Tuningsmallroom

หลังจากสองฉบับที่แล้วได้พูดถึงเรื่องหนักๆของphase ฉบับนี้ก็ขอเปลี่ยนบรรยากาศมาพูดถึงการปรับเสียงในห้องจริงๆกันบ้างเพราะพื้นฐานที่ต้องใช้ในการปรับเสียงต่างๆผมก็กล่าวถึงพอสมควรในฉบับเก่าๆตั้งแต่ผมเริ่มเขียนบทความมาเกือบๆสองปีแล้ว เพราะหลักในการCalibrateทั่วไปผมก็ใช้หลักการที่เคยพูดถึงมาประยุกต์ ผสมผสาน ในแต่ละห้องhome theater โดยมีวัตถุประสงค์พยายามลดความเพี้ยนของเสียงต่างๆเพื่อให้ห้องนั้นๆมีเสียงได้ใกล้เคียงกับเสียงที่มาจากต้นฉบับตามที่ผู้กำกับหรือคนทำหนังอยากให้เราได้ยินมากที่สุด ในฉบับนี้ผมได้มีโอกาสไปปรับเสียงที่ห้องคุณธรรมนูญ ก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกลเป็นนักเขียนหลักและกองบรรณาธิการของหนังสือAudiophile/Videophileของเรานี่เอง ผมได้รับการติดต่อจากคุณธรรมนูญมานานจนลืมไปแล้วว่าถ้ามีโอกาสจะมาปรับเสียงให้ที่ห้อง แต่เนื่องจากภาระกิจงานประจำของผมที่ต้องรับผิดชอบ แถมยังมีคนติดต่อเข้ามามากมายเพื่อให้ไปปรับเสียงปรับภาพให้จนบางทีก็ลืมไปว่าเคยพูดกันไว้ ใจจริงผมก็อยากไปปรับให้กับทุกๆท่านที่ติดต่อเข้ามาแต่ติดด้วยเรื่องเวลาและการเดินทางนี่แหละครับ บางครั้งเจ้าของห้องอาจจะรอนานนิดหนึ่งกว่าจะมีโอกาสได้ไปปรับให้ จนตอนนี้บางห้องเริ่มงอนผมไปแล้วครับ ฮ่า ฮ่า บ้านคุณธรรมนูญอยู่แถบๆชานเมือง ผมลงเครื่องบินที่สุวรรณภูมิช่วงเย็นๆกว่าจะฝ่าดงรถติดไปถึงก็เกือบๆทุ่มแล้ว โดยในวันนั้นมีเพื่อนๆพี่ๆน้องๆหลายท่านจากFacebook Page Home Theater Pro Thailand ได้เข้ามาช่วยในการปรับเสียงด้วย ทั้ง พี่ชวิน (HAA calibrator) คุณนัท (ISF calibrator) คุณหมอจเร (HAA calibrator) อาจารย์พิชาติ พี่วินัย ก็ได้มาร่วมด้วยช่วยกันยกข้าวยกของเครื่องอุปกรณ์เครื่องเสียง ซึ่งกว่าจะมาถึงครบก็ใช้เวลากันพอสมควรเพราะบางคนก็หลงไปหมู่บ้านข้างๆบ้าง ไปเรียกเจ้าของบ้านแล้วหน้าตาไม่คุ้นเหมือนที่เคยเห็นในหนังสือ เลยต้องโทรถามกันให้วุ่น คุณธรรมนูญก็ได้บอกไว้ก่อนว่าห้องฟังที่บ้านนั้นขนาดไม่ใหญ่นะจะเข้ามาอยู่กันได้หมดหรือ สัดส่วนห้องจะอยู่ที่ราวๆกว้าง 2.9เมตร ยาว 4เมตร สูง 2.75เมตรเท่านั้น แต่วันนั้นในที่สุดก็เข้าไปอยู่ได้ครับแต่ต้องยกเก้าอี้บางตัวออกก่อน มาถึงคุณธรรมนูญได้พูดถึงประวัติห้องนี้ว่าเมื่อก่อนตรงนี้จะเป็นส่วนของที่จอดรถแล้วค่อยมาทำเป็นห้องHome theater โดยให้บริษัทรับจ้างทำห้องมาทำโดยเฉพาะ แต่เมื่อปี พ.ศ.2554ก็ต้องเจอกับน้ำท่วมใหญ่ทำให้ห้องทั้งห้องเสียหาย […]

THX® Professional Video Systems Calibration PartII

หลังจากฉบับที่แล้วผมได้พูดถึงBlack Level และ Contrast Ratio ในการปรับภาพแบบTHXไปแล้ว มาถึงฉบับนี้ขอมาต่อในอีกสามหัวข้อที่เหลือคือเรื่องของสี การปรับสีต่างๆ รายละเอียดที่แสดงอยู่ในภาพ และเรื่องของแหล่งข้อมูลต่างๆ แต่คงจะเน้นเรื่องของสีและการcalibrateในส่วนของสีเป็นหลักส่วนอีกสองหัวข้อที่เหลืออาจจะมีเสริมเล็กน้อยเนื่องจากเคยพูดถึงบ้างแล้วในบทความฉบับก่อนๆ ก่อนหน้าที่จะเข้าไปถึงเนื้อหาในเรื่องการปรับสีก็คงต้อง พูดถึงพื้นฐานของCIE 1931 Diagramกันก่อน พูดถึงชื่อก็อาจจะไม่คุ้นหู แต่พอเห็นภาพก็คงคุ้นตาขึ้นมาเพราะจะเห็นได้ทั่วๆไปในแผ่นโฆษณาหรือBrochure เครื่องแสดงภาพต่างๆไม่ว่าจะเป็นTV, Projector ถ้าดูคร่าวๆCIE Diagramก็จะเป็นรูปคล้ายๆครีบปลาฉลามหรือshark-fin ซึ่งเจ้าครีบปลาฉลามตัวนี้แหละจะหมายถึงสีสันต่างๆที่สายตามนุษย์โดยทั่วไปสามารถเห็นได้ทั้งหมด ครีบปลาฉลามจะแสดงอยู่บนแกนที่เป็นแกนxและy ด้านบนจะเป็นสีเขียวมีเนื้อที่เยอะหน่อย ด้านขวาจะเป็นสีแดงพื้นที่รองลงมา ส่วนด้านล่างค่อนมาด้านซ้ายจะเป็นสีน้ำเงินกินเนื้อที่น้อยที่สุดในบรรดาสีหลักหรือprimary colorทั้งสามสีคือสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน แต่ความจริงแล้วCIE Diagramมันไม่ได้มีแค่สองมิติมันมีส่วนของแกนZอยู่ด้วยเพียงแต่ส่วนมากเขาไม่แสดงให้เห็นกัน ถ้ามองเข้าในในครีบปลาฉลามนี้บางทีก็จะมีรูปสามเหลี่ยมซ้อนอยู่ด้านใน ตัวนี้แหละที่เรียกว่าColor Gamut(กามุท) มันก็จะแสดงถึงช่วงความกว้างของสีทั้งหมดที่จอภาพนั้นๆสามารถแสดงออกมาได้ หรือสามารถแสดงถึงช่วงของสีมาตรฐานที่ใช้เป็นตัวอ้างอิงในการปรับภาพ เช่นในปัจจุบันเราใช้ Rec. 709 Color Gamut มันก็จะหมายถึงตามมาตรฐานสีขาวหรือD65ค่ามันก็จะอยู่ที่ตำแหน่งx.313y.329 ตำแหน่งของสีหลัก(Primary Color)ทั้งสามคือแดง เขียว น้ำเงิน ก็จะอยู่บนกราฟที่ตำแหน่งต่างๆเช่น สีแดงตำแหน่งของสีแดงที่ถูกต้องก็จะอยู่ที่ x.640 y.330, สีเขียวx.300 y.600, สีน้ำเงิน x.150 y.060 […]