Transition Frequency

ถ้าพูดถึงคำว่าTransition Frequency ที่เกี่ยวข้องกับงานHome Theaterหลายท่านก็คงยังไม่คุ้นเคยว่าคืออะไร บทความในเดือนนี้ผมจึงจะเขียนในเรื่องที่เกี่ยวกับTransition Frequencyว่าหมายถึงอะไร หาได้อย่างไร และมีความสำคัญกับเสียงในห้องฟัง หรือห้องHome Theaterอย่างไรบ้าง ก่อนหน้าที่จะพูดถึงTransition Frequencyก็ต้องพูดถึงพื้นฐานในเรื่องของความถี่ที่ถูกแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆในห้องฟังเนื่องจากการเกิดdistortionsหรือความบิดเบี้ยวของคลื่นเสียง โดยปกติจะแบ่งความถี่เป็น 3กลุ่มตามการแบ่งของDr.Floyd Tooleเจ้าพ่อในเรื่องacousticsของห้องขนาดเล็กได้แก่ Modal Region, Transition Regionและ Acoustics Statistical Region Modal Region ในส่วนนี้เป็นช่วงความถี่ต่ำที่ได้รับอิทธิพลจากroom modeโดยตรงทำให้คลื่นเสียงที่ออกมามีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นdipsของความถี่เสียง บางทีมีการswingsระดับความดังของคลื่นเสียงอาจจะมีถึง 15dBหรือมากกว่านั้น โดยในแต่ละจุดของroom modeก็จะมีช่วงห่างระหว่างกันที่ไม่ขึ้นต่อกันเช่นห้องหนึ่งอาจจะมี room modesอยู่ที่ตำแหน่ง 25Hz, 45Hz และ 60Hz ที่ในแต่ละความถี่ของroom modeก็จะห่างกันเพียงพอที่จะทำให้เกิดdipในแต่ละความถี่ โดยroom modeที่มีพลังมากที่สุดในModal Region นี้ได้แก่axial และtangential modes(สามารถหาอ่านเนื้อหาเรื่องroom modeจากหัวข้อStanding Waveที่ผมเคยเขียนไว้ในนิตยสารAudiophile/Videophileฉบับย้อนหลังได้) สำหรับการแก้ไขdistortionของคลื่นเสียงในregionนี้โดยใช้วัสดุAcoustic treatmentต่างๆนั้นทำได้ยาก เนื่องจากว่าความยาวคลื่นของความถี่ต่ำเหล่านี้นั้นมีความยาวคลื่นที่ยาวมาก การใช้แผ่นAcousticsหรือbass trapsที่ตื้นๆไม่กี่แผ่นส่วนมากก็จะไม่ส่งผลอะไรต่อความถี่ที่ต่ำกว่า 100Hz การแก้ไขที่จะให้ผลได้ดีมากที่สุดในส่วนRegionนี้ได้แก่ – การกำหนดขนาดอัตราส่วนของห้องฟังเพื่อให้มีการกระจายของroom […]