Audio over IP(AoIP) & Home Theater

ในปัจจุบันหลายคนคงเริ่มเห็นเครื่องเสียงภายในบ้านมีรุ่นที่สามารถใช้แค่สายLAN(RJ45)เพียงแค่เส้นเดียวเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งลำโพง, Power Amplifier, Pre-processor, AVRเข้าด้วยกัน การเชื่อมต่อแบบนี้คืออะไร ใช้หลักการแบบไหน การฟังเพลงการดูหนังภายในบ้านมีความจำเป็นต้องใช้การเชื่อมต่อแบบนี้หรือยัง การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดเด่นและมีข้อจำกัดตรงไหนบ้าง และเสียงที่ออกมาจะดีกว่าหรือจะสู้เสียงจากการเชื่อมต่อแบบเดิมได้หรือไม่ ใครอยากรู้เรื่องนี้เพิ่มเติมติดตามอ่านกันได้เลยครับ หลังจากที่ได้เข้าร่วมฟังการสนทนาในเรื่อง”Deathmatch: Audio Networking/Audio-over-IP Technologies” กับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องAudio Network ที่งานCEDIA2022 ร่วมกับได้อ่านบทความต่างๆจากในinternet ผมขอนำข้อมูลเหล่านี้มาเล่าให้ฟังเพราะคิดว่าในอนาคตคนที่อยู่ในวงการภาพและเสียงในบ้านน่าจะได้ยินคำเหล่านี้เพิ่มขึ้น หลังจากเทคโนโลยีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานPAและงานprofessional audioมาพักหนึ่งแล้วในชื่อ Dante(ดานเต้), Ravenna(ราเวนนา), AVB(Audio Video Bridging), AES67 ฯลฯ แต่เดิมในงานPAการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆต้องใช้สายAnalogจำนวนมากเพื่อจะต่อchannelต่างๆของเสียง และยิ่งถ้าต้องใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่อยู่ห่างกันคิดดูว่าจะต้องใช้สายเยอะและยาวขนาดไหน ต่อมาจึงมีการพัฒนาAoIPที่เป็นการส่งสัญญาณเสียงคุณภาพสูงผ่านระบบIP networkให้สามารถใช้สายแลนแบบCat5e, Cat6 หรือสายเคเบิ้ลที่ส่งข้อมูลได้สูงๆอย่างเช่นสายfiber ในการส่งข้อมูลแทนสายanalogหลายสิบหลายร้อยchannelเหล่านี้ ทำให้มีความสะดวกรวดเร็วประหยัดกว่าการเชื่อมต่อแบบเดิมมาก โดยเริ่มมีการใช้งานAoIPสำหรับตลาดผู้บริโภคตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 90’s ในชื่อCobraNet หรือ EtherSound แต่ความจริงน่าจะเรียกว่าเป็นAudio over Ethernetมากกว่าเนื่องจากมีการเชื่อมต่อแบบpoint to point ผ่านทางระบบEthernetที่ไม่ต้องใช้router การส่งข้อมูลผ่านnetworkจะแบ่งเป็น 7ชั้นตามระบบOSI Model ระบบที่จะพูดถึงวันนี้เป็นlayer3ที่ส่วนมากจะมีการใช้routerหรือswitchesเป็นตัวกระจายสัญญาณ โดยอุปกรณ์เหล่านี้ต้องเป็นอุปกรณ์คุณภาพหน่อยเนื่องจากบางทีในnetworkมีการใช้ทั้งข้อมูลด้านเสียงร่วมกับข้อมูลด้านอื่นๆจำนวนมาก การเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลจึงมีความสำคัญ […]