Reference Level in Home Theater

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าReference Level หรือภาษาไทยบางทีก็เรียกว่าความดังระดับอ้างอิง คนเล่นhome theaterจำนวนหนึ่งก็เชื่อว่าการฟังเสียงในห้องhome theaterต้องเปิดดังระดับReference Levelเท่านั้นถึงจะทำให้ดูหนังสนุก เช่นเดียวกับได้ฟังในโรงภาพยนตร์ หรือในห้องPost productionที่ทำการmix เสียงจริงๆ วันนี้ลองมาดูกันว่าReference Level มันมีความหมายถึงอะไร และบ่งบอกถึงอะไรบ้าง แล้วมีความจำเป็นขนาดไหนที่จะต้องฟังความดังระดับนี้ในห้องhome theaterในบ้านของเรา ก่อนหน้าที่จะเข้าไปถึงเรื่องReference Levelมาพูดถึงความรู้พื้นฐานเรื่องการได้ยินของมนุษย์กันก่อน โดยทั่วไปมนุษย์สามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 20Hz -20,000Hz และสามารถรับรู้ความดังของเสียงที่มีdynamic rangeอยู่ที่ 120dB จากความดังของเสียงต่ำสุดที่ได้ยินจนถึงความดังสูงสุด(ทั้งสองอย่างนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับอายุ และประสิทธิภาพของอวัยวะที่รับรู้เสียงด้วยแต่จะไม่พูดถึงในที่นี้) ซึ่งระดับความดังและdynamic rangeของเสียงที่มนุษย์ได้ยินนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับระดับความถี่เสียงด้วย มนุษย์เราไม่ได้สามารถรับรู้ความดังที่เป็นdynamic range 120dB ตลอดย่านความถี่20Hz -20,000Hz แต่จะมีdynamic rangeกว้างที่สุดอยู่ที่ความถี่ระดับกลาง ทำให้มนุษย์สามารถแยกแยะระดับความดังว่าเสียงนี้ดังมากกว่าเสียงนี้ได้ดีที่สุดในช่วงความถี่ระดับกลางประมาณ1,000-2,000Hz และจะลดความสามารถลงในความถี่ที่สูงขึ้นและความถี่ต่ำลงกว่านี้ ลองดูจากกราฟรูปที่1จากwww.cochlea.orgจะเข้าใจมากขึ้น ในแกนxของกราฟเป็นความถี่Hz แกนyเป็นระดับความดังdB กราฟแสดงภาพโดยรวมของความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน โดยมีระดับเส้นต่ำสุด สูงสุดของพื้นที่สีเขียวที่แสดงถึงระดับความดังหรือvolumesที่มนุษย์สามารตอบสนองถึงความแตกต่างของเสียง ดังนั้นเส้นล่างจะหมายถึงระดับความดังต่ำสุดที่มนุษย์สามาถรับรู้ได้ว่าเสียงมีความค่อยความดังของเสียงที่ต่างกันถ้าต่ำกว่าเส้นนี้หมายถึงว่าจะแยกไม่ออกละว่าเสียงนี้เบาหรือดังกว่าอีกเสียง ส่วนcurveเส้นบนหมายถึงระดับเสียงสูงสุดที่สามารถแยกแยะได้ คือถ้ามีระดับเสียงที่สูงกว่านี้แม้ว่าเราจะเพิ่มvolumeของเสียงเข้าไปอีกก็จะไม่สามารถบอกได้ว่าเสียงมีความดังมากขึ้น จากกราฟก็สามารถบอกได้เลยว่ามนุษย์มีความไวต่อความดังของเสียงในช่วงความถี่กลางถึงสูงมากกว่าความถี่ต่ำ ถึงแม้ว่าเสียงมีระดับความดังหรือsound pressure level(SPL)ระดับเดียวกันทุกย่านความถี่ แต่สมองของมนุษย์ก็อาจจะรับรู้ว่าเสียงมีระดับความดังไม่เท่ากันในแต่ละความถี่ โดยเฉพาะในความถี่ต่ำ ในเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์สองท่าน Fletcher […]