขอพาเข้าไปห้องที่บ้านผมอีกห้องหนึ่งที่เอาไว้สำหรับทำการทดลองเรื่องเสียงต่างๆ เริ่มต้นจากการวัดFrequency Responseของลำโพงให้ดูว่าPhase Alignmentมีความสำคัญอย่างไรต่อการวางลำโพงในห้องhome theaterบ้าง ว่าแล้วก็กางขาตั้งไมค์วางไมค์ไว้หน้าลำโพงให้ไมค์ห่างลำโพงประมาณสองสามฟุตทำการวัดค่าระดับความเข้มเสียงที่ความถี่ต่างหรือเรียกกันง่ายๆว่าFrequency response จากกราฟก็พบว่าFrequency ResponseมีDipขนาดใหญ่เกิดขึ้นบริเวณที่ความถี่2K Hzกว่าๆ มันเกิดจากอะไร แล้วทำไมไปเกิดตรงนั้น คำตอบในเรื่องนี้เกิดจากที่ว่าปกติเมื่อลำโพงตู้นั้นๆออกมาสู่ท้องตลาดก็จะมีการทำTime Alignmentเรียบร้อยเพื่อให้กรวยลำโพงหรือDriverแต่ละตัวทำงานประสานกันเข้ากัน […]
Chroma Subsampling?

พอพูดคำว่าChroma Subsamplingขึ้นมา หลายท่านที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงเกี่ยวกับด้านภาพก็อาจจะงงได้เหมือนกันว่าคืออะไร มีความสำคัญยังไง ทำไมถึงต้องรู้เรื่องนี้ด้วย แต่ถ้าบอกว่าคือค่าที่ต้องตั้งในเครื่องทีวี โปรเจคเตอร์ เครื่องเล่นBlu-ray เครื่องเล่นไฟล์ Apple TV หรือเครื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสีของภาพ เช่นมีการกำหนดให้ตั้งค่าเป็น 4:4:4, 4:2:2 , 4:2:0 ฯลฯ ค่าพวกนี้แหละที่เรียกกันว่าค่า Chroma Subsampling คราวนี้เริ่มคุ้นกับตัวเลขเหล่านี้บ้างหรือยัง ในฉบับนี้เราลองมาดูกันว่าค่าต่างๆเหล่านี้มันหมายถึงอะไร มีความสำคัญยังไง มีที่มาที่ไปเป็นยังไงบ้าง แล้วจะต้องตั้งค่าอะไรในทีวี หรือเครื่องเล่นลองมาดูกันครับ ความจริงค่านี้จะเกี่ยวข้องกับทั้งในเรื่องของกล้อง มือถือ เครื่องเล่นระบบภาพและเสียงต่างๆ แต่ในที่นี้ผมจะเน้นไปที่ใช้ในห้องhome theater โดยการตั้งค่านี้ในหลายเครื่องเล่นจะอยู่ในชื่อเมนูที่ต่างกัน บางเครื่องอยู่ในเมนูของHDMI บ้างก็อยู่ในเมนูChroma บ้างก็อยู่ในเมนูของColor spaceเช่นในเครื่องเล่นBlu-ray Oppo UDP-203, 205 seriesก็จะมีให้เลือกว่าเป็น RGB Video Level, RGB PC Level, YCbCr 4:4:4, 4:2:2, 4:2:0 เอาเป็นว่าถ้าตัวไหนที่มีfunctionให้เลือกเป็นตัวเลขชุดสามตัวเหล่านี้ผมจะเรียกชื่อรวมๆไปละกันว่าคือเรื่องของChroma Subsampling ถ้าจะกล่าวถึงที่มาจริงๆเรื่องนี้มีมาตั้งแต่สมัยปี […]
What’s new in Video Display 2018

สวัสดีปีใหม่ และขออวยพรให้ท่านผู้อ่านทุกท่านประสบแต่ความสุขความสมหวังตลอดปีใหม่2561นี้ด้วยนะครับ สำหรับเนื้อหาในฉบับนี้ก็เหมือนเดิมในทุกๆปีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านภาพในปีที่ผ่านมาพร้อมทั้งแนวโน้มในอนาคตปีนี้ว่าจะมีอะไรใหม่ที่น่าสนใจบ้าง ในปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีด้านภาพมีการพัฒนากันขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อทำให้ภาพที่ออกมาจากจอมีความสวยงามสมจริงมากกว่าแต่ก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความละเอียดภาพแบบUltraHD(UHD) หรือที่เรียกกันติดปากว่า4K พร้อมกับเรื่องของHigh Dynamic Range(HDR), Wide Color Gamut(WCG) ซึ่งอย่างที่ผมเคยพูดมาตลอดว่าเรื่องความละเอียดของภาพที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็น 4K หรือ8K ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้าเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในการทำให้ภาพดูสวยงามสมจริง ความจริงมันยังมีองค์ประกอบอื่นที่สำคัญอีกเช่นWider Gamut จะบอกถึงว่าจอภาพสามารถแสดงสีได้มากขึ้นกว่าเดิม higher color bit depthsก็จะบ่งถึงจอภาพให้รายละเอียดการไล่เฉดสีที่ละเอียดมากขึ้น และhigher contrast ratiosที่แสดงว่าจอภาพนั้นสามารถแสดงภาพให้มีความกว้างระหว่างความดำมากที่สุด และความสว่างสูงสุดได้มากขึ้น เริ่มจากเรื่องของรายละเอียดภาพหรือจำนวนของพิกเซล(Pixel)ที่จอภาพสามารถแสดงได้ หลายปีก่อนมาตรฐานHigh Definition(HD)หมายถึงจำนวนพิกเซลในแนวนอนที่1920จุด แนวตั้ง1080จุด(1920×1080)และก็เรียกกันง่ายๆว่าความละเอียดระดับ1080p ต่อมามาตรฐานความละเอียดขยับเป็น4เท่าจากเดิมคือUHDก็จะมีความละเอียดเป็นแนวนอน 3480 แนวตั้ง2160จุด(3480×2160) ซึ่งในความเป็นจริงก็จะไม่เท่ากับรายละเอียดในโรงภาพยนต์จริงๆที่ถูกกำหนดโดยDigital Cinema Initiative(DCI)หรือเรียกกันว่า 4K เพราะความละเอียดของ4Kจริงๆแล้วเป็น 4096×2160 จะเห็นได้ว่ามีความกว้างกว่า UHDที่เป็น3480×2160เล็กน้อยแต่รายละเอียดในส่วนสูงเท่ากันบางคนก็เลยเรียกแทนกันไปเลยเพื่อความสะดวกว่าเป็น4K อย่างไรก็ตาม4Kออกมาไม่เท่าไรเทคโนโลยีจอภาพก็ไปต่ออย่างรวดเร็วด้วยความละเอียดระดับ 8K ปลายปีที่ผ่านมาบริษัทSharp ได้เปิดตัวทีวีซีรีย์ใหม่AQUOS8K ความละเอียด 7,680×4,320ออกมาแล้ว โดยจะวางจำหน่ายจริงๆในปลายปีนี้ ส่วนSamsungก็วางแผนที่จะเปิดตัวทีวีขนาดใหญ่กว่า100นิ้ว ความละเอียดระดับ 8KในงานCES(Consumer Technology Association)2018 ที่Las […]
Bass Management

เมื่อมีการเพิ่มSubwooferเข้าในระบบเครื่องเสียง มันมีวิธีที่จะจัดการกับเสียงความถี่ต่ำของSubwooferได้หลายทาง วิธีการจัดการกับเส้นทางของเสียงความถี่ต่ำจะเรียกว่าBass Management ซึ่งโดยพื้นฐานก็คือการจัดการเอาความถี่ต่ำของลำโพงMainไปยังSubwoofer แทนที่จะทำให้ลำโพงMainจัดการกับเสียงทุกย่านความถี่ตั้งแต่ 20Hz จนถึง 20000Hzตามที่ถูกบันทึกมาไม่ว่าจะเป็นระบบ Stereo Systemหรือ Multi-channels System ตามมาตรฐานของภาพยนตร์เช่นDolby หรือDTS ทั้งนี้ก็เพื่อปรับปรุงเสียงความถี่ต่ำในห้องฟังขนาดเล็ก หรือห้องhome theaterให้เป็นปกติ ตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นเหมือนในapproved studioที่บันทึกเสียงขนาดใหญ่หรือโรงภาพยนตร์ และก็สืบเนื่องจากผมได้subwooferของMeyer Sound รุ่น X-400cใหม่มาอีก2ตัวรวมเป็นทั้งหมด 4ตัวในห้องHome theater ต้องทำการsetupและติดตั้งใหม่ แต่จะติดตั้งแบบไหนวางแบบไหนก็ต้องมาดูและตัดสินใจถึงสภาพแวดล้อม สภาพอุปกรณ์ สภาพห้องต่างๆว่าแบบไหนถึงจะให้ผลลัพธ์เหมาะสมที่สุด เนื่องจากSystemที่มีอยู่ตอนนี้สามารถSetทั้งแบบFull Rangeและ Bass managementได้ทั้งสองแบบ ซึ่งหลังจากผมได้ลองติดตั้ง ลองวัด ลองฟังร่วมเดือนทำให้ได้ประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังเผื่อมีคนสนใจผลลัพธ์ว่าจะออกมาเป็นแบบไหนกันบ้าง โดยแบบแรกที่คิดไว้ก็คือการเอาลำโพงsubwooferเข้าไปรวมกับลำโพงหน้าLCRโดยใช้DSPของMeyer Soundรุ่นGalileo408เป็นตัวจัดการBass management ตัดHigh pass filter(HPF)ลำโพงmain และตัดLow Pass Filter(LPF)ลำโพงSubwooferแล้วก็นำเอาลำโพงทั้งสองมารวมเข้าด้วยกันหรือที่เรียกว่าalignกัน ก็จะทำให้ลำโพงหน้าทั้งสามตัวของผมกลายเป็นลำโพงแบบFull rangeและตอบสนองความถี่ได้ตั้งแต่ 20-20000Hz โดยที่ไม่มีช่วงความถี่หายไป หรือมีการเสริมทับกันมากเกินไปของความถี่ช่วงใดช่วงหนึ่ง แล้วก็มาsetในส่วนของPre-processor Marantz AV8802ให้ลำโพงหน้าทั้งสามตัวเป็นLargeหรือความหมายก็คือเป็นFull Rangeนั่นเอง […]
One Cool Production

เป็นโอกาสดีที่ผมและเพื่อนๆได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมOne Coolสตูดิโอ ที่เรียกได้ว่าเป็นสตูดิโอทำงานด้านPost Productionระดับต้นๆของเอเชีย เพื่อให้เราจะได้รู้ว่าในการจัดการด้านภาพและเสียงหลังจากเสร็จขั้นตอนการถ่ายทำแล้วเขาทำอย่างไรกันบ้าง ทั้งยังจะได้นำประสบการณ์ความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงห้องhome theaterในบ้านให้มีภาพและเสียงใกล้เคียงกับภาพและเสียงในห้องที่ผู้กำกับได้ดู ได้ฟังจริงๆว่าเป็นแบบไหน ทำให้สามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกจากภาพยนตร์ตามที่ผู้กำกับหรือผู้สร้างหนังต้องการสื่อให้ได้มากที่สุด One Cool Studioตั้งอยู่แถวถนนเลียบทางด่วนเกษตร-นวมินทร์ ด้านนอกอาคารล้อมรอบด้วยต้นไม้ ดูร่มรื่น เมื่อพวกเราเดินเข้าไปด้านในก็พบกับ คุณกมลทิพย์ เตชะสกุลมาศ Director & General Management ของบริษัท One Cool Production ที่ให้เกียรติต้อนรับคณะของเราอย่างอบอุ่นเป็นกันเอง ก่อนที่จะเข้าไปชมห้องต่างๆคุณกมลทิพย์ก็ทำการแนะนำบริษัทOne Cool Productionคร่าวๆก่อนว่า เป็นบริษัทที่บริการงานทางด้าน Post productionต่างๆเช่น Color Grading, Online Editing, Visual effect และงานทางด้านAudio Post Productionไม่ว่าจะเป็นsound design, sound editing, audio mixing ในระบบต่างๆทั้ง Stereo mixing, Dolby 5.1 , 7.1 จนถึงระบบเสียงล่าสุดคือ […]
Projection Screens

เมื่อห้องhome theaterหรือบางคนก็เรียกว่าห้องhome cinemaใช้โปรเจคเตอร์และจอเป็นแหล่งกำเนิดภาพ ทั้งจอภาพและเครื่องโปรเจคเตอร์ก็จะเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง เราจึงต้องมีความเข้าใจอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้จะได้เลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับห้องที่มีอยู่ ทั้งมีการติดตั้งที่ดี รวมถึงมีprofessional calibrationเพื่อให้แน่ใจว่าภาพที่ออกมาบนจอมีความถูกต้องตามที่ผู้กำกับ หรือคนทำหนังต้องการให้เราดู เมื่อดูหนังก็จะได้เสพอรรถรสตามที่เขาต้องการสื่อให้เราได้รับรู้ เข้าถึงอารมณ์ของภาพยนตร์นั้นๆได้ง่ายขึ้น ดังนั้นวันนี้จึงขอพูดถึงเรื่องของจอภาพโปรเจคเตอร์ที่บางคนอาจจะยังสับสนอยู่บ้าง โดยเบื้องต้นขอแบ่งจอเหล่านี้ตามลักษณะการใช้งานก่อน ซึ่งสามารถแบ่งโดยทั่วไปได้สองแบบคือ จอแบบติดถาวร(fixed screen) และจอแบบเก็บได้(retractable) จอแบบติดถาวรจะเป็นจอที่ติดตั้งบนผนังโดยมีกรอบแข็งที่อาจจะทำจากโลหะ ไม้ วัสดุสังเคราะห์ต่างๆเพื่อเป็นโครงทำให้จอถูกขึงตึง หรือยึดติดไว้ตรงกลาง ส่วนจอแบบเก็บได้ที่เห็นทั่วไปจะเป็นแบบม้วนเก็บโดยใช้มือดึงขึ้นดึงลงเหมือนกับที่เราเห็นเป็นประจำในห้องเรียนที่ครูวิทยาศาสตร์จะยกมาไว้กลางห้องแล้วดึงลงมา แล้วพูดว่า เอ้า มาดูการทดลองนี้กัน เอ่อ…ดูไปจอแบบนี้ก็ให้อารมณ์เชิงวิชาการดีนะครับ ส่วนในห้องhome theaterบางทีก็จะเป็นแบบดูดีขึ้นมาคือเป็นมอเตอร์สามารถใช้รีโมทกดสั่งขึ้นลงได้และเนื้อจอสำหรับใช้ในห้องhome theaterก็มักจะเน้นคุณภาพของภาพในสิ่งแวดล้อมที่มืดมากกว่าจอที่ใช้ในห้องเรียน ห้องประชุมโดยทั่วๆไปที่มุ่งเน้นไปในเรื่องความสว่างเป็นหลัก โดยส่วนตัวถ้าเป็นจอในห้องดูหนังผมชอบจอแบบติดแน่นมากกว่าแบบเก็บได้เนื่องจากเหตุผลสองสามประการ อย่างแรกถ้าเป็นเนื้อจอแบบเดียวกันราคาของจอแบบติดถาวรจะถูกกว่าแบบเก็บได้เนื่องจากแบบเก็บได้ต้องเพิ่มราคาค่ากลไก ค่ามอเตอร์ ค่าวัสดุต่างๆที่ต้องใช้เพิ่มเพื่อทำให้จอสามารถเก็บได้ ส่วนจอติดแน่นก็จะมีแต่ค่าโครงอย่างเดียว อย่างที่สองเพราะจอแบบติดถาวรไม่ต้องมีการม้วนขึ้นม้วนลงหรือดึงขึ้นดึงลง ทำให้ความตึงของจอจะเรียบสมบูรณ์แบบอยู่เสมอ และอย่างที่สามการติดตั้งจอแบบติดถาวรจะง่ายกว่าเนื่องจากไม่จำเป็นต้องเตรียมไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์เพื่อดึงจอขึ้นลงตามรีโมทสั่ง ดังนั้นถ้ามีคนให้แนะนำจอในห้องDedicated home theaterเพื่อดูหนังตัวเลือกแรกของผมก็คือจอแบบติดถาวร เพราะในเมื่อห้องใช้เพื่อดูหนังอย่างเดียวแล้วทำไมต้องซ่อนจอหนังเอาไว้ด้วย คิดว่าก็คงไม่มีความลับอะไรพิเศษซ่อนอยู่บนจอหรอกมั้งครับ อิ อิ อีกอย่างหนึ่งสำหรับจอแบบติดถาวรที่สำคัญก็คือเรื่องของขอบเฟรมที่จะให้ดีควรมีความหนาประมาณ 3-4นิ้ว พื้นผิวเป็นสีดำด้าน ดูดแสงได้ดีเพราะจะมีความสำคัญต่อภาพที่ปรากฏบนจอทำให้ภาพออกมาดูเด่น มีcontrastของภาพเพิ่มมากขึ้น และอีกอย่างหนึ่งการที่ขอบจอดูดแสงได้ดีจะช่วยเก็บภาพตามขอบๆที่บางทีเกินไปบ้าง เช่นการที่เราหลีกเลี่ยงการปรับแก้ภาพสี่เหลี่ยมคางหมู(keystone)ภายในเครื่องโปรเจคเตอร์เพื่อความชัดเจน ไม่มีการzoomภาพบางส่วน คงความเป็นpixel by […]
HDMI

ตอนนี้HDMI ถือได้ว่าเป็นช่องต่อมาตรฐานและใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อส่งสัญญาณมัลติมีเดียในระบบดิจิตอล ยิ่งในปัจจุบันระบบภาพและเสียงมีการพัฒนาไปมากทั้งความละเอียดระดับ 4K เสียงimmersive sound ต่างๆไม่ว่าจะเป็นdolby atmos, dts-x, auro 3D ซึ่งสามารถต่อลำโพงเพื่อใช้ในบ้านได้หลายสิบตัว ดังนั้นสายHDMIจึงเป็นสายที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้โอนถ่ายข้อมูลจำนวนมากเหล่านี้ คราวนี้เราลองมาดูกันหน่อยว่าสายHDMIที่เห็นเป็นช่องเล็กๆหลายๆช่องนั้นมันคือช่องอะไร ใช้ส่งข้อมูลด้านไหนกันบ้าง รวมถึงมาดูว่าสายHDMIที่ใช้มาหลายปีแล้วตอนนี้เราขยับขยายระบบขึ้นไปเป็น 4K HDRพร้อมระบบเสียงimmersive soundต้องมีการเปลี่ยนสายใหม่ไหม สายเดิมยังใช้ได้อยู่หรือเปล่า ลองมาหาคำตอบกันในฉบับนี้ครับ แต่เดิมการเชื่อมต่อภาพและเสียงในระบบhome theaterใช้ระบบAnalog ต่อมาภายหลังปี ค.ศ.2010 การเชื่อต่อแบบDigitalได้เริ่มเข้ามาแทนที่และมีการพัฒนาจนมาเป็นสายHDMIหรือชื่อเต็มๆก็คือ High Definition Multimedia Interface เนื่องจากมีข้อดีในเรื่องลดจำนวนการเชื่อมต่อให้น้อยลง ต้านทานต่อสิ่งกวนภายนอก(Noise immunity)ได้ดี สามารถส่งสัญญาณเกี่ยวกับภาพและเสียงให้มีคุณภาพเช่นการส่งเป็นDeep color, x.v. Color, ภาพ3มิติ, High bit rate audio, Lossless compression เหล่านี้ทำให้การส่งต่อสัญญาณแบบHDMIได้รับความนิยมมากขึ้น HDMIได้มีการพัฒนาจากสายDVI เพื่อให้มีช่องต่อที่เล็กกว่าช่องDVI ร่วมกับสามารถรองรับการส่งผ่านสัญญาณเสียงได้ เพราะแต่เดิมนั้นสายDVIไม่สามารถส่งข้อมูลเสียง รับส่งได้แต่สัญญาณภาพแบบดิจิตอลอย่างเดียว รวมถึงมีการเพิ่มเติมคุณสมบัติการรองรับเฉดสีได้มากกว่าเดิม และสามารถรองรับคุณสมบัติCEC(Consumer Electronic Control)ร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานอื่นๆได้เช่นการใช้remoteร่วมกัน HDMIที่ออกมารุ่นแรกจะเป็น […]
Subwoofer Reference Level

เรื่องของความดังของSubwooferในห้องhome theaterเป็นอะไรที่มีคนสงสัยบ่อย และมักจะมีคำถามเข้ามาในหน้าinternetอยู่เรื่อยๆ ผมก็ถูกถามเข้ามาทั้งทางส่วนตัว และทางwebboardต่างๆในเรื่องนี้อยู่หลายครั้ง คำถามก็ประมาณว่า จะปรับVolumeของSubwoofer ไปที่เท่าไร่ดี? ผมไปฟังบ้านเพื่อนมาหลายบ้าน บางบ้านเบสเยอะมาก บางบ้านเบสน้อยมาก อันไหนคือความดังของความถี่ต่ำที่ถูกต้อง? เสียงเบสในห้องสตูดิโอมาตรฐานที่บอกว่าผู้กำกับอยากให้คนฟังได้ยินนี่มันดังเท่าไร? ต้องปรับความดังที่AVRเท่าไรเสียงจึงจะดังเท่าในห้องstudioที่เขาmixกัน? จะcalibrateเสียงในห้องhome theaterยังไงให้มีเสียงความถี่ต่ำตามมาตรฐาน? และอีกหลายๆคำถามที่เกี่ยวกับการปรับความดังของSubwoofer ความจริงผมเคยตอบไปหลายครั้งแล้วในwebboardต่างๆแต่ยังไม่ได้อธิบายลึกมาก มาฉบับนี้ผมเลยจะมาเล่าแบบเจาะลึกให้ฟังว่า ความถี่ที่บอกว่าเป็นReference Levelมันคืออะไรในห้องhome theater แล้วจะปรับให้ได้แบบนั้นได้ไหม และจะปรับยังไง ก่อนเริ่มขอพูดถึงสองคำนี้ก่อน เพราะจะเป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยๆในงานhome theaterแต่บางทีก็สับสนกันว่าคือสิ่งเดียวกันหรือเปล่า คำแรกคือคำว่าLFE(Low Frequency Effects) channel และอีกคำคือSubwoofer เป็นสองคำที่ผมมักจะเห็นหลายท่านใช้สลับกันไปมาอยู่บ่อยๆ LFE channelมันคือช่อง .1 ของระบบที่เรียกกันทั่วไปว่าเป็น 5.1, 7.1 หรือ 9.1 โดยที่เรียกว่าเป็น .1ก็เพราะมันมีเฉพาะเสียงความถี่ต่ำประมาณหนึ่งในสิบของความถี่ทั้งหมดในช่องเสียงหลักอื่นๆ LFEเป็นช่องเสียงช่องหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคหนัง70mm จะใส่ข้อมูลความถี่ต่ำอย่างเดียว(<120Hz) แยกchannelsต่างหากเสริมเข้าไปในchannelsหลักอื่นๆ ทำให้ภาพยนตร์สามารถผลิตความถี่ต่ำที่ลึกโดยไม่ไปกินแรงของAmplifiers หรือลำโพงตัวอื่นๆที่มีอยู่แล้วในระบบ และเมื่อนำหนังมาลงแผ่นสำหรับใช้ในบ้านช่องนี้ก็ใส่ลงมาเป็นช่องแยกต่างหากเหมือนในโรงภาพยนตร์ทำให้สะดวกในการนำข้อมูลลงแผ่นด้วย ส่วนในpost productionช่องเสียงนี้ก็จะใส่เสียงความถี่ต่ำมากๆเช่นเสียงฮัม เสียงก้องในระเบิด ในเพลงก็อาจจะเป็นเสียงความถี่ต่ำมากๆของkick drums หรือเบส […]
THX Video Training in Bangkok

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทางบริษัท THX Ltd. ได้มาเปิดการอบรมในเรื่องTHX Professional Video Systems Calibration ที่บริษัทDeco2000โดยมีอาจารย์ในการสอนครั้งนี้คือ Gregg Loewen อาจารย์สอนการปรับภาพTHX คนเดียวที่ยังสอนอยู่ในตอนนี้ ในคอร์สนี้การเรียนการสอนจะมีด้วยกันทั้งสิ้น 4วัน สามวันแรกเป็นเนื้อหาในเรื่องการปรับภาพทั่วๆไปเหมือนกับที่ผมเคยเรียนและนำเสนอลงในนิตยสารเมื่อปีที่แล้ว แต่ครั้งนี้จะพิเศษเนื่องจากในวันที่สี่วันสุดท้ายจะเป็นเนื้อหาเจาะลึกเกี่ยวกับ Advanced Video Calibration & Setup : 4K/UHD and HDR considerations หรือพูดง่ายๆก็คือสอนการปรับภาพจอแบบ 4K HDR สำหรับฉบับนี้ผมก็ขอกล่าวถึงเรื่องนี้เลยแล้วกันเพราะเรื่องการปรับภาพTHXนั้นผมเคยเขียนอย่างละเอียดไว้แล้ว ขอปูพื้นเกี่ยวกับ 4K HDRกันก่อน เผื่อบางท่านไม่คุ้นกับคำนี้จะได้พอรู้ว่าสิ่งที่ผมกำลังจะเขียนต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร พูดถึง4Kก็คงพอนึกออกว่าเป็นความละเอียดของจอแสดงภาพ แต่บางท่านก็ยังสับสนกับคำว่าUHD (Ultra High Definition)ว่า มันคือสิ่งเดียวกันเพราะเห็นบางทีก็ใช้สลับไปมาในความหมายเดียวกัน ความจริงโดยพื้นฐานแล้ว4K และ UHD นั้นไม่เหมือนกัน 4Kเกิดจาก Digital Cinema Initiatives(DCI) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในวงการProfessional production และ Cinema ที่หมายถึงความละเอียดระดับ 4,096X2,160 […]
9 Interesting Home Theater Questions

ที่ผ่านมาก็มีคำถามเรื่องHome Theaterเข้ามาหาผมทั้งทางinbox ส่วนตัว ทางwebboard หรือแม้กระทั่งทางFacebook fanpageเอง ก็มีคำถามไม่น้อยที่น่าสนใจเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องนี้ ฉบับนี้เลยถือโอกาสรวบรวมเอาคำถาม คำตอบที่น่าสนใจมาไว้เพื่อให้สมาชิกนิตยสารAudiophile/Videophileได้อ่านกัน คำถามที่1:ผมกำลังจะทำห้องขนาด 4เมตรx6เมตร ควรจะทำห้องสูงเท่าไรดี? เป็นคำถามที่ผมมักจะถูกถามบ่อยที่สุดก็คือเรื่องของขนาดและสัดส่วนห้องดูหนัง ส่วนมากคนที่กำลังเริ่มต้นจะทำห้องฟังซักห้องต้องการทราบก็คือจะทำห้องขนาดเท่าไรดี และเท่าที่ผมเจอมาขนาดยอดนิยมที่มักจะถามก็คือถ้าห้องกว้างxยาว มีขนาด 4×6เมตรหรือ 5×7เมตรควรมีความสูงเท่าไรดี จากการเอาสัดส่วนที่ได้ไปคำนวณในโปรแกรมAV Pro ที่ผมใช้อยู่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่โปรแกรมที่ช่วยในการคำนวณขนาดของห้องจะใช้หลักการคล้ายๆกันคือว่าหาขนาดที่ทำให้เกิด standing waveหรือroom mode มีการกระจายมากที่สุด การซ้อนทับกันของคลื่นความถี่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันน้อยที่สุด(Coin) โดยเน้นที่ความสำคัญของ Axial mode หรือผนังที่อยู่ตรงกันข้ามกันสองผนังก่อนเพราะมีความรุนแรงที่สุด และยิ่งมีการซ้อนกันมากความเด่นหรือความแรงของmodeก็จะสูงขึ้น บางโปรแกรมก็อาจนำข้อมูลมาplot เป็น Bonello Chart เพื่อให้ดูการกระจายของmodeได้ง่ายขึ้นด้วย สำหรับห้องขนาด 4×6เมตรจากการคำนวณก็จะได้ผลดังตาราง ซึ่งจะเห็นว่าถ้าให้ช่วงความสูงอยู่ระหว่าง 2.5 -3.5เมตร ความสูงที่เหมาะสมสำหรับห้องhome theaterขนาด 4×6เมตรก็คือ 3.25เมตร(ในตารางแสดงผลแค่จุดทศนิยมตัวเดียวเลยเป็น3.3เมตร) ส่วนความสูงของห้องที่เหมาะสมรองลงมาก็คือ 3.5เมตร, 2.75เมตร, 2.5เมตร และ 3.0เมตรตามลำดับ ตั้งข้อสังเกตไว้ครับว่าถ้าสัดส่วนด้านใดด้านหนึ่งสามารถหารด้านที่เหลือได้ลงตัวมักจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะพบปัญหาจากroom modeได้มากกว่าดังนั้นขนาดความสูง 3เมตรที่สามารถหารความยาว6เมตรได้ลงตัวเลยเหมาะสมเป็นตัวเลือกท้ายๆ […]